1. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ชื่อประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ( Socialist Republic of Vietnam ) สภาพภูมิศาสตร์ - เป็นประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ 331,051 ตารางกิโลเมตร 1 /
ความหนาแน่นของประชากรเป็น 260 ตารางกิโลเมตรต่อคน เพราะภูมิประเทศ
สามในสี่ของประเทศเป็นภูเขาและหุบเขา
- มีพรมแดนติดประเทศกัมพูชา ลาวและจีน
- มีพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญสองแห่งคือที่ราบลุ่มปากแม่น้ำแดง (Red River Delta)
ทางภาคเหนือ และที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง ( Mekong River Delta ) ทางภาคใต้
สภาพภูมิอากาศ เป็นเขตมรสุมฤดูร้อน แต่มีความแตกต่างด้านภูมิอากาศอย่างมากระหว่าง
เวียดนามภาคเหนือและภาคใต้
- เวียดนามทางตอนใต้ มีภูมิอากาศคล้ายแถบเส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย
คล้ายประเทศไทยคือประมาณ 27 — 30 c และมี 2 ฤดู คือ
ฤดูฝน ( พค. — ตค. ) และฤดูร้อน ( พย. — เมย. )
- เวียดนามทางตอนเหนือ มีภูมิอากาศคล้ายเขตเมืองร้อน มีอุณหภูมิแตกต่างกัน
อย่างมากระหว่างช่วงร้อนที่สุดและหนาวที่สุด โดยมี 4 ฤดู คือ
ฤดูใบไม้ผลิ ( มีค. — เมย. ) อุณหภูมิระหว่าง 17- 23 c
ฤดูร้อน ( พค. — สค. ) อุณหภูมิระหว่าง 30 - 39 c
ฤดูใบไม้ร่วง ( กย. — พย. ) อุณหภูมิระหว่าง 23 - 28 c
ฤดูหนาว ( ธค. — กพ. ) อุณหภูมิระหว่าง 7 - 16 c
การปกครอง - มี 59 จังหวัด และ 5 นคร ( กรุงฮานอย นครไฮฟอง นครดานัง นครโฮจิมินห์
และนครเกิ่นเทอ ) แบ่งเป็น 8 ภาค คือ
ภาคเหนือฝั่งตะวันออก มี 4 จังหวัด มีชายแดนติดลาวและจีน
ภาคเหนือฝั่งตะวันตก มี 11 จังหวัด
ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง มี 9 จังหวัด และ 2 นคร คือกรุงฮานอยที่เป็นเมืองหลวงและนคร
ไฮฟองที่เป็นเมืองท่า
เขตชายฝั่งทะเลภาคกลางทางตอนเหนือ มี 6 จังหวัด ซึ่งทุกจังหวัดติดลาว
เขตชายฝั่งทะเลภาคกลางทางตอนใต้ มี 5 จังหวัดและ 1 นคร คือนครดานัง
เขตที่ราบสูงภาคกลาง มี 5 จังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ชนกลุ่มน้อย
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตนี้
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มี 7 จังหวัด และ 1 นครคือนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า
ของประเทศ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มี 12 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และ 1 นครคือ
นครเกิ่นเทอ มีชายแดนติดกัมพูชาเวียดนาม
- แต่ละจังหวัดจะปกครองโดยสภาประชาชน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชน
สภาประชาชนจะแต่งตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อทำหน้าที่บริหารจังหวัด
จังหวัดยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง ส่วนนครจะมีอิสระในการปกครอง
ตนเองมากกว่า
เมืองหลวง กรุงฮานอย ประชากร ( เฉพาะที่จดทะเบียน) ประมาณ 6.5 ล้านคน ( สถิติ
เมื่อเดือนเมษายน 2552 )
เมืองสำคัญ นครโฮจิมินห์ ประชากร ( เฉพาะที่จดทะเบียน) ประมาณ 7.2 ล้านคน ( สถิติ
เมื่อเดือนเมษายน 2552 ) แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว นครโฮจิมินห์มีประชากรซึ่ง
เป็นผู้ใช้แรงงานจากพื้นที่ชนบทอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากโดยไม่ลงทะเบียน
แจ้ง นอกจากนี้ นครโฮจิมินห์อยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญในจังหวัด
บินห์เยือง ด่องไน และลองอาน ซึ่งเชื่อว่าจังหวัดเหล่านี้ได้ช่วยรองรับแรงงาน
บางส่วนที่ทะลักออกไปจากนครโฮจิมินห์ด้วย
ระบบการปกครอง ระบบสังคมนิยม มีพรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งเวียดนาม
ประธานพรรคคือนาย เหวียน ฝู๊ จ่อม ( Nguyen Phu Trong ) ซึ่งทำหน้าที่
เป็นประธานสภาแห่งชาติ ( National Assembly ) ด้วย
ประธานาธิบดี ( ผู้นำประเทศ ) คือ นายเหวียน มินห์ เจี๊ยต ( Nguyen Minh
Triet)
นายกรัฐมนตรี (ผู้นำรัฐบาล) คือ นายเหวียน ตั๊น หยุม (Nguyen Tan Dung)
ภาษาราชการ ภาษาเวียดนาม ส่วนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีการใช้ควบคู่กับ
ภาษาเวียดนามในเอกสารทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างชาติและ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมทั้งในเวบไซด์ของหน่วยงานธุรกิจ
และภาครัฐ
สกุลเงิน ด่ง ( Dong) , 20,905 ด่ง = US$ 1 ( ณ วันที่ 4 เมษายน 2554 ) ประชากร - ประมาณ 87.3 ล้านคน ( ปี 2553 ) โดยมีสัดส่วนชาย : หญิง เป็น 50 : 60 %
- เวียดนามมีประชากรเป็นอันดับสามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ( รองจาก
อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ) และเป็นอันดับ 13 ของโลก
- อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยจากปี 2542 — 2553 ประมาณปีละ
1.03 ล้านคน หรือ 1.2 % ต่อปี
- จากสถิติปี 2552 , 65 % ของประชากร ( ประมาณ 55.6 ล้านคน ) มีอายุ
มากกว่า 20 ปี 69 % ของประชากรมีอายุระหว่าง 15 — 64 ปี 24.5 % มี
อายุต่ำกว่า 15 ปี และ 6.4 % มีอายุมากกว่า 64 ปี
- ประชากรเวียดนามมีอัตราการรู้หนังสือสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ใน
ภูมิภาค โดยคาดว่ามีประมาณ 94 % ( สถิติปี 2552 ) ซึ่งเป็นอัตราเดียว
กับประชากรสิงคโปร์
เวลา เท่ากับเวลาในประเทศไทย
วันหยุดนักขัตฤกษ์
วันที่ จำนวนวันหยุด - วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม 1 วัน - เทศกาลเต๊ด ( Tet ) วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ 4 วัน หรือวันตรุษเวียดนาม (Lunar New Year)
ซึ่งแต่ละปีจะไม่ตรงกัน
- วันปฐมกษัตริย์ ( Hung วันที่ 10 ของเดือนที่ 3 1 วัน King’s Anniversary ) ทางจันทรคติ แต่ละปีจะไม่ตรงกัน
30 เมษายน
- วันฉลองเอกราช 2 / 1 วัน ( Victory Day )
1 พฤษภาคม
- วันแรงงานแห่งชาติ 1 วัน
2 กันยายน
- วันชาติ 3 / 1 วัน 2. ข้อมูลทางเศรษฐกิจปี 2553
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ( Gross Domestic Products : GDP )
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2553 ของเวียดนามมีมูลค่า 104.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 6.78 % ภาคบริการเป็นภาคการผลิตที่มีอัตราขยายตัวสูงสุด รองลงไปคือภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ส่วนภาคการเกษตรขยายตัวน้อยที่สุดและมีสัดส่วน 21% ของ GDP ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง และภาคบริการมีสัดส่วน 41% และ 38% ของ GDP ตามลำดับ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ภาคการผลิต 2551 2552 2553 ภาคเกษตรกรรม 19,401 18,412 20,904 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 35,207 35,858 41,746 ภาคบริการ 33,619 34,842 38,933
การค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม ปี 2553
การลงทุนของไทยสะสมในเวียดนามนับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศในปี 2531 จนถึงปี 2553 มีมูลค่า 5,811 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของมูลค่าFDI ทั้งหมดของเวียดนาม ในปี 2553 ไทยเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในเวียดนามมากเป็นอันดับที่ 10 และถือเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศในอาเซียนรองจากมาเลเซีย ( 18,344 ล้านเหรียญสหรัฐ ) และสิงคโปร์ ( 21,723 ล้านเหรียญสหรัฐ ) นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ สี รองเท้า เครื่องสุขภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ
3. ปัจจัยสำคัญบางประการที่นักลงทุนควรรู้
ต้นทุนการจ้างแรงงาน
เงินเดือน
กฏหมายเวียดนามได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างเวียดนามตามพื้นที่การทำงาน ภายใต้กฤษฎีกา( Decree) 98 / 2009 / ND — CP ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 4/ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับคนงาน ไร้ฝีมือที่ทำงานในบริษัทต่างชาติภายใต้เงื่อนไขปกติ มีดังนี้
ค่าจ้างขั้นต่ำ / เดือน พื้นที่การทำงาน 1,340,000 ด่ง (ประมาณ US$ 75 ) เขตในเมืองของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ 1,190,000 ด่ง (ประมาณ US& 66 ) - เขตชนบททุกแห่งของนครโฮจิมินห์และเขตชนบทบางแห่งใน
กรุงฮานอย
- บางเขตในจังหวัดไฮฟอง ดานัง เกิ่นเทอ
- เมืองฮาลองในจังหวัดกว๋างนินห์ บางเขตในจังหวัดด่องไน
บิ่นห์เยือง บาเรีย-หวุงเต่า
1,040,000 ด่ง (ประมาณ US& 58) - เมืองที่เหลือในจังหวัดต่าง ๆ
- เขตชนบทที่เหลือของกรุงฮานอย
- บางเขตในจังหวัดไฮฟอง เกิ่นเทอ บัคนินห์ บัคแยง Hung Yen ,
Hai Duong , หวินฟึ๊ก กว๋างนินห์ กว๋างนัม ลัมด่ง คั้นห์ฮัว
เตนินห์ บิ่นห์ฟึ๊ก บิ่นห์เยือง ด่องไน ลองอาน
บาเรีย - หวุงเต่า
1,000,000 ด่ง (ประมาณ US& 56) เขตที่เหลือทั้งหมดของประเทศเวียดนาม 4/ นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป ค่าแรงขั้นต่ำที่แบ่งตามพื้นที่จะปรับเป็นเดือนละ 1.55 ล้านด่ง ( ประมาณ US$ 80) 1.35 ล้านด่ง (ประมาณ US$ 69 ) 1.17 ล้านด่ง ( ประมาณ US$ 60 ) และ 1.1 ล้านด่ง ( ประมาณ US$ 55 ) ตามลำดับ
กระทรวงแรงงาน ผู้ทุพพลภาพและกิจการสังคมจะพิจารณาปรับระดับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นระยะ ๆ โดยพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรสั้น ๆ แล้ว เงินเดือนขั้นต่ำอย่างน้อยต้องมากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้ข้างต้น 17% สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ
ช่วงทดลองงาน ( probation period ) แรงงานต้องได้รับเงินเดือนอย่างน้อย 70% ของเงินเดือนที่จะได้รับภายหลังสิ้นสุดการทดลองงานแล้ว และช่วงเวลาทดลองงานต้องไม่เกิน 60 วันสำหรับงานที่ต้องการความชำนาญพิเศษหรือทักษะทางเทคนิคขั้นสูง ( ระดับวิทยาลัยหรือสูงกว่า ) ไม่เกิน 30 วันสำหรับงานที่ต้องการทักษะระดับมัธยมศึกษาหรือทักษะของช่างเทคนิค และ 6 วันสำหรับงานอื่น ๆ
เงินประกันสังคม
ต้นทุนค่าแรงงานที่ไม่ใช่ค่าจ้างในเวียดนามค่อนข้างสูงในภูมิภาคเอเซีย นายจ้างต้องส่งเงินสมทบค่าประกันสังคมและสุขภาพให้ลูกจ้างเวียดนามทุกคนที่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างงานตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้าโครงการประกันการว่างงานเมื่อมีการจ้างคนงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
เงินเดือนสูงสุดซึ่งจะนำมาใช้ฐานสำหรับเบี้ยประกัน ( ผลประโยชน์ ) จะไม่เกิน 20 เท่าของเงินเดือนขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศในแต่ละช่วง ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 เงินเดือนขั้นต่ำดังกล่าวเป็น 650,000 ด่ง ( ประมาณ US$ 36 ) ต่อเดือน
การมีส่วนร่วมของการประกันสังคม
( มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 )
-1 -2 -3 รวม นายจ้าง 16% 3% 1% 20% ลูกจ้าง 6% 1.50% 1% 8.50% รวม 22% 4.50% 2% 28.50%
(1) เงินประกันสังคม นายจ้างต้องส่งเงินสมทบ 15% ของเงินเดือนลูกจ้างในกองทุนประกันสังคม นับตั้งแต่ปี 2553 การส่งเงินสมทบจะเพิ่มขึ้น 1% ทุก ๆ 2 ปี จนกว่าการจ่ายเงินจะเป็น 18% ส่วนลูกจ้างซึ่งเดิมที่ผ่านมา ส่งเงินสมทบ 5% ของเงินเดือนพื้นฐษนแต่ละคน แต่ในปี 2553 การส่งเงินสมทบจะเพิ่มขึ้น 1% ทุก ๆ 2 ปีจนกว่าจะถึง 8%
(2) การประกันสุขภาพ ภายใต้โครงการประกันสุขภาพซึ่งมีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 การส่งเงินสมทบสูงสุดจะเป็น 6% ของเงินเดือนพื้นฐาน ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างมีส่วนร่วม 2/3 และ 1/3 ตามลำดับ โครงการนี้ใช้ทั้งกับลูกจ้างเวียดนามและลูกจ้างชาวต่างชาติ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 นายจ้างต้องส่งเงินสมทบ 3% และลูกจ้างส่งเงินสมทบ 1.5% ของเงินเดือนพื้นฐาน
(3) การประกันการว่างงานและ / หรือเงินช่วยเหลือพ้นจากงาน ( severance allowances ) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ได้มีการจัดตั้งกองทุนการว่างงานและเริ่มมีการบังคับให้นายจ้างต้องจัดทำการประกันการว่างงานในกรณีที่มีลูกจ้างเวียดนามตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปและลูกจ้างเวียดนามมีสัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดเวลาหรือมีกำหนดเวลาจ้างงาน 12 — 36 เดือน การประกันการว่างงานนี้ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบคนละ 1% ของเงินเดือนพื้นฐาน
นายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษและแรงงานเวียดนามไม่สามารถทำงานนั้นได้ แรงงานต่างชาติต้องได้รับใบอนุญาตทำงานจากกรมแรงงานประจำแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเรียกขอเอกสารประกอบการพิจารณาต่าง ๆ และใช้เวลาในการดำเนินการ รวมทั้งอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเช่น คุณสมบัติทางการศึกษาที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและประสบการณ์พิเศษเฉพาะด้าน เป็นต้น
ภาษี
ประภท อัตราภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล 25% (อัตราภาษีสำหรับน้ำมันและก๊าซ และ
ทรัพยากรธรรมชาติระหว่าง 32% - 50% )
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราก้าวหน้าระหว่าง 5% - 35% ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของ เป็นอัตราเดียวกันคือ 20% โดยจัดเก็บจาก non — resident non — resident ที่มีแหล่งรายได้จากเวียดนาม ภาษีทรัพย์สิน ขึ้นกับการจัดเก็บของแต่ละหน่วยงานเทศบาลแต่ละเขต ภาษีการขาย (VAT) 0% , 5% , 10% ภาษีรายได้หัก ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ย 10% ค่าธรรมเนียมการจัดการ
(loyalty ) 10% เงินปันผลที่จ่ายรายบุคคล(5%)
ภาษีซ้อน ไทย — เวียดนามมีความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน
รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าจะลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 40% ของ GDP หรือประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากปัจจุบัน 34.5% ของ GDP
โลจิสติกส์ ความแออัดของการจราจรบนท้องถนนในเขตเมืองและความจำกัดของโครงข่ายถนนที่เชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาคอขวดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก ทั้งนี้ เวียดนามยังอ่อนแออยู่มากในสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และความสามารถในด้านโลจิสติกส์ รัฐบาลจึงมีโครงการมูลค่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือในอีก 5 ปีข้างหน้า และโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงฮานอย — นครโฮจิมินห์ มูลค่า 55.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ความยาว 1,570 กิโลเมตร
- ทางด่วน ( 100 กิโลเมตร ) ระหว่างกรุงฮานอย — นครไฮฟอง ต้องการเงินลงทุน 410 ล้านเหรียญสหรัฐ
- การก่อสร้างโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์ 2 โรง โดยวางแผนจะเริ่มเปิดดำเนินการปี 2563
- ทางด่วน ( 29 กิโลเมตร ) ระหว่างกรุงฮานอย — หล่าวก๋าย ต้องการเงินลงทุน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ถนนวงแหวน ( 65 กิโลเมตร ) ในกรุงฮานอย ต้องการเงินลงทุน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไฟฟ้า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตไฟฟ้า จนบางครั้งจำเป็นต้องมีการจัดสรรเวลาการใช้ รัฐบาลเวียดนามได้มีแผนแม่บทฉบับที่ 4 เกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยจะเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นจาก 53 พันล้านกิโลวัตต์ เป็น 190 พันล้านกิโลวัตต์ ในสถานการณ์ปกติและเป็น 198 พันล้านกิโลวัตต์ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
4. การทำธุรกิจในเวียดนาม
จากการสำรวจของธนาคารโลกเมื่อปี 2553 เกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบ พบว่าโดยภาพรวม เวียดนามเป็นอันดับที่ 93 จากจำนวน 183 ประเทศที่สะดวกต่อการเข้ามาทำธุรกิจในประเทศ โดยในภูมิภาคเอเชีย เวียดนามตามหลัง จีน มาเลเซียและไทย แต่อยู่อันดับก่อนอินโดนีเชียและฟิลิปปินส์
ผลจากการสำรวจดังกล่าว เวียดนามมีความสามารถในการแข่งขันในแง่ของการได้รับเครดิต การจดทะเบียนทรัพย์สิน และสัญญาที่บังคับใช้ แต่มีข้อด้อยในการคุ้มครองนักลงทุน ภาษีที่ต้องจ่าย และการปิดธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม จาก World Governance Index ของธนาคารโลกได้ชี้ว่าเวียดนามจำเป็นต้องปรับปรุงด้านการบริหารสั่งการที่มีสายงานมากเกินไป นโยบายขาดความโปร่งใสและความสอดคล้อง และการคอรับชั่นที่ยังมีอยู่ทุกระดับ
5. หน่วยงานราชการไทยในประเทศเวียดนาม
(1) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย
63 — 65 Hoan Dieu Street , Hanoi
Tel. ( 84 — 8 ) 3823 — 5092 - 94
Fax. (84 — 8) 3823 - 5008
E-mail : thaihan@mfa.go.th
WebSite : http : // www.thaibizvietnam.com/
(2) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์
77 Tran Quoc Thao Street , District 3 , Ho Chi Minh City
Tel. (84 — 8) 3932 — 7637 -8
Fax (84 — 8) 3932 - 6002
E — mail : thaihom@mfa.go.th
WebSite : http : // www.thaiconsulatehochiminh.com/
(3) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
Suit 801 , 8 th Floor , HCO Building ,
44 B Ly Thuong Kiet Street , Hanoi
Tel. : (84 — 4) 3936 - 5226-7
Fax. : (84 — 4 ) 3936 - 5228
E — mail : thaichanoi@depthai.go.th
(4) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
8 th Floor , Unit 4 , Saigon Center Building ,
65 Le Loi Boulevard , District 1 , Ho Chi Minh City
Tel. : (84 — 8) 3914 - 1838
Fax. : (84 — 8 ) 3914 - 1864
E — mail : thaitradecenter@hcm.fpt.vn
(5) สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ณ นครโฮจิมินห์
Floor 5, The Empire Tower, 26-28 Ham Nghi Street,
District 1, Hochiminh City
Tel : ( 84 - 8) 62913 885-6
Fax : ( 84 — 8 ) 62913 887
Email : info@tourismthailand.org.vn
6. Web Resources
หน่วนงานภาครัฐบาลที่สำคัญ
Ministry of Foreign Affairs ( MoFA) : www.mofa.gov.vn
Ministry of Industry and Trade ( MoIT) : www.moit.gov.vn
Ministry of Planning and Investment (MPI) : www.mpi.gov.vn
Ministry of Finance ( MoF) : http : // www.mof.gov.vn
General Statistics Office of Vietnam ( GSO) : www.gso.gov.vn
Vietnam Chamber of Commerce and industry (VCCI) : www.vcci.com.vn
State Bank of Vietnam (SBV) : www.sbv.gov.vn
Vietcombank Bank of Foreign Trade of Vietnam : www. Vietcombank.com.vn/en
สคร.นครโฮจิมินห์
ที่มา: http://www.depthai.go.th