วิธีการทำธุรกิจของบริษัทต่างชาติในอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 12, 2011 13:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โดยทั่วไป การทำธุรกิจของชาวต่างชาติในอิหร่านมี 3 วิธีดังนี้

1.แต่งตั้งตัวแทน (Agents)

ตามกฎหมายอิหร่านอนุญาตให้มีผู้แทนการค้า 3 ประเภท ได้แก่

  • นายหน้าชื้อขาย (Brokers) ทำหน้าที่ซื้อหรือขายแทนตัวการ (Principle)
  • ตัวแทนค้าต่าง (Commission agents) ผู้ทำธุรกิจในฐานะตัวแทนภายใต้ชื่อของตนเอง
  • ตัวแทนการค้า (Commercial agents)

ตามกฏหมายพาณิชย์ของอิหร่าน ตัวแทนการค้า คือบุคคลหรือบริษัทที่ได้รับมอบหมายจากตัวการ (Principle) ที่แต่งตั้งตัวแทนให้ทำหน้าที่แทน ในการเจรจาหรือสรุปผลการเจรจาการค้าแทนตัวการ ตัวแทนจะใช้พยายามของตนในการเจรจาการค้าภายใต้คำสั่งของตัวการและอำนวยความสะดวกในการตกลงธุรกิจระหว่างตัวการและลูกค้าในเขตรับผิดชอบจนบรรลุข้อตกลง นอกจากนี้ ตัวแทนอาจได้รับมอบหมายให้เจรจาหรือตกลงการทำธุรกรรมภายใต้คำสั่งของตัวการ ซึ่งในกรณีนี้ ลายมือชื่อของตัวแทนจะมีผลทางกฏหมายกับตัวการ และส่งผลให้ตัวการต้องรับผิดชอบตามกฎหมายในการกระทำของตัวแทนภายใต้ขอบเขตการมอบอำนาจที่ตัวการมอบให้ตัวแทน

ภายใต้กฎหมายอิหร่าน ตัวแทนไม่จำเป็นต้องถือสัญชาติอิหร่าน อย่างไรก็ดี ในทางปฎิบัติ ผู้ถือสัญชาติอิหร่านหรือบริษัทที่ก่อตั้งภายใต้กฏหมายอิหร่านเท่านั้นที่สามารถขอใบอนุญาตการค้าเพื่อนำเข้าและส่งออกได้ ดังนั้น ตัวแทนจึงควรถือสัญชาติอิหร่าน

หากบริษัทต่างชาติมอบหมายบริษัทต่างชาติเป็นตัวแทนและมอบหมายตัวแทนในอิหร่านอีกต่อหนึ่ง รัฐบาลหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่อาจปฎิเสธที่จะทำธุรกิจด้วย เนื่องจากกังวลว่าราคาและต้นทุนอาจจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีตัวแทนหลายฝ่ายมาเกี่ยวข้อง นอกจากจะมีเหตุผลอื่นเช่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลจากการคว่ำบาตรทางการค้าในประเทศของตัวการ นอกจากนี้ หากตัวแทนเป็นบุคคลธรรมดา รัฐบาลหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่อาจปฎิเสธที่จะทำธุรกิจด้วย แม้ว่ากฎหมายจะยินยอมให้บุคคลธรรมดาดำเนินการในฐานะตัวแทน แต่ตัวแทนที่เป็นบริษัทอิหร่านจะได้รับความเชื่อถือมากกว่า ทั้งนี้ ตามกฏหมายอิหร่าน องค์กรของรัฐห้ามซื้อสินค้า บริการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จากบริษัทต่างชาติที่ไม่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการในอิหร่าน

ภายหลังจากที่ตัวการได้แต่งตั้งตัวแทนในอิหร่าน ขอบเขตความรับผิดชอบจะเป็นไปตามข้อตกลงตัวแทนระหว่างกัน ขอบเขตความรับผิดชอบจะแตกต่างกันขึ้นกับข้อกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิและพันธกรณีของทั้งสองฝ่าย ซึ่งภายใต้กฏหมายขัดกันของอิหร่าน กฏหมายที่บังคับใช้คือกฏหมายในเขตประเทศที่มีอำนาจในการตัดสินคดี นอกจากบริษัทต่างชาติได้แสดงความจำนงที่จะใช้กฎหมายอื่นและระบุในสัญญาอย่างชัดแจ้ง อย่างไรก็ดี หากสัญญาระบุให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ การใช้กฎหมายบังคับจะไม่ขึ้นกับสถานที่ทำสัญญาหรือสัญชาติของคู่สัญญา

2.การตั้งสำนักงานสาขา (Banch Office)

ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทต่างชาติ หากชื่อสำนักงานสาขาใช้ชื่อเดียวกันกับชื่อทางการค้าของตัวการ (Pincipal) บริษัทต่างชาติจะต้องรับผิดชอบเต็มที่ต่อสำนักงานสาขานั้นๆ กฏหมายอิหร่านยินยอมให้สำนักงานสาขาดำเนินการในการเก็บข้อมูล การให้บริการหลังการขาย การรับประกันหลังการขายหรือบริการ และบริหารสัญญาที่ลงนามระหว่างฝ่ายอิหร่านและตัวการ นอกจากนี้ บริษัทสาขาจะอนุญาตหรือยินยอมให้เปิดดำเนินการหากเป็นการดำเนินการประเมินหรืออำนวยความสะดวกในการลงทุนในอิหร่าน หรือเพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมัน การให้บริการด้านวิศวกรรมหรือด้านเทคนิค การถ่ายโอน Know-how การดำเนินการออกใบอนุญาตโดยรัฐบาล เช่นการตรวจสอบหรือการประกันการขนส่ง การธนาคาร หรือการตลาดเป็นต้น สำนักงานสาขาจะได้รับการยกเว้นภาษีจากกฏหมาย Diect Taxation Act หากสำนักงานสาขานั้นๆ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขายหรือกิจกรรมการค้าหรือธุรกรรม เช่น การออกบัญชีสินค้าฉบับเสนอราคา (Pefoma invoices) การรับหรือดำนินการคำสั่งซื้อ การขายสินค้าและบริการ การลงนามในสัญญาแทนสำนักงานใหญ่ เป็นต้น แต่สำนักงานสาขาสามารถอำนวยความสะดวกในการทำข้อตกลงหรือธุรกรรมระหว่างตัวการและลูกค้าในเขตรับผิดชอบ รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนการตั้งสำนักงานสาขาที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเป็นพิเศษเพื่อให้บริการหลังขายแก่สินค้าที่ขายในอิหร่าน

3.กิจการร่วมค้า (Joint Ventues)

บริษัทต่างชาติและผู้ผลิตนิยมจดทะเบียนกิจการร่วมค้ากับบริษัทท้องถิ่น หากต้องการให้การผลิตสินค้าสอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าของอิหร่าน และเพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะร่วมประมูลโครงการของรัฐบาลต่างๆ รวมทั้งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ แก่รัฐบาลอีกด้วย

4.การตั้งบริษัทอิหร่าน

บริษัทต่างชาติสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทอิหร่าน (บริษัทจำกัดหรือการร่วมหุ้นในบริษัท) ซึ่งเป็นการลงทุนหวังผลทางการค้าระยะยาวในอิหร่าน การจดทะเบียนบริษัทอิหร่านโดยบริษัทต่างชาติ สามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกคือการขอใบอนุญาตการลงทุนภายใต้กฏหมาย Foeign Investment Pomotion and Potection Act (FIPPA) ซึ่งบริษัทต่างชาติจะได้รับสิทธิและการคุ้มครองภายใต้ FIPPA ไม่ว่าจะเป็นกรณีการจดทะเบียนร่วมทุนกับคู่ค้าชาวอิหร่านหรือบริษัทต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดโดยไม่มีคู่ค้าชาวอิหร่านร่วมทุนหรือร่วมทุนกับคู่ค้าอิหร่าน ทั้งนี้ FIPPA จะส่งเสริมกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเช่นเหมืองแร่ เกษตรกรรม และการบริการ วิธีที่สองคือการจดทะเบียนบริษัทโดยไม่ขอใบอนุญาตการลงทุน ซึ่งเหมาะกับบริษัท Tading Company โดยบริษัทต่างชาติสามารถถือครองหุ้นในบริษัทอิหร่านได้ร้อยละ 100

สคร เตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิหร่าน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ