ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกข้าวของสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2011 15:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สิงคโปร์ไม่มีพื้นที่สำหรับการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ประเทศมีขนาดเพียง 701 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า ได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเภสัชภัณฑ์ ส่วนสินค้าข้าวและอาหาร จะต้องพึ่งพาการนำเข้า

2. การบริโภคภายในประเทศ

  • ประเภทข้าว ข้าวที่เป็นที่นิยมบริโภคได้แก่ ข้าวขาว 100% และข้าวหอมมะลิ จากจำนวนประชากรกว่า 5 ล้านคน ร้อยละ 84 บริโภคข้าวชนิด 100% Fragrant Rice หรือ Jasmine Long Grain Rice หรือข้าวหอมมะลิ ยกเว้นชาวอินเดียซึ่งนิยมบริโภคข้าวบาสมาติ ข้าวนึ่ง หรือข้าวหัก
  • ปริมาณการบริโภค สิงคโปร์บริโภคข้าวหอม และข้าวหอมมะลิ ประมาณ 15,000 ตันต่อเดือน ถ้ารวมข้าวเกรดอื่นๆ เช่นข้าวหัก ข้าวเหนียว และปลายข้าว รวมกันแล้วบริโภคประมาณ 20,000 ตันต่อเดือน
  • รสนิยมในการบริโภค สิงคโปร์มีประชากร 5.08 ล้านคน (สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2553) เป็นชาวจีนร้อยละ 74.7 ชาวมุสลิมมาเลย์ร้อยละ 13.6 ชาวอินเดีย ร้อยละ 8.9 และอื่นๆร้อยละ 2.8 ส่วนใหญ่ชาวจีนนิยมบริโภคข้าวหอม/ข้าวหอมมะลิไทย เพราะคุ้นเคยในรสชาด เนื่องจากชอบคุณภาพที่ดีและมีการบริโภคกันมาแต่ดั้งเดิม สำหรับข้าวชนิดอื่นๆได้แก่ ข้าวนึ่งและข้าวบาสมาติ นำเข้าเพื่อบริโภคสำหรับชาวอินเดีย ปากีสถาน และชาวมุสลิมในสิงคโปร์

3. การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าข้าวปีละประมาณ 288,000 - 327,000 ตัน ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ โดยในปี 2553 นำเข้าข้าวจากทุกประเทศมีมูลค่า 249.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 149.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.05 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 59.91 ประเทศคู่ค้ารองลงมาได้แก่ อินเดีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24) เวียดนาม (เพิ่มขึ้นร้อย-ละ 99.26) และสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.55)

4. การนำเข้าข้าวจากไทย : ข้าวที่นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิ และข้าวหอม ซี่งในปี 2553 สิงคโปร์นำเข้าข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice : HS 10063015) มูลค่า 80.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 75,030 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 11.64 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 54.31) และข้าวหอม (Fragrant Rice : HS 10063019) มูลค่า 43.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 47,633 ตัน (ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.49 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 29.20)

5. การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกข้าวมูลค่าประมาณปีละ 28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากต้องนำเข้าเพื่อการส่งออกต่อ (Re-export) โดยส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ บรูไน อัฟริกาใต้ เป็นต้น

6. นโยบายการนำเข้า/ส่งออก

  • นโยบายการนำเข้า : ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) จากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) โดย

1. ผู้นำเข้าข้าวสารต้องทำการสำรองข้าวสารไว้ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้

ในโกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW) ชนิดข้าวที่ต้องสำรอง คือ ข้าว

หอม (Fragrant Rice) ข้าวขาว (White Rice) และข้าวหัก (Broken Rice) สำหรับข้าวที่ได้รับการยกเว้นไม่

ต้องสำรองคือ ข้าวกล้อง, ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ข้าวเหนียว และข้าวบาสมาติ (Basmati Rice)

2. International Enterprise Singapore เป็นผู้อนุมัติปริมาณการนำเข้า เช่นกรณีผู้นำเข้าประสงค์จะนำเข้าข้าว

500 ตันในเดือนมีนาคม จะต้องนำเข้าเพื่อเป็น Stock อีก 1000 ตัน และต่อมาในเดือนเมษายน หากต้องการนำเข้าเพิ่ม

ขึ้นเป็น 550 ตัน จะต้องทำหนังสือขออนุมัติจาก IE Singapore ก่อน รวมถึงจะต้องมีการนำเข้าเพื่อ Stock อีก 1,100

ตัน และกรณีที่ต้องการนำเข้าลดลง เช่น จาก 500 ตันเป็น 450 ตัน จะต้องขออนุมัติจาก IE Singapore ล่วงหน้า 3

เดือนก่อน

3. สิงคโปร์ปรับแผนสำรองสำหรับสินค้าข้าว ในสภาวะที่ราคาสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เพราะ

ความต้องการมีสูงกว่าปริมาณผลผลิต จึงมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหาร สิงคโปร์ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้า

สินค้าอาหารจากทั่วโลก รวมทั้งข้าว ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าสินค้าข้าวเมื่อเดือนเมษายน 2554 โดยได้ออก

ประกาศให้ผู้นำเข้าข้าวต้องเพิ่มปริมาณการสำรองข้าว ซึ่งชนิดของข้าวที่ต้องมีการสำรองคือ White Rice, Basmati

Rice, Ponni Rice และ Parboiled Rice และต้องเก็บสำรองไว้ที่โกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage

& Warehouse Pte. Ltd. (SSW) ซึ่งควบคุมโดย International Enterprise Singapore โดยกำหนดปริมาณ

นำเข้าประจำเดือน(Monthly Import Quantity : MIQ) สำหรับ White Rice จำนวนขั้นต่ำ 50 ตัน/เดือน ส่วน

MIQ สำหรับ Ponni Rice, Parboiled Rice และ Basmati Rice ไม่มีการกำหนดปริมาณขั้นต่ำ

  • นโยบายการส่งออก : โดยผู้ส่งออกต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้กับหน่วยงานสิงคโปร์ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) และได้รับใบอนุญาตการส่งออก (Export License) จากหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore)
  • ภาษี : ไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกข้าว สำหรับภาษีที่จัดเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7

7. กฎระเบียบบรรจุภัณฑ์ข้าว

หน่วยงานที่ควบคุมคือ Agri-food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development ซึ่งมีข้อกำหนดสำคัญตามระเบียบ The Food Regulations ที่ต้องพึงถือปฏิบัติ คือ Labeling Requirement บนบรรจุภัณฑ์สินค้า ซึ่งต้องเป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง คือ

1) Common Name of Product

2) Nett Weight or Volume of Product

3) Name and Address of Manufacturer/Importer/Packer/Distributor

4) Country of Origin of Product

5) List of Ingredients in Descending Order of Proportions

6) Date of Marking for 19 Category of Products. Letters shall not be less than 3 mm in height and shall be show in one of the following ways:

               Use By          :  dd/mm/yy
               Sell By         :  dd/mm/yy

Expiry Date : dd/mm/yy

Best Before : dd/mm/yy

7) Bar Code/EAN

8) Nutrition Facts Panel (NIP)

9) No "Health Claims" Allowed on the Label

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ