สินค้าไข่ไก่ในตลาดสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2011 16:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ปริมาณการนำเข้า ปี 2551-2553

  • HS 04070091 : Hens Eggs in Shell (Fresh Preserved or Cooked not for Hatching)

ปริมาณ : ร้อยฟอง , มูลค่า : พันเหรียญสิงคโปร์

  ประเทศ                    2551                         2552                        2553
                   ปริมาณ          มูลค่า          ปริมาณ          มูลค่า          ปริมาณ          มูลค่า

ออสเตรเลีย             -             -           50.4            3             -             -
ญี่ปุ่น               1,227.73         80          1257.1          81         1,021.57         58
เกาหลีใต้               -             -             -             -        212,198.40        137
มาเลเซีย         11,153,724.60    124,504    11,624,918.20    124,108    11,971,192.50    131,229
นิวซีแลนด์           13,044.60        419        16,966.80        488        18,871.20        578
สหรัฐฯ             1,820.16         61         3,466.80         109        1,087.20         39
     รวม        11,169,817.09    125,064    11,646,659.30    124,789    12,204,270.57    132,042

2. ราคานำเข้า
  • จากออสเตรเลีย ประมาณ 0.58 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง
  • จากญี่ปุ่น ประมาณ 0.56 - 0.62 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง
  • จากนิวซีแลนด์ประมาณ 0.35 - 0.40 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง
  • จากสหรัฐฯ ประมาณ 0.35 - 0.40 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง
  • จากมาเลเซีย ประมาณ 0.12 - 0.14 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง
  • จากเกาหลีใต้ ประมาณ 0.12 - 0.14 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง

3. ราคาขายส่งและขายปลีก

3.1 ราคาขายส่ง : อัตราเฉลี่ย 0.14 - 0.70 เหรียญสิงคโปร์/ฟอง

3.2 ราคาขายปลีก : อัตราเฉลี่ย 0.17 — 0.42 เหรียญสิงคโปร์/ ฟอง (ยกเว้นจากออสเตรเลียและญี่ปุ่น) ซึ่งส่วนใหญ่จำหน่ายทั่วไปโดยบรรจุ 10 ฟอง/กล่องพลาสติกใส ราคากล่องละ 1.70 — 4.20 เหรียญสิงคโปร์ สำหรับไข่ไก่จากญี่ปุ่นและออสเตรเลีย จัดจำหน่าย ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นและ Cold Storage ซึ่งมีปริมาณไม่มาก ราคาฟองละ 0.65 - 0.70 เหรียญสิงคโปร์

4. ประเทศคู่ค้าสำคัญ

  • มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
  • อนึ่ง สืบเนื่องจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 และส่งผลเสียหายแก่โรงงานนิวเคลียร์ ทำให้สิงคโปร์ห้ามนำเข้าสินค้าอาหาร (รวมไข่ไก่) ผัก ผลไม้ จากญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว อีกทั้งมีการตรวจสอบสินค้านำเข้าอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขอนามัยของผู้บริโภคในสิงคโปร์

5. ระเบียบการนำเข้า

1) หน่วยงานที่ควบคุมดูแลคือ Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) จะอนุญาตให้นำเข้าไข่ไก่เฉพาะจากฟาร์มที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ AVA แล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันอนุญาตให้นำเข้าจากประเทศ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สวีเดน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และมาเลเซีย

2) ฟาร์มผลิตต้องอยู่ในเขตปลอดเชื้อโรค (disease-free zones) ไม่มี highly pathogenic avian influenza (HPAI) เป็นเวลา 6 เดือนก่อนการส่งออก และฟาร์มจะต้องปลอดเชื้อ Salmonella Enteritidis และไม่มีกรณีของโรค velogenic Newcastle disease, Infectious bronchitis, Infectious laryngotracheitis, Avian encephalomyelitis, Infectious bursal disease, EDS ’76 or Chronic respiratory disease due to Mycoplasma gallisepticum or M.synoviae, Salmonellosis (including Salm, Pullorum) เป็นเวลา 3 เดือนก่อนที่จะส่งออก

3) ในบางครั้ง AVA อาจสุ่มตรวจสอบสารตกค้าง Antibiotic (doxycycline) และ microbiological ก่อนที่จะอนุญาตให้จำหน่ายในสิงคโปร์ได้

4) ผู้ส่งออกจากประเทศผู้ผลิตจะต้องแนบใบรับรองจากหน่วยงานที่ตรวจสอบภายใน ประเทศมาด้วยทุกครั้งในการส่งออกมาสิงคโปร์

5) อนึ่ง หาก AVA ตรวจสอบแล้ว ไข่ไก่มีสารปนเปื้อน จะต้องส่งกลับประเทศผู้ผลิตหรือทำลาย อีกทั้งฟาร์มที่ผลิตจะถูกยกเลิกให้ส่งออกชั่วคราวหรือคัดชื่อออกจากรายชื่อที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ AVA สำหรับผู้นำเข้าจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตนำเข้า และอาจถูกนำขึ้น ฟ้องศาลด้วย

6) ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้นำเข้าแต่อย่างใด

ขั้นตอนทั่วไปในการนำเข้า

ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามระเบียบ Wholesome Meat and Fish Act โดยดำเนินการ ดังนี้

1. ยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าต่อ AVA ซึ่งการขออนุญาตจะต้องกระทำทุกครั้งที่นำเข้าฯ

2. สินค้าต้องมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจาก AVA เท่านั้น

3. ในทุกครั้งที่นำเข้าจะต้องประกอบด้วยเอกสาร Health Certificate จากหน่วยงานกรมปศุสัตว์ของประเทศแหล่งผลิตกำกับด้วย

4. การส่งสินค้าต้องส่งโดยตรงจากแหล่งผลิตไปยังสิงคโปร์

5. การบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง ให้ระบุ หน่วยปริมาณสินค้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

5.1 รายละเอียดสินค้า

5.2 ประเทศผู้ผลิต

5.3 ตรายี่ห้อสินค้า (ถ้ามี)

5.4 ระบุชื่อและหมายเลขโรงงานฟาร์ม/โรงงานผลิตที่ได้รับอนุมัติจาก AVA พร้อมวันที่ผลิตสินค้าและวันที่บรรจุภัณฑ์

5.5 ระบุน้ำหนักสุทธิสินค้าและน้ำหนักรวมกล่อง

6. ภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี

1. ภาษีนำเข้า—ไม่มีการเรียกเก็บ ส่วนภาษีที่เรียกเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7

2. มาตรการที่มิใช่ภาษี คือ ข้อมูลบนฉลากสินค้า ให้เป็นไปตามระเบียบ The Food Regulations ซึ่งต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องคือ

  • Common Name of Product
  • Nett Weight or Volume of Product
  • Name and Address of Manufacturer/Importer/Packer/Distributor
  • Country of Origin of Product
  • List of Ingredients in Descending Order of Proportions
  • Date of Marking for 19 Category of Products. Letters shall not be less than 3 mm in

height and shall be show in one of the following ways:

                              Use By               :           dd/mm/yy
                              Sell By              :           dd/mm/yy
                              Expiry Date          :           dd/mm/yy
                              Best Before          :           dd/mm/yy
  • Bar Code/EAN
  • Nutrition Facts Panel (NIP)
  • No "Health Claims" Allowed on the Label
  • Optional : "Halal" Logo on the Label

หน่วยงานควบคุม Food Labeling and Advertisements

Food Control Division

Agri-Food & Veterinary Authority

5 Maxwell Road, #18-00, Tower Block, MND Complex, Singapore 069110

Tel: 6325 2579

Fax: 6324 4563

7. การผลิตภายในประเทศ

ฟาร์มผลิตไข่ไก่มี 5 แห่ง อยู่ในเขต Murai Farmway, Sungei Tengah และ Lim Chu Kang โดยมีปริมาณการผลิต ดังนี้

                    2550                2551                2552
                 373 ล้านฟอง          338 ล้านฟอง          333 ล้านฟอง

ชาวสิงคโปร์รับประทานไข่ไก่ประมาณวันละ 1 ฟอง/คน รวมประมาณ 3.8 ล้านฟองต่อวัน สำหรับการผลิตในประเทศมีปริมาณวันละ 900,000 ฟอง คิดเป็นประมาณร้อยละ 23 ของปริมาณรวมของการบริโภค

8. แนวโน้มตลาด/ข้อสังเกต

1. แม้ว่าสิงคโปร์สามารถผลิตไข่ไก่ได้ แต่ปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคภายใน ประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การส่งออกจากสิงคโปร์ จึงมีปริมาณน้อยมากซึ่งจะเป็นการนำเข้าเพื่อการส่งออกต่อ (Re-export)

2. ภาครัฐสิงคโปร์มีนโยบายในการขยายพื้นที่ในสิงคโปร์สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อผลิต ไข่ไก่ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่และใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถควบคุมมาตรฐานและส่งเสริมสุขอนามัยอาหารได้โดยตรง และเป็นการส่งสัญญาณแก่ผู้ผลิตต่างประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังตลาดสิงคโปร์ให้คำนึงถึงมาตรฐานและสุขอนามัยอาหารเป็นสำคัญ

3. นอกจากนี้ ภาครัฐได้สนับสนุนให้ผู้นำเข้าจัดหาสินค้าจากแหล่งผลิตทั่วโลก เพื่อให้ชาวสิงคโปร์ไม่ขาดแคลนอาหาร และทำให้สินค้ามีราคาที่สามารถแข่งขันได้ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ