ในปี 2554 ประเทศอินเดียมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่องจากปี 2553 ที่เศรษฐกิจอินเดียที่เติบโตถึงร้อยละ 8.3 อันเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุน เกษตรกรรมและธุรกิจการเงิน
สำนักงานสถิติกลางของอินเดียเผยข้อมูลเศรษฐกิจว่า ในปี 2553 ผลผลิตภาคเกษตรกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 8.9 ขณะที่ธุรกิจของบริษัทการเงินและอสังหาริมทรัพย์เติบโตร้อยละ 11.2 ส่งผลให้เศรษฐกิจของอินเดียเติบโตร้อยละ 8.3
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดียที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือ การลงทุน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของ GDP และส่วนหนึ่งของเงินลงทุนในเศรษฐกิจอินเดียเป็นเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสัดส่วนเพียงร้อยละ 3.0 ของเงินลงทุนโดยรวม (Gross Fixed Capital Formation) ของอินเดียในปี 2548 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี 2553 ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 The United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) ได้เผยแพร่รายงาน "Foreign Direct Investment 2010" ซึ่งเป็นข้อมูลการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลกในปี 2552 ระบุว่า อินเดียเป็นประเทศที่ดึงดูด FDI ได้มากที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก มูลค่าราว 34.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนั้น UNCTAD ยังคาดการณ์ว่า FDI Inflows ของอินเดียจะเพิ่มขึ้นและมี FDI Inflows มากเป็นอันดับ 3 ของโลกในช่วงปี 2553-2555 ทั้งนี้ FDI ที่เพิ่มอย่างรวดเร็วสะท้อนถึงความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติต่อตลาดอินเดีย ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงบทบาทของนักลงทุนต่างชาติในตลาดอินเดียที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
จุดแข็งของการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะสาขาการบริการเนื่องจากมีแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากในหลายสาขา เช่น วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งค่าจ้างต่ำ และใช้ภาษาอังกฤษได้ดี สำหรับในภาคอุตสหกรรมอินเดียก็มีจุดแข็งในด้านความอุดมสมบูรณ์ เช่น ถ่านหิน เหล็ก และปิโตรเลียม รวมทั้งทรัพยากรทางทะเลมาก เนื่องจากมีอาณาเขตทางทะเลกว่า 7,500 กิโลเมตร
รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า ในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งเริ่มในวันที่ 1 เมษายน เศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ซึ่งเป็นระดับที่เศรษฐกิจอินเดียเคยขยายตัวก่อนที่เกิดปัญหาวิกฤติการเงินโลก ปัจจุบันอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจหลายประการ อาทิเช่น ชนชั้นกลางมีจำนวนประมาณ 300 ล้านคนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปิดรับ FDI มากขึ้น ทำให้ปัญหาระบบวรรณะที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมอินเดียบรรเทาลงไปมาก ปัจจุบันอินเดียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชียรองจากจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ภาคบริการมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของ GDP ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม และการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 28 และ ร้อยละ17 ตามลำดับ ศักยภาพในเรื่องซอฟต์แวร์ของอินเดียมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการขยายตัวของภาคบริการ การบริการทางธุรกิจ (เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาซอฟท์แวร์ โทรคมนาคม การเงิน การจ้างทำกระบวนการธุรกิจและการก่อสร้าง) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดและดึงดูด FDI มากที่สุด การเติบโตในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลมาจากการที่อินเดียมีความสามารถเฉพาะทางที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับแรงงานจำนวนมากที่มีค่าแรงถูก แต่ความสามารถสูง มีการศึกษา และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งตรงกับความต้องการจากบริษัทต่างชาติที่สนใจในการส่งออกการบริการเหล่านี้ หรือบริษัทที่ต้องการจะจัดจ้างบุคคลภายนอก
อินเดียมีความก้าวหน้ามากในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มีตลาดที่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตเร็วที่สุดในโลกถึง 21.1% และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีน และฮ่องกง โดยเฉพาะในธุรกิจสำคัญ ได้แก่ ภาพยนต์ ซอฟแวร์ และการออกแบบสินค้าแฟชั่น นักเรียนไทย บังกะลอร์
ผลจากการที่เศรษฐอินเดียเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศ BRICs อันได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน จึงถูกจับตามองว่าจะเป็นผู้นำโลกต่อไปในอนาคต เป็นที่คาดการณ์ว่าใน ศตวรรษที่ 21 จะเป็นยุคของจีนและอินเดีย เพราะปัจจุบันสหรัฐพัฒนามาเป็นเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร จากเดิมที่เป็นเศรษฐกิจแบบรวมทรัพยากรขยับสู่เศรษฐกิจภาคการผลิตและเศรษฐกิจอิงภาคบริการ ซึ่งในขณะที่อังกฤษและสหรัฐเติบโตสูงสุดแล้ว จีนและอินเดียเพิ่งเปิดประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันจีนมีจีดีพี 8% ของทั้งโลก ส่วนอินเดียมีสัดส่วน 2% จึงเป็นสาเหตูที่จะทำให้จีนและอินเดียมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รูปแบบโครงสร้างภาคธุรกิจของอินเดียที่ได้รับ FDI มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและสินค้าเพื่ออุตสาหกรรม (อาทิ การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน ท่าเรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ เป็นต้น) มาเป็นธุรกิจภาคบริการที่รองรับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ได้แก่ ธุรกิจในกลุ่มบริการ (อาทิ บริการการเงิน ธนาคาร ประกันภัยที่ปรึกษาทางการเงิน บริการด้านสุขภาพ การวิจัยและพัฒนา และบริการอื่นๆ เช่น บริการพัสดุไปรษณีย์ บริการด้านกฎหมาย บันเทิงและสันทนาการ เป็นต้น) ซึ่งมีสัดส่วนของกลุ่มธุรกิจ FDI ภาคบริการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากราวร้อยละ 7 ของ FDI Inflows ทั้งหมดของอินเดีย เป็นร้อยละ 21 นอกจากนี้ พบว่าหลายธุรกิจได้รับ FDI เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจที่ดึงดูด FDI มากเป็นอันดับต้นๆ ของอินเดีย สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับรายได้ที่สูงขึ้น ธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ และธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ (ในที่นี้รวมถึงซีเนเพล็กซ์ มัลติเพล็กซ์ อาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์อื่นๆ และ บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ลีสซิ่งและการให้เช่าอาคารที่อยู่อาศัย/อาคารพาณิชย์ เป็นต้น) สำหรับธุรกิจอีก ส่วนหนึ่งที่รองรับ FDI ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์/ซอฟท์แวร์ (อาทิ ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรมเมอร์) และคอมพิวเตอร์/ฮาร์ดแวร์ (อาทิ การผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและสินค้าผลิตเพื่อส่งออก) ธุรกิจด้านโทรคมนาคม (อาทิ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ) ซึ่งแม้ว่าส่วนใหญ่เป็นการรองรับบริการ Outsourcing ของบริษัทต่างชาติเป็นหลัก เนื่องจากศักยภาพของแรงงานอินเดียด้านภาษาอังกฤษและทักษะด้าน IT แต่อีกส่วนหนึ่งยังเป็นการตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน เป็นต้น
ทั้งนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะปัจจัยจากการลงทุนจากต่างประเทศยังส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของอินเดียในหลายด้าน ขณะที่อุปสงค์ในตลาดยังพัฒนาตามอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ทัน จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
โครงสร้างธุรกิจของ FDI ที่เปลี่ยนไปเป็นภาคบริการและธุรกิจผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นสะท้อนการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้บริโภคในอินเดียมีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียที่ร้อนแรงต่อเนื่องทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น แรงงานมีรายได้และกำลังซื้อในตลาดผู้บริโภคอินเดียเพิ่มขึ้น (การใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจาก 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปี 2548 เป็น 640 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปี 2553) ส่งผลให้อุปสงค์ในสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น อีกทั้งระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคให้หลากหลายยิ่งขึ้น บริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติมองเห็นช่องทางการลงทุนทางธุรกิจที่หลากหลาย แปลกใหม่ และเป็นสากลมากขึ้น เพื่อรองรับผู้บริโภคระดับปานกลาง-สูง จึงดึงดูดให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในภาคธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น
การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะปัจจัยจากการลงทุนจากต่างประเทศส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของอินเดียในหลายด้าน ขณะที่อุปสงค์ในตลาดยังพัฒนาตามอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ทัน จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจเพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลให้อินเดียมีความต้องการนำเข้าสินค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อผลิตสินค้ารองรับตลาดผู้บริโภคเพิ่มขึ้น (ในปี 2553 อินเดียนำเข้าสินค้าทั้งหมดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 20.7 ของ GDP ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคราวร้อยละ 16 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด) เพื่อรองรับผู้บริโภคในตลาดอินเดียมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยให้ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าไปยังตลาดอินเดียได้เพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้น
ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลดภาษีภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) และกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการมีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดอินเดียได้มากขึ้น เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ในระยะยาวหากการลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้ในอินเดียเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้สินค้าส่งออกของไทยมีความได้เปรียบในระยาวยาว ผู้ส่งออกไทยควรพิจารณาการเข้าไปลงทุนในอินเดียด้วย เช่น การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการเจาะตลาดอินเดียที่มีผู้บริโภคกำลังซื้อปานกลางที่มีจำนวนมากถึง 300 ล้านคน จึงน่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจไทยที่จะเติบโตได้โดยได้รับปัจจัยเกื้อหนุนจากการปรับปรุงนโยบายด้านการลงทุนและผ่อนคลายระเบียบ/มาตรการด้านการลงทุนในหลายธุรกิจ อีกทั้งอินเดียยังอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงด้านการค้าและการลงทุนกับหลายประเทศ ทำให้การเข้าไปลงทุนของธุรกิจไทยในอินเดียมีโอกาสขยายการส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA ของอินเดียได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาตลาดผู้บริโภคในอินเดียอย่างรอบคอบ เนื่องจากอินเดียเป็นตลาดที่มีความหลากหลายของพื้นที่ ทรัพยากร เศรษฐกิจ รายได้ และวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ/แต่ละเมือง นอกจากนั้น ระบบวรรณะยังแข็งแกร่งในสังคมอินเดีย แม้จะปรับตัวให้ดีขึ้นในปัจจุบันก็ตาม การจะเข้าไปทำการค้าหรือลงทุนควรพิจารณาเลือกพื้นที่ลงทุนที่เอื้อต่อธุรกิจทั้งด้านการผลิตและการตลาด ทั้งนี้ พื้นที่มีศักยภาพในการส่งออกและการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ หัวเมืองเศรษฐกิจหลัก 10 เมือง ได้แก่ มุมไบ นิวเดลี โกลกัตตา บังกะลอร์ เจนไน ไฮเดอราบัด อาห์เมดาบัด ปูเน่ สุรัติ และกานปูร์ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีประชากรมาก และมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งมีปัจจัยเอื้อต่อการลงทุนในหลายด้าน ทั้งอุตสาหกรรมและบริการ
บริษัท McKinsey Global ประกาศผลการวิจัยพบว่า ในปี 2030 อินเดียจะมีเมืองที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนถึง 68 เมือง ในจำนวนนี้มี 13 เมืองที่มีประชากรเกิน 4 ล้านคน และ 6 มหานครที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคน
คาดว่า ในปี 2030 จะมีคนอยู่กันในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้มากกว่า 590 ล้านคน และมุมไบกับนิวเดลีจะเป็นเมืองที่มีประชาการมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเมืองเหล่านี้จะมีขนาดประชากรและขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศสำคัญๆ บางประเทศเสียอีก อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ้างงาน 70 % ของอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจ 70 % ของ GDP อินเดีย เป็นแหล่งรายได้ด้านภาษีเงินได้ 85% ของรัฐบาล
ปัจจุบันอินเดียมีเมืองเศรษฐกิจสำคัญ 10 เมือง ประกอบด้วย มุมไบ นิวเดลี โกลกัตตา บังกะลอร์ เจนไน ไฮเดอราบัด อาห์เมดาบัด ปูเน่ สุรัติ และกานปูร์ ตามลำดับ
อันดับ 1 มหานครมุมไบ (Mumbai)
มุมไบ เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของอินเดีย มีขนาด GDP ใหญ่ที่สุดของประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่ติดอันดับ 10 เมืองธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้วย มุมไบมีการผลิตภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 25 % ของอินเดีย ปัจจุบันมีการพัฒนาเมืองคู่แฝดอย่าง Navi Mumbai และ Thane ให้เจริญทัดเทียมกับมุมไบ มีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในเมืองทั้ง 3 นี้ บริษัทข้ามชาตินิยมตั้งสำนักงานที่มุมไบ มุมไบยังเป็นเมืองที่มีค่าเช่าสำนักงานแพงเป็นอันดับ 4 ของโลก มีตึกระฟ้าติดอันดับโลกอยู่มากมาย มีผู้คนจากทั่วอินเดียมาทำงานอยู่ที่เมืองมุมไบ มุมไบเป็นเมือง Bollywood แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาทางด่วน รถไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟใต้ติดอย่างเต็มที่ก็ตาม แต่มุมไบก็ยังเป็นเมืองที่ถติดหนักที่สุดของอินเดีย
อันดับ 2 กรุงนิวเดลี (New Delhi)
กรุงนิวเดลี เมืองหลวงแห่งสาธารณรัฐอินเดีย มี GDP เป็นสัดส่วน 4.94% ของ GDP ทั้งประเทศ ในภาคบริการมีการเติบโตเป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างดีเยี่ยม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ IT โทรคมนาคม โรงแรม ธนาคาร สื่อสาร สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องหนัง ไฟฟ้า โทรคมนาคม บริการด้านสุขภาพ อสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว
ธุรกิจก่อสร้างไทยมีโอกาศที่ดีในการเข้าสู่ตลาดนิวเดลี เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างมากมาย อาทิเช่น โครงการยักษ์ the Yamuna Expressway Project พร้อมทั้งมีโครงการพัฒนาเมืองรายทาง 5 เมืองควบคู่ไปด้วย ได้แก่ เมือง Greater Noida, Jaganpor, Mairzapur, Tappal และ Agra
อันดับ 3 โกลกัตตา(Kolkata)
โกลกัตตา ชื่อเดิมคือ กัลกัตตา เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ธุรกิจด้าน IT ของโกลกัตตาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในเขต Raja hat ,Greater Kolkata โกลกัตตาเป็นเมือง ITเพียงเมืองเดียวในฝั่งตะวันออกของอินเดีย มีการเติบโตถึงปีละ 70% โดยมีนิคมอุตสาหกรรม IT ชื่อ Saltlake Sector 5 โกลกัตตายังเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกและอีสานของอินเดีย ตลาดหุ้นโกลกัตตาใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมหานครมุมไบ ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัย และสำนักงานใหม่ๆ มากมาย โอกาสทางธุรกิจในโกลกัตตา มีมากเนื่องจากการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยัง เวสต์เบงกอล อีสานของอินเดีย พิหาร และทิเบตของจีน (ผ่านด่าน Nathula) นอกจากนั้น ธุรกิจบริการด้าน การก่อสร้าง การท่องเที่ยว โรงแรม และสปา ก็เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ โกลกัตตายังมี China town หนึ่งเดียวของอินเดีย ซึ่งชาวจีนส่วนใหญ่ทำธุรกิจโรงฟอกหนังและร้านอาหารจีน
อันดับ 4 บังกะลอร์ (Bangalore)
บังกะลอร์ (ชื่อใหม่คือ Bengaluru) เป็นเมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะ เป็นเมือง IT อันดับ 1 ของอินเดีย (Silicon Valley of India) และเป็นที่นิยมของบริษัทต่างชาติเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนี้กว่า 2,000 แห่ง เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย บังกะลอร์มีจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 1 ล้านรูปีมากที่สุดในอินเดีย จึงเป็นเศรษฐีตัวจริงของอินเดีย อุตสาหกรรมหลักของบังกะลอร์คือ IT และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น BPO การจ้างงานส่วนใหญ่ในบังกะลอร์จึงเป็นบริษัทซอฟแวร์ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสู่ธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น เช่น การก่อสร้าง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และการท่องเที่ยว บังกะลอร์มีนิคมธุรกิจซอฟแวร์อยู่ 3 แห่ง คือ Software Technology Parks of India (STPI); International Tech Park, Bangalore (ITPB); และ Electronics City
รัฐกรณาฏกะ(Karnataka) — เป็นรัฐที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย ในปัจจุบันรัฐบาลกรณาฏกะได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.1 แสนล้านรูปีต่อปี (ประมาณ 4.5% ของ GDPของรัฐ) และมีแผนจะลงทุนอีกราว 2.1 แสนล้านรูปีต่อปี(ประมาณ 9% ของ GDP) ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดการประมูลงานได้ที่ Email: prs-infra@karnataka.gov.in, www.idd.kar.nic.in
อันดับ 5 เจนไน (Chennai)
เจนไนเป็นเมืองอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ (30 % ของการผลิตรถยนต์ในอินเดีย ซึ่ง Hyundai มีฐานการผลิตใหญ่อยู่ที่เมืองเจนไน ) IT (Software & Hardware), BPO และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ IT (เจนไนมีการส่งออก software และ ITES มากเป็นอันดับสองรองจากบังกะลอร์) Medical Hub เครื่องหนัง รองเท้า อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนต์ (โกลลิวูด) การผลิตกระดาษจากชันอ้อย การท่าเรือ ปัจจุบันมีบริษัทไทย เข้าไปลงทุน เช่น CP (โรงงานอาหารสัตว์) เดลตา (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) และบ้านพฤกษา (บ้านจัดสรร)
ผลจากการที่เจนไนมีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ มี FDI เป็นอันดับต้นๆ ของอินเดีย และมีท่าเรือที่ทันสมัยและดีเยี่ยม ส่งผลให้เจนไนมีศักยภาพรองรับสินค้าไทยป้อนสายการผลิตและผู้บริโภคหลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอาหาร ทองรูปพรรณ ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องสำรองไฟฟ้าอนึ่ง บนทางหลวงสุวรรณจตุรพักตร์ช่วงเจนไน-Red hill มีนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำ Sri City ซึ่งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ Rockworth ของไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจแล้ว
เจนไนยังเป็นประตูสู่อินเดียสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอยู่ใกล้ประเทศไทยและมีทางหลวงสุวรรณจตุรพักตร์ เชื่อมโยงกับเมืองเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น บังกะลอร์ ปูเน่ มุมไบ สุรัต เวโดดารา อาห์เมดาบัด นิวเดลี อัครา อลาฮาบัด กันปูร์ พารานาสี อะรองกาบัด โกลกัตตา วิสาขาปัตนัม และกุนตูร์
อันดับ 6 ไฮเดอราบัด (Hyderabad)
ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเดคคาน เป็นศูนย์กระจายสินค้าสู่รัฐโอริสา ฉัตติสครห์ ฌาร์ขัณฑ์และมหาราษฏระ ไฮเดอราบัดเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของรัฐอานธรประเทศ มี IT เป็นอุตสหกรรมหลัก อุตสาหกรรม IT ใช้แรงงานคิดเป็นสัดส่วน 90% ของแรงงานทั้งหมด เศรษฐกิจของเมืองนี้ได้ขยายตัวจากสาขาบริการไปสู่สาขาอื่นๆ นอกสาขา IT มากขึ้น อันได้แก่ การค้า การขนส่ง การส่งออก คลังสินค้า การสื่อสาร และห้างสรรพสินค้า (มี Hypermart .ใหญ่ที่สุดของอินเดีย) เป็นต้น รายได้หลักส่วนหนึ่งของไฮเดอราบัดมาจากจากแรงงานอินเดียที่ไปทำงานในดูไบ ปัจจุบันมีบริษัทไทย Rockworth เข้าไปตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรม Sri City และ CP เข้าไปตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่เขตท่าเรือวิสาขาปัตนัม
อันดับ 7 อาห์เมดาบัด (Ahmedabad)
อาห์เมดาบัด (Ahmedabad) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของรัฐกุจรัต ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้อาห์เมดาบัดเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ทำเลตั้งที่อยู่ไม่ห่างจากเมืองสุรัตนัก และเป็นศูนย์กระจายสินค้าสินค้าให้กับเมืองอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลจากทะเลในฝั่งตะวันตก อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ IT, ยานยนต์ Software, BPO (ทาทา) ก่อสร้าง สิ่งทอ ฝ้าย รถยนต์ (ทาทา นาโน) เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยา เคมีภัณฑ์ การค้า การขนส่ง คลังสินค้า และการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ เครื่องขัดสีข้าว และทองรูปพรรณ (อินเดียบริโภคทองคำมากที่สุดในโลก)
อันดับ 8 ปูเน่ (Pune)
ปูเน่ เป็นเมืองบริวารของมุมไปที่ห่างไปทางทิศตะวันออกราว 150 กิโลเมตร มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง ปูเน่เป็นเมืองอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกประเภท เป็นเมืองแห่งเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า IT, Software, BPO มีนิคมอุตสาหกรรม ITชั้นนำ เช่น Rajiv Gandhi IT Park at Hinjewadi, Magarpatta Cybercity, MIDC Software Technology Park ที่เขต Talawade , Marisoft IT Park ที่เขต Kalyani Nagar
อันดับ 9 สุรัติ (Surat)
สุรัติเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐกุจรัต เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาสุรัติมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 11.5% ต่อปี มีการว่างงานต่ำ การจ้างงานสูง และมีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยต่อหัวสูงที่สุดในอินเดีย นับแต่อดีตมาสุรัติเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านสิ่งทอ และ อุตสาหกรรมเพชร(Diamond capital of the World) ทั้งนี้กว่า 90 % ของเพชรในตลาดโลกผ่านการตัดและเจียรนัยที่เมืองสุรัติแห่งนี้
อันดับ 10 กันปูร์ (Kanpur)
กันปูร์ตั้งอยู่ในรัฐอุตรประเทศ เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของอินเดีย เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมส่งออกเครื่องหนัง (ส่งออกรองเท้ามากที่สุดของอินเดีย) และสิ่งทอของอินเดีย นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมหนักที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เหล็ก เคมีภัณฑ์ จักรยานยนต์ เครื่องยนต์ และปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตด้านอุตสาหกรรมและเกษตรของประเทศทุกประเภท กันปูร์ยังเป็นเมืองที่มี SMEs มากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย กันปูร์มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเกณฑ์ที่ดีมาก มีทางหลวงเชื่อมเมืองสำคัญๆ เช่น นิวเดลีหลายสาย ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่สนใจส่งออกสินค้าปัจจัยการผลิตสินค้าไม่ควรมองข้ามตลาดกันปูร์ อาทิเช่น ชิ้นส่วนรองเท้าและเครื่องหนัง หนังฝอก และ ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ เป็นต้น
ในอดีตอินเดียใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เน้นการพึ่งพาตนเอง โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนในกิจการหลักๆ ของประเทศทั้งหมด ได้แก่ กิจการสาธารณูปโภคและสวัสดิการของประชาชน กิจการที่เป็นยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ และอุตสาหกรรมหนัก แต่ก็ให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจการขนาดเล็กของเอกชน ในด้านการค้าอินเดียจำกัดและห้ามนำเข้าสินค้าด้วยมาตรการกฏหมายและกำแพงภาษี นอกจากนี้ ยังควบคุมการลงทุนอย่างเข้มงวดต่อมาอินเดียเริ่มผ่อนคลายมาตรการข้อจำกัดลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการณ์น้ำมัน และสงครามอ่าวเปอร์เซียซึ่งทำให้ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2534 ทำให้อินเดียต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามเงื่อนไขการกู้เงินของ IMF โดยประกาศนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกำหนดมาตรการที่สำคัญ เช่น ลดการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ การปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นของต่างชาติ ลดการอุดหนุนส่งออกและข้อจำกัดการนำเข้า และตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบขนส่งให้ทันสมัยเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติได้มากขึ้น
อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่การทำเกษตรแบบโบราณ การเกษตรสมัยใหม่ การหัตถกรรม อุตสหกรรมยุคใหม่ ไปจนถึงธุรกิจบริการ (ซ๊อฟแวร์และการธนาคาร เป็นต้น ) ธุรกิจบริการเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักให้กับประเทศอินเดีย โดยมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตของประเทศ .
สำหรับในด้านแรงงาน พบว่าประมาณ 1ใน 3 อยู่ในภาคบริการ ในขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งในของแรงงานของประเทศอยู่ในภาคการเกษตร เป็นผลให้พรรคร่วมรัฐบาล UPA เน้นนโยบายส่งเสริมพัฒนาชนบทในด้านต่างๆ อาทิเช่น โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชนบทที่ยากจนและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ห่างไกล ปัจจุบันรัฐบาลได้ผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนลงของต่างชาติลง พร้อมทั้งเพิ่มสัดส่วนการเข้าไปลงทุนโดยตรงของต่างชาติในสาขาต่างๆ เช่น ในสาขาโทรคมนาคม เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การปกป้องในสาขาเกษตรยังคงมีอยู่สูงก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของสินค้าจากต่างประเทศ
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะพบกับการชะลอตัว แต่อินเดียในปี 2551 ก็ยังมีการขยายตัวกว่าร้อยละ 7 เหตุผลสำคัญเบื้องหลังคืออินเดียมีตลาดภายในขนาดใหญ่ที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้ นอกจากนั้นจุดแข็งประการสำคัญของอินเดียคือการมีประชาชนที่มีการศึกษาดีและพูดภาษาอังกฤษได้เป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกซ๊อฟแวร์ชั้นนำรวมถึงแรงงานด้านซ๊อฟแวร์ด้วย
อินเดียมีความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา สร้างรายได้จากการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการจาก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2534 เป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2553 และคาดว่าในปี 2554 จะมีการส่งออก 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว โดยมีบริษัทผู้ส่งออก ซอฟต์แวร์ที่สำคัญ ได้แก่ Infosys Technologies (INFY.BO), Tata Consultancy Services (TCS.BO) และ Wipro (WIPR.BO), ทั้งนี้ เพราะอินเดียมีประชากรร้อยละ 6 ที่มีความเป็นอยู่และการศึกษาดีในระดับนานาชาติ และมีสถาบันการศึกษาคุณภาพสูงที่เน้นการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ อินเดียยังเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมสะอาดปราศจากมลพิษ เป็นการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีการลงทุนต่ำและมีมูลค่าเพิ่มในการส่งออกสูงมาก ประกอบกับการสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐ ทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น มีการจัดตั้งองค์กรเฉพาะของภาครัฐ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาการส่งออกซอฟต์แวร์ คือ Software Technology Parks of India (STPI)รัฐกรณาฏกะ (Karnataka) เป็นรัฐที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูงที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะที่เมืองบังกาลอร์ (เปลี่ยนชื่อเป็นเบงกาลูลู) ซึ่งเป็นเมืองหลวง ได้ชื่อว่าเป็น Silicon Valley ของอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์รวมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีบริษัทชั้นนำกว่า 30 บริษัท และเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นศูนย์บริการตอบรับทางโทรศัพท์ (call centers) เป็นศูนย์รวมสำนักงานสาขานอกประเทศ (offshore offices) และศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท อาทิ General Electric Intel และ General Motors ในขณะเดียวกันการเติบโตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วไปยังเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น เจนไน ในรัฐทมิฬนาฑู และ โกลกัตตาในรัฐเบงกอลตะวันตก รวมทั้ง ไฮเดอราบัดและปูเน เป็นต้น โดยรัฐเหล่านี้มีกำลังคนที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีสูง กอปรกับรัฐบาลของรัฐต่างๆ ได้ทุ่มเทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับความเติบโตด้านนี้อย่างเอาจริงเอาจังด้วยนอกจากนั้น ความเจริญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่เรียกว่า ITes (IT enabled services) ยังเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการขยายตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของอินเดีย (เนื่องจากบุคคลกรในสาขา IT มีกำลังซื้อสูง) ที่กำลังเติบโตในเมืองใหญ่ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วง 6-8 ปีทีผ่านมา ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่โตเฉลี่ยร้อยละ 35 ต่อปี พบว่าร้อยละ 70 ของการขยายตัวของอาคารสำนักงานเป็นการเช่า/ซื้อของบริษัท IT และ ITes ทั้งของอินเดียและต่างชาติอาคารสำนักงานเป็นการเช่า/ซื้อของบริษัท IT และ ITes ทั้งของอินเดียและต่างชาติ
นับตั้งแต่วิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาลามเข้าสู่เอเชียและอินเดีย รัฐบาลอินเดียกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดียหลักในตลาดที่มีประชากรกว่า 1.2 พันล้านคนและเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจอินเดียชะลอตัวลงอย่างหนักโดยเฉพาะการลงทุนในประเทศทั้งภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสินเชื่อตึงตัวจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศและตลาดหลักทรัพย์ของอินเดียเอง ทั้งนี้ในปี 2550 ตลาดหลักทรัพย์อินเดียเป็นแหล่งระดมทุนของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมของอินเดียถึงร้อยละ 40 ของเงินทุนทั้งหมด ประกอบกับประชาชนอินเดียที่มีรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักได้รับผลกระทบจากภาวะสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกร่วงลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้กำลังซื้อของคนชนบทในอินเดียลดลงซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลอินเดียจึงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 85 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งการสร้างการจ้างงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชนบท การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังขาดแคลนอยู่มากในอินเดีย รวมถึงการลดภาษีในรูปแบบต่างๆ แม้ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศอินเดียปรับตัวสูงขึ้น)
แม้ว่าอินเดียจะพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย แต่แนวโน้มการพึ่งพาตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.2 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 48 ในปี 2553 เศรษฐกิจอินเดียในปี 2553
เศรษฐกิจอินเดียยังคงร้อนแรงในปี 2553 โดย GDP ขยายตัวถึงร้อยละ 8.8 ปัจจัย สำคัญที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอินเดีย ได้แก่ อุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งเนื่องจากการขยายตัว ของการลงทุนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งมีการขยายตัวของภาคการส่งออก อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม อินเดียกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากแรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ร้อยละ 8.4 ในเดือนธันวาคม 2553
ในปี 2553 การบริโภคของภาคเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.6 อีกทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 68.8 ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2552 มาอยู่ที่ระดับ 75 ในช่วงเดียวกันของปี 2553
นอกจากนั้น ผลจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอินเดียตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีความ เชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ระดับ 162.1 ทั้งนี้ในปี 2553 รัฐบาลอินเดียได้ทยอยปรับลดมาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่ง รวมถึงการชะลอการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ในส่วนของภาคการผลิต ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2553 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากช่วง ปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สี่ของปี 2553 มีความผันผวนค่อนข้าง สูง โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากร้อยละ 11.3 ในเดือนตุลาคม 2553 เป็น 2.7 ในเดือนพฤศจิกายน และ 1.6 ในเดือนธันวาคม 2553 ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการสินค้าอินเดีย ในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับชาวอินเดียชะลอการใช้จ่าย
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียยังมีข้อจำกัดเนื่องจากขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพียงพอ โดยเฉพาะการขนส่งทางบก ท่าเรือ และพลังงานไฟฟ้า กฎหมายแรงงานที่เข้มงวดในการกำหนดให้องค์กรที่มีลูกจ้างเกินกว่า 100 คนไม่สามารถปลดลูกจ้างออกจากงานได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายกิจการ รวมทั้งระบบราชการที่ซ้ำซ้อน การทุจริต การควบคุมการลงทุนของต่างชาติ และการปกป้องอุตสาหกรรมขนาดย่อมในประเทศ ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้เร่งปรับปรุงจุดออ่ นเหล่านี้โดยส่งเสริมการสร้างธรรมาธิบาล และเพิ่มเงินลงทุนก่อสร้างถนน และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อรักษาระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจให้คงที่ในระดับร้อยละ 9 ต่อปีในช่วงปี 2550-2555 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 11
รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า ในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งเริ่มในวันที่ 1 เมษายน เศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ซึ่งเป็นระดับที่เศรษฐกิจอินเดียเคยขยายตัวก่อนที่เกิดปัญหาวิกฤติการเงินโลก ปัจจุบันอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจหลายประการ อาทิเช่น ชนชั้นกลางมีจำนวนประมาณ 300 ล้านคนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปิดรับ FDI มากขึ้น ทำให้ปัญหาระบบวรรณะที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมอินเดียบรรเทาลงไปมาก ปัจจุบันอินเดียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชียรองจากจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ
Economic indicators: 2006 2007 2008 2009 2010* 2011** GDP (US$bn) (current prices) 874.8 1,102.40 1,209.70 1,185.70 1,430.00 1,598.40 GDP per capita (US$) 757 940 1,016 982 1,176 1,297 Real GDP growth (% change yoy) 9.8 9.4 7.3 5.4 8.8 8.4 Current account balance (US$m) -9,299 -11,285 -33,330 -29,125 -44,093 -49,859 Current account balance (% GDP) -1.1 -1 -2.8 -2.5 -3.1 -3.1 Goods & services exports (% GDP): 22.7 21.2 24.7 23.9 21.2 21.7 Inflation (% change yoy) 6.2 6.4 8.3 6.3 13.2 6.7 ที่มา: www.dfat.gov.au/ * ตัวเลขเบื้องต้น
นโยบายด้านเศรษฐกิจการค้า นโยบายที่เกี่ยวข้องต่อการค้าระหว่างประเทศของอินเดีย เช่น นโยบายงบประมาณประจำปี (BudgetPolicy) และนโยบายการค้าแห่งชาติ (National Foreign Trade Policy) ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างสอดคล้องกันที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจที่เข้าถึงประชาชน อาทิ การปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ผ่อนปรนการชำระหนี้แก่เกษตรกรพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและการชลประทานในชนบท ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าส่งออกดั้งเดิม(ผ้าทอมือ หัตถกรรม อัญมณี และเครื่องหนัง) และจัดตั้งเขตการส่งออกสินค้าเกษตร (Agri-Export Zones) เป็นต้น อินเดียสามารถบรรลุเป้าหมายหลักของในการค้าระหว่างประเทศ คือ เพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของอินเดียในตลาดโลกให้ได้ร้อยละ 1.6 ของการค้าโลกภายในปี 2552 ได้สำเร็จโดยสามารถเพิ่มยอดการส่งออกได้ถึง 165 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังมีการใช้นโยบายการค้าช่วยเพิ่มการจ้างงานโดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ - ลดการควบคุม และสร้างบรรยากาศของความไว้วางใจและความโปร่งใสให้แก่ผู้ประกอบการ - ลดขั้นตอนของกระบวนการทำงาน และต้นทุนดำเนินงาน - ตั้งอยู่บนหลักการที่สินค้าส่งออกจะต้องไม่มีต้นทุนแฝงด้วยภาษีต่างๆ - สนับสนุนการพัฒนาให้อินเดียเป็นศูนย์กลางของการผลิต การค้า และการบริการ - ปรับปรุงเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศให้ได้มาตรฐานสากล - ปรับโครงสร้างภาษีสินค้าให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเสียเปรียบจากข้อตกลงการค้าเสรี การค้าระหว่างประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้อุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้อินเดียส่งออกได้มากขึ้น โดยในปี 2553 อินเดียมีการส่งออก 216,174 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 322,680 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25 โดยอินเดียขาดดุลการค้า 106,506 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (13%) รองลงมาเป็นสหรัฐ (11%) จีน (6%) และฮ่องกง (4%) ส่วนไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 29 หรือร้อยละ 0.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของอินเดีย สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ เครื่องจักร สินแร่ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ และ ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น แหล่งนำเข้าสำคัญของอินเดีย ได้แก่ จีน (12%) รองลงมาเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (8%) ซาอุดิอาราเบีย (6%) และสวิตเซอร์แลนด์ (5%) ส่วนไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 26 หรือร้อยละ 1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของอินเดียส่วนใหญ่อินเดียนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบ สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ นำมันดิบ อัญมณี เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เหล็ก/เหล็กกล้า พลาสติก และปุ๋ย เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างอินเดียกับจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2545 เป็นกว่า 39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 หรือเพิ่มขึ้นเกิน 6 เท่าในช่วงเวลาเพียง 7 ปี โดยอินเดียขาดดุลการค้ากับจีนเป็นอันดับ 1 มาตลอด อีกทั้งยังมีแนวโน้ม ขาดดุลมากขึ้นเป็นลำดับ การค้ากับประเทศไทย ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2549-2553) มูลค่าการค้าไทยกับอินเดียขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ5,145.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 1.76 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2553 อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับที่17 ของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าเฉลี่ยปีละ 1028 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ภายหลังการเริ่มต้นลดภาษีสินค้าบางส่วนจำนวน 82 รายการ (Early Harvest Scheme) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดียเมื่อปี 2547 ส่งผลให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าอินเดียเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา การส่งออก ปี 2553 อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับ 11 ของไทยโดยส่งออกสินค้ามูลค่า 4,393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.25 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 36.29 กว่าร้อยละ 84 ของการส่งออกของไทยไปยังอินเดียเป็นการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและอัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า การนำเข้า ปี 2553 อินเดียเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 19 ของไทยโดยนำเข้าสินค้ามูลค่า 2,252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.24 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 30.39 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุน โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง ด้ายและเส้นใย เป็นต้น โอกาสทางการค้าและปัญหาอุปสรรค โอกาสทางการค้า — สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอาหาร สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ ชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องหนัง/หนังฝอก/รองเท้า/ชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ ทองรูปพรรณ (อินเดียบริโภคทองคำมากที่สุดในโลก) พลาสติก/เมลามีน ยาง/ผลิตภัณฑ์ กระดาษ กล่องกระดาษ อลูมิเนียม หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน ไม้อัด ไม้ยางพารา ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น/ของเล่นเพื่อการศึกษาเฟอร์นิเจอร์/ของใช้เด็ก โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลม ตู้เย็น เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องปรับอากาศ และเครื่องสำรองไฟฟ้า ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลดภาษีภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) และกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการมีแนวโน้มเข้าสู่ตลาดอินเดียได้มากขึ้น เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น FTA ไทย-อินเดีย ไทยและอินเดียได้ตกลงลดภาษีระหว่างกันในรายการสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme) จำนวน 82 รายการ โดยทั้ง 82 รายการมีอัตราภาษี 0% ปัจจุบัน ไทย-อินเดียอยู่ระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้าในส่วนที่เหลือ สินค้าที่มีศักยภาพส่งออกไปอินเดียภายใต้ FTA ไทย — อินเดีย ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ อะลูมิเนียมเจือ เครื่องประดับเพชรพลอย โพลิคาร์บอเนต ชิ้นส่วนยายนยนต์ พัดลม และเครื่องจักรกลการเกษตร ตรวจสอบข้อมูลสินค้าที่ได้รับประโยชน์จาก FTA ไทย — อินเดีย(TIFTA)ได้ที่ http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage=the_files/$$12/level3/fta_ind.htm&level3=1068 FTA อาเซียน-อินเดีย มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ครอบคลุมสินค้ากว่า 4,800 รายการ โดยสินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ กรดเทเรฟทาลิก เครื่องยนต์ดีเซล เอทิลีน ผ้าใบยางรถยนต์ ถังเชื้อเพลิง ยางสังเคราะห์ และเครื่องรับวิทยุ เป็นต้น ตรวจสอบข้อมูลสินค้าที่ได้รับประโยชน์จาก FTA อาเซียน — อินเดีย(AIFTA) ได้ที่ http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage=the_files/$$12/level3/Asean_India.htm&level3=1236 ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกไปอินเดียรายสินค้า สินค้า ปัญหา/ อุปสรรค สินค้าเกษตร - มาตรการสุขอนามัยกำหนดให้ผักและผลไม้ที่นำเข้าต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชที่ด่านกักกันโรคพืชโดยจะสุ่มตรวจสินค้า หากเป็นผักและผลไม้ที่อยู่นอกบัญชีรายชื่อก็จะถูกตรวจสอบทุกครั้งที่นำเข้า และล่าช้าซึ่งทำให้สินค้าเน่าเสีย - อัตราภาษีศุลกากรสูง รวมทั้งค่าระวางขนส่งสินค้าทางอากาศมีราคาสูงทำให้ราคาผลไม้ไทยมีราคาสูงขึ้น - ปัญหาเรื่องการขนส่งสินค้า เช่น ไม่มีท่าเรือที่สะดวกต่อการขนส่งไปยังปลายทาง รวมทั้งมีการตรวจสอบที่ล่าช้าที่ด่านศุลกากรก่อนปล่อยสินค้า - การขนส่งทางเรือจากไทยไปอินเดียใช้เวลานานประมาณ 20 วัน แต่จากอินเดียมาไทยใช้เวลาเพียง 9 วัน - อินเดียใช้มาตรการปกป้องกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่นำเข้าจากไทย - ชาวอินเดียส่วนใหญ่ไม่รู้จักผลไม้ไทย - ราคาสินค้าเกษตรไม่เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายรายใหญ่ในท้องถิ่นที่เป็นผู้นำตลาด และมีสัญญาซื้อขายโดยตรงกับเกษตรกร ทำให้สามารถขายตัดราคา หรือกำหนดราคาขายได้โดยรัฐไม่ได้เข้ามาควบคุม อาหารแปรรูป - สินค้าภายในประเทศได้รับการปกป้องจากรัฐบาลอินเดียโดยมีอัตราภาษีสูงและระบบการเก็บภาษีค่อนข้างซับซ้อน - กำหนดขั้นตอนควบคุมการนำเข้าด้านสุขอนามัยสูง โดยต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าก่อนวางจำหน่าย แม้ว่าคุณภาพอาหารของไทยจะไดัรับการรับรองจากผู้นำเข้าในประเทศยุโรปก็ตาม และขั้นตอนการตรวจสอบก็ล่าช้าใช้เวลา และมีค่าใช้จ่ายสูงโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบคือ Central Food Laboratory ให้ส่งสินค้ามาตรวจล่วงหน้าจึงเป็นภาระผู้ส่งออกและผู้นำเข้า - หน่วยงานตรวจสอบยังมีสาขาไม่ครบถ้วน ณ จุดนำเข้าหรือด่านศุลกากรต่าง ๆ ของอินเดีย และหากเป็นสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ต้องผ่านการตรวจสอบจาก Department of Animal Husbandry and Dairying สังกัดกระทรวงเกษตร - ผู้ส่งออกไทยไม่มีความรู้เรื่องช่องทางการจำหน่ายในอินเดีย - การได้คู่ค้าที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการเจาะตลาดอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ - เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคอินเดียมีความต้องการสูง แต่เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมแล้วสูงถึง 34 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สินค้าในหมวดนี้มีราคาสูง จึงมีการลักลอบนำเข้า - มีคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศจีน และเกาหลีใต้ แต่สินค้าจากประเทศไทยได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากมั่นใจในด้านคุณภาพเพราะเป็นแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น - การเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเป็นแนวทางที่ช่วยให้สินค้าไทยเจาะตลาดได้ดีขึ้นยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ - ยี่ห้อของรถในอินเดียยังไม่ค่อยตรงกับที่ผลิตในเมืองไทย และยังมีการกดดันจากสมาคมผู้ผลิตในอินเดียที่ไม่ต้องการให้มีการนำเข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศ การเข้าสู่ตลาดอินเดียของสินค้าหมวดนี้ควรที่จะเข้าไปเปิดโรงงานผลิตในอินเดีย เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าโดยอาจเลือกลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนดะเนินการ - อัตราภาษีนำเข้าสูง อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง การค้าเสรี ในสินค้าบางรายการก็สามารถที่จะเข้ามาทำตลาดในอินเดียได้ - มีการลอกเลียนแบบสินค้าอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว จึงควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนที่จะวางขายในอินเดีย เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน - สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่นำเข้ามาในประเทศอินเดียจะต้องไม่มีสารย้อมสีที่เป็นอันตราย เช่น AZO ปนเปื้อนอยู่ และจะต้องระบุไว้ในใบอนุญาตส่งออกสินค้าที่ผ่านการทดสอบสารปนเปื้อนและรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศผู้ส่งออก - สินค้าของอินเดียมีต้นทุนที่ต่ำกว่าทำให้ขายได้ราคาถูก (ต้นทุนเสื้อเชิร์ตตัวละ 1 เหรียญสหรัฐ) - อัตราภาษีศุลกากรสูง 34 เปอร์เซ็นต์ - ควรนำชิ้นส่วนเสื้อผ้าเข้าไปตัดเย็บในนิคมอุตสาหกรรมในอินเดีย เพราะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอินเดียในด้านรูปแบบและคุณภาพ อัญมณีและเครื่องประดับ - อินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย เนื่องจากเป็นแหล่งวัตถุดิบ และสามารถจัดหาวัตถุดิบได้ดีกว่าไทย ประกอบกับมีแรงงานที่ถูก - อัญมณีไทยได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบที่ทันสมัย มีฝีมือที่ปราณีตกว่า และใช้วัสดุที่มีคุณภาพกว่า โดยเฉพาะทองคำที่มีมาตรฐานกว่าสินค้าของอินเดีย เครื่องหนังและผลิตภัณฑ์/รองเท้า - อินเดียมีแหล่งวัตถุดิบมาก และแรงงานราคาถูก แต่สินค้าไทยเข้ามาแข่งขันได้เนื่องจากมีรูปแบบที่ทันสมัยกว่า - อัตราภาษีนำเข้า 34 เปอร์เซ็นต์ ควรเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อเพราะสินค้าในรูปแบบเดียวกันของอินเดียจะมีราคาต่ำกว่า แต่สินค้าของไทยจะได้รับการยอมรับในด้านความสวยงามและฝีมือการตัดเย็บที่ดีกว่า - ควรเน้นสินค้าวัตถุดิบ เคมีภัณฑ์และหนังฟอกป้อนสายการผลิตเนื่องจากอินเดียเป็นแหล่ง outsorce สำคัญของแบรนด์ดังจากยุโรป ที่มา : รวบรวมข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มา: http://www.depthai.go.th