ประเทศสหพันธ์รัฐบราซิล

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 23, 2011 15:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ข้อมูลพื้นฐาน

1.1. สภาพภูมิประเทศ

ประเทศสหพันธ์รัฐบราซิลเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสนับแต่ปี คศ.1500 จนมาประกาศอิสรภาพเป็นราชอาณาจักรบราซิลในปี คด 1822 และท้ายสุดได้ประกาศเป็นประเทศสหพันธ์รัฐในปี1889 บราซิลเป็นประเทศใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในอเมริกาใต้ ที่รัฐบาลทหารได้เข้าผูกขาดอำนาจการปกครองมาตั้งแต่ คศ. 1930 โดยเว้นวรรคช่วงสั้นๆ ให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งบ้างเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา และภายใต้รัฐธรรมนูญปี 1988 จึงได้มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ประเทศสหพันธ์รัฐบราซิล ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีชายฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติคมีความยาว 7,491กิโลเมตร ส่วนพรมแดนด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทางทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ถึง 10 ประเทศ คิดเป็นระยะทาง 14,691กิโลเมตร ประกอบด้วย

พรมแดนติดกับประเทศอาเจนตินา ยาว1,224 กิโลเมตร โบลิเวีย 3,400 กิโลเมตร โคลัมเบีย 1,643 กิโลเมตร เฟรนซ์กิยาน่า 673 กิโลเมตร กียาอานา 1,119 กิโลเมตร ปารากวัย 1,290 กิโลเมตร เปรู 1,560 กิโลเมตร สุรินัม 597 กิโลเมตร อุรุกวัย 985 กิโลเมตร และเวเนซูเอลา 2,200 กิโลเมตรพื้นที่รวมทั้งประเทศ 8,511,965 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 8,456,510 ตารางกิโลเมตรและพื้นน้ำ 55,455 ตารางกิโลเมตร)

1.2. สภาพภูมิอากาศ

ทางตอนเหนือมีสภาพภูมิอากาศเป็นเขตร้อนชื้น ส่วนทางใต้จะมีสภาพอากาศอบอุ่นและหนาว และฤดูกาลจะตรงข้ามกับทวีปยุโรป กล่าวคือ ฤดูหนาวในยุโรปจะเป็นฤดูร้อนในบราซิล และฤดูร้อนในยุโรปจะเป็นฤดูหนาวในบราซิล

ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน อุณหภูมิจะอยู่ระดับ 17 - 24 องศาเซลเซียส และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนธันวาคม - มีนาคม อุณหภูมิจะอยู่ระดับ 23 - 30 องศาเซลเซียส

เวลาช้ากว่าเวลามาตราฐานกรีนิช 3 หรือ 4 ชั่วโมง จึงช้ากว่าไทย 9 หรือ 10 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับการปรับเวลาในฤดูร้อน)

1.3. เมืองสำคัญ

ชื่อเมือง/รัฐ                        ความสำคัญ/ สินค้าและบริการที่สำคัญ            จำนวนประชากร
กรุงบราซิเลีย             - เมืองหลวง                                          2.5 ล้านคน
นครเซาเปาโล/           - ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินของบราชิล              41.25 ล้านคน
รัฐเซาเปาโล             - สินค้าการเกษตร เช่น ส้ม นำส้ม อ้อย น้ำตาล
  • สินค้าอุตสาหกรรม เช่น เอทานอล รถยนต์ และ

ธุรกิจการเงินการธนาคาร

  • เป็นรัฐที่มีท่าเรือซานโต้สซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญที่สุด

ในทวีปอเมริกาใต้และบราชิล

  • เป็นรัฐที่มีสัดส่วน GDP ร้อยละ 40 ของ GDP

ของประเทศบราชิล

เมืองริโอเดอจาเนโร/      - เป็นเมืองหลวงเก่าของบราชิลเมื่อ 60 ปีที่แล้ว               16.0 ล้านคน
รัฐริโอเดอจาเนโร         - เป็นศูนย์กลางของธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ

บราชิล และมีชื่อเสียงเรื่องเทศกาล Carnaval

  • เป็นแหล่งผลิตสำคัญด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของบราชิล
เมืองคูริทิบา/             - สินค้าทางการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ไก่ กล้วย สัปปะรด      10.43 ล้านคน
รัฐปารานา                 เป็นต้น
  • เครื่องจักร และเครื่องยนต์
เมืองปอร์โตอาเลเกร์/      - เป็นรัฐที่รายได้ต่อหัวสูงที่สุดในบราชิลมีกำลังซื้อมาก           10.69 ล้านคน
รัฐริโอการ์นจิ้เดอซู           ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะดี
  • สินค้าทางการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น เนื้อวัวและไก่

นม โกโก้ เป็นต้น

  • รถยนต์, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เครื่องหนัง,

สิ่งทอ และเสื้อผ้า

เมืองซัววาดอร์/           - เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศในช่วงที่เป็น             14.02 ล้านคน
รัฐบาเฮีย                  อาณานิคมของโปรตุเกส
  • เป็นรัฐมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใหญ่เป็นอันดับ 2

ของประเทศบราชิล

  • สินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว ยางพารา
  • รถยนต์ ยางรถยนต์ มอเตอร์ไซด์
เมืองเบโลออร์ลิซอนเต้/     - เป็นเมืองที่เป็นแหล่งสำคัญของการทำอุตสาหกรรม            19.59 ล้านคน
รัฐมินาร์เจอร์ไรส์            เหมืองแร่ และการเกษตรของประเทศบราชิล
  • สินค้าเกษตรและปศุสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนยแข็ง นม

ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น

  • สินค้าอุตสาหกรรม เช่น แร่เหล็ก รถยนต์ เหล็ก

วัสดุก่อสร้าง ปูนซิเมนต์ เป็นต้น

1.4. การแบ่งเขตการปกครอง

สหพันธ์รัฐบราซิล ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 26รัฐ และ1 เขตการปกครอง ประกาศอิสรภาพ เมื่อ 7 กันยายน คศ. 1822 รัฐธรรมนูญปัจจุบันประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 ตุลาคม1988 กำหนดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งโดยทางตรงและลับจากประชาชน เป็นประมุขและเป็นผู้นำรัฐบาลกลางและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 25 กระทรวง มีโดยประธานาธิดีนี้มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ปัจจุบันได้แก่ ประธานาธิบดีได้แก่ นาง Dilma ROUSSEFF หัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา โดยมีนาย Michel TEMER เป็นรองประธานาธิบดี ทั้งสองคนจะครบวาระในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 (2014)

1.5. ระบบการปกครอง

แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ

ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติ (Congresso Nacional) เป็นระบบรัฐสภาคู่ ประกอบด้วย; 1) วุฒิสภา (Federal Senate) มีสมาชิกจำนวน 81 คน ประกอบด้วยตัวแทนจาก 26 รัฐ และ 1 เขตนครหลวง มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของแต่ละรัฐและเขตนครหลวงจำนวนละ 3 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดยที่ 1 ใน 3 ได้รับเลือกตั้งหลังจาก 4 ปี และ 2 ใน 3 ได้รับการเลือกตั้งอีก 4 ปีถัดไป การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 27 ต.ค. 2545 ประธานวุฒิสภา ปัจจุบันคือนาย Jose Sarney จากพรรค PMDB 2) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) มี สมาชิกจำนวน 513 คน โดยแต่ละรัฐจะมีผู้แทนอย่างน้อย 8 ที่นั่งและไม่เกิน 70 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งตามสัดส่วนประชากร มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี วาระการประชุม สภาแห่งชาติมีการประชุมที่กรุงบราซิเลีย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 30 มิถุนายน และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 15 ธันวาคม ของทุกปี ทั้งวุฒิสมาชิกและผู้แทนราษฎรต่างสังกัดพรรคการเมืองและการย้ายพรรคการเมืองเป็นเรื่องปกติ ทั้งสองสภามีอำนาจเสนอร่างกฏหมายและมีหน้าที่พิจารณาร่างกฏหมายที่ประธานาธิบดีเสนอ โดยสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาก่อนและส่งให้วุฒิสภาพิจารณาจากนั้นจึงส่งต่อให้ประธานาธิบดีพิจารณาก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ระบบกฏหมาย ใช้ประมวลกฎหมายโรมัน (Roman codes)

ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูงสุดแห่งชาติ (Supreme Federal Tribunal) โดยที่ผู้พิพากษาทั้ง 11 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ นอกจากนี้ ยังมี Superior Court of Justice และ Supreme Electoral Court และ National Justice Council

ระบบพรรคการเมือง

บราซิลได้รับเอกราชจากโปรตุเกสเมื่อปี 2365 แต่ยังคงปกครองด้วยระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอยู่อีกระยะหนึ่ง จนในปี 2434 จึงสถาปนาระบบสหพันธ์สาธารณรัฐ (Federative Republic)

บราซิลอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายทหารในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2507 ถึงปี 2528 จนกระทั่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่เป็นพลเรือนภายใต้ระบอบประชาธิปไตยขึ้นในปี 2528 ปัจจุบันบราซิลมีรัฐบาลที่เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค นำโดยพรรคแรงงานของประธานาธิบดี Dilma Rousseff

บราซิลมีพรรคการเมืองกว่า 20 พรรค มีพรรคการเมืองใหญ่สำคัญในบราซิลประกอบด้วย ได้แก่ พรรคแรงงาน (Workers’ Party — PT) และพรรคเคลื่อนไหวประชาธิปไตยบราซิล (Brazilian Democratic Movement Party — PMDB) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยบราซิล (Brazilian Social Democratic Party — PSDB) และพรรคประชาธิปัตย์ (Democrats — DEM) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน

(1) พรรคแรงงาน (PT) ก่อตั้งเมื่อปี 2523 โดยมีรากฐานจากกลุ่มสหภาพแรงงานเพื่อเป็นฝ่ายค้านต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร มีแนวนโยบายสังคมนิยมซ้าย อดีตประธานาธิบดี Luiz Inacio Lula da Silva (ดำรงตำแหน่ง ปี 2545 — 2553) เคยพ่ายแพ้การเลือกตั้งสองสมัย ต่อมาได้ปรับแนวทางแบบซ้ายจัดและได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในปี 2545 และอีกสมัยในปี 2549 ประธานาธิบดี Lula ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะบุคลิกภาพมีความเป็นผู้นำสูง ประกอบกับประวัติส่วนตัวที่เคยเป็นทำงานใช้แรงงานและเป็นผู้นำสหภาพแรงงาน ทำให้ได้รับความชื่นชมและได้รับความสนใจอย่างมาก

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 นาง Dilma Rousseff ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล ซึ่งอดีตประธานาธิบดี Lula ให้ความไว้วางใจให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดี Lula ที่หมดวาระหลังจากปฏิบัติหน้าที่ครบ 2 วาระ นาง Rousseff มีชื่อเสียงที่เป็นคนทำงานตั้งใจอย่างจริงจัง เคยเป็นนักต่อสู้เข้าร่วมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารในยุคทหารปกครองประเทศ เข้าเป็นสมาชิกพรรคแรงงานบราซิลเมื่อปี 2544 และเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมืองในช่วงรัฐบาล Lula ได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ และรัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดีตามลำดับ ปัจจุบันพรรค PT มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 88 ที่นั่ง (จากจำนวน 513 ที่นั่ง) และวุฒิสภา 14 ที่นั่ง (จาก 81 ที่นั่ง)

(2) พรรคแนวร่วมประชาธิปไตยบราซิล (PMDB) ก่อตั้งในยุคทศวรรษที่ 1970 มีอุดมการณ์สังคมนิยมซ้ายต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร เคยใช้สัญลักษณ์ธงแดงพื้นดำเป็นธงประจำพรรค แต่ปัจจุบัน ปรับนโยบายเป็นพรรคสายกลาง (centrists) มีฐานเสียงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 79 ที่นั่ง (จากจำนวน 513 ที่นั่ง) และวุฒิสภา 20 ที่นั่ง (จาก 81 ที่นั่ง) มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายต่างๆ มากมาย พรรค PMDB ให้การสนับสนุนประธานาธิบดี Rousseff และเป็นพรรครัฐบาล

(3) พรรคสังคมประชาธิปไตยบราซิล (PSDB) ก่อตั้งเมื่อปลายทศวรรษที่ 1980 โดยแยกมาจากพรรค PMDB นำโดยอดีตวุฒิสมาชิก Fernando Henrique Cardoso ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวซ้ายผู้คิดค้น “Real Plan” ในการสร้างความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายด้านสุขภาพพื้นฐาน และการปฏิรูปการศึกษา ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็น ประธานาธิบดีสองสมัย (ปี 2537 และ 2541) ก่อนพ่ายแพ้ให้แก่พรรค PT เรื่อยมา โดยล่าสุด นาย Jose Serra ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วงปี 2541 - 2545 แล้วลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2545 แต่พ่ายแพ้ต่อประธานาธิบดี Lula หลังจากนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ Sao Paulo และลาออกมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2553 ก็ยังไม่สามารถเอาชนะนาง Rousseff ผู้สมัครจากพรรค PT ได้

ทั้งนี้ วิเคราะห์กันว่า ความพ่ายแพ้ดังกล่าวเกิดจากการที่พรรคไม่สามารถสร้างกระแสนิยมในนโยบายสำคัญต่างๆ ซึ่งพรรค PT นำไปปรับใช้ตามแนวทางของตนได้ ทั้งนี้ นโยบายของพรรค PSDB อยู่ในแนวทางประชาธิปไตยสังคมนิยม เน้นเศรษฐกิจการตลาดที่รัฐมีบทบาทนำ อย่างไรก็ดี แม้พรรค PSDB พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2553 แต่กลับได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งระดับรัฐหลายรัฐสำคัญ ซึ่งรวมถึงรัฐ Sao Paulo และ Minas Gerais

ปัจจุบันพรรค PSDB เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 53 ที่นั่ง (จากจำนวน 513 ที่นั่ง) และวุฒิสภา 11 ที่นั่ง (จาก 81 ที่นั่ง)

(4) พรรคประชาธิปัตย์ (DEM) เป็นพรรคตรงกันข้ามกับพรรค PT และพรรคฝ่ายรัฐบาลอื่นๆ โดยมีแนวนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม มุ่งลดภาษี เดิมชื่อพรรค Frente Liberal แต่เนื่องจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งติดต่อหลายสมัยจึงเปลี่ยนชื่อเพื่อแก้ภาพลักษณ์ ปัจจุบัน พรรค DEM ได้แสวงหาแนวร่วมและสมาชิกจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งพรรคประกอบด้วยคนสูงอายุหัวเก่าและมีความผูกพันกับกลุ่มนิยมทหารเดิม มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 43 ที่นั่ง (จากจำนวน 513 ที่นั่ง) และวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (จาก 81 ที่นั่ง)

แนวนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ประธานาธิบดี Rousseff ได้ประกาศนโยบายหลักในการบริหารรัฐบาล (1 มกราคม 2554 — 31 ธันวาคม 2557) ว่าจะพยายามเต็มที่ที่จะสานต่อความสำเร็จของประธานาธิบดี Lula โดยจะสานต่อนโยบายของรัฐบาลเดิม ซึ่งใช้ orthodox economic policy กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Acceleration) ผสมผสานการใช้นโยบายทางสังคม การกระจายรายได้ นโยบายต่อต้านความอดอยากหิวโหย การสนับสนุนครอบครัวรายได้น้อยภายใต้นโยบายการให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัว (Bolsa Familia) โดยรัฐบาลใหม่จะให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจนและการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับประชาชน เร่งดำเนินนโยบายด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และการสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมบราซิล รวมถึงปฏิรูประบบการเมืองเพื่อส่งเสริมระบบประชาธิปไตยและความโปร่งใส ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น และพัฒนาระบบข่าวกรอง การควบคุมชายแดนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลประธานาธิบดี Lula เป็นต้นมา (ปี 2545-2553) รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินนโยบายที่รัฐมีบทบาทนำในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (state-led economy) การลงทุนด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก โทรคมนาคม และการจัดการทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการน้ำมัน ซึ่งผลจากการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ เมื่อปี 2550 รัฐบาลได้จัดตั้ง Petrosal เพื่อบริหารจัดการกิจการน้ำมันของบราซิล นอกเหนือจากบริษัท Petrobas

1.6. ประชากร

  • จำนวนประชากร

จำนวน 203,429,773 คน

อายุ 0-14 ปี 26.2 % (ชาย 27,219,651 คน หญิง 26,180,040 คน)

                  อายุ 15-64 ปี 67 %        (ชาย 67,524,331คน หญิง 68,809,657 คน)

อายุ 65ปีขึ้นไปมีจำนวน 6.7% (ชาย 5,769,433 คน หญิง 7,899,654 คน)

อัตราเติบโตของประชากร 1.13 % โดยเฉลี่ย เกิด 17.79 คน/ประชากร 1,000 คน

  • เชื้อชาติ

ผิวขาว 53.7 % มูราโต้(ผสมผิวขาวและผิวดำ) 38.5 % ผิวดำ 6.2 % เอเซีย 0.9 % และคนสืบสายจากอินเดียนซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิม 7.4 %

  • ศาสนา

นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอริก 73.6 % โปแตสแตนท์ 15.4 % เชื่อในลัทธิจิตวิญญาณ1.3 % ลัทธิวูดู 0.3 % และศาสนาอื่นๆ1.8%

  • ภาษา

ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการ ส่วนภาษาสเปน และอังกฤษมีการใช้บ้างประปราย ทั้งนี้ ยังปรากฎบ้างที่คนในท้องถิ่นยังใช้ภาษาอินเดียนพื้นเมือง และมีการใช้ภาษาของกลุ่มคนแต่ละเชื้อชาติที่ย้ายถิ่นมาอาศัยในประเทศบราซิล เช่น กลุ่มชาวเยอรมัน อิตาลี สเปน อาหรับ ญี่ปุ่นและจีน

1.7. ภาษา ใช้ภาษาโปรตุเกส(บราชิล) เป็นภาษาราชการ คนส่วนใหญ่พูดภาษาสเปนเยอรมัน อิตาลี เป็นภาษาที่ 2 โดยภาษาอังกฤษมีการใช้บ้างแต่ยังมีจำนวนไม่มาก

1.8. สกุลเงิน เงินเฮอัล (REAL) อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 1.60 เฮอัล (2554

1.9. เวลา เวลาช้ากว่าไทย 9 ชั่วโมงในช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม และ 10 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมีนาคม-ตุลาคม

1.10. ระบบการคมนาคม

การคมนาคมในประเทศใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก แต่เนื่องจากการเป็นประเทศกว้างใหญ่ และไม่มีทางรถไฟเชื่อมต่อถึงกัน การเดินทางระหว่างรัฐ มักนิยมเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งนี้ ภายในแต่ละรัฐ จะมีถนนที่สะดวกเชื่อมโยงเมืองต่างๆ อย่างทั่วถึงมาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยลุ่มน้ำอเมซอนและแม่น้ำใหญ่หลายสาย การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้ทางรถยนต์ ยกเว้นในแถบทางทิศเหนือ ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้การขนส่งทางน้ำระหว่างกัน ก่อนที่จะขนถ่ายสินค้าต่อไปทางตอนกลาง ทางตะวันออกและทางใต้ของประเทศโดยใช้ถนนหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างกัน

สำหรับการขนส่งสินค้าของไทยส่วนใหญ่จะขนส่งโดยทางเรือใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน บราชิลมีท่าเรือทางทะเลจำนวน มากกว่า 20 แห่ง โดยท่าเรือที่สินค้าไทยนิยมขึ้นได้แก่

  • ทางตอนใต้และกลางของประเทศ ท่าเรือSantos, Rio Grande, Victoria, Paranagua
  • ทางตอนเหนือ ท่าเรือที่ Balem สำหรับสินค้าที่ขนส่งไปเขตอุตสาหกรรมปลอดภาษีที่เมือง Manaus

2. เศรษฐกิจการค้า

2.1. ภาวะเศรษฐกิจ

ในช่วง 3 ทศวรรษก่อนทศวรรษที่ 1980 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลสูงถึงร้อยละ 7.3 แต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้เกิดวิกฤตการณ์เสถียรภาพทางการเงิน โดยมีปัญหาเงินเฟ้อและขาดดุลการชำระเงิน รัฐบาลจึงดำเนินมาตรการต่างๆ ในชื่อ “Real Plan” เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดยสร้างวินัยการเงิน ปล่อยค่าเงินลอยตัว และลดภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงทบทวนนโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าซึ่งดำเนินมาตรการมากว่า 35 ปีและทำให้เศรษฐกิจมีลักษณะปิดและปกป้องตัวเอง

โดยในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ และได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 และในเวลาต่อมา รัฐบาลของประธานาธิบดี Lula ได้แสดงเจตจำนงในการใช้หนี้ต่างประเทศทำให้ลดลงจากร้อยละ 58.7 ของ GDP ในปี 2546 เหลือร้อยละ 51.6 ในปี 2548 และในปี 2552 หนี้ต่างประเทศของบราซิลลดเหลือร้อยละ 11.6 ของ GDP นอกจากนี้ การตัดสินใจให้กู้เงินจำนวน 14 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศในปลายปี 2552 แสดงถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของบราซิลเป็นอย่างมาก และ ในปี 2554 บราซิลคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัวของ GDP ประมาณร้อยละ 8

               อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่รัฐบาล Rousseff ถูกจับตามองในขณะนี้ได้แก่ แนวทางการดำเนินการของรัฐบาลใหม่ในเรื่องการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเฮอัล ซึ่งเรื้อรังมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา บราซิลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการดูแลค่าเงินมากขึ้น เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของบราซิลเมื่อเทียบกับในช่วงแรกของปี 2552 ค่าเงินเฮอัล (real) แข็งค่าขึ้น ถึงร้อยละ 37 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐใช้นโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าในระบบ            (Quantitative Easing) ซึ่งทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อภาคการส่งออกของบราซิล และยังส่งผลให้เงินตราต่างประเทศยังคงไหลเข้าบราซิลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามธนาคารกลางบราซิลรายงานว่าจะพยายามคงอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ที่ 1.7 เฮอัล ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม G20 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่สาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีบราซิลได้วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรง ว่าเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามเงินตรา (Currency War) ทั่วโลก และจะทำให้เศรษฐกิจของโลกล้มละลายหากทุกประเทศลดค่าเงินของตนเพื่อความได้เปรียบในการส่งออก

ในปี 2554 บราชิลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 5.3-.4.8 ของ GDP ซึ่งปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่การขยายตัวด้านเศรษฐกิจภายในประเทศจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดคนชั้นกลางมากขึ้น และการขยายตัวด้านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกและฟุตบอลโลกในปี 2012 และ 2014 แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงด้านการลดลงของการได้ดุลทางการค้าเนื่องจาการนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการส่งออก ค่าเงินเฮฮัลที่แข็งมากเกินไป อัตราเงินเฟ้อที่มากเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องควบคุมที่ประมาณร้อยละ 5-6 (โดยคาดการณ์ว่าอาจสูงถึงร้อยละ 8-9)

2.2.1. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ

        ปี      GDP      GDP        GDP      จำนวน   อัตรา อัตราการ      อัตรา   Ex Rate  ค่าแรงขั้นต่ำ
          พันล้านUSD   Growth    per Cap    ประชากร เงินเฟ้อ  ว่างงาน    ดอกเบี้ย    เฮอัลต่อ เฮฮัลต่อเดือน
                        (%)        USD      ล้านคน    (%)     (%)       (%)     1 USD
     2008    2,045      5.1     10,400     203.13    4.9     4.9     13.75      1.86        415
     2009    2,041     -0.2     10,300      198.8    4.9     4.9      8.75      1.99        465
     2010    2,194      7.2     10,900      192.3    5.3     5.3     10.75      1.77        510
    *2011    2,200      5.8     11,100        205    4.8     5.1     11.75      1.65        540
*  ปี 2011 เป็นการคาดการณ์หน่วยงานรัฐบาลกลางบราชิลและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจต่างๆ
ที่มา CIA Factbook, IMF, Financial Time, IBGA ; 2010

2.2.2. สถานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

เงินสำรองระหว่างประเทศและทองคำ 290.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 6 ของโลก

สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ร้อยละ 60.8

สัดส่วนเงินลงทุนต่อ GDP ร้อยละ 18.5

ที่มา Banco de Brazil, CIA Factbook ; 2010

2.3. นโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ

2.3.1. ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยยึดหลักสำคัญคือ พลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี การลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต

2.3.2. รักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี ต่อต้านระบบ Protectionism

2.3.3. สนับสนุนการปฏิรูประบบการเงินโลก เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลเวียนและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม/ การไหลข้าวของเงินทุนต่างประเทศ เพื่อเก็งกำไร

2.3.4. ปฏิรูประบบภาษีให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นธรรม รวมทั้งแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 5

2.3.5. ส่งเสริมโครงการลงทุนและระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2559 และกีฬาโอลิมปิกในปี 2557 และเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นในระยะยาว

2.3.6. พัฒนาโครงการขุดเจาะน้ำมันซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อความก้าวหน้าทางสังคมโดยคำนึงถึงดุลยภาพด้านสิ่งแวดล้อม

2.3.7. ลดรายจ่ายภาครัฐ โดยการตัดและลดงบประมาณของทุกกระทรวงลงตามสัดส่วน ยกเว้นนโยบายด้านสังคม เช่น Bolsa Familia

2.4. การค้าระหว่างประเทศ

นอกจากขนาดของประเทศที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของโลกแล้ว บราซิลยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ คือมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP ในปี 2010 ประมาณ 2,194 พันล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าเม็กซิโกและอาร์เจนตินา

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในปี คศ. 2010 ประเทศบราซิลส่งออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 201.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 31.96 ขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.31 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 181.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้าประมาณ 20.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment) ประมาณ 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2010 มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดรวม 288.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

บราซิลเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การการค้าโลก และเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่มเครนส์ 20 ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสุทธิเช่นเดียวกับประเทศไทย

รวมทั้งยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มตลาดร่วมเมอโคซู (Mercosul common market) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยประเทศบราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย และอยู่ระหว่างพิจารณารับประเทศชิลี กับประเทศโบลิเวียเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม สำหรับเป้าหมายจะจัดตั้งกลุ่มตลาดร่วมเมอโคซู (Mercosul) เพื่อ

  • ให้สินค้า บริการ ทุน และคน ในกลุ่มสามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรี ด้วยการลดข้อจำกัดทั้งทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี
  • ปฎิบัตินโยบายการค้าและเศรษฐกิจร่วมในหมู่ประเทศสมาชิก และนำอัตราศุลกากรร่วมสำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก (Common External Tariff) มาใช้ตั้งแต่ปี 1995
  • ร่วมกันพัฒนานโยบายเศรษฐกิจทั้งที่เป็นภาคส่วนและในภาพรวม โดยไม่จำกัดเฉพาะในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ภาษี และการเงินเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีระหว่างประเทศสมาชิก
  • ผูกพันให้สมาชิกแก้ไขกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการรวมกลุ่ม
  • ทั้งนี้ การใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในกลุ่มเมอโคซู จะใช้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นเกณฑ์

นอกจากนี้ บราซิลยังเป็นสมาชิก Latin American Integration Association ที่ประกอบด้วยบราซิล อาร์เยนตินา โบลิเวีย โคลอมเบีย เอควาดอร์ เม็กซิโก ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศอื่น ๆ อีก อาทิ โปรตุเกส

สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล

1) มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าระหว่างประเทศของบราชิลระหว่างปี 2004-2011

ปี ค.ศ.             มูลค่าการค้า (พันล้าน US$)
              ส่งออก          นำเข้า       ดุลการค้า
2004           96.7           62.8          33.9
2005          118.5           73.6          44.9
2006          137.8           91.4          46.4
2007          160.6          120.6            40
2008          197.9          173.0          24.9
2009          153.0          127.6          25.4
2010          201.9          181.6          20.3
2011*         226.0*         200.0*         26.0*
* เป็นการคาดการณ์ที่เศรษฐกิจบราชิลมี GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2011
ที่มา  ธนาคารกลางบราซิล, สถาบันสถิติแห่งชาติบราซิล  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก

ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก (ม.ค.-มิ.ย. 53) (ส่วนแบ่งตลาด%)

จีน (15.25%) สหรัฐฯ (9.56%) อาร์เจนติน่า (9.17%) เนเธอร์แลนด์ (5.07%) เยอรมนี (4.03%) ไทย (อันดับที่ 33, 0.70%)

สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เมล็ดพืชและถั่ว เนื้อสัตว์ (ไก่สดแช่แข็ง และเนื้อสดแช่แข็ง) และยานยนต์

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

สหรัฐฯ (14.89%) จีน (14.09%) อาร์เจนติน่า (7.94%) เยอรมนี (6.91%) เกาหลีใต้ (4.64%) ไทย (อันดับที่ 22, 1.01%)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เครื่องยนต์และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ (ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ)

มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าฯ ของบราชิล ระหว่าง ปี 2010-2011 (รายเดือน)
เดือน            มูลค่าการค้า (พันล้าน US$) ปี 2010             มูลค่าการค้า (พันล้าน US$) ปี 2011
             ส่งออก         นำเข้า       ดุลการค้า        ส่งออก         นำเข้า      ดุลการค้า
ม.ค.          11.3          11.5         -0.2          15.2          14.8          0.4
ก.พ.          12.2          11.8          0.4          16.7          15.5          1.2
มี.ค.          15.7          15.1          0.6          19.4          17.7          1.7
เม.ย.         15.2          13.9          1.3          20.0          18.3          1.7
พ.ค.          17.7          14.2          3.5
มิ.ย.          17.1          14.8          2.3
ก.ค.          17.7          16.3          1.4
ส.ค.          19.2          16.8          2.4
ก.ย.          18.8          17.7          1.5
ต.ค.          18.3          16.5          1.8
พ.ย.          17.7          17.3          0.3
ธ.ค.          20.9          15.5          5.3
รวม          201.9          181.6          20.3      *226.0          *200        *26.0
ข้อมูลจาก World Trade Atlas (เดือนพฤษภาคม 2554), *การคาดการณ์ของรัฐบาลบราชิล

โดยบราซิลได้คาดการณ์ว่าในปี 2554 จะสามารถส่งออกเป็นมูลค่ารวม 226,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 12% จากปี 2553 ส่วนการนำเข้าปี 2554 คาดการณ์จะมีการนำเข้าประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัวถึง 10-11 % อันเป็นผลมาจากจากการที่มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกับการส่งออก ตลอดจนปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เริ่มจะสูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ (ปี 2553 คาดการณ์ 4.8% ตัวเลขจริง 5.8-6.4 %) และอัตราเงินเฮฮัลที่แข็งค่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึง 17-20 %(รัฐบาลต้องการ 1.70 เฮฮัลต่อ 1 USD ปัจจุบันอยู่ที่ 1.64-1.66 เฮฮัลต่อ 1 USD) ทำให้การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รัฐบาลจึงพยายามควบคุมโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่สูงอยู่แล้วคือ 11.25 เป็น 11.75 ในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลจากการที่การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดนั้น ทำให้บราชิลได้ดุลการค้าลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2554 รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ว่าบราชิลจะได้ดุลการค้าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ที่บราชิลได้ดุลการค้าเพียง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามที่กำลังเป็นอุปสรรคของทั้งการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิลดังกล่าว น่าจะส่งผลให้บราชิลพยายามลดการนำเข้าด้วยการออกมาตราการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ การเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าให้ยุ่งยากขึ้น การเข้มงวดในการเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 54 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ขึ้นภาษีนำเข้า 3 รายการได้แก่ ถุงมือยางที่มิได้ใช้ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ประเภทที่ใชในการผลิตพลาสติก และเครื่องพิมพ์หรือแม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมวัสดุยาง

2.5. การค้าระหว่างบราชิลกับประเทศไทย

สคร. คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยมายังบราชิลในปี 2554 จะมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์วางเป้าหมายไว้ โดยมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของของบราชิลในปี 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.8 ทำให้มีอุปสงค์ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก โดยร้อยละ 80 ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายังบราชิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบและส่วนประกอบเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไปยังประเทศในแถบลาตินอเมริกา อเมริกาและยุโรป นอกจากนั้น บราชิลยังเตรียมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012 และฟุตบอลโลกในปี 2014 ทำให้ สคร. มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของบราชิลจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า แม้อาจมีปัจจัยลบอื่นๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การตัดรายจ่ายด้านงบประมาณของรัฐบาล การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น

2.6. กฎระเบียบการค้าที่สำคัญ

2.6.1. การนำเข้า

การนำเข้าของบราชิลหลายสินค้าต้องมีการนำเข้าโดยขออนุญาตนำเข้าเพื่อให้รัฐบาลออกใบอนุญาตนำเข้า (Import Licence) ให้ก่อน

2.6.2. ระเบียบปฎิบัติและขั้นตอนการนำเข้าของบราซิล

แม้ว่าบราซิลจะได้พยายามลดอุปสรรคและขั้นตอนการนนำเข้าให้สะดวกและเสรีมากขึ้นแต่มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non Tariff) ยังเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ บราซิลมีนโยบายคุ้มครอง

อุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมในประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการใช้กลไกทั้งภาษีและกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ ปฎิบัติในการนำเข้า การนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่า 5000 เหรียญสหรัฐ จะต้องขออนุญาติก่อน

การนำเข้า ยกเว้นการนำเข้าสินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงทางการค้ากับบราซิล หรือสินค้าที่นำเข้ามาในเขต Free Zone ตามเมืองต่างๆ ของบราซิลหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการค้าคือ SECEX-Secretaria do Comercio Exterior สังกัดกระทรวงกระทรวงพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าขั้นตอนการนำเข้า

ในการขออนุญาตจะต้องมี Cataloqueแสดงรายการสินค้าที่จะนำเข้าและใบแสดงราคาสินค้า ถ้าหากไม่มีเอกสารดังกล่าวผู้ส่งออกต้องมีเอกสารNotorize Statementและ Proforma Invoice ที่แจ้งราคาสินค้าที่จะนำเข้าบราซิล โดยในใบอนุญาตินำเข้าระบุกำหนดเวลาที่สามารถนำเข้าไม่เกิน60วัน หลังจากวันที่ได้รับอนุญาติให้นำเข้า และศุลกากรจะขึ้นทะเบียนไว้ใน Import Declaration ของ ศุลกากร บราซิล

เอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบการอนุญาตินำเข้า ได้แก่ Commercial Invoice ,B/L, หรือ Airway Bill, Inspection of Sanitary Certificate แล้วแต่ความต้องการของแต่ละสินค้า เช่น สินค้าเกษตร ต้องมีSanitary CetiFicate จากกระทรวงสาธารณสุข สินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์

สินค้ามือสองต้องมี Inspection จาก กระทรวงอุตสาหกรรมสินค้าเกี่ยวกับอาวุธยุโทปกรณ์ ต้องมีProfoma Invoice, Price List และSale Cataloque จากกระทรวงกลาโหม

การยื่นเอกสารการนำเข้า ผู้นำเข้า ต้องยื่นเอกสารหลักฐานการขออนุญาตินำเข้าที่ SECEX ซึ่งจะพิจารณาอนุญาติหรือไม่อนุญาติ

เงื่อนไขเฉพาะสินค้า บราซิลกำหนดให้มีการปิดฉลากระบุ คุณภาพสินค้า ส่วนผสม /ส่วนประกอบ วันผลิต/วันหมดอายุ ปริมาณ ขนาดบรรจุ ฯลฯ เป็นภาษาโปรตุเกส การบรรจุหีบห่อและขนส่งต้องมีหมายเลข เครื่องหมายกำหนดแหล่งที่มา เมืองปลายทาง ให้ครบตามที่ระบุไว้ใน B/L

การประเมินราคา ใช้ระบบ Ad Valorem คำนวนตามราคา CIF โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ SECEX หากตรวจสอบว่าแจ้งราคาไม่ตรงความเป็นจริง จะถูกปรับ 50-100% ขอส่วนต่างของราคาที่แท้จริงกับราคาที่แจ้งไว้ในการประเมินภาษี

อัตราศุลกากร โดยทั่วๆไปอัตราภาษีนำเข้าส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตรา 0-20%และมีภาษีชนิดอื่นๆอีกคือ

-Union Free 2.2%ของ CIF

-Brokage tax 1% ของ Import Duty

-Warehouse Tax 1% ของ Import Duty

-Handling Charge Fee ประมาณ 20-100 เหรียญสหรัฐ

-Administration Commercial Currently 50เหรียญสหรัฐ

-Import licence Fees ฉบับประมาณ 100 เหรียญสหรัฐ

-Additional Part taxof two Fees Totaling 3% of CIF

-Merchant Marine Renewal Tax of 25% Ocean Freight charge on Import by sea

2.6.3. นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

(1) โครงสร้างภาษีที่สำคัญและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของบราชิล

       รูปแบบภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ                         คำอธิบาย
IP (Import Tarriff/Tax)                ภาษีนำเข้าคิดจากราคา CIF ของมูลค่าสินค้าที่ส่งมาประมาณ.

ร้อยละ 0-40

IPI (Industrial Product Tax)           ภาษีอุตสาหกรรมรัฐเรียกเก็บกับสินค้าอุตสาหกรรมขึ้นอยู่ชนิด

สินค้า โดยทั่วไปเรียกเก็บประมาณร้อยละ 0-25

สำหรับสินค้านำเข้าคิดจากราคา CIF รวมกับภาษี IP เมื่อสินค้า

ได้ถูกขายถึงมือผู้บริโภคผู้ที่เสียภาษีดังกล่าว จะสามารถคืนภาษี

ดังกล่าวจากรัฐได้ ICMS (Merchandise Circulation Tax) ภาษีขายหมุนเวียน ซึ่งเรียกเก็บโดยรัฐแต่ละรัฐไม่เท่ากัน

ประมาณร้อยละ 17-25 คิดจากราคาสินค้า+IP+IPI เช่น ภาษีรัฐ

เซาเปาโลเรียกเก็บภาษี ICMS ร้อยละ 18 เช่นเดียวกับภาษี IPI ที่

ผู้ขายสินค้าสามารถขอคืนภาษีดังกล่าวได้เมื่อขายสินค้าแล้ว

PIS/CONFINS                            ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกจากราคาขายสินค้าประมาณร้อยละ 8.26
Port Taxes and Cost (ภาษีท่าเรือและ       1. ภาษีสำหรับสหภาพแรงงานตัวแทนผู้ออกสินค้าทางเรือ
ค่าใช้จ่ายในการออกของจากท่าเรือ)              (custom broker) ร้อยละ 2 จากราคา CIF ไม่เกินระหว่าง 140-280 USD

2. ค่าธรรมเนียมตัวแทนผู้ออกสินค้าทางเรือประมาณ 700 USD/ตู้

3. ค่าธรรมเนียมถ่ายของท่าเรือ (Terminal Handling Charges)

ประมาณ 400 USD/ตู้

4. ค่าภาษีขนส่งทางเรือ (Merchant Marine Tax) ร้อยละ 25

จากค่าระวางเรือ

5. ค่าธรรมเนียมในการขนสินค้าเข้าเก็บในโกดังสินค้า

(Warehousing and Foremanship) ร้อยละ 0.65 จากราคา CIF

(2) นโยบายด้านภาษีเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

       นโยบายการค้าที่สำคัญ               มาตรการภาษีทางการค้า               มาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB)
- เป็นสมาชิกWTO                    - นำอัตราศุลกากรร่วม                 - รักษาผลประโยชน์
- สมาชิกกลุ่มเมอเคอซูสมาชิก             สำหรับประเทศที่ไม่ใช่ษมาชิก             ผู้ผลิตในประเทศ
  ประกอบด้วยประเทศบราซิล            (Common External Tariff) มา      - มีระบบมาตรฐานสินค้า
  อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย       ใช้ตั้งแต่ปี 1995                      ของประเทศเองยังไม่
  และอยู่ระหว่างพิจารณารับ            - สมาชิกในเมอเคอซู ได้รับ               ยอมรับของสากล
  ประเทศชิลีกับประเทศโบลิเวียเข้า        การลดภาษี หรืออัตราภาษี             - มีกฎระเบียบการค้า
  เป็นสมาชิกเพิ่มเติม                   พิเศษ กำหนดโควตาการนำเข้า           เงื่อนไขต่างๆ ระบบ
- การให้สิทธิประโยชน์ด้าน               สินค้าระหว่างกันใน                    ศุลกากร
  ภาษีในกลุ่มเมอโคซู  ให้สินค้า         - สินค้าอัตราภาษีพิเศษ
บริการ ทุน และคน ในกลุ่ม
สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรีด้วย
การลดข้อจำกัดทั้งทางด้านภาษี
และไม่ใช่ภาษี
- การแข่งขันเสรีระหว่างประเทศสมาชิก
- สมาชิก Latin American
Integration Association ที่
ประกอบด้วยบราซิล อาร์เยนตินา
โบลิเวีย โคลอมเบีย เอควาดอร์
เม็กซิโก ปารากวัย เปรู อุรุกวัย
และเวเนซูเอลา
- สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ
ประเทศอื่น ๆ อีก อาทิ โปรตุเกส

2.6.3. สิทธิพิเศษทางการค้า

        สิทธิพิเศษ ที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า                                   สินค้า
- สมาชิกในเมอเคอซู ได้รับการลดภาษี หรืออัตรา                 - สินค้าเกษตร /อุตสาหกรรม
ภาษีพิเศษ กำหนดโควตาการนำเข้าสินค้าระหว่างกันใน
- สินค้าอัตราภาษีพิเศษ
- ให้สินค้า บริการ ทุน และคน ในกลุ่มสามารถ
เคลื่อนย้ายโดยเสรี ด้วยการลดข้อจำกัดทั้งทางด้านภาษี
และไม่ใช่ภาษี

         สิทธิพิเศษ ที่ให้จากประเทศคู่ค้า                                    สินค้า
- อัตราภาษีพิเศษเช่นเดียวกันกับที่ให้สมาชิกในกลุ่ม                 - สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม

2.7. โอกาสทางการค้า การลงทุนและอุปสรรคต่างๆ

2.7.1. ลู่ทางในการลงทุนและโอกาสทางการค้า

ประเทศสหพันธ์รัฐบราซิลสนับสนุนด้านการลงทุน โดยในแต่ละรัฐจะมีเงื่อนไขพิเศษและสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุนแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

  • รัฐมะเนาส์ เขตอุตสาหกรรมพิเศษ (Manause Free Trade Zone) ให้สิทธิเศษ ในการยกเว้นภาษีรายได้บางส่วน ภาษีอุตสาหกรรม ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนำเข้าบางรายการ เพื่อการผลิตและส่งออกไปขายนอกรัฐมะเนาส์ หรือการส่งออก
  • รัฐซาวาดอร์ ส่งเสริมการลงทุน โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขนส่งของเรือขนส่งสินค้า มีเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ ยกเว้นภาษีสาธารณูปโภคและภาษีบางรายการให้กับผู้ลงทุนตามเงื่อนไขต่างๆ

ตารางแสดงปัจจัยสนับสนุนและเสี่ยงในการลงทุนในประเทศบราชิล

               ปัจจัยสนันสนุน                                          ปัจจัยเสี่ยง
1. มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และเป็น                  1. ระบบภาษีที่ยุ่งยาก และทรัพย์ซ้อน ทำ
   ประโยชน์ต่อการลงทุนในด้านสินค้าหรือ                 ให้อาจมีปัญหาในการบริหารงานหรือคำณ
   อุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าทุน                  วนต้นทุนได้
   เช่น เหล็ก อัญมณี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็น          2. กฎระเบียบการขอเปิดบริษัท
   ต้น                                           ดำเนินการล่าช้าเนื่องจากระบบราชการที่แย่
2. เปิดกว้างให้ผู้ลงทุนต่างชาติถือครอง                3. บังคับให้ต้องมีผู้บริหารหรือจ้าง
   ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยจำกัดการ               ผู้บริหารซึ่งมีอำนาจลงนามในธุรกรรม
   ครองกรรมสิทธิที่ดินขนาดพื้นที่ไม่เกิน                   ต่างๆเป็นคนสัญชาติบราชิล ไม่ว่าจะมีการ
   30,000 ไร่ และไม่เกินร้อยละ 25 ในเขต             ถือหุ้น 100% หรือไม่ก็ตาม
   เทศบาล แต่ต้องได้รับการอนุญาตจาก               4. กฎหมายแรงงานค่อนข้างคุ้มครอง
   กระทรวงเกษตรของบราชิลก่อนและต้อง                ลูกจ้างอย่างมาก เช่น
   ระบุการใช้ประโยชน์ว่าจะทำธุรกิจอะไรใน              - ลูกจ้างต้องมีวันหยุดตามกฎหมายอย่างน้อย 1 เดือน
   คำขอการตั้งบริษัทด้วย                             - มีโบนัสให้ลูกจ้างตามกฎหมาย 1
3. อุตสาหกรรมที่รัฐบาลบราชิลกำหนด                      เดือนของค่าจ้าง
   เป็นยุทธศาสตร์ที่จะให้การสนับสนุนการ                 - มีค่าล่วงเวลาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
   ได้แก่ ไบโอเทค ยา พลังงาน ท่องเที่ยว               - หากไม่ให้ลูกจ้างหยุดตามกฎหมาย
   ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างพื้นฐาน                  แล้วต้องจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวน
   ต่างๆ เป็นต้น                                     ชั่วโมง ซึ่งมีอัตราที่มากกว่าค่าจ้าง
4. สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การขอคืน                     ปกติ
   ภาษีขาย(sales tax)หรือส่งออกสินค้าได้           5. การฟ้องร้องระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง
   การยกเว้นภาษีรัฐ การยกเว้นภาษีนำเข้า               เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติ แต่โดยส่วน
   อุปกรณ์ วัตถุดิบหรือส่วนประกอบ ได้  การ              ใหญ่ ลูกจ้างจะเป็นฝ่ายชนะคดี
   อำนวยความสะดวกในการขอเงินกู้จาก              6. แหล่งเงินกู้ในประเทศมีค่อนข้างจำกัด
   ธนาคารของรัฐในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า                และมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากโดยปัจจุบัน
   ดอกเบี้ยนโยบาย เป็นต้น                           อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 11.75%
5. ไม่มีข้อจำกัดในการถือครองหุ้นของ                 7. มาตรฐานการศึกษาที่ต่างกันมาก
   บริษัท ที่ให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100%                    ระหว่างรัฐและเอกชน ทำให้ขาดแรงงานที่

มีทักษะสูง

2.7.2. กฎระเบียบด้านการลงทุนในประเทศ

  • การจัดตั้งองค์กรธุรกิจในบราซิล

(1) ประเภทองค์กร

การจัดตั้งองค์กรธุรกิจทุกประเภท ถือเป็นการจัดตั้งภายใต้กฎหมายของสหพันธ์ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต่างชาติสามารถจัดตั้งองค์กรธุรกิจได้ทุกประเภทเช่นเดียวกับคนบราซิล หากมีการจดทะเบียนจัดตั้งและมีสถานประกอบการบราซิลแล้ว ถือว่ามีสัญชาติบราซิล การตั้งสถานประกอบการ ต้องยื่นคำขอ และจดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนในท้องที่ที่จะจัดตั้ง หากดำเนินกิจการแล้วจะเปิดสาขาเพิ่มเติมต้องจดทะเบียนสาขากับสำนักงานทะเบียนในท้องที่ที่ตั้งสาขา และสำเนาแจ้งสำนักงานทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่ด้วย

อนึ่ง การเข้ามาเปิดสาขาของนิติบุคคลต่างชาติไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะเข้ามาในบราซิล โดยการแปลงหรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคลท้องถิ่นแทน เพราะไม่มีความแตกต่างทางด้านภาษี และไม่ต้องรอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลกลางก่อน

ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 44 กำหนดให้นิติบุคคลเอกชน (private law legal persons)ประกอบด้วย associations, companies, foundations, religious organizations และ political parties ขณะเดียวกันได้บัญญัติเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ ( Book II — The law of Enterprises ) ตามมาตรา 966 — 1,195 กำหนดให้องค์กรธุรกิจ ประกอบด้วย

Business Proprietors ( Do Empresario )

Companies ( Da Sociedade )

  • Subtitle I — Companies without Legal Personality(ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล)
  • Partnership (Da Sociedade em Comum)
  • Undeclared Partnership (Da Sociedade em Conta de Participacao)
  • Subtitle II — Companies with Legal Personality (เป็นนิติบุคคล)
  • General Partnership (Da Sociedade Simples)
  • Partnership under a Firm Name (Da Sociedade em Nome Coletivo)
  • Limited Partnership (Da Sociedade em Comandita Simples)
  • Limited Liability Partnership (Da Sociedade limitada)
  • Corporations (Da soiedade anonima)
  • Joint Stock Companies ( Da Sociedade em Comandita por Acoes)
  • Cooperatives (Da Sociedade Cooperativa)
  • Related Companies (Das Sociedades Coligadas)

ทั้งนี้ ยังมีองค์กรธุรกิจอีก 2 ลักษณะ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จะจัดตั้งได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหาร(รัฐบาลกลาง) ก่อน ได้แก่ National Companies (Da Sociedade Nacional) กับ Foreign Companies (Da Sociedade Estraneira)

แม้ว่ากฎหมายบราซิลจะอนุญาตให้บุคคลต่างชาติสามารถจัดตั้งองค์กรธุรกิจได้ทุกประเภทเช่นคนท้องถิ่น ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะข้อกำหนดในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ความเหมาะสมกับธุรกิจของไทย คือ

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ soceidade por quotas de responsabilidade limitada เรียกสั้น ๆว่า limitada ต้องประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนร่วมกันก่อตั้งขึ้น โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะให้ work permit แก่คนต่างด้าวที่จะเข้ามาบริหารกิจการ ต่อเมื่อบริษัทนั้นๆ มีทุนจดทะเบียนหรือมีการลงทุนเทียบแล้วไม่น้อย 200,000 เหรียญสหรัฐ
  • Corporation S/A ( sociedade anonima ) ซึ่งเปรียบเสมือนบริษัทจำกัดในประเทศไทย เนื่องจากมีองค์กรกำกับดูแล กำหนดวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นชี้ชวน วิธีการจัดตั้ง การเปิดเผยข้อมูล และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเป็นรักษาทะเบียน รายงานการประชุมฯ การคุ้มครองสิทธิผู้ถือหุ้นฯ ส่วนการจะเป็นบริษัทมหาชนที่เปิด (Opened public) หรือปิด (Closed public) ขึ้นอยู่กับการนำหุ้นไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือเป็นการซื้อขายนอกตลาดตามลำดับ

อนึ่ง นิติบุคคลจะปรับเปลี่ยนเป็นเอกชนหรือมหาชน สามารถกระทำได้ง่าย ขึ้นอยู่กับมติเอกฉันท์ของผู้ถือหุ้น โดยกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นข้างน้อย หรือที่ไม่เห็นด้วย สามารถถอนหรือขายหุ้นคืนได้ในราคาตามมูลค่าทางบัญชีของกิจการ จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงกิจการจากบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนหรือในทางกลับกันทำได้ไม่ยาก ประกอบกับตลาดหลักทรัพย์ในบราซิลมีขนาดใหญ่ และพร้อมที่จะรับหุ้นของกิจการมหาชนต่าง ๆ เข้าซื้อขาย ( ภายหลังจากปฎิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับผิดชอบ ) การจัดตั้งเป็นบริษัทเอกชนแล้วแปลงเป็นบริษัทมหาชนในภายหลังจึงเป็นที่นิยม

ทั้งนี้ บราซิลมีการควบคุมการปริวรรตเงินตรา หากเข้าไปลงทุนควรจดแจ้งให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการนำเงินลงทุนและผลตอบแทนออกในภายหลัง

(2) การบริหาร

การบริหารจัดการนิติบุคคลต้องกระทำโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ หากเป็นคนต่างด้าวควรจะเป็นผู้ได้รับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางประเภทอยู่อาศัยถาวร จะได้ไม่ต้องประสบปัญหาในการบริหารกิจการในช่วงการต่ออายุวีซา

ทั้งนี้ ผู้บริหารนิติบุคคล มีภาระรับผิดทางอาญา และชดใช้ทางแพ่งเกี่ยวกับคดีภาษี และคดีแรงงานของนิติบุคคลด้วย ยกเว้นจะพิสูจน์ได้ว่าความรับผิดนั้น ๆ ไม่ใช่ความรับผิดชอบของกิจการ

(3) การกำหนดที่ตั้งสถานประกอบการ

ตามกฎหมายของบราซิล การจัดตั้งสถานประกอบการไม่ว่าจะเพื่อการอุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือการบริการต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งโดยปกติจะมีการจัดแบ่งเขตสำหรับกิจการประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการกำหนดให้มีการแยกที่พักอาศัยออกจากสถานประกอบการ ดังนั้น ควรตรวจสอบกับฝ่ายปกครองในพื้นที่ที่หมายตาไว้ให้ชัดเจน รวมทั้ง ปฎิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัย และความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน มิฉะนั้น อาจจะประสบปัญหาไม่สามารถเปิดดำเนินกิจการตามที่ต้องการได้

(4) กิจการที่ต้องห้ามสำหรับบุคคลต่างด้าว

กฎหมายสหพันธ์รัฐ ฉบับที่ 6,815 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 1980 รู้จักกันในนามกฎหมายเกี่ยวกับคนต่างด้าว นอกจากจะมีข้อกำหนดในเรื่องเกี่ยวกับวีซา และข้อห้ามสำหรับผู้ถือวีซาประเภทผ่านแดนหรือท่องเที่ยวไม่ให้ประกอบอาชีพในบราซิล ซึ่งเป็นหลักการปกติทั่วไปแล้ว ในมาตรา 106 ของกฎหมายดังกล่าวได้ระบุถึงกิจการที่ห้ามคนต่างด้าวเป็นเจ้าของหรือประกอบอาชีพ ประกอบด้วย

( 1 ) ห้ามเป็นเจ้าของ กัปตัน ต้นหน หรือกลาสีเรือ (ยกเว้นเรือประมง)

( 2 ) ห้ามเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนทุกประเภท ไม่ว่าจะในรูปหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น

( 3 ) ห้ามไม่ให้เป็นผู้บริหารกิจการสื่อมวลชนทุกประเภท

( 4 ) ไม่สามารถขอสัมปทานขุด สำรวจหรือแต่งแร่ หรือการทำการวิจัยในเรื่องทรัพยากรเหล่านี้

( 5 ) ห้ามเป็นเจ้าของอากาศยานบราซิล

( 6 ) ห้ามเป็นนายหน้าซื้อขายเรือหรืออากาศยานให้กับทางราชการ

( 7 ) ห้ามมีส่วนร่วมในการบริหาร หรือเป็นตัวแทน หรือให้คำปรึกษาแก่สหภาพแรงงานหรืออาชีพ

( 8 ) ห้ามประกอบอาชีพนำร่องในอ่าว ตามแม่น้ำ หรือทะเลสาบต่าง ๆ

( 9 ) ห้ามเป็นเจ้าของ มี หรือดำเนินการเกี่ยวกับสื่อกระจายเสียง (และภาพ) แม้จะเป็นงานอดิเรก ยกเว้น จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น (treatment safe reciprocity ) และ

( 10 ) ห้ามเป็นผู้สอนศาสนาในกองทัพและกิจการเกี่ยวเนื่องและมาตรา 107 ห้ามคนต่างด้าวเกี่ยวข้องกับกิจการการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งห้ามรับเป็นผู้ดำเนินการในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน จัดการชุมนุมทางการเมือง

นอกจากข้อห้ามสำหรับคนต่างด้าวข้างต้นแล้ว ยังพบว่าบางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แม้จะไม่ได้ระบุห้ามไว้โดยตรงในกฎหมายดังกล่าว แต่มีข้อจำกัดในการประกอบกิจการของคนต่างด้าวในกฎหมาย หรือข้อบังคับเฉพาะอื่น คนต่างด้าวจะเข้ามาประกอบกิจการได้ต่อเมื่อ ประเทศต้นทางของบุคคลนั้น ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนตราสารที่ผูกพันให้สิทธิที่เสมอภาคกันต่อบุคคลสัญชาติบราซิลในการประกอบกิจการในลักษณะเดียวกัน(หลักต่างตอบแทน ) เช่น การประกอบกิจการการเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ด้วยกฎหมายด้านแรงงานที่ให้ความคุ้มครองแรงงานท้องถิ่นอย่างมาก เช่น ต้องให้มีวันหยุดประจำปีไม่น้อยกว่า 30 วัน การจ่ายเงินรางวัลประจำปี (โบนัส) อย่างน้อย 1 เดือนของเงินเดือน การจ่ายเงินชดเชยเมื่อมีการเลิกจ้างในกรณีไม่ปกติ เป็นต้น ตลอดจนระบบภาษีที่ยุ่งยากและมีความซับซ้อนของบราชิลทำให้การจัดตั้งบริษัทหรือดำเนินธุรกิจในบราชิลตามความเห็นของ สคร. เซาเปาโลสำหรับนักธุรกิจไทยนั้น ต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง และมีแผนธุรกิจที่ดี นอกจากนั้นยังต้องยอมรับในกติกาต่างๆที่เอาเปรียบนักลงทุนต่างประเทศ จึงจะสามารถประสบผลสำเร็จได้

2.7.3. ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างไทยกับบราชิล

       ปัญหา/อุปสรรค ประเด็นการค้าการลงทุนกับไทย                 แนวทางแก้ไขปัญหา
- ระยะทางไกล                            - ผลักดันให้มีความร่วมมือทาง
- ค่าขนส่งมีต้นทุนสูงต่อการค้า                    การค้า การลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม
- ภาษีนำเข้าของบราซิลอัตราสูงซับซ้อน             โดยเฉพาะการทำ FTA ASEAN-
  ไม่มีความชัดเจน                            MERCORZU
- ไม่มีข้อมูลการค้าการลงทุนเพียงพอ             - จัดคณะผู้แทนทางการค้าทั้งภาครัฐ
เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นภาษาโปรตุเกส               และภาคเอกชน เดินทางไปเยือนระหว่างกัน
  • การเชิญนักธุรกิจ ผู้แทนภาครัฐ
- ปัญหาแรงงานในบราซิล ที่มีวัฒนธรรม             และสื่อของบราซิลไปเจรจาและ
ที่ต่างกับไทย และมีกฎหมายแรงงานที่เอา            พบปะหารือกับฝ่ายไทยให้ใกล้ชิดมากขึ้น
เปรียบนายจ้าง                             - การจัดทำ Website และเอกสาร

เผยแพร่เป็นภาษาโปรตุเกส

2.8. การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)

2.9. ข้อตกลง/ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนกับไทย

1) ความตกลงทางการค้า ลงนามเมื่อ 12 กันยายน 2527

2) ความตกลงทางวิทยาศาสตร์ และวิชาการ ลงนามเมื่อ 12 กันยายน 2527

3) ความตกลงการบิน ลงนามเมื่อ 21 มีนาคม 2534

4) ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ลงนามเมื่อ 24 มกราคม 2537

5) ความตกลงร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับ The

6) National Confederation of Commerce ลงนามเมื่อ 13 มิถุนายน 2537

7) ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดา ลงนามเมื่อ 21 กรกฎาคม 2540

8) ความตกลงด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ ลงนามเมื่อ 16 มิถุนายน 2547

9) MOU ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-บราซิล ลงนามเมื่อ 16 มิถุนายน 2547

10) MOU ว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง (EXIM Bank) ของไทยกับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนา

11) เศรษฐกิจและสังคม (BNDES) ของบราซิล ลงนามเมื่อ 16 มิถุนายน 2547

12) ความตกลงความร่วมมือในด้านกีฬาระหว่างไทย-บราซิล ลงนามเมื่อ16 มิถุนายน 2547

ไทยและบราซิลต่างมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลกโดยเฉพาะด้านการค้าซึ่งบราซิลเป็นหัวหอกที่สำคัญในการเจรจากับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้าในเวทีของ WTO และในเวที Forum for East Asia Latin America Coopration (FEALAC) ซึ่งมีหลายกรณีที่ไทยและบราซิลได้มีท่าที่ร่วมกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในประเด็นที่มีประโยชน์ร่วมกันเช่นไม่ปฏิบัติตามสิทธิบัตรยาในกรณีฉุกเฉินเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุขซึ่งประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ บราซิล ไทยและออสเตรเลียยังได้ร่วมกันฟ้องสหภาพยุโรปในกรณีข้อพิพาทเรื่องน้ำตาล และไทย-บราซิลได้ร่วมกันฟ้องสหภาพยุโรปที่เพิ่มภาษีการนำเข้าสินค้าไก่หมักเกลือ หรือกรณีการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้งกับสหรัฐ

2.10. ข้อเสนอแนะในด้านการค้า และการลงทุนในบราชิล

1) การทำ Joint Venture เป็นลู่ทางที่จะสามารถขยายการค้าได้เพิ่มขึ้น เช่น ลงทุนร่วมกันในการผลิตเอธานอล

2) การเกษตร เลี้ยงสัตว์ การผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ การทำร้านอาหารไทย การผลิตยางรถยนต์ การผลิตเครื่องประดับและการผลิตเครื่องเรือนจากไม้ โดยนักธุรกิจไทยเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อส่งออกไปประเทศอื่น

3) การตั้งตัวแทนจำหน่ายและนำเข้า เลี่ยงที่ต้องปฎิบัติตามระเบียบปฏิบัติในการนำเข้าที่ยุ่งยากและ ซับซ้อน ทำนองเดียวกับที่ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลี ให้คนของตนที่เข้ามาตั้งรกรากในบราซิล เป็น

4) ตัวเชื่อมในการนำเข้าสินค้า ขยายตลาดและติดตาม update ข้อมูลการค้าต่างๆ

5) การจัดคณะผู้แทนทางการค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเดินทางไปเยือนประเทศบราซิล เพื่อหาลู่ทางทำการค้าการลงทุนร่วมกันในรัฐสำคัญๆ ที่มีศักยภาพ เช่น Rio de Janeiro , Belo Horizonte, Bahia, Porto Alegre, Manaus, Minageras , Balem, Parana

6) การเดินทางเข้าไปดูตลาดเองและร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งนอกจากจะได้รับความสะดวกในการออก ของโดยผู้จัดแล้ว ผู้ส่งออกยังมีโอกาสเห็นรูปแบบสินค้า รสนิยม Trend และลู่ทางเข้าตลาดใน ประเทศที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่เปิดกว้างและตื่นตัวที่จะรู้จักโลกภายนอกของประชาชนยังน้อยเนื่องจากระยะทาง ภาษา และเชื่อมั่นในเศรษฐกิจที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้แห่งนี้

7) การเชิญนักธุรกิจ ผู้แทนภาครัฐ และสื่อของบราซิลไปพบปะหารือกับฝ่ายไทย ทั้งในช่วงงานแสดง สินค้าหรือโอกาสอื่นๆ ก็จะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจในด้านวัฒนธรรม ด้านความคิด ด้านการเมืองและด้านการพัฒนาซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การค้าขายในอนาคต

8) การจัดทำ Website และเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาโปรตุเกส จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปโดยสะดวก และเข้าใจกันได้มากและดียิ่งขึ้น

3. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าบราชิล

3.1. หน่วยงานทางการฑูตและการค้าของไทย

1 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย

เอกอัครราชทูต นายจักริน ฉายะพงศ์

Royal Thai Embassy

SEM-Av,DasNacoes-Lote10, BraziliaDF,CEP70433900

Tel (55-61)2246089 , 2246849,2246943

Fax (55-61)2237502

E-mail thaiemb@linkexpress.com.br

2 สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ ณ นครเซาเปาโล

อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) นายบุญนำ กุลรกัมพุสิริ

Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy

1356 Rue Gomes de Cavalho , Vila Olimpia,

CEP 04547005 Sao Paulo/SP Brazil

Tel (5511)30447347, 30447301, Fax(5511)30451913

E-mail-thaitcsp@terra.com.br

3 Honorary Trade Advisor to the Ministry of Commerce (HTA)

Dr. Somchai Ansuj

Santa Maria,RS

Tel, (55 55) 8111-0877

4 Honorary Consul-General

Mr.Daniel Andre Sauer

Rua Mexico 41- 11 Andar-Centro20031-144,

Rio de Janeiro

Tel (5521)2103123 Fax (5521)2402077

5 Honorary Consul

Mrs. Thassanee Wanick

Alameda Dinamarca467-Alphaville 1

06474250 Barueri Sao Paulo

Tel.(5511)72952820 Fax (5511)72952820

3.2. หน่วยงานของบราซิล

1 Associacao Comercial de Sao Paulo-ACSP (หอการค้า)

Rua Boa Vista51-Centro CEP 01014911 SP

E-mail infocen@acsp.com.br

2 Federcao das Industrias do Estado de Sao Paulo-FIESP

Av. Paulista 1313-Cerqueira Casar CEP 01311200

E-mail cfpres@fiesp.org.br (สภาอุตสาหกรรม)

3 Secretariat of Foreign Trade —SECEX/DECEX

Esplanada dos Ministerios ,BlocoJ 8-andar

70053900 Brazilia -DF (หน่วยงานที่ดูแลการนำเข้า)

E-mail nucex@secex.mdic.gov.br

4 Trade Promotion Department

Esplanada dos Ministerios BlocoH AnexoI sala 220

www.braziltradenet.com , www.braziltradenet.gov.br

5 Custom Department

Delegacia Especial de Assuntos Internationais em SP

Rua Avanhandava No.55, 9-andar Sala 903 Bela Vista

Sao Paulo CEP 01306001 www.receita.fazenda.gov.br

3.3. หน่วยงานที่จัดงานแสดงสินค้า

1 Brazilian Union of Fair Organizer

Rua Bela cintra746-Consolacao CEP

141500

e-mail ubrafe@.com.br , www.ubrafe.com.br

2 Agrocentro Empreendimentos e Participaes

Rodovia dos Imigrantes Km1.5 Agua Funda Sao Paulo

CEP 04329900

E-mail info@centroimigrantes.com.br

3 Anhembi Turismo e Eventos da Cidade de Sao Paulo

Av. Olavo Fontoura, 1209- Sede Adm-Santana SP

E-mail presidencia@anhembi.com.br

4 Expo Center Norte

Trav.Casabuono 120-Vila Guilherme CEP 02089900 Sao Paulo SP.

E-mail expoadm@exponorte.com.br

5 FenacS/A Freiras e Empreendimentos Turisticos

Rua Araxa-505 Ideal, Novo Hamburgo RS93334000

E-mail direcao@fenac.com.br

6 RiocentroS/A-Centro de Feiras Exp.Cong;do RJ

Av.Salvador Allende 6555-Barra da Tijuca —

Rio de Janeiro-RJ-22780160

E-mail riocentro@pcrj.rj.gov

สคร. ณ นครเซาเปาโล

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ