๑. ข้อมูลบริษัท
โทรศัพท์ +๓๙ ๐๖ ๕๖๓๕๒๘๓๔
โทรสาร +๓๙ ๐๖ ๕๖๓๕๙๓๖๔
อีเมล์ : mic.mar.srl@tiscali.it ๑.๓ ประเภทธุรกิจ
ผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ๑.๔ ข้อมูลบริษัท
ปีที่ก่อตั้ง ๒๕๔๓
เงินทุนหมุนเวียน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ยูโร
จำนวนพนักงาน ๑๗ คน ๑.๕ สินค้าหลัก อาหารทะเลแช่แข็ง ๑.๖ ผู้ที่เข้าเยี่ยมพบ
- Mr. Mario Pazzini (กรรมการผู้จัดการ)
๒. ข้อมูลที่ได้รับ
๒.๑ ภาพรวมของบริษัท
บริษัท MIC.MAR เริ่มดำเนินธุรกิจจากการค้าอาหารทะเลสดมากว่า ๑๐ ปี ปัจจุบันขยายฐานธุรกิจครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง ส่งตามร้านอาหาร โรงแรม และโรงเรียนในแถบแคว้นลาซิโอ มีผลประกอบการรายปีประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ยูโร วางกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง
๒.๒ แนวโน้มตลาดในอิตาลี
คนอิตาลีมีแนวโน้มบริโภคอาหารประเภทแช่แข็งและอาหารประเภทเก็บถนอมไว้ได้นานเพิ่มขึ้น เนื่องจากเหมาะกับวิถีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารก็ตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภค ทั้งความรวดเร็ว รสชาติ และความปลอดภัย ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพ ความสะอาดของอาหารประเภทนี้มากขึ้น
ในอนาคตกุ้งขาวแปซิฟิค (Vannamei) จะมาแทนที่กุ้งกุลาดำ เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่า และราคาถูกกว่ากุ้งกุลาถึง ๒๐%
ราคาส่งของสินค้าอาหารทะเลของอิตาลีโดยประมาณ
ปลาหมึก 6.50 ยูโร/กก.
กุ้งใหญ่ 5.90 ยูโร/กล่อง (กล่องละ 36-40 ตัว)
กุ้งกุลาดำ 4.90 ยูโร/กล่อง (กล่องละ 13-15 ตัว)
หมึกกระดอง 5.50 ยูโร/กก.
ปลาหมึกยักษ์ 4.90 ยูโร/กก.
๒.๓ โอกาสของสินค้าไทย
บริษัท MIC.MAR สั่งซื้ออาหารทะเลแช่แข็งจากตัวแทนจำหน่ายทุกวันประมาณวันละ ๗๐-๘๐ กล่อง โดย ๔๐% ของสินค้าที่สั่งซื้อจะนำเข้ามาจากประเทศไทย โดยสั่งผ่านทางบริษัทตัวแทนจำหน่ายในอิตาลีหลายบริษัท(สินค้าจะขึ้นที่ท่าเรือลิวอร์โน่ หรือเจนัว) ได้แก่
- บ. COMA VICOLA เมืองมิลาน
- บ. DEAMAR เมืองมิลาน
- บ. FROZEN SERVICE กรุงโรม
- บ. PANAPESCA เมืองปิซ่า
- บ. CONGEMAR เมืองลิวอร์โน่
Mr.Pazzini ให้ความเห็นว่าสินค้าจากประเทศไทยมีราคาสูงกว่าเกือบ ๑๕% เมื่อเทียบกับสินค้าจากอาร์เจนตินาและเอกวาดอร์ แต่ลูกค้าของบริษัทนิยมสินค้าไทยมากกว่าเนื่องจากมีคุณภาพและมาตรฐานความสะอาดดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลาหมึก และมีรสชาติที่ดีกว่า
ทั้งนี้ บริษัท MIC.MAR นำเข้าสินค้าไทยผ่านทางตัวแทนจำหน่ายในอิตาลี แต่ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้อยากจะนำเข้าโดยตรง เพื่อเพิ่มทางเลือก และอำนาจในการซื้อให้มากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทจะรวบรวมกลุ่มผู้ซื้อรายย่อยและบริษัทขายอาหารทะเลอื่นเพื่อสั่งซื้อและนำเข้าสินค้าเข้ามาโดยตรงจากไทย
๒.๔ สินค้าที่สนใจนำเข้าจากไทย
- ปลาหมึกกล้วย (นำเข้าจากไทย และสเปน)
- กุ้งใหญ่ (นำเข้าจากไทย เอกวาดอร์ และอาร์เจนตินา)
- กุ้งกุลาดำ (นำเข้าจากไทย จีน และอาร์เจนตินา)
- กุ้งเล็ก (นำเข้าจากไทย อาร์เจนตินา และอินเดีย)
- ปลาหมึกยักษ์และหมึกกระดอง (นำเข้าจากไทย จีน และอาร์เจนตินา)
- อาหารแช่แข็งสำเร็จรูป
๒.๕ แหล่งนำเข้า
สินค้าที่บริษัทนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศอาร์เจนตินา แต่สามปีที่ผ่านมาก็ได้เริ่มนำเข้าจากประเทศต่างๆเช่น เอกวาดอร์ จีน อินเดีย สเปน และไทย โดยแบ่งเป็นสัดส่วน ดังนี้
- ประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด (ส่วนใหญ่เป็นกุ้งใหญ่ กุ้งขาว ปลาหมึก กุ้ง กุลาดำ ปลาหมึกยักษ์ หมึกกระดอง)
- อาร์เจนตินา ลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด
- เอกวาดอร์ คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด
- อินเดีย คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด - จีน คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด - ยุโรป คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด ๓. สรุปผลการหารือ
สคร.โรมได้ให้ข้อมูลสินค้าอาหารของไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ และเชิญบริษัทให้เดินทางไปเข้าเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าอาหาร Thaifex 2011 ที่จะจัดขึ้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ประเทศไทย เพื่อที่บริษัทจะได้เลือกซื้อสินค้าอาหารซึ่งมีความหลากหลายประเภท รวมทั้งจะได้สำรวจโอกาสในการแสวงหาคู่ค้าไทยเพื่อผลิตสินค้าอาหารใหม่ๆของไทย และนำเข้าโดยไม่ต้องผ่านตัวแทนจำหน่ายต่อไป บริษัทได้แสดงความสนใจที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมงานดังกล่าว
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th