สถานการณ์การค้าวัสดุก่อสร้างในแคนาดา พฤษภาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 26, 2011 15:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า

วัสดุก่อสร้าง (สถิติมูลค่านำเข้าจากไทย ม.ค.— มี.ค. 54 ) เทียบกับช่วงเดียวกันปี2553

1) อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ (HS 7307): 4.356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+231.23%)

2) ตะปูควง สลักเกลียว แป้นเกลียว (HS 7318): 3.566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.92%)

3) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า (HS 8536): 2.539 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.30%)

4) อุปกรณ์สำหรับยึด อุปกรณ์ติดตั้ง-ฟิตติ้ง (HS 8302): 1.266 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-34.65%)

5) พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ อะลูมินัสซีเมนต์ สแลกซีเมนต์ (HS 2523): 0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+/- 0 %)

6) กระเบื้องปูพื้นและทางเดิน (HS 6908): 0.726 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-29.97 %)

ขนาดของตลาด

การผลิต/การบริโภค

  • ในการวางงบประมาณปี 2553 (Budget 2010) นั้น รัฐบาลกลางแคนาดาเพิ่มงบประมาณการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2553-2554 ขึ้นอีก 1.9 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 6 แสนล้านบาท) โดยได้สำรอง 4.156 ล้านเหรียญเพื่อการปรับปรุงระบบ
สาธารณูปโภคโดยเฉพาะ
  • จากผลการสำรวจล่าสุดของหน่วยงานรัฐฯ Industry Canada (ธค 2551) นั้น ปัจจุบันแคนาดามีผู้ประกอบการด้านงาน/ วัสดุก่อสร้าง ทั้งสิ้น 226,352 ราย โดยมากที่สุดในมณฑล Ontario 99,123 ราย รองลงมาได้แก่ British Columbia 48,435 ราย

การนำเข้าส่งออก

นำเข้า (วัสดุก่อสร้าง)

  • จากทั่วโลก: เดือน ม.ค.-มี.ค.2554 มูลค่า 1358.512 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+12.45%)
  • จากไทย: เดือน ม.ค.-มี.ค.2554 มูลค่า 12.453 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+36.72%)

ส่งออก (วัสดุก่อสร้าง)

  • ไปยังทั่วโลก: เดือน ม.ค.-มี.ค.2554 มูลค่า 467.796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+12.61 %)
  • ไปยังไทย : เดือน ม.ค.-มี.ค.2554 มูลค่า 3.382 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+43.35%)

ช่องทางการจำหน่าย

  • ชาวแคนาดามักเลือกที่จะทำการก่อสร้าง/ต่อเติมอาคารบ้านเรือนเอง เนื่องจากอัตราค่าแรงในแคนาดาสูงมาก จึงมักเลือกซื้อสินค้าเอง โดยตรงจากร้านค้าปลีก
  • ผู้นำเข้าวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก อาทิ Home Depot/ Rona และ The Brick มีร้านค้าประเภท Super Center ขนาดใหญ่
ของตน โดยไม่มีการค้าส่ง แต่ค้าปลีก ผ่านร้านค้าของตนเท่านั้น
  • ผู้นำเข้าวัสดุก่อสร้างมักสั่งซื้อสินค้าหลังจากได้รับ Building Permit จาก รัฐบาลแล้วเท่านั้น

พฤติกรรมผู้บริโภค

จากผลการสำรวจล่าสุดของหน่วยงานรัฐฯ Industry Canada นั้น แคนาดามีผู้ประกอบการด้านงาน/ วัสดุก่อสร้างแบ่งตามขนาดการจ้างงาน ดังนี้

  • ขนาด Micro (จ้างงาน 1-4 คน) 58.9% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดเล็ก (จ้างงาน 5-99 คน) 40.2% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดกลาง (จ้างงาน 100-499 คน) 0.9% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดใหญ่(จ้างงาน 500+ คน) 0.1% มากที่สุดในมณฑล Alberta
  • การที่แคนาดามีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก ไม่มีศักยภาพในการนำเข้าตรงผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เป็นส่วนน้อยจึงมีอิทธิพลต่อการนำเข้า/ การตั้งราคา และการทำการตลาดในธุรกิจนี้มาก

การค้าในประเทศ

ราคาขายส่ง/ปลีก

ราคาปลีกในนครแวนคูเวอร์ พ.ค.54 (เหรียญแคนาดา)

  • Scheider Electric

— Federal Pioneer (Double Pole 408302 Amp) ราคา 276.70$

  • 1/8 in steel washer (Arrow) 40 ชิ้น ราคา 1.94$
  • Screwdriver 7 Piece ราคา 70$
  • ท่อ Tundra Seal
  • in x 6 EPDM Rubber Pipe Insulation (48 ชิ้น) ราคา 399$
  • Exhaust Fan 200 CFM (Nu Tone) ราคา 199$
  • Normal Portland Cement 40 Kg. (St. Mary) ราคา 12.79$

คู่แข่ง

ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.-มี.ค. 2554 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)

สหรัฐฯ (48.60%)

จีน (14.89%)

เม็กซิโก (6.83%)

ไต้หวัน (5.85%)

ญี่ปุ่น (3.45%)

อิตาลี(3.19%)

เยอรมนี (3.40%)

ไทย (1.05%)

มาตรการการค้า

ด้านภาษี/NTB

  • กฏหมาย Occupational Health and Safety Act
  • กฏหมาย Biological or Chemical Exposure Regulation
  • กฏหมาย Import Export Act
  • มาตรการ Bid Depository (สำหรับการประมูลโครงการก่อสร้างสำคัญ)
  • มาตรการ Product Safety Standards
  • Exporters from Least Developed Countries (LCDs)
  • General Preferential Treatment (GPT)
  • Canada Building Codes

แหล่งข้อมูล:

  • “Canada Budget 2010 Summary”- Canadian Construction Association - http://www.cca acc.com/documents/electronic/budget2010.pdf
  • “Investment in non-residential building construction”- Statistic Canada 4th Quarter 2009- http://www.statcan.gc.ca/daily-quotidien/100115/dq100115a-eng.htm
  • “Canadian Industry Statistics: Construction”- Industry Canada- http://www.ic.gc.ca/cis-sic/cis-sic.nsf/IDE/cis-sic23etbe.html
  • “Construction Industry”- The Canadian Encyclopedia- http://www.thecanadianencyclopedia.com/index.cfm?PgNm=TCE&Params=A1ARTA0001876
  • “Canadian Construction Industry Forecast 2007-2012”: Canadian Construction Association- http://www.cca-acc.com/news/stats/industry_stats_e.pdf
  • เปรียบเทียบราคาปลีก ณ ร้านค้า Home Depot ในนครแวนคูเวอร์ ณ. พ.ค. 2554 www.homedepot.ca
  • “Online Resources to the use of Bid Depository” Canadian Construction Association http://www.cca-acc.com/biddepository/introduction/index.html
  • “Importing Construction Materials into Canada” Association of the Wall and Ceiling Industry http://www.awci.org
  • “Export to Canada: Duty Free”: A Guide to Canada’s Market Access Initiative for Least Developed Countrieshttp://www.intracen.org/pact/programme/AAGuide_En.pdf

SWOT

1. จุดแข็ง (Strength)

  • ผู้ผลิต/ ผู้ออกแบบสินค้าวัสดุก่อสร้างไทยเริ่มหันมาผลิตสินค้าตามกระแสนิยมโลก ด้านสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการ/ ผู้บริโภคแคนาดาให้ความสำคัญมาก
  • ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้างได้หลายประเภท และมีบริษัทส่งออกที่มีตราสินค้าไทยที่เป็นที่ยอมรับในสากลโลก (อาทิ ปูนและสีทาบ้าน)
  • ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นแรงงานรากฐานการการผลิต ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นทุกปี และมีการฝึกอบรม ทั้งจากรัฐฯ และเอกชนอย่างต่อเนื่อง

2. จุดอ่อน (Weakness)

  • แคนาดาเป็นผู้ผลิต/ส่งออก Softwood Lumber (เพื่อการก่อสร้าง) รายใหญ่ โดยคู่ค้าที่สำคัญที่สุดคือ สหรัฐฯ
  • สินค้าไทยโดยมากเป็นสินค้าที่ผลิตตามใบสั่ง มีลักษณะตรงตามที่ผู้สั่งทำกำหนดเท่านั้น ประเทศไทยยังขาดสินค้า และเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมไทยแท้เพื่อการส่งออกอย่างแท้จริงอยู่มาก
  • ค่าขนส่งสินค้าจากไทยไปแคนาดาสูงกว่าคู่แข่งอื่นๆ ทำให้เพิ่มต้นทุนในการผลิตและราคาสินค้าสูงขึ้น
  • ต้นทุนสินค้าสูงกว่าคู่แข่ง เนื่องจาก ค่าจ้างแรงงานไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในภูมิภาคเช่น จีนและอินเดีย
  • สินค้าของไทยบางประเภทมีคุณภาพ รูปแบบไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศและการใช้งานในประเทศแคนาดา

3. โอกาส(Opportunity)

  • รัฐบาลกลางแคนาดา (Federal government) มีการตั้งโครงการ Federal Infrastructure Program ซึ่งมีงบประมาณ มากถึง 3.3 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา ส่งเสริมธุรกิจก่อสร้างทั่วประเทศ ระหว่างปี2550-2557 โดยแบ่งเป็นงบประมาณย่อย ส่งเสริมเฉพาะปี2553-2554 ประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการก่อสร้างด้าน Knowledge Infrastructure Program มากที่สุด (2 พันล้านเหรียญ) จึงคาดการณ์ได้ว่า แคนาดาจะมีการก่อสร้างสถานศึกษา โรงเรียนสถานวิจัยมากระหว่างปีดังกล่าว
  • รัฐบาลแคนาดามีนโยบายต่อเนื่อง ส่งเสริมการบูรณะ/ ตกแต่งต่อเติมสถานที่อยู่อาศัยหลายเขตในแคนาดา โดยการให้Tax Break หรือการลดเงินภาษีบางส่วนให้กับผู้ที่ดำเนินการดังกล่าว
  • แคนาดามีชื่อเสียงด้านโครงการพัฒนาพลังงาน Hydroelectric Power (อาทิโครงการ Churchill Falls และ James Bay) ขนาดใหญ่ ซึ่งมักมีการก่อสร้างต่อเติม ดัดแปลงเสมอๆ จำเป็นต้องใช้ทั้งวัสดุก่อสร้าง และแรงงานจำนวนมาก ทุกปี
  • ผู้ประกอบการแคนาดาส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง-เล็ก จึงมีการรวมตัวเป็นสมาคม Canadian Construction Association (CCA-www.cca-acc.com) มีสมาชิกประมาณ 200 บริษัท ซึ่งมีการติดต่อ เวียนส่งข่าวสารอยู่เสมอ จึงมักมีการเลือกใช้ เลือกสั่งซื้อสินค้าในแนวทางเดียวกัน หากสินค้าไทยสามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ โดยใช้ปัจจัยด้านคุณภาพ และราคา จะมีการแนะนำต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่
  • แคนาดามีค่าแรงในการผลิตสูงทำให้สินค้าที่ผลิตในแคนาดาไม่สามารถแข่งขันได้จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นที่มีราคาถูกว่า อาทิ ไทย จีน ฯลฯ

4. ภัยคุกคาม (Threat)

  • นับแต่ปี2543 นั้น แคนาดากำหนดให้มีโครงการ Exporters from Least Developed Countries (LDCs) โดยลดภาษีนำเข้าจากกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา ทั้งสิ้น 48 ประเทศ ซึ่งไทยไม่อยู่ในรายชื่อประเทศดังกล่าว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาทิพม่า กัมพูชา และลาวได้รับสิทธิดังกล่าว
  • การก่อสร้าง/ ต่อเติม/ ดัดแปลงอาคารในแคนาดานั้น จำเป็นจะต้องได้รับ Building Permit ก่อน ซึ่งรัฐบาลจะอนุญาตตามเกณฑ์กำหนดที่ตั้งเป้าไว้ในแต่ละปีเท่านั้น (มูลค่า Building Permit ระหว่างปี2548-2552 แบ่งตามเขตมณฑล ดังเอกสารแนบ) ดังนั้น มูลค่าและจำนวน Building Permit ในแต่ละปี จึงเป็นตัวชี้วัดการเติบโตภาคการก่อสร้างแคนาดาได้อย่างเที่ยงตรง
  • คู่แข่งจากประเทศค่าแรงที่ถูกกว่า ไทย อาทิ จีน อินเดีย
  • การรับจ้างการผลิตภายใต้สินค้า OEM โดยไม่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเองทำให้ผู้ผลิต/ส่งออก เสียเปรียบอำนาจในการต่อรองเรื่องของราคา และทำให้ผู้นำเข้าพร้อมที่จะเปลี่ยนแหล่งนำเข้าไปยังประเทศที่มีราคา/ ค่าแรงที่ถูกกว่า

เกณฑ์การวิเคราะห์สถิติการค้ารายเดือนในสินค้า 10 หมวดของสคร. แวนคูเวอร์

เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) ดังนั้น เพื่อความชัดเจน เที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. มีเกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้

1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง

2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทย-แคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ในกรณีสินค้าวัสดุก่อสร้างนี้ สคร. พิจารณาใช้พิกัดสินค้า ดังนี้

  • 7307 อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ (เช่น ข้อต่อ ข้องอ ปลอกเลื่อน) ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า
  • 7318 ตะปูควง สลักเกลียว แป้นเกลียว ตะปูเกลียวหัวเหลี่ยม ตะปูเกลียว หัวตะขอ หมุดย้ำ สลัก สลักผ่า แหวนรอง (รวมถึงแหวนสปริง) และของที่คล้ายกัน ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า
  • 8536 "เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้าหรือสำหรับต่อกับวงจรไฟฟ้าหรือต่อภายในวงจรไฟฟ้า (เช่น สวิตช์ รีเลย์ฟิวส์ เครื่องกำจัดกระแสเซอร์จ ปลั๊ก เต้ารับ กระจุ๊บหลอดไฟฟ้า กล่องชุมสายไฟฟ้า) สำหรับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์"
  • 8302 อุปกรณ์สำหรับยึด อุปกรณ์ติดตั้ง (ฟิตติ้ง) และของที่คล้ายกัน ทำด้วยโลหะสามัญ เหมาะสำหรับใช้กับเฟอร์นิเจอร์ ประตู บันได
หน้าต่าง มู่ลี่ ตัวถังรถ เครื่องอาน หีบเดินทางขนาดใหญ่ หีบเก็บของ กล่องเก็บของมีค่า หรือใช้กับของที่คล้ายกัน ที่วางหรือแขวนหมวกเท้าแขน และสิ่งติดตั้งถาวรที่คล้ายกันทำด้วยโลหะสามัญ ลูกล้อพร้อมอุปกรณ์สำหรับยึดทำด้วยโลหะสามัญ อุปกรณ์ปิดเปิดประตูอัตโนมัติทำด้วยโลหะสามัญ
  • 2523 พอร์ตแลนด์ซีเมนต์อะลูมินัสซีเมนต์ สแลกซีเมนต์ ซูเปอร์ซัลเฟต-ซีเมนต์และไฮดรอลิกซีเมนต์ที่คล้ายกัน จะแต่งสีหรือเป็นซีเมนต์เม็ด (คลิงเกอร์) หรือไม่ก็ตาม
  • 6908 กระเบื้องปูพื้นและทางเดิน กระเบื้องปูพื้นเตาหรือติดผนัง ที่เป็นเซรามิกเคลือบแล้ว รวมทั้งหินโมเสกและของที่คล้ายกันที่เป็นเซรามิกเคลือบแล้ว จะมีสิ่งรองรับหรือไม่ก็ตาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ