เดนมาร์กและเกาหลีจับมือร่วมกันเป็นพันธมิตรสีเขียว ( Green Growth Alliance)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 27, 2011 13:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หนังสือพิมพ์ Copenhagenpost ฉบับสัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ได้รายงานข่าวเดนมาร์กและเกาหลีจับมือร่วมกันเป็นพันธมิตรสีเขียว ( Green Growth Alliance) เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโลก( Green GDP gap with World)

รายงานข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีเกาหลี นาย Lee Myung-Bak ได้กล่าวในระหว่างการเยือนเดนมาร์กอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ว่า รัฐบาลทั้ง ๒ ฝ่ายและกลุ่มเทคโนโลยีธุรกิจสีเขียว ( Green Technology Business ) เช่น พลังงานทดแทน ไฟฟ้าเส้นตารางสมาร์ท พลังงานลม และเซลล์เชื้อเพลิง จะทำงานร่วมกัน โดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลี Hyundai ได้เลือกกรุงโคเปนเฮเกนเป็นนครแห่งแรกของโลกในการทำการทดสอบรถยนต์ซึ่งใช้พลังงานไฮโดรเจนใหม่ เนื่องจากกรุงโคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในโลกที่มีสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน

ขณะเดียวกันนาย Bo Asmus Kjeldgaard รองนายกเทศมนตรีการจัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม กรุงโคเปนเฮเกน กล่าวว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีสีเขียวสามารถดึงดูดธุรกิจจากต่างประเทศ และสร้างการเจริญเติบโตให้แก่ประเทศได้ แม้ว่าการดึงดูดหรือชักจูงธุรกิจเทคโนโลยีสีเขียวของผู้ผลิตรถยนต์ให้เข้ามาในเดนมาร์กเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากเราต้องการที่จะให้ผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงโคเปนเฮเกนหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจนและรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน "ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องยังคงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับไฮโดรเจนต่อไป

Hyundai นับเป็นผู้ผลิตรายที่สอง ต่อจาก Reanault ที่เลือกเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเดนมาร์ก เนื่องจากเดนมาร์กมีสถานีเชื้อเพลิงพิเศษที่สามารถสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสถานีสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่เหล่านี้ ก่อสร้างโดยบริษัทอเมริกัน และคาดว่าสามารถใช้ได้ทั่วประเทศในปี ๒๕๕๕

ทั้งนี้ มีผู้เสนอว่าระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ( battery — swap system)วอโต้เถียงว่า โดยพลังงานลมชาร์จแบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บได้โดย grid และจะเพิ่มความต้องการพลังงานลม และคาร์บอนเป็นกลาง ( neutral — carbon transport )

แม้ว่า เดนมาร์กนับว่าเป็นประเทศผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตและใช้เทคโนโลยีพลังงานลมมานาน ปัจจุบันประมาณร้อยละ 20 ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในเดนมาร์กมาจากพลังงานลม อย่างไรก็ดี เนื่องจากความไม่เสถียรของพลังงานลมที่ไม่สามารถพัดได้ตลอดเวลาที่ต้องการ จึงทำให้ยังคงต้องใช้โรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ปริมาณตามต้องการในเวลาที่ลมอ่อนหรือลมหยุดพัด

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการย้ำถึงความเป็นผู้นำระดับอันดับ ๑ ในด้านการผลิตเทคโนโลยี่เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัดจากผลประกอบการที่ใช้กังหันลมและเทคโนโลยี่สะอาด โดยมีจีนตามมาเป็นอันดับ ๒ ในด้านการใช้พลังงาน renewable energy และจีนมีอัตราการเติบโตทางตลาดร้อยละ ๗๗

จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาเยอรมัน (Berger Strategy Consultants) พบว่า เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน คิดเป็น ร้อยละ ๓.๑ ของ GDP ของเดนมาร์ก และก่อให้เกิดรายได้เพียง ๖.๕ พันล้านยูโร ในขณะที่จีน ซึ่งเป็นอันดับ ๒ คิดเป็นร้อยละ ๑.๔ ของ GDPเท่านั้น แต่สร้างรายได้ให้กับประเทศจีนมีมูลค่าถึง ๔๔ พันล้านยูโร

สรุปและข้อคิดเห็น

๑. เดนมาร์ก จัดเป็นผู้นำอันดับ ๑ ในด้านเทคโนโลยี่สีเขียวของโลก มีนโยบายในการทำให้กรุงโคเปนเฮเกนเป็นเมืองหลวงสีเขียวของโลก และเร่งรณรงค์ให้คนหันมาใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานลม ซึ่งเดนมาร์กจัดเป็นผู้ส่งออกกังหันลมอันดับต้นของโลก ซึ่งหลายประเทศในกลุ่มนอร์ดิกส์ เช่น สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ยุโรปเหนือ ก็ได้มีการตื่นตัวในด้านนี้เช่นกัน คนเดนมาร์กหันมาใช้จักรยานเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่นช่องทางจักรยาน จุดให้จอดรถหรือเติมลม การให้ยืมจักรยานฟรี โรงแรมต่างๆก็นำแนวคิดโรงแรมสีเขียว ( Green Hotel ) หรือภัตตาคารร้านอาหารก็จะมีสินค้า Green Foods อาหารเกษตรอินทรีย์ มานำเสนอลูกค้า จะเห็นว่าแนวโน้มที่เกี่ยวกับสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานเหล่านี้ ได้เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันทั่วไปของคนแถบนี้มากขึ้น

โดยเฉพาะนับแต่ได้มีการเกิดเหตุเภทภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่องในประเทศต่างๆ ดังนั้น การขยายการส่งออกสินค้าไทยควรคำนึงถึงเรื่องสินค้าบริการสีเขียว (Green Products) เข้ามาด้วย

๒. ดังนั้น แม้ว่าเดนมาร์กจะเป็นตลาดขนาดเล็ก แต่ก็มีจุดเด่นหรือจุดแข็งหลายอย่าง เช่น ด้านพลังงาน เทคโนโลยี่สีเขียว ด้านการออกแบบ ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมยา ฯลฯ ซึ่งเกาหลีก็ได้เห็นจุดแข็งเหล่านี้ นำมาใช้เป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อเจาะตลาดในภูมิภาคแถบนี้ รวมถึงการใช้โครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกที่แดนมาร์กมีมาช่วยในการทดสอบและทดลองคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นตลาดเฉพาะ(niche market) อย่างรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ผู้ส่งออกไทยจึงควรพิจารณาจุดเด่นเหล่านี้ และเลือกให้เหมาะสม เช่น ในการนำมาพัฒนาออกแบบสินค้า ให้เหมาะสมกับรสนิยมกับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ(niche market) เหล่านี้ เช่น ในกลุ่มลูกค้าของประดับตกแต่งร่างกาย แฟชั่นเสื้อผ้า ของประดับตกแต่งบ้าน การแสวงหาวัตถุดิบ (Out sourcing)การร่วมลงทุนหรือเป็นพันธมิตร (Joint venture) ในสินค้าอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สินค้าอิเลคโทรนิคส์ ก็จะช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น

๓. ทั้งนี้ ในรอบ ๓ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ ไทยส่งออกสินค้าไปยังเดนมาร์กคิดเป็นมูลค่า ๒๐๘.๕๘ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ ๔๗.๙๓ สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า ๔๙.๖ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๗.๗ จัดเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ๒ของไทยรองจากสหรัฐอเมริกา รองเท้าและชิ้นส่วน มูลค่า ๓๓.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๙๗ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มูลค่า ๑๐.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๕.๙๒ เป็นต้น ดังรายละเอียดสถิติการค้าระหว่างไทย-เดนมาร์กแนบมาพร้อมนี้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ