รายงานผลการสำรวจงานแสดงสินค้า SIAL Canada ๒๐๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 31, 2011 14:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานผลการสำรวจงานแสดงสินค้า SIAL Canada ๒๐๑๑

ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ณ Metro Convention Centre นครโตรอนโต มณฑลออนทาริโอ

๑. ชื่องาน              SIAL Canada Show ๒๐๑๑
๒. ระยะเวลา           ๑๑-๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐-๑๘:๐๐ น.

๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐-๑๖:๐๐ น.

๓. สถานที่จัดงาน         ๒๕๕ Front Street West

Toronto (Ontario) M๕V ๒W๖ Canada

Tel. +๑ (๔๑๖) ๕๘๕-๘๐๐๐

๔. เจ้าของงาน          Exposium

๗๐ avenue du General de Gaulle

๙๒๐๘๕ Paris la Defense

Tel: ๓๓๐-๑๔๙-๖๘๕-๑๐๐

Fax: ๓๓๐-๑๔๗-๓๗๗-๔๓๘

๕. ผู้จัดงาน             Exposium Group ร่วมกับ

Agri-Food Export Group Quebec-Canada

และ Quebec Food Retailers Association

๖. พื้นที่จัดงาน           ๒๐๐,๐๐๐ ตารางฟุต
๗. ประเภทสินค้า         อาหาร
๘. ลักษณะงาน           จัดทุกปี
๙. ผู้จัดแสดงในงาน       ๖๕๘ ราย จาก ๓๒ ประเทศ
๑๐. ต่างชาติที่เข้าร่วม     แคนาดา สหรัฐ อิตาลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส สเปน บราซิล โมร็อคโค ชิลี โคลัมเบีย

ไซปรัส เม็กซิโก เปรู เบลเยี่ยม ตุรกี เอกาวอร์ จาไมก้า ศรีลังกา จีน เยอรมัน ไทย

อาเจนตินา อินโดนิเซีย ปากีสถาน เกาหลีใต้ ตูนิเซีย คอสตาริก้า ไกยานา มอลต้า

เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ อุรุกวัย

๑๑. ผู้เข้าชมงาน         ๑๓,๐๐๐ คน (เป็นงาน Trade อย่างเดียวที่ไม่มีวันค้าปลีก Public)

๑๒. กำหนดการจัดงานครั้งต่อไป

ปี ๒๕๕๕ ระหว่างวันที่ ๙-๑๑ พฤษภาคม ณ Palais des Congres, Montreal, Canada โดยเป็นการจัดงานที่สลับสถานที่ระหว่าง โตรอนโตและมอนทรีออล

ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการเข้าร่วมออกแสดงสินค้าภายในงาน ได้แก่ ค่าเช่าคูหาขนาด ๑๐๐ ตารางฟุต ๓,๓๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ค่าประชาสัมพันธ์ใน Business Directory/Website
  • ค่า Badge ผู้ออกงานจำนวน ๒ ใบ ต่อขนาดพื้นที่ ๑๐๐ ต.ร.ฟุต
  • ค่า Badge ที่เชิญแขกเข้าเยี่ยมชมงาน ๑๐ ใบ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Mr. Thierry Quagliata, Commercial Director Email: thierry.quagliata @ comexposium.com

๑๓. ผลการสำรวจ

บรรยากาศของงาน

การจัดงาน SIAL Canada ๒๐๑๑ ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดที่ ณ นครโตอนโต ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา โดยมีบริษัทออกคูหาจำนวน ๖๕๘ ราย จาก ๓๒ ประเทศ และมีผู้เข้าเยี่ยมชมงานประมาณ ๑๓,๐๐๐ คน โดยลักษณะงานเป็นการจัดแสดงสินค้า ๓ วันที่เป็นวัน Trade ไม่มีวัน Public และผู้เข้าเยี่ยมจะต้องจ่ายค่าเข้าเยี่ยมชมงานคนละ ๕๐.๐๐ เหรียญฯ (ประมาณ ๑,๕๐๐ บาท) ในปีนี้เจ้าภาพได้จัดไฮไลท์สินค้าในหมวด Fair Trade โคเชอร์ อาหารฮาลาล อาหารเกษตรอินทรีย์ และการผลิตสินค้า Private Label สินค้าปลอดกลูเตน สินค้าสำหรับร้านอาหาร (Restaurant Food Service) เป็นหลัก

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น - กิจกรรม Trends & Innovations Showcase โดยมีการจัดประกวด และไฮไลท์สินค้าที่ได้รับรางวัลที่เน้นนวัตกรรม และการออกแบบ รูปแบบสินค้าใหม่ๆ

  • กิจกรรม SIAL Cuisine เป็นการนำพ่อครัวที่มีชื่อเสียงมาสาธิตการปรุงอาหารและจัด Workshop ให้กับผู้สนใจ รวมทั้งส่งเสริมการใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงใหม่ๆ
  • กิจกรรม Olive d'Or contest เป็นกิจกรรมประกวดน้ำมันมะกอกที่สำคัญที่สุดในอเมริกาเหนือ ส่งเสริมการใช้น้ำมันมะกอกในการปรุงอาหารผ่าน เชฟ หรือผู้ที่มีชื่อเสียงในการปรุงอาหาร

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้เข้าร่วมงานบางราย พบว่างานครั้งนี้มีผลตอบรับที่ดีกว่างานที่จัดใน นคร มอนทรีออลเนื่องจากได้มี Buyer จากบริษัทที่สำคัญเข้ามาเยี่ยมชมงาน และงานมีความหลากหลายในการมีผู้แสดงสินค้าจาก ๓๒ บริษัท เข้าออกคูหา ซึ่งเป็นการสร้างสีสรรและความน่าสนใจงานมากขึ้น อาทิ สินค้า Ready To Eat ขนมทานเล่น (Snack)

การเข้าร่วมงานของไทย

สำนักงานฯ ได้เยี่ยมชมผู้ส่งออกของไทยที่เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าในงาน จำนวน ๔ ราย ดังนี้

1)บริษัท JM Food Industry Co., Ltd. เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า Ready to Eat ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว อาหารทะเล

2)บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิตสินค้า Ready to Cook, น้ำมะพร้าว ผลิตภัณฑ์กะทิ

3)บริษัท Golden Food Siam Limited ผู้ผลิตสินค้า ไก่ปรุงสุกแปรรูป Frozen Food

4)ห้างหุ้นส่วนจำกัด วราวุธอุตสาหกรรม เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแป้งมัน แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว และแป้งผสม หลากหลายคุณภาพ โดยมีตราสินค้า "ชวนชม"

สรุปภาพการเข้าร่วมงานของบริษัทไทยพบว่า ได้มีโอกาสติดต่อ ผู้นำเข้ารายสำคัญของประเทศ ตลาดหลัก Mainstream คนผิวขาว รวมทั้งห้าง Chain Store อาทิ Sobeys, Metro และ Loblaw โดยมีข้อสังเกตว่าห้างเหล่านี้สนใจให้ผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้า Private Label แทนที่จะสนใจสินค้าที่เป็นแบรนด์สินค้าของไทย ทั้งนี้ได้มีบริษัทที่เข้าออกงานมาจาก จีน เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย อีกทั้งบริษัทไทยยังได้มีโอกาสในการเรียนรู้สินค้าคู่แข่ง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รูปแบบสินค้า อาทิ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์จากแก้วเนื่องจาก น้ำหนักและค่าขนส่งที่สูง เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ที่ปลอดภัยต่ออาหารและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีน้ำหนักที่เบากว่าและราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า เป็นต้น

การเข้าร่วมงานออกแสดงสินค้า ที่งาน SIAL Canada นับว่าเป็นหนึ่งในการสร้างโอกาสขยายสินค้าในแคนาดา การสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก อีกทั้ง ยังเป็นการเข้าศึกษาตลาด Feedback จากผู้นำเข้า Buyer จากห้าง Chain Store อีกทั้ง เนื่องจากเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นครโตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ