ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (พฤษภาคม 2554)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1. Real GDP: +0.3 % ( มี.ค.2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.6 % (เม.ย. 2554) - เทียบกับ 7.7 % ในเดือน มี.ค. 2554
3. Merchandise Export: +3.5 % (มี.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ก.พ. 2554
4. Merchandise Import: +2.8 % (มี.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ก.พ. 2554
5. Inflation Rate: 3.3 % (เม.ย. 2554) — เทียบกับ 3.3 % ในเดือน มี.ค. 2554
ความเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของเศรษฐกิจประเทศแคนาดา
ปัจจัยหลักที่มีผลขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจในเดือน มี.ค. 2554 (+0.3%)
- ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ธุรกิจหลายภาคมีการปรับตัวดีขึ้น อาทิ การลงทุนในโครงการและเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ , ธุรกิจบันเทิง, การผลิตสินค้าต่าง ๆ, การผลิตน้ำมัน เหมืองแร่, ธุรกิจการก่อสร้าง ,ธุรกิจการขนส่ง , รวมทั้งธุรกิจค้าส่ง
- การลงทุนในโครงการและเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 3.2% ช่วงไตรมาสแรกของปี2554 ซึ่งภาพรวมมีอัตราปรับตัวเพิ่มเฉลี่ย 3.8% ตั้งแต่ไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา
- การนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 2.2% หลังจากลดลงในไตรมาสที่ผ่านมา โดยสินค้านำเข้าหลัก คือ ยานพาหนะ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนด้านธุรกิจบริการเป็นรูปแบบของการบริการขนส่งและด้านการท่องเที่ยว
- ภาคการผลิตสินค้า ทั้ง Durable และ Non-Durable Good เพิ่มขึ้น 1.8 % โดยเน้นการผลิตสินค้าหลัก อาทิ เหล็ก เหล็กกล้า เครื่องจักรและอุปกรณ์
- ธุรกิจการก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 0.7% ในทุกๆภาคที่เกี่ยวข้อง ทั้งอาคารสำหรับที่พักอาศัย และโรงงาน อาคารสำนักงานต่างๆ รวมทั้งในส่วนการออกแบบ วิศวกรรมและการต่อเติมซ่อมแซมอาคาร
- ปัจจัยลบเป็นผลจาก : ธุรกิจค้าปลีก และ ธุรกิจด้านการเงิน ธนาคารและประกันภัย
- ธุรกิจค้าปลีก : ลดลง 1.0% โดยเป็นการลดลงในกลุ่มสินค้าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งยาและเวชภัณฑ์
- ธุรกิจด้านการเงิน ธนาคารและประกันภัย : ลดลง 0.9% โดยสาเหตุจากปริมาณการลดลงจากการกู้เงินส่วนบุคคล การฝากเงิน และจำหน่ายกองทุนต่างๆ รวมทั้งปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นลดลง
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา: ตัวเลขฝ่ายไทย
มูลค่า(ล้านเหรียญสรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) ม.ค. — เม.ย. 53 ม.ค. — เม.ย. 54 ม.ค. — เม.ย.53/54 มูลค่าการค้า 760.9 936.4 23.06 ไทยส่งออก 428.5 541.6 26.69 ไทยนำเข้า 332.4 394.8 18.77 ดุลการค้า 96.1 146.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-เม.ย.54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 18 รายการ ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+33.42 %)
เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+12.83%) ยางพารา (+78.61%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+15.12%) เครื่องน่งุห่ม (+26.22%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+47.28%) เหล็ก เหล็กกล้า
และผลิตภัฌฑ์(+57.06%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+11.71%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+41.35%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+97.61%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+43.70%) เครื่องกีฬาและ
เครื่องเกมส์(+40.66%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+151.28%) เตาอบไมโครเวฟ (+5.01%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+38.31%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+374.59%)
เลนซ์(+4.57%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (+60.10%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- เม.ย. 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 2 รายการ ได้แก่ข้าว (-37.42%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (-29.24%)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th