แนวโน้มตลาดสินค้าอาหารในแคนาดาในปี ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 8, 2011 11:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้ต่อจำนวนประชากร (GDP per capita) สูงแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี ๒๕๕๓ จากการจัดอันดับของ IMF พบว่าแคนาดามีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ๔๗,๒๑๕ เหรียญสหรัฐฯ/ปี จัดเป็นอันดับที่ ๑๑ ของโลก โดยจำนวนประชากรที่ ๓๓ ล้านคน (จำนวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศฝรั่งเศส) อีกทั้งแคนาดาได้มีนโยบายการเปิดการค้าเสรี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกจากทั่วโลกที่มีกำแพงภาษีที่ต่ำหรือไม่มีภาษี โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่ไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศอาทิ ข้าว ผลไม้ กุ้งแช่เย็น ฯลฯ ซึ่งเป็นโอกาสต่อการส่งออกสินค้ามายังแคนาดา ถึงแม้ว่าแคนาดาจะลดกำแพงภาษีแต่แคนาดาก็มีกฏระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวดซึ่งผู้ส่งออกจะต้องให้ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฏระเบียบเพื่อลดปัญหาอุปสรรคต่อการส่งออกมายังแคนาดา

ผู้ผลิต/ส่งออกไทย ควรมีการศึกษาเข้าใจตลาดตลอดจนไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบุกเจาะตลาดแคนาดา ซึ่งสรุปได้ดังนี้

๑. โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ทุกวันนี้ เมื่อเดินไปทางท้องถนนจะพบว่า มีผู้สูงอายุมากขึ้น (Aging Society) และชาวแคนาดาที่มาจากหลายชนชาติมากขึ้น (Ethic Diversity) โดยผู้สูงอายุมาจากกลุ่ม Baby Boomer ที่เริ่มเข้าช่วงอายุเกษียณ และประชากรที่เกิดมาใหม่ลดน้อยลง อีกทั้งจากนโยบายเปิดรับคนต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานมายังแคนาดา จะพบว่ามีชาว จีน อินเดีย ประเทศแถบแคริบเบียนมากขึ้น ซึ่งตลาดแคนาดามีความหลายหลายมากขึ้น และทำให้เกิดตลาดเฉพาะ (Niche Market) มากขึ้น ซึ่งความต้องการสินค้า รสนิยมมีความแตกต่างกันออกไป อาทิ ชาวแคริบเบียนจะนิยมบริโภคน้ำมะพร้าว ใช้กะทิในการปรุงอาหาร ชาวมุสลิมจะนิยมรับประทานเนื้อสัตว์มากกว่าผักผลไม้ คนผิวขาวที่มีการศึกษาและรายได้สูงจะนิยมทานผักผลไม้สูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และกลุ่มผู้สูงอายุนิยมอาหารที่ง่ายสะดวก ทำให้มีการผลิตสินค้าที่เหมาะกับตลาดความต้องการที่ต่างกันออกไป อาทิ อาหารกระป๋องที่เปิดได้โดยไม่ต้องใช้ที่เปิดกระป๋อง และสินค้าสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ที่เน้นคุณค่าทางโภชนาการ ไวตามิน สารอาหาร เป็นต้น

๒. สินค้า Nutraceutical เป็นกลุ่มสินค้ากลุ่มใหม่ ที่มาจาก "Nutrition" และ "Pharmaceutical" โดยเป็นการรวมคุณสมบัติสารอาหารทั้งเป็นการป้องกัน (Prevention) และบำบัดโรค (Treatment) โดยทุกวันนี้ได้มีการศึกษาคุณประโยชน์ของส่วนประกอบสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพที่การใช้ข้อมูลส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้า อาทิ การโฆษณา สาร lycopene ที่เป็นสารในมะเขือเทศ ที่อยู่ในซอสมะเขือเทศ ที่มีสรรพคุณลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง สาร Isoflavonoids ที่พบผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองจะช่วยลดโอกาสอุดตันเส้นเลือดตีบตัน หรือ สาร Lactobacillus (ที่นิยมเรียกว่า Probiotic) ในสินค้าโยเกิต/นม ที่ส่วนช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหาร ซึ่งผู้บริโภคทุกวันนี้ให้ความสนใจ ต่อคุณค่าสารอาหารที่บริโภค โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาวิจัยถึงคุณสมบัติของสินค้าอาหาร และนำมาโฆษณาประชาสัมพันธ์ จะเป็นการเพิ่มคุณค่า (Value Added) ให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง

๓. สินค้าผักและผลไม้นำเข้า (Exotic Fruit) จากความต้องการสินค้าที่หลากหลายและแปลกใหม่ รวมทั้งความคุ้นเคยสินค้าผักผลไม้ของชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานมายังแคนาดา ทำให้สินค้าผักผลไม้บางชนิดกลายสินค้าหาซื้อได้ทั่วไป อาทิ กีวีจากนิวซีแลนด์ มะม่วงสายพันธ์ Carabao จากฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ผลไม้มังคุดและทุเรียนจากไทย เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมในตลาดแคนาดา (ส่วนใหญ่จะจำหน่ายตามห้าง Supermarket คนจีน) ผู้ส่งออกควรพิจารณาทำการตลาดที่เน้นคุณประโยชน์สารอาหารของผลไม้ หรือการแปรรูปผลไม้ในรูปของ น้ำผลไม้ อาทิ น้ำมังคุด น้ำมะม่วง หรือผลไม้อบแห้งที่จะเป็นการขยายโอกาสการค้าผลไม้ไทยได้

๔. อาหารสะดวก (Convenience Food) สำหรับชีวิตที่รีบเร่งของชาวแคนาดา ต้องการสินค้าที่ง่ายและสะดวกต่อการเตรียมปรุง อาทิ สินค้า Ready To Eat ที่ใช้ไมโครเวฟอุ่น หรือ สินค้าอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง(Ready to Cook) ได้แก่ ซอสผัด ที่ปัจจัยความสำเร็จคือจะต้องมีรสชาดและคุณภาพโภชนาการที่ดี รวมทั้งราคาไม่สูงมากนัก ปัจจุบันสินค้าไทย Ready to Eat ประเภท เกี้ยวกุ้ง แกงพร้อมข้าว ได้รับความนิยม

๕. สินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) ได้มีการสำรวจผู้บริโภคพบว่า กว่า๖๔% มีความเชื่อว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ และ ๖๘% ของผู้บริโภคยินดีจับจ่ายสินค้าอาหารประเภทเดียวกันถ้ามีราคาสูงกว่าไม่เกิน ๑๐% ซึ่งและการสะท้อนให้เห็นว่าโอกาสของสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวปีละประมาณ ๒๔% โดยในปี ๒๕๕๓ มีมูลค่าตลาด ๒ พันล้านเหรียญฯ

๖. แนวโน้มการบริโภคของชาวแคนาดา

                  สินค้าที่บริโภคมากขึ้น                                      สินค้าที่การบริโภคลดลง
 - ข้าว (เนื่องจากเป็นอาหารที่มีกากใยสูงกว่าข้าวสาลี)                - น้ำตาล (รสนิยมความหวานที่หวานจัด)
 - Cereal สำหรับอาหารเช้า (อาหารที่มีกากใย Fibre)              - เกลือ (อาหารที่มีรสเค็ม)
 - ถั่ว (ขนมทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพ)                                - เนื้อแดง อาทิเนื้อวัว เนื้อหมู
  • น้ำมันถั่วเหลือง คาโนล่า (ไขมันที่มาจากพืชทนแทนไขมันจากสัตว์) - ไข่ไก่ (คลอเสลตรอรอล)
 - เนื้อไก่อก (white meat), ปลา                              - ผักกระป๋อง (สารกันบูด)
 - ผัก/ผลไม้สด                                              - นมผง (Skim Milk Powder ที่ขั้นตอนการผลิตมีการใช้
 - โยเกิต                                                    สารเคมี )
 - กาแฟ                                                   - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • น้ำผลไม้แท้ (ที่ไม่มีส่วนผสมน้ำตาล)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ