ระดับราคาสินค้าอาหารอยู่ในระดับที่สูงที่สุด(Food inflation) อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในระยะ 35 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) ที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการจ้างงานกระเตื้องขึ้นช้ามาก ดังนั้น Private label จะเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้หรือไม่?
สถาบันอาหารได้จัดการสัมมนาทาง Internet (Webinar) ในการอธิบายว่าเหตุใดปัจจัยเหล่านี้จึงมีผลต่ออนาคตของการขายปลีกสินค้าอาหาร
Mr. Jim Hertel และ Mr.Craig Rosenblum เป็นนักวิจัยทำวิจัยด้านการตลาดจากบริษัท Willard Bishop รัฐอิลลินอย์และ Mr. Michael Sansolo อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Progressive Grocer ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกด้านกลยุทธ์ของร้านค้าปลีก แนวทางการปฎิบัติและผลที่จะเกิดขึ้นทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
จากข้อมูลของผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน ราคาอาหารที่สูงขึ้นยังคงเป็นเรื่องสำคัญต่อไปอีก 3- 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากราคาต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ หลักๆ ได้แก่ ข้าวโพดแล้วข้าวสาลี พุ่งสูงขึ้น
ในขณะที่ แบรนด์ใหญ่ระดับชาติให้ภาระราคาสินค้าที่สูงขึ้นตกสู่ผู้บริโภค ร้านค้าปลีกกลับรักษาลูกค้าไว้โดยเพิ่มสินค้าของตนที่เป็น Private label ให้มีความหลากหลายขึ้น ซึ่ง Private label ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่มากขึ้นในราคาที่ถูกกว่า ดังนั้นผู้บริโภคไม่ต้องไปมองหาสินค้าในช่องทางอื่นๆ
Mr. Hertel กล่าวว่า “Private-label นี้เป็นวิธีการที่ดีในการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพงอยู่ในขณะนี้ วิธีการนี้เป็นการเลือกสรรสินค้ามากกว่าราคาของสินค้า เพื่อทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่พอใจและไม่หันไปซื้อสินค้าจากห้างที่ขายสินค้าลดราคา (Discount Store)”
ผู้บรรยายยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคให้เข้าใจระบบการขายและการตั้งราคาของร้านตน จะช่วยให้ผู้บริโภคไม่ไปซื้อสินค้าจากที่อื่น
Mr. Hertel กล่าวว่าอีกว่า “Private label นี้ยังมีบทบาทสำคัญสำหรับร้านค้ารายย่อยต่างๆ ในการสร้างภาพลักษณ์ด้านราคา (Price image) ให้กับสินค้าแต่ละชนิด ร้านค้าสามารถสร้างให้ลูกค้ามีความยึดมั่นต่อตน (Store Loyalty) โดยการพัฒนาให้สินค้า Private label ของตนให้เป็นสินค้าคุณภาพระดับบนเท่านั้น”
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
ที่มา: http://www.depthai.go.th