ด้วย นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาและคณะได้มีโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศเม็กซิโกในระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เพื่อมาศึกษา การยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical IndicationI) ของ เหล้าเตกีลาของประเทศเม็กซิโก ในการนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก จึงได้มีโอกาสในการติดตามคณะฯ เพื่อเข้าพบกับหน่วยงานทที่เกี่ยวข้องกับขบวนการควบคุมตรวจสอบ และขบวนการผลิตเหล้าเตกีลาที่มีชื่อเสียงของประเทศเม็กซิโก จึงใคร่ขอรายการสรุปดังต่อไปนี้
ท่านอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาและคณะฯ ได้เข้าพบกับ Mr. Miguel Angel Dominguez อธิบดีสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเหล้าเตกีลา Consejo Regulador del Tequila (CRT) และคณะผู้บริหารของสำนักงานฯ เพื่อรับทราบ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ขบวนการผลิตเหล้าเตกีลา ในการยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) ของเหล้าเตกีลาในไทย สำหรับสำนักงานฯ ดังกล่าว ถือเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและการส่งออกเหล้าเตกีลา ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพพจน์ของเหล้าเตกีลา ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนการบ่งบอกชี้ทางภูมิภาศาสตร์ในพื้นที่ ๕ จังหวัดของประเทศเม็กซิโก ประกอบด้วยจังหวัด ฮาลิสโก Jalisco กัวนาฮัวโต Guanajuato มิโชอากัน Michoacan นาญาริต Nayarit และ ทามาลิปัส Tamaulipas รวมพื้นที่ทั้งหมด ๑๒๕ เขต โดยจังหวัดฮาลิสโก ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่การเพาะปลูกพืชอากาเว่ สายพันธุ์น้ำเงิน Agave Azul ซึ่งเป็นพืชที่ใช้ผลิตเหล้าดังกล่าวและจำนวนโรงเหล้าที่มีมากที่สุด โดยมีจังหวัด ทามาลิปัส ซึ่งมีพื้นที่ของจังหวัดไม่เชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆ มีการผลิตผลิตเหล้าเตกีลา ด้วยเช่นกัน
องค์กรจัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ (๑๙๙๔) มีอำนาจในการกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพ โดยผู้ควบคุม inspector จะเข้าไปตรวจสอบและเก็บตัวอย่างในโรงงานผู้ผลิตเหล้าทุกแห่งที่เป็นสมาชิกในทุกวันของการผลิต เพื่อนำส่งให้แก่สำนักงานฯ CRT ในส่วนกลางเพื่อใช้ในการตรวจสอบ และมีการซุ่มตัวอย่างการตรวจสอบคุณภาพเพื่อการออกใบรับรองคุณภาพเพื่อการส่งออก โดยจะต้องมีใบรับรองกำกับ เพื่อการส่งออกก่อนที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะอนุญาตให้มีการส่งออกได้ รวมทั้งการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปซุ่มตัวอย่าง ในกรณีที่มีการแตกหักของบรรจุหีบห่อในระหว่างการขนส่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการขนส่งทางบก โดยปกติการขนส่งเข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้บริษัทที่ทำการส่งออกจะต้องเป็นสมาชิกของสำนักงานฯ ฯ CRT และมีสมาชิกในปัจจุบันจำนวน ๑๕๔ แห่ง
พืช Agave Azul ถือเป็นพืชสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกเพียงสายพันธุ์เดียวจากพืชอากาเว่สาย พันธุ์อื่นๆ กว่า ๑๒๕ สายพันธุ์ ที่สำนักงานฯ พิจารณาใช้เพื่อการผลิตเหล้าเตกีลา เนื่องมาจากเหตุผลของความเหมาะสมของการเพาะปลูก ปริมาณ ความคงทน และคุณภาพในการผลิตเหล้า โดยหากใช้สายพันธุ์อื่น หรือการปลูกในพื้นที่แหล่งอื่นจะไม่ได้รับการรับรองให้เป็นเหล้าทาคิล่าได้
สำหรับรายได้ของสำนักงานฯ ในการดำเนินธุรกิจนั้นจะมาจากค่าสมาชิกที่แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครัวเรือน ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเก็บค่าสมาชิก โดยคิดในอัตรา ๒๐,๐๐๐ เปโซบวกภาษีมูลค่าเพิ่มใน ครั้งแรกและครั้งเดียว (ประมาณ ๖๕,๐๐ บาท) นอกจากนี้จะต้องเสียค่าบริการขั้นต่ำในอัตรา ๑๐,๐๐ เปโซต่อเดือนบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม (ประมาณ ๓๓,๐๐ บาท) สำหรับกำลังการผลิตไม่เกิน ๓๑,๒๕๐ ลิตร ซึ่งโดยปกติเป็นกำลังการผลิตสำหรับสมาชิกขนาดเล็ก และจะเพิ่มขึ้น โดยคิดจากปริมาณที่เกินในอัตรา ๓๒ เซ็นต์ต่อลิตร (ประมาณ ๑ บาท) สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ โดยมีค่าบริการในการออกใบรับรองหรือค่าบริการสำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบสำหรับสมาชิกและบริษัทที่มิได้เป็นสมาชิก แต่สำนักงานฯ มิได้มีส่วนในการกำหนดปริมาณการเพาะปลูกพืชอากาเว่ หรือปริมาณการผลิตเหล้าเตกีลา แต่มีการเก็บสถิติเพื่อประเมินปริมาณการผลิตเหล้าในแต่ละปี ซึ่งจะมีผลต่อรายได้และงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานฯ ที่จะสนับสนุนกิจกรรมและการกำหนดนโยบายในแต่ละปี นอกจากนี้ สำนักงานฯ มีอำนาจในการกำหนดบทลงโทษ หากในกรณีสมาชิกผลิตเหล้าไม่ได้ตามมาตรฐานหรือฝ่าฝืนมาตรฐานการผลิต
แม้ว่าเหล้าเตกีลาเป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สำนักงานฯ ไม่สามารถห้ามมิให้จังหวัดอื่นหรือบุคคลอื่นนำไปเพาะปลูกพืชในสายพันธุ์เดียวกันได้ หรือสายพันธุ์อื่นในถิ่นอื่นได้ แต่การปลูกหรือการผลิตเหล้าดังกล่าวจะไม่สามารถนำมาเรียกเป็นเหล้าเตกีลาได้ เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันมีเหล้าที่ผลิตจากพืชอากาเว่จากสายพันธุ์อื่นด้วย ซึ่งได้แก่ เหล้าโซโท Sotol เมสเคา Mezcal บาคาโนร่า Bacanora ซึ่งถือเป็นเหล้าที่ผลิตจากพืชอากาเว่จากสายพันธุ์อื่น และยังมีการจัดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วยเช่นกัน แต่ความนิยมของเหล้าเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าเหล้าเตกีลา และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานฯ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่เดินสายตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายฟ้องร้อง หากพบว่ามีผู้ละเมิดสิทธิ์ดังกล่าว สำหรับในกรณีในต่างประเทศ สำนักงานฯ ได้ขอความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตเม็กซิโกในต่างประเทศ เพื่อช่วยสอดส่องหากมีผู้ละเมิดสิทธิ์ ซึ่งพบว่าปัจจุบัน ยังมีที่ผลิตทำเหล้าโดยใช้ชื่อเตกีลาจากหลายแหล่ง โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศในอเมริกากลางอื่นๆ
ในการนี้คณะฯ ได้เข้าไปเยือนไร่การเพาะปลูกพืชอากาเว่ สายพันธุ์น้ำเงิน Agave Azul ของ บริษัทผู้ผลิตเหล้า Jose Cuervo โดยมีการสาธิตการปลูก การขยายพันธุ์และการตัดต่อ ตลอดจนการตัดขั้วที่เรียกว่า pina หรือ pineapple ที่เป็นผลเพื่อนำส่งไปยังโรงเหล้าเพื่อนำไปผลิตเหล้า โดยอายุของพืชดังกล่าวต้องมีอายุระหว่าง ๔ - ๖ ปีถึงจะมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อที่จะนำมาใช้ในการผลิตเหล้าเตกีลาที่มีคูณภาพได้ต่อไป โดย คณะฯ ได้ทมีโอกาสเข้าไปเยือนโรงผลิตเหล้าเพื่อศึกษาขบวนการการผลิต โดยการนำพืชอากาเว่สีน้ำเงินเพื่อไปอบขั้วเพื่อผลิตออกมาเป็นน้ำตาล แล้วนำไปบดเอาแต่น้ำ ผสมกับยิสต์พื่อการหมัก แล้วผ่านขบวนการกลั่นในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อผลิตเป็นเหล้าเตกีลาขาว Teguila White/Silver นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนายกระดับคุณภาพโดยการบ่มไปอีก ใน ๔ ขั้นตอนเพื่อสามารถผลิตเป็นเหล้าเตกีลา ทอง Tequila Oro/Joven เตกีลา เรโปซาโด Reposado (บ่มอย่างน้อย ๒ เดือน - ๑ ปี) เตกีลา อันเยโฮ Anejo (บ่มอย่างน้อย ๑ -๓ ปี) และ เตกีลา อันเยโฮ เอ๊กตร้า Extra/Ultra Anejo (บ่มอย่างน้อย ๓ ปี) โดยทุกขบวนการผลิตจะมีการใช้ถังไม้โอ๊กขนาดที่แตกต่างกัน รวมทั้งการนำเข้าถังไม้โอ๊กเก่าที่ผลิตไวน์จากประเทศฝรั่งเศสมาใช้ในการบ่มเพื่อเพิ่มรสสีและกลิ่น
ทั้งนี้ เหล้าเตกีลา ถือเป็นสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีมาตรฐานและการพัฒนาเพิ่มมูลค่าของสินค้า ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการขายในบรรจุภัณฑ์ จนถือเป็นสินค้าที่สามารถขายได้ในตลาดระดับสูง และเป็นที่รู้จักในทั่วโลกว่าเป็นสินค้าคุณภาพจากประเทศเม็กซิโก โดยในปัจจุบันในตลาดมีขายอยู่กว่า ๒,๐๐ ยี่ห้อ มีจำหน่ายตั้งแต่ราคาถูกประมาณ ๑๐๐ เปโซ ( ๓๐ บาท) ต่อขวดลิตร ไปถึงขวดละ ๑,๐๐,๐๐๐ เปโซ (๓๐๐,๐๐๐ บาท) ต่อขวด โดยในปี ๒๕๕๓ ปริมาณกำลังผลิตเหล้าเตกีลาทุกประเภทจำนวน ๒๕๗.๕ ล้านลิตร และปริมาณการส่งออกจำนวน ๑๕๒.๕ ล้านลิตร มูลค่า ๖๗๕.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ความเข้าใจในการผลิตเหล้าเตกีลาในเม็กซิโก
เตกีลา (Tequila ) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดกลั่น ดีกรีแรง เดิมนั้นผลิตกันในบริเวณเมืองเตกีลา (ในทางตะวันตกของรัฐฮาลิสโกของเม็กซิโก) โดยใช้วัตถุดิบคืออากาเว่ (agave) เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ซึ่งเป็นจำพวกเดียวกับป่านศรนารายณ์ ว่านหางจระเข้ หรือดอกโคม เป็นพืชอวบน้ำโดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "มาเกย์" (Maguey) แต่เลือกเฉพาะพันธุ์สีฟ้าเท่านั้น โดยลักษณะผลอากาเว่จะมีลักษณะเหมือนผลสับปะรด ซึ่งผลหนึ่งจะมีน้ำหนัก ๗๐ กิโลกรัม ภายในจะมีเนื้อและน้ำฉ่ำซึ่งเหมาะแก่การหมัก
กระบวนการทำเตกีลา:จะนำเอาผลอากาเว่ไปคั้นเอาน้ำเพื่อนำไปหมัก ใช้ระยะเวลาการหมักประมาณ ๒ วัน แล้วจึงนำไปกลั่นก็จะได้น้ำใสที่มีแอลอฮอล์ประมาณ ๑๐๔-๑๐๖ ปรูฟ โดยปรกติเตกีลาจะไม่มีการบ่ม และจะนำไปบรรจุขวดจำหน่ายได้เลย อย่างไรก็ตาม การพัฒนายี่ห้อของเตกีลา ทำให้การบ่มประเภทต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น การบ่มจะช่วยทำให้รสของแอลกอฮอล์นุ่มนวนกว่าไม่บ่ม และการบ่มในถังไม้โอ๊กจะให้มีความนุ่มนวลมากขึ้น รวมทั้งให้ได้กลิ่นของไม้โอ๊ก
ประเภทของเตกีลา:โดยทั่วไปสามารถแยกได้สองประเภท คือ เตกีลาประเภทผสมซึ่งมักจะมีส่วนของเตกีลาแท้ที่ผลิตมาจากอากาเบน้ำเงิน (blue agave) อย่างน้อยร้อยละ ๕๑ และเตกีลาแท้ที่ทำจากผลอากาเว่น้ำเงินเต็มส่วนส่วนเตกีลาที่มีการเติมรสต่างๆ ไม่สามรถใช้ชื่อเรียกเป็นเตกีลา ในหมวดเตกีลาแท้สามารถจัดแยกออกได้อีก 5๕ประเภท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการบ่มหมัก คือ
๑. เตกีลาขาว หรือเงิน (white "blanco/plata" tequila) เป็นเตกีลาที่ไม่ได้ผ่านการบ่ม หรือบ่มน้อยกว่า ๒ เดือน
๒. เตกีลาทอง (oro/joven) เป็นส่วนผสมระหว่างเตกีลาขาวกับเรโปซาโด
๓. เตกีลาเรโปซาโด (Reposado) เป็นเตกีลาที่บ่มอย่างน้อยที่สุด ๒ เดือนถึง ๑ ปี ในถังไม้โอ๊กขนาดปกติ (๒๐,๐๐๐ ลิตร)
๔. เตกีลาอันเยโฮ (Aejo) หรือเตกีลาแก่หรือมีอายุ ได้ผ่านการบ่มอย่างน้อย ๑ ปี ถึง ๓ ปี ในถังไม้โอ๊ก ขนาดเล็ก (๒๐๐ -๖๐ ลิตร) และ
๕. เตกีลาอันเยโฮเอ๊กตร้า (Extra Aejo ) บ่มอย่างน้อย ๓ ปีในถังไม้โอ๊ก จะมีสีที่เข้มขึ้น ได้เริ่มการผลิต จากปี ค.ศ. ๒๐๖2006 เป็นต้นมา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับเตกีลา (Consejo Regulador del Tequila) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. ๑๙๙๔ เพื่อควบคุมมาตรฐานและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเตกีลา ได้รับการจดทะเบียนยีห้อที่ได้รับอนุมัติให้ขายในตลาดได้มีกว่า ๒,๐๐๐ ยี่ห้อจากผู้ผลิต๑๕๔ราย เตกีลายี่ห้อที่เป็นที่นิยมในเม็กซิโกมี Sauza, Don Julio, Herradura, Jose Cuervo, Cazadores, El Tesoro, El Jimador เป็นต้น สำหรับยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยนั้น ได้แก่ Jose Cuervo และ Montezuma การนำเข้าเตกีลา จากพิกัดอัตราศุลการ (HS 220890) จากเม็กซิโกในปี ๒๐๑๐ มีมูลค่า ๘๒,๗๕๒เหรียญสหรัฐ (หรือในปริมาณ ๑๒,๕๗๐ ลิตร)
การผลิตเตกีลาอย่างเป็นอุตสาหกรรมได้เริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อขุนนางชาวสเปนDon Pedro Snchez de Tagle Marquis of Altamira ได้นำเหล้าหมักผลอากาเว่ของชาวแอสเต็ก มากลั่นและบรรจุขวดในลักษณะโรงงานที่รัฐฮาลิสโก ต่อมาในต้นศตวรรษที่ ๑๙ ครอบครัวที่ก่อตั้งเตกีลายี่ห้อ Sauza ได้เริ่มการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ
เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๙ ภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจได้มีผลต่อการบริโภคเตกีลา ทำให้มีปริมาณการบริโภคลดลงต่ำกว่า ๑ ล้านตันต่อปี แต่ได้ฟื้นฟูขึ้นในปี ๒๐๑๐ โดยมีปริมาณการบริโภค ๒๕๗.๕ ล้านลิตร (๖๘ ล้านเกลอน) และการส่งออก ๑๕๒.๕ ล้านลิตร (๔๐.๒ ล้านแกลอน) ตลาดส่งออกเตกีลาที่สำคัญ ได้แก่สหรัฐอเมริกาและในปี ๒๐๑๐ ได้มีการส่งออกเตกีลาปริมาณ ๑๑๘.๔ ล้านลิตร มูลค่ากว่า ๔๐๐.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกสำคัญรองลงมาคือ เยอรมัน (๗.๘ ล้านลิตร) สเปน (๓.๕ ล้านลิตร) ฝรั่งเศส (๒.๖ ล้านลิตร) แคนาดา (๒.๓ ล้านลิตร) และอังกฤษ (๑.๓ ล้านลิตร)
การผลิตเตกีลามีระเบียบควบคุมมาตรฐานเคือNOM-006-SCFI-2005 ที่กำหนดกาสงวนสิทธิการใช้ชื่อ "เตกีลา" สำหรับเหล้าที่ผลิตจากอากาเว่น้ำเงิน (blue agave) เท่านั้นและควบคุมพื้นที่การผลิตเตกีลาให้สามารถผลิตได้เฉพาะในพื้นที่รัฐฮาลิสโก ฮวนาหัวดโต มิชัวกัน นายาริต และธัมเมาลิปัส สภาระเบียบเตกีลาได้รายงานว่า มีปริมาณต้นอากาเว่น้ำเงินในพื้นที่ควบคุมดังกล่าวจำนวน ๒๕๓ ล้านต้น มีอายุการให้ผลผลิตเฉลี่ยต้นละ ๘ ปี
เนื่องจากเตกีลาเป็นเหล้าที่นิยมจึงเกิดการปลอมแปลงในหลายรูปแบบในสหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และประเทศอื่น ๆ เช่น ในกรณีที่บริษัทแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ได้ผลิตเครื่องดื่มจากผลไม้อื่น แต่เรียกเหล้าดังกล่าว อากาวา และส่งเสริมการขายให้มีความเข้าใจว่าเป็นเตกีลา นอกจากนี้แล้วการปลอมแปลงสินค้า หรือการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคจากพิษของแอลกอฮอลหรือสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน หากขาดการควบคุมอาจจะทำให้ชื่อเสียงของเตกีลาเสื่อมเสียไปในที่สุดได้ รัฐบาลของเม็กซิโกจึงได้ติดตามการปรามปรามการปลอมแปลงอย่างเข้มงวด ในปี 2007 ได้มีการยึดเหล้าเตกีลาปลอมในเม็กซิโกได้ ๒๓,๐๐๐ แกลอน และได้ประกาศห้ามขายเตกีลา ๔๑ ยีห้อที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย
รัฐบาลของเม็กซิโกได้ปกป้องการใช้ชื่อ "เตกีลา" ภายใต้ความตกลง Lisbon Agreement for the Protection of Appellations of Origin (1967) แต่ความตกลงดังกล่าวมีประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกเพียง 27 ประเทศ (ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี) ในปี 19 77 เม็กซิโกจึงได้จดทะเบียนการสงวนสิทธิการใช้ชื่อ เตกีลา (Appellation of Origin ) กับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO ) ให้เป็นชื่อต้นกำเนิดที่มาได้จากพื้นที่ ๆ กำหนดไว้ในเม็กซิโกเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว เม็กซิโกยังผลักดันการยอมรับว่าเตกีลาเป็นชื่อที่ใช้ได้เฉพาะกับเหล้าเตกีลาที่ผลิตจากเม็กซิโกตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กับตลาดสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ในกรณีของสหรัฐฯ มีการแจ้งการยอมรับเกี่ยวกับเตกีลากำหนดไว้ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ-นาฟต้า และในปี 2006 เม็กซิโกได้มีความตกลงกับสหรัฐฯ เพื่อควบคุมการส่งออกเตกีลาไปยังสหรัฐฯ ในลักษณะ bulk imports เพื่อยกเว้นกฎระเบียบเกี่ยวกับเขียนฉลาก (labeling )แต่ให้มีการติดตามควบคุมการบรรจุขวดเตกีลาในสหรัฐฯ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง
ในปี 2007 รัฐบาลของเม็กซิโกได้ริเริ่มการส่งเสริมการท่องเที่ยวสายเตกีลา "Tequila Route /La Ruta del Tequila " เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเครื่องหมายการค้าเตกี ซึ่งเป็นการเดินทางโดยทางรถไฟ(Tequila Express )จากเมืองกัวดาลาฮาราไปยังเมือง El Arenal -Amatitn -Tequila และ Magdelena นอกจากการชมทิวทัศน์สวยงามที่เต็มไปด้วยต้นอากาเว่น้ำเงิน ผู้เดินทางในทัวร์จะได้เยี่ยมชมกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมใน hacienda โบราณ และโรงกลั่น ฟังดนตรีมาริอาชิ มีการบรรยายเกี่ยวกับประวัติเตกีลา ตามรายละเอียดการทำเส้นทางเตกีลา ดังเวปไซด์ ณ http://ww.rutadeltequila.org.mx/
Consejo Regulador del Tequila
Av Patria No. 723 C.P. 45030,
Jardines de Guadalupe, Zapopan, Jalisco, M"xico
Tel (0133) 1002-1900 Fax (0133) 1002-1925
Email:crt@crt.org.mx
Website: http://www.crt.org.mx/
Camara Nacional de la Industria Tequilera
Calzada Lzaro Crdenas 3289 5th. Floor district. Chapalita C.P. 45000 Guadalajara, Jalisco, M"xico
Phone. ++ 52 (33) 3121.5021 Fax. ++ 52 (33) 3647.2031
Email: camara@tequileros.org
Website: http://www.tequileros.org/main_en.php
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th