สิ้นสุดของ Quantitative easing 2 จากรางวัลถึงความเสี่ยง- FX Alert

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 27, 2011 15:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

  • มาตรการ QE2 ที่สิ้นสุดลงไปมิใช่จะไม่เกิดผลใดๆ เลย
  • ความเสี่ยงยังคงมีอยู่เมื่อการคาดหวังในระบบเศรษฐกิจลดลง
  • ผลของการออกนโยบายของ FOMC (Federal Open Market Committee) หลังเดือนพฤศจิกายน 2010 และสิ้นสุดการใช้ QE1 ทำให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนขึ้น
  • ความคิดเห็นของนักลงทุนหลังจากการใช้ QE2 เพิ่มสัดส่วนของ Latam Currencies (ex-COP) — เงินในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกายกเว้นโคลัมเบีย และลดสัดส่วนของ Europe CEE -เงินในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและตะวันออก
  • บริษัทร่วมทุน: AXJ -เงินสกุลเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น ผู้ส่งออกควรลดสัดส่วนของอัตราUSD-AXJ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงเงินสกุลยุโรป

ตั้งแต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวสุนทรพจน์ ณ เมือง Jackson Hole เมื่อเดือนสิงหาคม 2010 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ในภาวะการกดดันอย่างหนักจากความคาดหวังล่วงหน้าและจากการใช้นโยบายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รอบที่สอง QE2 สินทรัพย์ที่มีค่าเบตาสูง (High-beta assets) ซึ่งรวมถึงค่าเงินซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความเคลื่อนไหวนี้เป็นผลจากการใช้เงินเหรียญสหรัฐฯ เข้าไปสนับสนุน ใน FX Alert เป็นการพูดถึงรายละเอียดว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและตลาดสินทรัพย์ต่างๆ เป็นอย่างไรตั้งแต่มีมาตรการ QE2 และมีผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินอย่างไรเมื่อมาตรการ QE2 จบลงในวันที่ 30 มิถุนายน

ในการนี้การรวมกลุ่มกันของทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูง ผู้นำการประชุมของกลุ่ม FOMC ในเดือนพฤศจิกายน ได้ประกาศผลการดำเนินการมาตรการ QE2 ว่าผลดีของการในการนำเงินจำนวนมากใส่เข้าไปในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นทำให้เราเห็น “การขายตามข้อเท็จจริง” หลังจากการ “ซื้อตามข่าวลือ” ในช่วงสิ้นสุดปี 2010 และในปี 2011 มาตรการQE2 ส่งเสริมสกุลเงินที่มีค่าเบตาและมีอัตราคืนกำไรสูง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์หสรัฐถูกกดดันต่อไปอีก

ในบทความนี้ ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ที่ว่าเมื่อหมดมาตรการ QE2 ไม่เกิดผลดีชัดเจน ในขณะนี้ ทุกๆ คนมุ่งความสนใจไปที่สถานการณ์ที่เกิดในประเทศกรีซ อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นสุดมาตรการ QE2 พบว่าโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลบางประการ ในขณะที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ระหว่างขาลง ระบบการเงินของประเทศกรีซไม่แน่นอนและการสิ้นสุดของ QE2 ทั้ง 2 เหตุการณ์มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้จุดสนใจกลับมาอยู่ที่ 1) มูลค่าโดยเปรียบเทียบ 2) การถือสกุลเงินบางสกุลเงินในระยะยาวในไตรมาสที่ 3

บนพื้นฐานข้อมูลจาก QE1 และในช่วงเวลาระหว่างการประชุม FOMC เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 ถึงสิ้นปี 2010 มีข้อแนะนำว่า นักลงทุนควรเพิ่มอัตราส่วนการถือครองสกุลเงิน Latam มากกว่าเหรียญสหรัฐฯ (ค่าเงินที่ให้ประโยชน์คือ CLP-ชิลี, BRL-บราซิล ยกเว้น COP-โคลัมเบีย) เพิ่มอัตราส่วนเล็กน้อยกับ AXJ (ค่าเงินที่ให้ประโยชน์คือ TWD-ไต้หวัน, CNY-จีน ยกเว้น PHP-ฟิลิปปินส์ และ THB-ไทย) และลดอัตราส่วนของสกุลเงินยุโรป (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก)

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินระหว่างประเทศทางเศรษฐศาสตร์

สรุปกรณีมาตรการ QE2

วันที่ 27 สิงหาคม 2010 Mr. Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของธนาคารกลางเมืองแคนซัส ในเมือง Jackson Hole และได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่องภาพรวมระบบเศรฐกิจและนโยบายการเงิน ว่า “นโยบายทางเลือกที่จะทำให้สถานการณ์ผ่อนคลาย” สุนทรพจน์ดังกล่าว เปลี่ยนความคาดหวังของตลาดต่อนโยบายของธนาคารกลาง ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดทุนทั่วโลก เน้นที่แนวทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐเนิ่นช้าเกินไปและอัตราการว่างงานสูงเกินไป ประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อได้ลดลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ FOMC มองว่าจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว Mr. Ben Bernanke ได้วางทางเลือกสำหรับนโยบายที่จะช่วยผ่อนคลายระบบเศรษฐกิจดังนี้ (1) ดำเนินการซื้อทรัพย์สินที่มีความมั่นคงระยะยาวเพิ่มเติม (2) การปรับเปลี่ยนการสื่อสารของ Federal Open Market Committee (3) การลดการจ่ายดอกเบี้ยในส่วนเงินสำรอง ส่วนเกิน

ผลกระทบของมาตรการ QE2

ความคาดหวังเมื่อเริ่มใช้มาตรการ QE2 เมื่อการประชุม FOMC ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2010 สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงเพิ่มค่าขึ้นมากและกระทบต่อค่าเงินเหรียญสหัฐฯ มี “การขายบนข้อเท็จจริง” หลักจากการ “ซื้อตามข่าวลือ” ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ปี 2010 แต่ผลกระทบของ QE2 ยังคงมีต่อตลาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2011 เป็นเพราะรัฐบาลซื้อคืนตั๋วเงินที่ออกขายไปก่อนหน้า จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2011 จากตาราง 1-4 แสดงให้เห็นถึง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ได้รับ ผลกระทบจากมาตราการ QE2 ทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้มาตราการดังกล่าว

กลยุทธ์ของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและระบบการเงินในประเทศกรีซไม่แน่นอน รวมทั้งการสิ้นสุดของมาตรการ QE2 ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจกับการการเก็งกำไรระยะสั้นในค่าเงินดอล์ล่าสหรัฐฯและกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวในค่าเงินดอล์ล่าสหรัฐฯ อย่างที่ได้อธิบายในกรณีของเงินสกุล Latam เช่น สกุล CLP และ BRL นั้นให้ผลตอบแทนที่สูงต่อนักลงทุนและในกลุ่มเงินสกุล AXJ ควรจะเก็บไว้และควรจะนำไปรวมกับเงินสกุล CNY ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง หรือเงินสกุล PHP และ KRW เงินในกลุ่ง G10 จะอ่อนค่าลง ซึ่งนำโดยเงินสกุลยุโรป และเงิน กลุ่ม EMEAไม่น่าลงทุนมากที่สุด

เป็นที่แน่นอนว่า มีอีกหลายปัจจัยที่ควรคำนึงถึง เช่น สถานการณ์ของประเทศกรีซถ้าประเทศกรีซได้รับเงินช่วยเหลือตามที่มีการคาดการณ์ สกุลเงินของประเทศในยุโรป ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะมั่นคงอยู่อีกระยะหนึ่งอย่างไรก็ดี เมื่อสิ้นสุดการใช้มาตรการ QE2 จะเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ผลของค่าเงินในไตรมาสที่ 3

เมื่อใกล้จะสิ้นสุดมาตรการ QE2 นักลงทุนในกองทุนต่างๆ จะมองการซื้อเงินดอล์ลาสหรัฐฯ 1 ใน 3 เมื่องเทียบกับเงินสกุล HUF, CZK และ COP หรือ CLP ในส่วนของเงินในกลุ่ม AXJ ในระยะยาวนักลงทุนควรเก็บเงินสกุล TWD และ CNY เมื่อเทียบกับเงินสกุล KRW และ PHP เงินกองทุน

ผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ที่บริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนแยกจากสินทรัพย์อื่นๆ มักจะใช้แนวทางที่มีความมั่นคงเป็นพื้นฐานซึ่งกลุ่มนี้ควรลงทุนในกลุ่ม Latam เช่นเงินสกุล BRL ในสัดส่วนที่มากกว่าเงินสกุล COP ในทางตรงกันข้าม ผู้บริหารสินทรัพย์ควรลดสัดส่วนของเงินในกลุ่ม CEE เช่น HUF, CZK และ RON ซึ่งในกลุ่มของเงินสกุล EMEA ผู้บริหารจัดการควรสนใจในเงินสกุล RUBและ ZAR เมื่อเทียบกับการเงินในกลุ่มCEE ในกลุ่ม G10 ควรลงทุนในเงินสกุล NZDและCHF มากกว่าเงินสกุลEURและGBP

ผู้จัดการสินทรัพย์เงินตราต่างประเทศ ในทางตรงกันข้าม จะเน้นการลงทุนเชิงปริมาณและใช้เทคนิคในการบริหารความเสี่ยง ในกลุ่มนี้กลับเพิ่มสัดส่วนของเงินดอล์ล่าสหรัฐต่อสัดส่วนของ เงินสกุล EUR, GBP, AUDและCAD และลดสัดส่วนของเงินดอล์ลาสหรัฐต่อเงินสกุล CHF ในกลุ่มของเงิน AXJ ยังคงลดสัดส่วนของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และปรับลดสัดส่วนสกุลเงิน KRW, PHP, IDR, SGD และ MYR

กลุ่มธุรกิจ

ความเสี่ยง

ผู้ส่งออกในกลุ่ม AXJ ควรลดสัดส่วนของลูกหนี้ระยะสั้นในเงินสกุล USD-AXJ ไปจนถึงไตรมาสที่ 3 เงินสกุล USD-AXJ มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่า USD-EMEA เมื่อสิ้นสุดมาตราการ QE2 แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนและจะส่งผลกระทบต่อรายได้รวม เรามีคำแนะนำให้นักลงทุนต้องลดสัดส่วนของเงินในกลุ่ม USD-KRW และ USD-PHP ในทางตรงกันข้ามผู้ส่งออกกลุ่ม AXJ ควรเพิ่มสัดส่วนเงินสกุล EUR และ GBP

การแปลความเสี่ยง

กลุ่มธุรกิจ AXJ ที่ทำธุรกิจกับกลุ่มประเทศยุโรป (ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา) ควรปรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับ Balance sheet ที่อิงกับค่าเงินยุโรป ซึ่งอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ AXJ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก FED   tat   QE  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ