สถานการณ์สินค้ายานยนต์และยางรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 28, 2011 14:41 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โตโยต้า มอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 53 ,823 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 78.4 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 79.3 หรือจำนวน 31 ,025 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 68.0 หรือเป็นจำนวน 37 ,332 คัน ด้านการผลิตในต่างประเทศก็ปรับลดลงร้อยละ 25.5 เป็นจำนวน 254 ,732 คัน นับเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

โตโยต้าจะเพิ่มการลงทุนที่เมือง Karawang ประเทศอินโดนีเซียอีก 16.5 พันล้านเยน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศและเพื่อให้สอดรับกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการขยายโรงงานนี้จะสามารถทำให้โตโยต้าเพิ่มการผลิตรถยนต์จากปัจจุบัน 1แสนคันต่อปี เป็น 1.4 แสนคันภายในปี 2013

ฮอนด้ามอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 14 ,168 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 81.0 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 แล้ว

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 76.2 หรือจำนวน 6 ,473 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 43.5 หรือเป็นจำนวน 27 ,086 คัน ด้านการผลิตในต่างประเทศก็ปรับลดลงร้อยละ 43.5 เป็นจำนวน 124 ,330 คัน นับเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

ฮอนด้าได้เปิดตัวรถยนต์ Fit Wagon หลังจากกำหนดการเดิมที่ได้ตั้งไว้ในวันที่ 18 มีนาคม 2554 แต่ต้องเลื่อนการเปิดตัวเนื่องจากภัยพิบัติครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นนอกจากนี้ฮอนด้ายังปรับเปลี่ยนโรงงาน ประกอบจากเดิมที่ไซตามะลงมาอยู่ที่ซูซูกะ เพราะเหตุผลด้านการจัดหาชิ้นส่วนประกอบฯ ไม่เพียงพอ

นิสสัน มอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 44 ,193 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 48.7 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แล้ว

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 72 หรือจำนวน 14 ,642 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 37.5 หรือเป็นจำนวน 24 ,068 คัน ด้านการผลิตในต่างประเทศก็ปรับลดลงร้อยละ 12.7 เป็นจำนวน 24 ,068 คัน นับเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือน

นิสสัน เปลี่ยนแปลงเป้าหมายของบริษัทโดยวางประเทศจีนไว้เป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ บริษัทและจะเริ่มเคลื่อนย้ายทรัพยากรต่างๆของบริษัทมายังประเทศจีน ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ซีอีโอของนิสสัน Carlos Ghosn มีการตัดสินใจที่เรียบง่ายแต่ชัดเจนว่า ในปัจจุบันเมื่อเราจะ วางแผนธุรกิจใดๆ จะต้องคำนึงถึงประเทศจีนก่อนเป็นอันดับแรกไม่ใช่ญี่ปุ่น และนิสสันจะทำ ทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อให้นิสสันสามารถขายรถยนต์ได้มากที่สุด

มิตซูบิชิ มอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 27 ,481 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 31.7 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 30.1 หรือจำนวน 19 ,491 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 หรือเป็นจำนวน 8 ,700 คัน แต่ด้านการผลิตในต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.6 เป็นจำนวน 40 ,758 คัน นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

มาสด้า มอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 35 ,313 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 49.7 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 62.1 หรือจำนวน 20 ,606 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 33.1 หรือเป็นจำนวน 9 ,761 คัน ด้านการผลิตในต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เป็นจำนวน 26 ,700 คัน นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน

มาสด้า แถลงว่าในเดือนมิถุนายน 2554 นี้ จะเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่ผลประกอบการของบริษัท กลับมาสู่ช่องของกำไร นอกจากนี้บริษัทฯยังได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เม็กซิโก โดยลงทุนร่วมกับ Sumitomo Trading เพื่อทำการบุก ตลาดบราซิลอีกครั้ง และนับเป็นการเปิดโรงงานของมาสด้า ครั้งแรก ในรอบ 6 ปี

ซูซูกิ มอเตอร์มีจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายนจำนวน 58 ,398 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 31.1 นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แล้ว

ส่วนด้านการส่งออกก็ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 30 หรือจำนวน 17 ,121 คัน นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แล้ว ด้านการจำหน่ายในประเทศก็ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน คิดเป็นร้อยละ 42.7 หรือเป็นจำนวน 28 ,637 คัน แต่ด้านการผลิตในต่างประเทศก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เป็นจำนวน 162 ,434 คัน นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน

โดยสรุป หลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติในเดือนมีนาคม ส่งผลให้การผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายนปรับตัวลดลงถึง ร้อยละ 60.1 อยู่ที่จำนวน 292 ,001 คัน เท่านั้น นับเป็นจำนวนระดับเดียวกับการผลิตของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1968 ปัญหาใหญ่อย่างแรกคือการขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบโดยเฉพาะจากยาง เรซิ่น และส่วนประกอบอิเลคโทรนิกส์ Development Bank of Japan มีแผนตั้งกองทุนช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อระดมทุนในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ เพื่อเร่งฟื้นฟูความเสียหายของภาคอุตสาหกรรมจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าว

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ