ร้านอาหารไทยในจีนตะวันตก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 4, 2011 14:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ทั่วไป

จีนตะวันตกประกอบด้วยพื้นที่ 1 มหานคร ได้แก่ มหานครฉงชิ่ง 5 เขตปกครองตนเอง ได้แก่เขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง เขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองหนิงเซียะฮุย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และ 6 มณฑล ได้แก่ มณฑลเสฉวน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน มณฑลส่านซี มณฑลกานซู และมณฑลชิงไห่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมืองที่กำลังขยายและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ จึงมีจำนวนร้านอาหารไทยน้อยกว่าเมืองใหญ่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เช่น เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เป็นต้น

ร้านอาหารไทยในมณฑลเสฉวนมีประมาณ 5 ร้าน ได้แก่ ร้าน Parkway Thai ร้าน Tai Lan ร้าน Fiesta Thai ร้าน Banana Leaf และร้านสวัสดี ทั้งนี้ร้านที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Thai Selectมีจำนวน 3 ร้าน คือ ร้าน Parkway Thai ร้าน Tai Lan และร้าน Fiesta Thai ซึ่งทั้ง 3 ร้านได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี เนื่องจากประชากรมณฑลเสฉวนนิยมรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยว ซึ่งอาหารไทยมีคุณสมบัติดังกล่าว ถึงแม้จะมีความแตกต่างในรสชาติความเผ็ดบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเจาะตลาดมณฑลเสฉวนแต่อย่างไร

2. เหตุผลที่อาหารไทยได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในเสฉวน

1. รสชาดอาหารที่ใกล้เคียงกัน ชาวเสฉวนนิยมรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยว

2. ความหลากหลายของสมุนไพรและเครื่องเทศในอาหารไทย ไม่ว่าจะเป็นข่า ตะไคร้ มะกรูด หอมหัวใหญ่ ที่ให้กลิ่นและรสชาดโดยไม่ต้องปรุงแต่งเพิ่มเติม

3. การท่องเที่ยว ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปประเทศไทยมากขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้ได้ลิ้มรสและรู้จักอาหารไทยมากขึ้น เมื่อกลับประเทศแล้วก็ยังติดใจในรสชาดอาหารไทย จึงนำไปสู่การเป็นลูกค้าประจำของร้านอาหารไทยในจีน

4. ค่านิยมการรับประทานอาหารต่างชาติที่ถือเป็นการยกระดับภาพลักษณ์ของตัวเองในสังคม

3. เมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยม

เมนูร้านอาหารไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในเสฉวน ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่มีรสชาดเผ็ด และมีสีสันสวยงาม ซึ่งเป็นรสชาดอาหารที่ใกล้เคียงกับรสชาดอาหารเสฉวน เมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยมจากชาวเสฉวน 5 ลำดับ คือ แกงไก่ ต้มยำ ยำต่าง ๆ ปลานึ่งมะนาวและคอหมูย่าง

4. การจัดตั้งร้านอาหารในจีน

ขั้นตอนการจัดตั้งร้านอาหารไทยในจีน สามารถสรุปเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. การขอใบอนุญาตการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการต่างชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการดูแลเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

2. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จากหน่วยงานอุตสาหกรรมและการค้า

3. การจดทะเบียนการเสียภาษีกับธนาคารที่เปิดบัญชี

4. การติดต่อสำนักงานบริหารเงินตราต่างประเทศ เพื่อโอนกำไรกลับประเทศ

ขั้นตอนการขออนุญาตใบประกอบธุรกิจ สรุปได้ดังนี้

1. การจดทะเบียนชื่อร้าน

กรอกแบบฟอร์มการจดทะเบียนชื่อร้านตามฟอร์มของหน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและ การค้าในพื้นที่เพื่อขอจดทะเบียนชื่อร้าน ระยะเวลาที่ใช้ 7 วันทำการโดยประมาณ

2. การขออนุมัติใบรับรองสุขอนามัย

หลังจากได้รับการอนุมัติชื่อร้านแล้ว ต้องยื่นขอใบรับรองสุขอนามัยจากสำนักงานป้องกันและ กักกันโรคในพื้นที่ โดยจะต้องแนบแผนผังของร้านอัตราส่วน 1 : 100 ด้วย ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและกักกันโรคจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบที่ร้าน ซึ่งส่วนมากจะเป็นการตรวจสอบด้านการวางผังในร้าน และเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จะต้องยื่นแผนผังร้านอัตราส่วน 1 : 100 จำนวน 2 ฉบับ แผนที่ร้าน จำนวน 2 ฉบับ ใบรับรอง ใบผ่านการอบรมของผู้จัดการร้าน เพื่อขอใบรับรองสุขอนามัย โดยใช้ระยะเวลา 7 วันทำการโดยประมาณ

3. การประเมินสิ่งแวดล้อม

การประเมินสิ่งแวดล้อมต้องเตรียมเอกสารเช่นเดียวกับการขอใบรับรองสุขอนามัย แต่ยื่นกับ สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เมื่อผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่แล้ว สามารถขอให้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ออกใบรับรองดังกล่าวได้

4. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและมาตรการป้องกันอัคคีภัย

กรอกและยื่นแบบฟอร์มกับสำนักงานป้องกันอัคคีภัยในพื้นที่ แล้วรอการตรวจสอบระบบไฟฟ้า จากเจ้าหน้าที่ โดยขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลา 7 วันทำการโดยประมาณ

5. การขออนุมัติจากหน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและการค้า

หลังจากได้รับใบรับรองตามข้อ 2 4 แล้ว นำหลักฐานต่าง ๆ ไปยื่นยังหน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่เพื่อขออนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจำ

5. กฏการถือหุ้นและกฏการจ้างงานชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารไทย

3.1 สัดส่วนในการถือหุ้น ประเทศจีนไม่มีข้อจำกัดสำหรับสัดส่วนในการถือหุ้น นักลงทุนต่างชาติสามารถือหุ้นได้ 100% หรือสามารถเป็นหุ้นส่วนกับผู้ประกอบการท้องถิ่นได้

3.2 กฏระเบียบการจ้างชาวต่างชาติของประเทศจีน สรุปได้ ดังนี้

1. นายจ้างที่จะทำการว่าจ้างชาวต่างชาติควรยื่นขอาใบอนุญาตการจ้างงานชาวต่างชาติ ให้แก่ชาวต่างชาติในความดูแลของตน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน

2. นายจ้างจะทำการว่าจ้างลูกจ้างชาวต่างชาติได้ในสาขาที่ประเทศจีนขาดแคลนบุคลากรหรือ ในสาขาที่ต้องอาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะ (high skill labour)

3. แรงงานต่างชาติในประเทศจีนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

3.1 อายุ 18 ปีบริบูรณ์ สุขภาพแข็งแรง

3.2 มีความชำนาญการในการประกอบอาชีพ

3.3 ไม่มีประวัติอาชญกรรม

3.4 มีการจ้างงานเกิดขึ้นจริง

3.5 หนังสือเดินทาง/เอกสารเดินทางอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนหนังสือเดินทางได้

4. ชาวต่างชาติควรยื่นขอวีซ่าทำงานเพื่อมาประกอบอาชีพในประเทศจีน เมื่อเข้าเมืองแล้ว ดำเนินการขอาใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติ และใบรับรองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ จึงจะสามารถประกอบอาชีพในประเทศจีนได้

สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่มีใบรับรองที่อยู่อาศัย (วีซ่าประเภท F L C G) ชาวต่างชาติที่มาเรียน มาฝึกงานหรืออื่น ๆ ในประเทศจีน ไม่สามารถประกอบอาชีพในประเทศจีนได้

5. สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการขอใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติได้ คือ

5.1 บุคลากรด้านเทคนิคและการจัดการ ซึ่งรัฐบาลจีนเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง บุคลากรที่ได้รับ ใบรับรองผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศำ จากสำนักงานออกใบรับรองผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ

5.2 บุคลากรที่ได้รับาใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติสำหรับการดำเนินงานด้านปิโตรเลียมจากรัฐบาลจีนำรวมทั้งบุคลากรชาวต่างชาติที่มีทักษะพิเศษอื่น ๆ

5.3 ชาวต่างชาติที่ได้รับาใบอนุญาตประกอบการแสดงชั่วคราวำ จากกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศจีน

6. บุคลากรที่ได้รับการยกเว้นการขอาใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติ จะดำเนินการขอาใบทำงานชาวต่างชาติได้หลังจากเข้าเมืองโดยอาศัยหลักฐานจากวีซ่าและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6.1 ชาวต่างชาติจากโครงการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างจากรัฐบาลจีน องค์กรระหว่างประเทศของจีน

6.2 ประธานสำนักงานหรือบริษัทต่างชาติที่ประจำอยู่ประเทศจีนในระยะยาว

6. ปัญหาและอุปสรรคของการจัดตั้งร้านอาหารในจีน

1. การขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสม หรือการปรับเปลี่ยนพนักงานร้านที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากพนักงานลาออก ทำให้ต้องอาศัยเวลาในการฝึกเด็กใหม่ ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานไม่ค่อยจะดีนัก

2. ภาวะค่าแรงของตลาดแรงงานที่สูงขึ้นเรื่อง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งปรับสูงขึ้นเกือบร้อยละ 50-100 เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีก่อนหน้า

3. การนำเข้าวัตถุดิบไทย สินค้าและเครื่องปรุงไทย ที่ต้องการความสดและใหม่ ซึ่งหากขนส่งผ่านทางบกโดยรถยนต์ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการขนส่งจนถึงจุดหมายปลายทาง แต่การใช้บริการขนส่งทางอากาศที่ทั้งเร็วและสะดวก มีต้นทุนในการขนส่งค่อนข้างสูง

7. ข้อเสนอแนะ

1. สำรวจตลาดและเข้าใจลักษณะการบริโภคของกลุ่มลูกค้าก่อนการลงทุน

2. ศึกษาเส้นทางการขนส่ง วิธีการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าและเครื่องปรุงไทยให้ละเอียด

3. ผู้ประกอบการไทยควรถือหุ้นร่วมกับคนจีนในท้องถิ่น เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและการดำเนินการในด้านต่าง ๆ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

ที่มา : 1. http://zhidao.baidu.com/question/152592142.html

2. http://wenda.tianya.cn/wenda/thread?tid=47313d63db502a19

3. http://zhidao.baidu.com/question/124078474.html?an=3&si=7

4. http://www.people.com.cn/zixun/flfgk/item/dwjjf/falv/2/2-1-51.html

5. http://www.gov.cn/gongbao/content/2005/content_64313.htm

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ