รายงาน Mineral Commodity Summaries ของ US Geological Survey ปี 2011 ไดรายงานภาวะการผลิตแร่ทองคำโลกในปี 2010 ว่า มีผลผลิตทั้งหมดรวม 2,500 ตัน โดยประเทศจีนเป็นผู้นำการผลิตทองคำในปริมาณ 345 ตัน ผู้ผลิตอันดับสองและสามได้แก่ออสเตรเลีย ปริมาณการผลิตทองคำ 255 ตัน และ สหรัฐฯ ปริมาณการผลิตทองคำ 230 ตัน
เมื่อปี 2005 ราคาทองคำโลกมีมูลค่า 513 เหรียญสหรัฐตอออนซ์ จากปีนั้นราคาทองคำโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปี 2008 มีมูลค่าเกิน 1,000 เหรียญฯต่อออนซ์โดยมีแรงผลักดันจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สถาบันการเงิน นักธุรกิจ นักลงทุนระหว่างประเทศรวมทั้งผู้บริโภคทั่วไปขาดความมั่นใจในค่าของเงินตราต่างๆ หันมาซื้อทองเพิ่มขึ้น ในวันที่ 6 มิถุนายน 2011 ทองคำได้มีราคาสูงสุดที่ 1,549 เหรียญฯต่อออนซ์ภาวะราคาทองคำแพงดังกล่าวได้ผลักดันให้มีการลงทุนขุดเหมืองทองคำเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในแหล่งทองคำใหม่ เช่น เม็กซิโก ทั้งนี้ ประเทศผูผลิตทองคำดั้งเดิมเชน แอฟริกาใต ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ ไมไดรักษาอัตราขยายการผลิตในอัตราเดิม โดยรวมแลวในหมูประเทศผู้ผลิตสำคัญ 8 ประเทศได้มีอัตราการผลิตลดลงในอัตราร้อยละ 16 จากปี 2001 เป็นต้นมา ประเทศจีนเป็นประเทศผู้ผลิตสำคัญเพียงประเทศเดียวที่ได้เพิ่มอัตราการผลิตอย่างสม่ำเสมอในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ทองคำที่ผลิตได้ในแต่ละปีนั้น มีสัดส่วนการนำไปใช้ในการทำเครื่องประดับเป็นร้อยละ 50 อีกร้อยละ 40 เป็นการถือทองเพื่อการลงทุน และร้อยละ 10 จะถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
ประเทศที่มีการบริโภคหรือซื้อทองคำมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีสัดส่วนการบริโภคทองคำเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการผลิตโลก หรือประมาณ 800 ตันต่อปี โดยจะนำเข้าทองในปริมาณประมาณ 400 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เพื่อนำไปผลิตและขายเป็นเครื่องประดับ
ประเทศเม็กซิโกมีแหล่งแร่ทองคำสำรองปริมาณ 1,400 ตัน และในปี 2010 มีผลผลิตปริมาณ 72.6 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตที่เพิ่มจากปี 2009 ที่ผลิตได้ 62 ตัน เป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้อยรายที่สามารถขยายการผลิตได้ในปริมาณมาก
เม็กซิโกส่งออกทองคำไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ในสัดส่วนร้อยละ 72.29 รองลงมาได้แก่ อังกฤษ และสวิสเซอร์แลนด์ ร้อยละ 17 และ ร้อยละ 15 ตามลำดับ
การผลิตทองคำในเม็กซิโกมาจากเหมืองแร่ 18 แห่ง เป็นผลพลอยได้ข้างเคียงจากการขุดเหมืองเงินและทองแดง เหมืองแร่เหล่านี้ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ของรัฐ Sonora Durango และ Chihuahua เหมืองแร่ที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดคือ เหมือง La Herradura ในรัฐ Sonora รองลงมาได้แก่ เหมือง La Cienega ที่รัฐ Durango บริษัทเหมืองแร่ที่ผลิตทองที่สำคัญที่สุดได้แก่ บริษัท Industrias Penoles, Luismin และ Dowa Mining นักลงทุนจากประเทศแคนาดามีความสำคัญมากสำหรับการขุดเหมืองทองคำ และควบคุมประมาณร้อยละ 70 ของการผลิตทองคำในเม็กซิโก ทั้งนี้ ได้มีการประมาณการผลิตทองคำเพิ่มขึ้นสำหรับปี 2011
ในปี 2010 ไทยได้นำเข้าทองคำ (HS 7108) จากเม็กซิโกในปริมาณ 1,470 กิโลกรัม มูลค่า 55.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการนำเข้าสินค้าในอันดับที่ 11 ในสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด โดยในปีนั้น ในปี 2009 ไทยได้หยุดการนำเข้าทองจากเม็กซิโก เนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์การเงิน แต่ได้กลับมาสั่งซื้อทองจากเม็กซิโกในปี 2010 ในปริมาณที่มากกว่าการนำเข้าในปี 2008 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 812 กก. มูลค่า 22.56 ล้านเหรียญฯ เทียบเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 145 ทั้งนี้ ไทยมีแหล่งนำเข้าทองคำสำคัญจากสวิสเซอร์แลนด์ (ร้อยละ 50.85 ปริมาณ 209,292 ก.ก. มูลค่า 7,848 ล้านเหรียญฯ) และออสเตรเลียเป็นสำคัญ (ร้อยละ 20.37 ปริมาณ 105,707 ก.ก. มูลค่า 3,991 ล้านเหรียญฯ)สำหรับปี 2554 ใน 5 เดือนแรก (มกราคม - พฤษภาคม 2554) พบว่ามีการนำเข้าทองคำมากขึ้นเพิ่มอีก และกลายเป็นสินค้าอันดับ 1 ด้วยมูลค่ารวม 62.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีอัตราส่วนของการนำเข้าในขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 22.77 และมีผลต่อการนำเข้าของเม็กซิโกมาไทยเพิ่มขึ้นในอัตรา 83.62 การค้าระหว่างสองระเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 51.16 ในขณะที่การส่งออกของไทยมายังประเทศเม็กซิโกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 39.38
http://www.mbendi.com/indy/ming/gold/am/mx/p0005.htm
http://www.indexmundi.com/minerals/?country=mx&product=gold&graph=production
http://www.camimex.org.mx/
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th