ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (มิถุนายน 2554)
1. Real GDP: +/- 0% ( เม.ย. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.4 % (พ.ค. 2554) - เทียบกับ 7.6 % ในเดือน เม.ย. 2554
3. Merchandise Import: -0.6 % (เม.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ มี.ค.2554
4. Merchandise Export: -1.9 % (เม.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ มี.ค.2554
5. Inflation Rate: 3.7 % (เม.ย. 2554) — เทียบกับ 3.3 % ในเดือนเม.ย. 2554
ความเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของเศรษฐกิจประเทศแคนาดา
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อเศรษฐกิจในเดือนเม.ย. 54 (+/- 0 %):
- ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ธุรกิจหลายภาคมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสากรรมโลหะ และถ่านหิน ,ธุรกิจค้าปลีก, ภาคธุรกิจสาธารณะ, ธุรกิจการก่อสร้าง
- กลุ่มอุตสากรรมโลหะ และถ่านหิน: เพิ่มขึ้น 1.0% โดยมาจากการผลิตแร่ทองแดง นิกเกิ้ล ตะกั่วและสังกะสี
- ธุรกิจค้าปลีก : ขยายตัว 0.5% โดยเป็นการเติบโตของหมวดสินค้าเฟอร์นิเจอร์,ของประดับตกแต่งบ้าน, ผู้จำหน่ายรถยนต์ใหม่-เก่า, เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
- ธุรกิจการก่อสร้าง: เติบโตขึ้น 0.1% ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา
- ปัจจัยลบเป็นผลจาก : ภาคการผลิตสินค้า , ธุรกิจค้าส่ง , ธุรกิจด้านการเงิน ธนาคารและประกันภัย, ภาคอสังหาริมทรัพย์
- ภาคการผลิตสินค้า: ลดลง 0.7% โดยเฉพาะหมวดสินค้า Durable Good อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ เนื่องมาจากผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษํสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนั้นยังมีการลดการผลิตสินค้าในหมวดเฟอร์นิเจอร์ สิ่งพิมพ์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า (Electric equipment) อีกด้วย
- ธุรกิจค้าส่ง : ลดลง 0.5% โดยเป็นการลดลงในกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม รวมทั้งอุปกรณ์การก่อสร้าง
- ธุรกิจด้านการเงิน ธนาคารและประกันภัย : ลดลง 0.4% โดยสาเหตุจากปริมาณการลดลงจากการกู้เงินส่วนบุคคล การฝากเงิน และจำหน่ายกองทุนต่างๆ รวมทั้งปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นลดลง
มูลค่า(ล้านเหรียญสรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) ม.ค. — พ.ค. 53 ม.ค. — พ.ค.54 ม.ค. — พ.ค. 53/54 มูลค่าการค้า 927.4 1157.4 24.80 ไทยส่งออก 532.2 692.5 30.12 ไทยนำเข้า 395.2 464.9 17.64 ดุลการค้า 137 227.6 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-พ.ค.54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 17 รายการ ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+33.12 %) เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+0.80%) ยางพารา (+110.72%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+18.35%) เครื่องน่งุห่ม (+28.47%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+32.26%) ผลไม้กระป๋องและ แปรรูป (+21.85%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(+28.07%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+54.68%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+42.17%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+119.25%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วน (+1263.72) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+270.51%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+37.89%) เตาอบไมโครเวฟ (+23.62%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+24.04%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+204.94%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- พ.ค. 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 3 รายการ ได้แก่ข้าว (-28.22%) เลนซ์(-2.41%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (-11.58%)
แหล่งข้อมูล : Statistics Canada (As of June30, 2011)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th