รายงานการเยี่ยมงานแสดงสินค้า Safety 2011 Exposition
วันที่ 12 - 15 มิถุนายน 2554
ณ McCormick Place West นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา
ในปี 2551 ภัยภิบัติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วมจำนวน 1050 ครั้ง ไฟป่า 77,000 ครั้ง พายุทอร์นาโด 1,156 ครั้ง พายุเฮอริเคน กว่า 10 ครั้ง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 568 คน นอกจากนั้นแล้วภัยที่เกิดขึ้นโดยความประมาทหรือเลินเล่อ เช่น ไฟไหม้บ้านเรือน ซึ่งมีจำนวนกว่า 24,900 ครั้งในปี 2551 มีจำนวนการเกิดขึ้นในอัตราสูงในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงส่งผลต่อความต้องการสินค้าอุปกรณ์การป้องกันภัยและรักษาความปลอดภัย
ตลาดสินค้าอุปกรณ์นิรภัยและรักษาความปลอดภัย (Safety Products) ของชีวิต มีมูลค่าในตลาดสหรัฐฯ 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปี 2550) และจากการสำรวจความคิดเห็นและการวิจัยข้อมูลระหว่างปี 2544 ถึง ปี 2553 ของ National Opinion Research Center (NORC) แห่งมหาวิทยาลัย University of Chicago พบว่า บุคลากรในองค์กรให้ความสำคัญ "เรื่องความปลอดภัยในชีวิต" ในสถานที่ทำงานมากที่สุด เป็นอันดับ 1 มากกว่าการให้ความสำคัญในเรื่องค่าจ้างแรงงาน สวัสดิการฯลฯ
Safety 2011 Exposition เป็นงานแสดงสินค้าระดับประเทศในหมวดของสินค้าอุปกรณ์ นิรภัยและรักษาความปลอดภัยของชีวิตนับตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ซึ่งจัดขึ้นมานานกว่า 30 ปี โดยสมาคม American Society of Safety Engineers (ASSE: www.asse.org) ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ งานฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมิถุนายน โดยจะหมุนเวียนจัดขึ้น ณ เมืองสำคัญต่างๆ ในสหรัฐฯ และการจัดงานฯ ครั้งนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2554 ณ อาคาร West Building ศูนย์แสดงสินค้า McCormick Place นครชิคาโก
ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงาน (Exhibitors) จำนวนทั้งสิ้น 489 บริษัท เพิ่มมากขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 18.68 ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ คือผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายในสหรัฐฯ และมีผู้เข้าร่วมงานต่างประเทศ จำนวน 21 บริษัท จาก 7 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา (12 ราย ) จีน ( 3 ราย ) เกาหลี (2 ราย ) ไต้หวัน (1 ราย ) ปากีสถาน (1 ราย) อังกฤษ (1 ราย ) และในปีนี้เป็นปีแรกที่ มีผู้ผลิต/ส่งออกไทย จำนวน 1 ราย คือ บริษัท Urgent Fire-Pak (หรือ บริษัท Nirin Design Co., Ltd) นำสินค้าอุปกรณ์ฉุกเฉินช่วยหายใจส่วนบุคคลเมื่อเกิดอัคคีภัย ไปจัดแสดงในงาน
อนึ่ง ผู้ผลิต/ผู้นำตลาดสินค้าอุปกรณ์นิรภัย/รักษาความปลอดภัยรายสำคัญของสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมงาน ได้แก่
- บริษัท Honeywell ผู้ผลิตชั้นนำสินค้า Safety Products แบรนด์ Honeywell, Miller, North, Howard Leight, UVEX
- บริษัท 3 M ผู้ผลิตชั้นนำสินค้าอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ ตา หน้า
- บริษัท Dupont ผู้ผลิต Personal Safety Products แบรนด์ Tyvek, Tychem, ProShield, Protera, Nomex, Kevlar
ผู้จัดงานฯ ประมาณในชั้นต้นว่า มีผู้เข้าชมงานจำนวน 5,550 คน หรือเพิ่มขึ้นจากงานในปี 2553 ร้อยละ 41 ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นคนอเมริกันจากกลุ่มอาชีพ/ภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรมที่สำคัญๆ อาทิ ตำแหน่ง Safety Directors, Safety Engineers โดยได้แยกกลุ่ม/ประเภทผู้เข้าชมงาน ดังนี้
- ภาคการผลิต ร้อยละ 23
- ภาครัฐ/บริหาร ร้อยละ 20
- ธุรกิจก่อสร้าง ร้อยละ 12
- ธุรกิจบริการ ร้อยละ 12
- ธุรกิจการเงิน การประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 11
- อุตสาหกรรมเคมี/เหมืองแร่ ร้อยละ 10
- ธุรกิจการสื่อสาร คมนาคม สาธารณูปโภค ร้อยละ 9
- ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง ร้อยละ 2
- ภาคการเกษตร ประมง ป่าไม้ ร้อยละ 1
- ผู้เข้าชมงานร้อยละ 78 เป็นผู้มีประสบการณ์ ด้านความปลอดภัยมากกว่า 10 ปี และมีจำนวนมากกว่าครี่งของผู้เข้าชมงาน ที่มีตำแหน่งระดับผู้อำนวยการ ผู้จัดการ วิศวกร และมีอำนาจในการสั่งซื้อสินค้า
ร้อยละ 9: 1,000,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่า
ร้อยละ 6: 500,000 - 1,000,000 เหรียญสหรัฐฯ
ร้อยละ 14 : 100,000 - 500,000 เหรียญสหรัฐฯ
ร้อยละ 11 : 250,000 เหรียญฯ - 500,000 เหรียญฯ
ร้อยละ 12 : 100,000 - 250,000 เหรียญสหรัฐฯ
ร้อยละ 14 : 100,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ต่ำกว่า
ร้อยละ 42 : 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
ครอบคลุมสินค้า/อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยนับแต่ศรีษะจรดเท้า อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยอาชีวะอนามัย (Occupational Safety & Health) ในสถานที่ทำงาน/โรงงาน ฯลฯ อาทิ หมวกประเภท Hard Hat แว่นป้องกันความปลอดภัย (safety glasses) ถุงมือ เสื้อกันไฟ / สารเคมี ชุดคลุมปฏิบัติการในห้อง Lab เสื้อสะท้อนแสง รองเท้ากันลื่น บันไดหนีไฟ อุปกรณ์ดับเพลิง/ช่วยหายใจจากอัคคีภัย อุปกรณ์ความปลอดภัยเกี่ยวกับการจราจร ฯลฯ โดยแยกกลุ่มสินค้า ได้ดังนี้
- ศรีษะจรดเท้า ผิวหนัง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ( First Aid, Head, Eye, Face, Foot, Hearing, Hands, Arms Protection, Audible & Visual Signaling Devices, Fall Protection, Dermatitis Control Products)
- เครื่องช่วยการหายใจ (Respiratory Protection)
- ระบบป้องกันไฟไหม้ ( Alarms & Signaling Devices, Fire Protection)
- การจราจร / รถยนต์ (Traffic Control Devices ,Vehicle Alarms/Mirrors Automobile Safety & Seat Belts)
- เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Defibrillators)
- อุปกรณ์สำนักงานที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Ergonomics)
- อุปกรณ์รักษา/ทำความสะอาด
- อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย/สุขลักษณะในโรงงาน
- อุปกรณ์ไฟฟ้า
- การบริหารจัดการความปลอดภัย/การฝึกอบรม/ที่ปรึกษา
1. Ergonomics (อุปกรณ์สำนักงานที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ) ร้อยละ 34
2. Monitoring Devices ร้อยละ 29 3 Detection Devices (Gas, Vapors) ร้อยละ 28
4. Sound/Noise/Vibration Control Devices ร้อยละ 26
5. Fire Protection ร้อยละ 25 6 Safety Floor Products ร้อยละ 24 7. Emergency Signs/Labels ร้อยละ 23 8. First Aid Supplies ร้อยละ 20 9. Security ร้อยละ 16 10. Storage Container ร้อยละ 13 11. Air Purification Equipment ร้อยละ 9 8. ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ
1. สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับมาตรการการป้องกันความปลอดภัยต่อสินค้าอุปโภค/บริโภค ที่ผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบ มาตรฐาน ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด หากพบว่าสินค้าไม่มีความปลอดภัย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ สินค้าจะถูกเรียกเก็บ (Recall) ทันที และสั่งห้ามมิให้มีการจำหน่ายในตลาด จนกว่าจะมีการปรับปรุง ผ่านการทดสอบว่าปลอดภัย หรือหากสินค้านั้นทำให้ผู้ใช้ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต ฯลฯ ผู้ผลิตอาจจะถูกฟ้องร้องทางกฏหมายอีกด้วย
2. การขยายตลาดสินค้าและอุปกรณ์ Safety Products ของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ควร พิจารณาในมาตรฐานของอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ สินค้าต้องผลิตได้มาตรฐาน และ ได้รับการรับรองจาก องค์กร Third Party เช่น UL หรือ Intertek หรือการ Endorsement อาทิ จากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าด้านความปลอดภัยของสหรัฐฯ นอกจากนั้นแล้ว ใบประกันรับรองสินค้า (Warranty) จะทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจต่อสินค้า ยิ่งขึ้น
3. ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่สนใจศึกษาข้อมูลด้านสินค้า Safety Products สามารถค้นหาได้จากWebsite ขององค์กรต่างๆ ในสหรัฐฯ เช่น
- The National Institute Occupational Safety and Health (NIOSH) www.cdc.gov/niosh
- American National Standards Institute (ANSI) www.ansi.org
- National Safety Council www.nsc.org/Pages/Home.aspx
- Occupational Safety & Health Administration (OSHA) www.osha.gov
- American Society for Testing and Materials (ASTM) www.astm.org
- National Fire Protection Association ( NFPA) www.nfpa.org
4. ภาครัฐควรให้ความสำคัญด้วยการให้การสนับสนุนเงินทุนด้านวิจัย ทดสอบมาตรฐาน สินค้า หรือด้านการตลาด เพื่อเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยยมีศักยภาพในการผลิตสินค้า Safety Products และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการส่งออก
5. ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่สนใจจะสมัครเข้าร่วมงานหรือเดินทางไปเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Safety Exposition สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Website ผู้จัดงานฯ www.asse.org หรือติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงไปยัง Mr. Jeff Naccarato, Account Manager, Safety 2011 Email: jnaccarato@heiexpo.com การจัดงานฯ ในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 มิถุนายน 2555 ณ เมือง Denver รัฐ Colorado
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศณนครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th