ชื่องาน Licensing International Expo
วันที่จัดงาน ระหว่างวันที่ ๑๔- ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔
สถานที่ Mandalay Bay Convention Center เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา
บริษัท Advanstar Global Licensing Group สนับสนุนโดย International Licensing Industry Merchandisers' Association (LIMA)
เป็นงานประเภทเจรจาการค้า ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓๑ เป็นงานแสดงสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ และสิทธิบัตร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ของสินค้า เช่น เสื้อผ้า แอนนิเมชั่น ธุกิจบันเทิง เครื่องดื่ม วิดีโอเกมส์ สื่อสิ่งพิมพ์ กีฬาฯลฯ ภายในงานแบ่งเป็นส่วนหลักๆได้แก่ส่วนของการแสดงสินค้าและส่วนของการจัดสัมมนา
ประมาณ ๑ ล้านตารางฟุต
ในส่วนของงานแสดงสินค้านั้นแบ่งได้ดังนี้ Animation/Anime/Manga, Apparel/Fashion, Art & Design, Automotive, Brands & Trademarks, Characters, Entertainment, Food & Beverage, Inspirational/Religious/Holiday, Interactive/Video Games, Not-for-Profit/Charitable, Sports/Outdoors, Publishing, Professional Services to the Licensing Industry
จัดสัมมนาเรียกว่า Licensing University ในหัวข้อที่เกี่ยวกับสิทธิบัตรกว่า ๓๐ หัวข้อ ได้แก่ Licensing for Beginners, Well Being & Licensing: Doing Good and Good Business, Corporate Licensing Your Brand in the International Market ,Legal Licensing Law for Beginners, How the Digital World is Changing Licensing Forever, Anatomy of a License Agreement ฯลฯ
400 ราย จาก 90 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดแสดงสินค้าและสิทธิบัตรกว่า 5000 รายการ
มากกว่า ๒๑,๐๐๐ คน มูลค่าการซื้อขายในงานกว่า ๑๘๗ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำตัวแทนผู้ประกอบการไทยจำนวน ๑๓ ราย เข้าร่วมแสดงเป็นคูหารวมของไทย ประกอบด้วยสินค้าอาหาร ( ข้าว, corn cider ) ผ้าไหม Animationซึ่งในการนี้สคร.ลอสแอนเจลิสได้เข้าร่วมสังเกตการณ์พร้อมกับคณะของกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำโดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นางปัจฉิมา ธนะสันติ และคณะของสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ประจำสถานทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี นำโดย อท.เกษสิริ ศิริภากรณ์
ธุรกิจไลเซ่นส์ มีมูลค่าตลาดถึง 191.000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นวิธีที่ทวีความสำคัญมากขึ้นในการขยายและสร้างความเข้มแข็งให้แบรนด์ และมีแนวโน้มว่าแบรนด์แบรนด์ต่างๆจะขายไลเซ่นส์มากขึ้น่ และขยายไลเซ่นส์ไปครอบคลุมสินค้าและบริการใหม่ๆ และมีการส่งเสริมดำเนินการร่วมกัน และขยายไปรวมถึงสินค้าอาหาร มากขึ้น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Pirate of the Caribbean ขายไลเซ่นส์ไปผลิตอาหารเช้า cereal เป็นต้น และ องค์กรการกุศล องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และ งานศิลปะต่างๆ จะมีการขายไลเซ่นส์มากขึ้น เช่น องค์กรลูกเสือ พิพิธภัณฑ์ งานศิลปะของศิลปินที่มีชื่อเสียง
ผู้ส่งออกไทยที่สนใจ อาจดำเนินการได้ดังนี้
1. รับผลิตสินค้าให้บริษัททีเป็นเจ้าของไลเซ่นส์
2. ซื้อไลเซ่นส์มาผลิตขายในตลาดอาเซียนหรืออื่นๆตามแต่จะตกลงกัน
3. หากมีสินค้าหรือบริการใหม่ๆอาจพิจารณาขายไลเซ่นส์ แต่กรณีนี้ อาจต้องมีความพร้อมมากพอ เช่น เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่หากมีศักยภาพ อาจมีเอเยนต์มาติดต่อเสนอพัฒนาการสร้างแบรนด์และขายไลเซ่นส์
4. ติดต่อเจ้าของไลเซ่นส์ที่มีชื่อเสียงเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่เจ้าของไลเซ่นส์อาจยังไม่มี เช่น เคยมีผู้ผลิตไม้กอล์ฟ เสนอผลิตให้ Hello Kitty ซึ่งยังไม่เคยมีขายไม้กอล์ฟมาก่อน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th