ตลาดหัวหอมใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 18, 2011 14:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การเพาะปลูกและผลิต

ปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตหัวหอมใหญ่รายใหญ่อันดับที่ 3 ของโลก นับจากจีน และ อินเดีย สหรัฐฯ มีผลผลิตหัวหอมประมาณปีละ 7,319 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 1,154 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 แหล่งเพาะปลูกหัวหอมใหญ่ที่สำคัญของสหรัฐฯ คือ แถบตะวันตกของประเทศ ได้แก่ รัฐไอดาโฮ้ รัฐคาลิฟอร์เนีย โคโลราโด้ รัฐวอชิงตัน โอรีกอน และเขตตอนกลางของสหรัฐฯ (เขตอาณาสคร.ชิคาโก) ได้แก่ รัฐอิลลินอยส์ รัฐมิชิแกน รัฐวิสคอนซิน รัฐมิสซูรี่ รัฐอินเดียน่า รัฐไอโว่า รัฐมินเนโซต้า รัฐเนบร้าสก้า และ รัฐโอไฮโอ้

  แหล่งเพาะปลูกหัวหอมที่สำคัญ           พื้นที่เพาะปลูก (เอเคอร์)        ผลิตผลิต (ปอนด์)
1. Washington                                 21,583        1,347,000,000
2. Idaho-Eastern Oregon                       20,200        1,477,000,000
3. California                                 17,150        1,014,700,000
4. Texas                                      11,000          428,800,000
5. Colorado                                    7,820          392,450,000

การบริโภคหัวหอมในสหรัฐฯ

หัวหอมเป็นพืชผักที่มีอัตราบริโภคสูงในสหรัฐฯ และมากที่สุดของโลก การบริโภคแยกเป็น 3 ช่องทางหลัก คือ ครัวเรือน ธุรกิจบริการอาหาร และ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอาหาร อัตราการบริโภคหัวหอมต่อหัว คิดเป็นประมาณ 9.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี (สถิติปี 2552 จากสมาคม National Onion Association) ซึ่งสูงกว่าการบริโภคบริโภคหัวหอมต่อหัวของโลก (6.02 กิโลกรัม๗ความต้องการการบริโภคหัวหอมใหญ่ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราต่ำ และการบริโภคหัวหอมแดงขยายตัวในอัตราสูง

การนำเข้าหัวหอมของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ นำเข้าหัวหอมทุกชนิดรวมกันเป็นจำนวน ๓๗๗.๙ ล้านกิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๕๗.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ๒๕๕๓ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.14 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 แหล่งนำเข้าหัวหอมที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ เม็กซิโก (ร้อยละ ๗๑) คานาดา (ร้อยละ ๑๑) เปรู (ร้อยละ ๙) และ ชิลี (ร้อยละ ๕) ไม่ปรากฏมูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทย

การนำเข้าหัวหอมของสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2551-2553

อันดับ แหล่งนำเข้า                    มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)     อัตราการขยายตัว (%)
                                 2551       2552       2553
  1   Mexico                   185.24     170.99     184.39      -7.70      7.84
  2   Canada                    23.79      17.27      27.39     -27.38     58.56
  3   Peru                      18.62      22.38      24.11      20.20      7.72
  4   Chile                      7.67       4.37      11.33     -43.00    159.40
  5   Netherlands                0.04       0.37       2.79     927.19    659.51
       0thers                    3.75       4.36       7.40      16.27     69.72
       รวมการนำเข้า             239.28     219.74     257.40      -8.16     17.14
ที่มา: World Trade Atlas, 2011

ข้อคิดเห็นเสนอแนะ

1. สคร.ชิคาโกมีข้อสังเกตว่า สหรัฐฯ มักจะนำเข้าหัวหอมใหญ่จากแหล่งผลิตใกล้เคียง เช่น คานาดา เม็กซิโก หรือ ประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งมีข้อได้เปรียบความสดของผลผลิต และ ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบการนำเข้าจากแห่งนำเข้าในเอเซียรวมทั้งจากประเทศไทย

2. กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ อนุญาตให้นำหัวหอมใหญ่จากประเทศไทยมาจำหน่ายในสหรัฐฯ โดยสินค้าต้องไม่มีใบ และ ดินติดไปกับหัวหอม โดยผู้นำเข้าสหรัฐฯ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า

3. การส่งหัวหอมใหญ่ของไทยไปจำหน่ายในสหรัฐฯ การบริหารจัดการด้านการขนส่งและโลจิสติก

3.1 บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการส่งออกหัวหอมใหญ่ไปยังสหรัฐฯ คือขนาดบรรจุถุงละ 50 ปอนด์ (22.7 กิโลกรัม) ซึ่งเป็นขนาดบรรจุที่นิยมนำเข้าจากต่างประเทศ

3.2 สินค้าต้องมีราคาทึ่สามารถแข่งขันได้กับราคาหัวหอมใหญ่นำเข้าจาก คานาดา เม็กซิโก หรือ กลุ่มอเมริกาใต้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ