สถานการณ์การค้าของไทย-อิตาลี
เดือนมิถุนายน 2554 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 337.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2553) โดยขาดดุลการค้า 72.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2554 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 2,093.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 เทียบกับเดือนมกราคม-มิถุนายน 2553) โดยขาดดุลการค้า 31.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนมิถุนายน 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 152.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปกติจะพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปยังอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและลดลงในช่วงพฤศจิกายนและเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมอีกครั้ง
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรกในเดือนมิถุนายน เช่น ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 9.7%) ยางพารา (สัดส่วน 9.3%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 7.2%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (สัดส่วน 5.7%) และผลไม้กระป๋องแปรรูป (สัดส่วน 5.1%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (+266.2%) ผลไม้กระป๋องแปรรูป (+193.9%) เมล็ดพลาสติก (+144.3%) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+106.5%) และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (+99.3%) เป็นต้น
ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-50.6%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-39.1%) อาหารสัตว์เลี้ยง (-20.9%) เครื่องนุ่งห่ม (-20.0%) และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-14.2%) เป็นต้น
ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,031.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2553
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (สัดส่วน 10.9%) ยางพารา (สัดส่วน 10.0%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 9.8%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 6.7%) และผลิตภัณฑ์ยาง (สัดส่วน 4.5%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ เม็ดพลาสติก (+116.5%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+84.1%) ยางพารา (+76.6%) ผลไม้กระป๋องแปรรูป (+60.4%) และสิ่งทออื่น ๆ (+55.0%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-37.6%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และอัญมณีและเครื่องประดับ (-2.8%) เป็นต้น
เดือนมิถุนายน 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 224.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ50 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 74.9 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับการนำเข้าเดือนมิถุนายน 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมและพฤศจิกายนของทุกปี
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วน 25.8%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (สัดส่วน 18.8%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 10.4%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (สัดส่วน 4.8%) และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (สัดส่วน 4.8%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+130.0%) วัสดุทำจากยาง (+117.8%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+98.9%) รองเท้า (+91.5%) และสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (+66.0%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะ (-30.4%) สินค้าทุนอื่น ๆ (-15.7%) และผ้าผืน (-6.6%) เป็นต้น
เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,062.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปี 2553
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (สัดส่วน 22.8%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วน 14.9%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 9.3%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (สัดส่วน 4.9%) และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สัดส่วน 4.4%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องเทศ (+1,899.0%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (+277.8%) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (+194.9%) เคมีภัณฑ์ (+73.1%) และผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก (+46.4%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (-32.7%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-12.8%) และเครื่องจักรไฟฟ้าในบ้าน (-6.1%) เป็นต้น
1. ปลาหมึกสด แช่แข็งแช่เย็น การส่งออกปลาหมึกสด แช่แข็ง แช่เย็นไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 โดยเดือนมิถุนายน 2554 การส่งออกมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.3 เทียบจากปีก่อนหน้า โดยครึ่งปีหลังของปี 2554 คาดว่าไทยจะสามารถขยายการส่งสินค้าตามความต้องการของตลาดอิตาลีเพิ่มมากขึ้น
2. ยางพารา ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 การส่งออกสินค้ายางพาราของไทยมีแนวโน้มดีมาตลอดโดยอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 76.6 เทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้ายางพารายังคงเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นของไทย โดยเฉพาะยางรถยนต์และถุงมือยางซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการใช้เป็นอย่างมากในตลาดอิตาลี
3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 การส่งออกสินค้าเครื่อง ปรับอากาศและส่วนประกอบของไทย มีอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.8 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยครึ่งปีหลังนี้คาดว่าอิตาลีอาจมีการนำเข้าเครื่องปรับอากาศฯ เพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th