ตั้งแต่การนำนโยบาย “Doi Moi” มาใช้ในปี 1986 ระบบเศรษฐกิจของเวียดนามได้เปลี่ยนจากการกำหนดตลาดแบบเบ็ดเสร็จจากศูนย์กลางมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบอ้างอิงตลาด ระบบภาษีของเวียดนามจึงได้รับการปฏิรูปขนานใหญ่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ เช่น อาเซียน (1995) และองค์การการค้าโลก (2007) นโยบายภาษีและระบบภาษีได้ปฏิรูปไปในทิศทางที่ดีขึ้นและสอดคล้องกับกฎระเบียบระหว่างประเทศมากขึ้น และมีการปรับปรุงระบบการจัดเก็บและการบริหารระบบภาษีในขณะเดียวกัน
ในปี 2007 กฎหมายการบริหารภาษีได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารระบบภาษี การจัดการข้อมูล การจัดเก็บภาษี และการบังคับใช้ และยังกำหนดแนวทางในกรณีที่เคยมีปัญหาการตีความ
ต่อมาในปี 2007 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกมาใช้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีกฎหมายที่ครอบคลุมการภาษีเกี่ยวกับรายได้ทุกประเภทของบุคคลในเวียดนาม กฎหมายฉบับนี้กล่าวถึงหลักการของการหักค่าลดหย่อนของบุคคลและครอบครัว เพื่อคำนวณรายได้ที่ต้องเสียภาษีของแต่ละบุคคล
ในปี 2008 กฎหมายสำคัญเกี่ยวกับภาษีจำนวนสามฉบับได้ถูกแก้ไข ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีขายพิเศษ
กฎหมายทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้ถูกนำมาบังคับใช้ในปี 2009
1 ) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)
องค์กรที่ประกอบธุรกิจและมีรายได้ที่ต้องนำมาเสียภาษีจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งได้แก่
- กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเวียดนาม
- กิจการต่างชาติที่ได้รับรายได้ในเวียดนามไม่ว่าจะมีสถานที่ประกอบธุรกิจในเวียดนามหรือไม่
- กิจการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายสหกรณ์
- หน่วยธุรกิจด้านวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของเวียดนาม และ
- องค์กรอื่นๆ ที่ประกอบกิจกรรมการผลิตหรือประกอบธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้
บริษัทต่างชาติ องค์กรต่างชาติ และชาวต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในเวียดนามที่ไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายการประกอบกิจการและกฎหมายการลงทุนในเวียดนาม หรือมีแหล่งรายได้ในเวียดนามจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการภาษีของผู้รับเหมาต่างชาติ (foreign contractor)
ภาษีเงินได้นิติบุคคลของเวียดนามจะใช้กับหน่วยธุรกิจเวียดนามทั้งหมด รวมถึงหน่วยธุรกิจต่างชาติที่มีรายได้ในเวียดนาม กิจการต่างชาติควรใช้ความระมัดระวังในการศึกษาทำความเข้าใจว่าตนอาจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีสถานที่ประกอบธุรกิจในเวียดนาม
รายได้ที่ต้องเสียภาษีรวมถึงรายได้ที่ได้รับจากการผลิตและการขายสินค้าและบริการ ส่วนรายได้อื่นๆ ที่ต้องเสียภาษีคือ :
- รายได้จากการโอนเงินทุนและการโอนอสังหาริมทรัพย์ (real property)
- รายได้จากการโอน ให้เช่า หรือขายทอดทรัพย์สิน
- ดอกเบี้ยจากเงินฝากและเงินกู้ หรือรายได้จากการขายเงินตราต่างประเทศ
- เงินได้คืนจากเงินทุนสำรองฉุกเฉิน (Recoveries from contingency reserves)
- เงินได้คืนจากหนี้สูญ (Recoveries from written-off debts)
- รายได้ที่เกิดจากหนี้ที่จ่ายแก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถระบุได้ (income being debts payable to unidentified creditors)
- รายได้จากธุรกิจที่ไม่ได้มีการรายงานในปีที่แล้ว และ
- รายได้อื่นๆ รวมถึงรายได้จากธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในเวียดนาม
รายได้ที่นำมาประเมินภาษีจะคำนวณโดยนำรายได้ที่ต้องเสียภาษีมาหักลบกับรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี และผลขาดทุนที่ยกยอดมาจากปีก่อนๆ
รายได้ที่ต้องเสียภาษีคำนวณจากรายไดทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายทางธุรกิจที่หักลดหย่อนได้บวกกับรายได้อื่นๆ
รายได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์จะต้องแยกออกมาต่างหากเพื่อสำแดงและเสียภาษี
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยปกติจะอยู่ที่ 25% ยกเว้นสำหรับธุรกิจที่ประกอบธุรกิจในการค้นหา สำรวจ และทำเหมืองแร่ ซึ่งจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลระหว่าง 32%-50%
จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียจะเท่ากับรายได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่นำมาใช้ โดยในกรณีที่กิจการได้จ่ายภาษีเงินได้นอกประเทศเวียดนามไปแล้ว จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้จ่ายไปจะถูกนำมาเครดิตในอัตราสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องจ่าย
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยปกติอยู่ที่ 25% ยกเว้นธุรกิจที่ประกอบธุรกิจในการค้นหา สำรวจ และทำเหมืองแร่ ซึ่งจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลระหว่าง 32% - 50%
บริษัทที่ประกอบธุรกิจในพื้นที่ที่ต้องการดึงดูดการลงทุน หรือตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 10% เป็นระยะเวลา 15 ปี สำหรับโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่ที่มีสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ขัดสน ในเขตเศรษฐกิจและเขตไฮเทค และสำหรับโครงการลงทุนในสาขาที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง การทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาทางเทคโนโลยี การลงทุนในด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของรัฐ และการผลิตซอฟแวร์
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 10% ตลอดอายุของการดำเนินกิจการต่อไปนี้: กิจการประกอบธุรกิจ ในสาขาการศึกษาและการฝึกอบรม การฝึกอบรมอาชีพ การดูแลสุขภาพ วัฒนธรรม กีฬา และสิ่งแวดล้อม
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% สำหรับการดำเนินการใน 10 ปีแรก ใช้กับกรณีโครงการลงทุนใหม่ในพื้นที่ที่มีสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ขัดสน
- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% สำหรับการดำเนินการตลอดอายุของกิจการใช้กับกรณีประกอบกิจการในสหกรณ์บริการการเกษตรและกองทุนการให้สินเชื่อแก่ประชาชน
นอกเหนือไปจากอัตราภาษีพิเศษแล้ว กิจการที่เข้าข่ายอาจจะได้รับการยกเว้นภาษีหรือส่วนลด 50% ของภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งระหว่างช่วงเวลาที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ในอดีตที่ผ่านมาเป็นเครื่องมือใช้อย่างกว้างขวางโดยหน่วยงานรัฐบาลในการดึงดูดการลงทุนเข้ามาในเวียดนาม ในหลายปีที่ผ่านมาสิทธิประโยชน์ทางภาษีเหล่านี้ได้ถูกลดลงไป ธุรกิจจัดตั้งใหม่อาจจะต้องแข่งขันกับธุรกิจที่จัดตั้งยาวนานกว่าได้สิทธิประโยชน์ แต่ธุรกิจหน้าใหม่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นั้นได้แล้ว
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีจะได้รับอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายทางธุรกิจที่สมเหตุสมผลและมีหลักฐานมาหัก ตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายทางธุรกิจจะนำมาหักภาษีได้ ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นไม่ได้อยู่ในรายการต้องห้ามนำมาหักภาษี และต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้
- ค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องเกิดขึ้นจากและเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของกิจการนั้น
- ค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องประกอบด้วยใบกำกับภาษี (invoices) และใบสำคัญจ่าย (source vouchers) ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ธุรกิจที่มีผลขาดทุนหลังจากการคำนวณภาษีแล้วมีสิทธิที่จะยกยอดผลขาดทุนดังกล่าวมาหักล้างเงินได้พึงประเมินในปีต่อๆ ไป ผลขาดทุนสะสมดังกล่าวมีอายุสูงสุด 5 ปีก่อนหมดอายุ
กิจการที่มีผลขาดทุนจากการโอนอสังหาริมทรัพย์จะมีสิทธิยกผลขาดทุนไปหักล้างเฉพาะเงินได้พึงประเมินที่มาจากกิจกรรมประเภทคล้ายคลึงกัน
ผลขาดทุนทางภาษีสามารถยกยอดไปและใช้ได้โดยกิจการส่วนใหญ่ได้สูงสุด 5 ปี และนำมาหักล้างรายได้อื่นได้
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องสำแดงและจ่ายภาษีรายไตรมาสและรายปี การขอคืนภาษีรายไตรมาสจะต้องยื่นและจ่ายภาษีรายไตรมาสภายในวันที่ 30 ของไตรมาสถัดไป การขอคืนภาษีสุดท้ายรายปีจะต้องยื่นและจ่ายภาษีรายปีภายใน 90 วัน นับจากสิ้นปีงบประมาณหรือปีปฏิทิน
กิจการจะต้องจ่ายภาษีในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ถ้าหากกิจการใดมีสถานประกอบการผลิตที่ใช้ระบบบัญชีร่วมกันอยู่ (dependent accounting production establishment) ในจังหวัดหรือเมืองอื่น จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลพึงประเมินและต้องจ่ายจะคำนวณจากตามสัดส่วนของค่าใช้จ่ายระหว่างสถานที่ประกอบการผลิตกับสำนักงานใหญ่
รายได้ที่ต้องเสียภาษีที่ได้รับจากหน่วยงานที่มีการแบ่งสรรเงินลงทุนในการจัดตั้งกิจการไปให้หน่วยงานต่างๆ (รวมถึงการขายทั้งกิจการ) จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตรา 25% โดยภาษีจะถูกเก็บจากส่วนเงินลงทุนที่ถูกแบ่งสรรไปให้หักด้วยมูลค่าเงินต้นและค่าใช้จ่ายที่ถูกแบ่งสรรไปให้
ถ้าหากผู้โอนเป็นผู้มีถิ่นพำนักในประเทศที่เวียดนามมีความตกลงภาษีด้วย ข้อตกลงในความตกลงด้านภาษีนั้นจะนำมาใช้
หน่วยเศรษฐกิจที่มีการขายสินค้าและบริการที่ได้รับรายได้มาจากการแบ่งสรรหรือการโอนอสังหาริมทรัพย์(รวมถึงการแบ่งสิทธิการใช้ที่ดิน และสินทรัพย์ที่อยู่บนดิน) จะต้องเสียภาษีที่อัตรา 25%
เงินปันผลหรือรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมที่เป็นเงินลงทุนกิจการร่วมทุน หรือที่เกี่ยวข้องกับกิจการในประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว จะถือเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี การส่งกำไรกลับจะไม่ต้องเสียภาษี
อย่างไรก็ตามกำไรจะสามารถส่งกลับได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง
ดอกเบี้ยและค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายให้หน่วยงานต่างประเทศโดยปกติจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 10% ยกเว้นมีความตกลงภาษีระหว่างประเทศกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ธุรกรรมระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันต้องกระทำแบบแยกจากกัน (arm’s length) และจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่องราคาโอนและต้องจัดทำเอกสารตามที่กำหนด กิจการจะเกี่ยวข้องกันก็ต่อเมื่อมีการถือหุ้นทางตรงหรือทางอ้อมระหว่างกันอย่างต่ำ 20% ของมูลค่าหุ้นหรือทรัพย์สินรวมของอีกกิจการหนึ่ง คำจำกัดความของกิจการที่เกี่ยวข้องกันรวมไปถึงเจ้าหนี้ที่สำคัญบางราย ลูกค้า และความสัมพันธ์ในการให้ทุนระหว่างกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น กิจการหนึ่งซึ่งมีอำนวจควบคุมมากกว่า 50% ของยอดขาย (คำนวณจากฐานสินค้าแต่ละประเภท) ของอีกกิจการหนึ่งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
กฎระเบียบเรื่องราคาโอนในเวียดนามปรับมาจากแนวทางการกำหนดราคาโอนของ OECD และรับเอาวิธีการคำนวณแบบ “arms length principle” เช่น ราคาไม่ควบคุมที่เปรียบเทียบได้ (comparable uncontrolled price) ต้นทุนส่วนเกิน ราคาขายต่อ กำไรเปรียบเทียบ และส่วนแบ่งกำไร
การจัดทำเอกสารจะต้องเป็นปัจจุบันและเก็บรักษาไว้ โดยเอกสารดังกล่าว (หลังจากแปลเป็นภาษาเวียดนาม) จะต้องนำส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบภายใน 30 วัน หลังจากได้รับจดหมายร้องขอ นอกจากนี้ จะต้องมีการแสดงเอกสารในการร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีรายละเอียดของรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและวิธีการคำนวณที่นำมาใช้
หลักการคำนวณราคาโอนอย่างเป็นทางการได้ถูกนำมาใช้ในระบบจัดเก็บภาษีของเวียดนามเมิอไม่นานมานี้ และก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อกิจการที่ดำเนินการข้ามพรมแดน มีการคาดหมายว่าการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดในเร็วๆ นี้ ดังนั้นทุกๆ บริษัทจึงควรตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าทำตามกฎระเบียบดังกล่าว
กิจการเวียดนามมีสิทธิที่จะนำ 10% ของรายได้พึงประเมินต่อปีมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กองทุน) กิจการดังกล่าวมีเวลา 5 ปีในการใช้อย่างน้อย 70% ของกองทุน มิเช่นนั้นจะต้องนำเงินส่วนที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ที่ใช้ตั้งกองทุนและไม่ได้ใช้หมดหรือใช้ไปในวัตถุประสงค์อื่น บวกดอกเบี้ยที่เกิดจากภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจ่ายเข้ากองทุนของรัฐ
2 ) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษี หน่วยงานและบุคคลต่างๆ ที่ผลิตและขายสินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือนำเข้าจากต่างประเทศสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมวดหมู่หลักของสินค้าและบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึง : ผลผลิตที่มาจากการเพาะปลูก กสิกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาหารทะเลและการประมงที่ยังไม่ได้แปรรูป; การขยายพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์และพืช รวมถึงการเพาะพันธุ์ไข่ สัตว์อ่อน ต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ ตัวอสุจิ ตัวอ่อน และวัสดุทางพันธุกรรม;ผลิตภัณฑ์จากเกลือ; การโอนสิทธิการใช้ที่ดิน การประกันชีวิต การให้บริการสินเชื่อ; ธุรกรรมที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์; การแบ่งทุน; บริการอนุพันธ์ทางการเงิน; บริการรักษาสุขภาพ บริการสัตวกรรม รวมถึงการตรวจรักษา; การศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพ; สิ่งพิมพ์ การนำเข้าและแจกจ่ายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าวเฉพาะด้าน หนังสือเกี่ยวกับการเมือง หนังสือ textbooks และอุปกรณ์การสอน
รายการอื่นๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีการนำเข้ารวมถึง: เครื่องจักร อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ยังไม่ได้มีการผลิตในประเทศและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้โดยตรงในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; เครื่องจักร อุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์พิเศษและวัสดุที่เกี่ยวกับการขนส่งที่ยังไม่ได้มีการผลิตในประเทศและจำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อค้นหา สำรวจ และพัฒนาแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ; เครื่องบิน แท่นขุดเจาะ และเรือที่ยังไม่ได้มีการผลิตในประเทศและจำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อประกอบเป็นสินทรัพย์ถาวรของกิจการ หรือเช่าจากหุ้นส่วนต่างชาติเพื่อใช้ในการผลิตและประกอบธุรกิจหรือเพื่อนำไปให้เช่าต่อ
ธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถขอเครดิตหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าหรือบริการ (ที่ธุรกิจใช้เป็นปัจจัยการผลิต) ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อัตรา ประเภทสินค้าและบริการ 0% สินค้าและบริการที่ส่งออก; การก่อสร้างและการดำเนินการติดตั้งของกิจการประกอบการส่งออก; สินค้าที่ขายในร้านค้าปลอดภาษี;
การขนส่งระหว่างประเทศ, และสินค้าและบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและถูกส่งออก ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้: การถ่ายทอด
เทคโนโลยีและการโอนทรัพย์สินทางปัญญาไปยังต่างประเทศ; บริการประกันภัยต่อนอกชายฝั่ง (reinsurance offshore);
บริการสินเชื่อ, การแบ่งสรรเงินทุนและบริการอนุพันธ์ทางการเงิน; บริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคม; และสินค้าส่งออกที่ใช้
ทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุจากการขุดที่ยังและไม่ได้มีการแปรรูป
5% สาขาที่ถือว่าเป็นสินค้าและบริการที่จำเป็น รวมถึง น้ำสะอาดสำหรับการผลิตและการอยู่อาศัย; ปุ๋ย; แร่ที่ใช้สำหรับการผลิตปุ๋ย; ยา
ฆ่าแมลงและสารกระตุ้นการเจริญเติบโตสำหรับสัตว์และพืช; อาหารสัตว์สำหรับวัวควาย สัตว์ปีกและสัตว์อื่นๆ; อาหารสด; น้ำตาล
และผลิตผลพลอยได้; ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปอกระเจา กก ไม้ไผ่ หวาย ใบจาก เส้นใยมะพร้าว กะลามะพร้าว ผักตบชวา และผลิตภัณฑ์
ที่ทำด้วยมืออื่นๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ; ผ้าฝ้ายกึ่งสำเร็จรูป; กระดาษหนังสือพิมพ์; อุปกรณ์และเครื่องมือการแพทย์; ผ้า
ฝ้ายอนามัยและผ้าพันแผลใช้ในการรักษา; ยาที่ใช้ป้องกันและรักษา; และผลิตภัณฑ์ยาและวัตถุดิบทางยาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยา
สำหรับป้องกันและรักษา; บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10% สินค้าและบริการอื่นๆ ทั้งหมดที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตรา 0% และ 5% ที่มา: จดหมายเวียนที่ 129/2008/TT-BTC วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายคำนวณโดยวิธีเครดิตหรือวิธีคำนวณภาษีโดยตรงจากมูลค่าเพิ่ม
วิธีเครดิตจะใช้กับหน่วยธุรกิจที่นำระบบเต็มรูปแบบด้านการบัญชี ใบกำกับภาษี และใบสำคัญจ่ายมาใช้ตามที่กฎหมายกำหนด และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยวิธีเครดิต
วิธีคำนวณภาษีโดยตรงจากมูลค่าเพิ่มจะใช้กับหน่วยธุรกิจ บุคคลและหน่วยงานต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจโดยไม่มีถิ่นที่อยู่หรือสถานประกอบการในเวียดนามที่มีรายได้ในเวียดนามและไม่ได้นำระบบบัญชี ใบกำกับภาษี และการออกเอกสารมาใช้; และการประกอบธุรกรรมซื้อและขายทอง เงิน และอัญมณีมีค่า
ธุรกิจที่คำนวณภาษีตามวิธีเครดิตจะได้รับอนุญาตให้นำเครดิตมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
- ภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการที่ใช้โดยธุรกิจที่มีหน้าที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจะเครดิตได้เต็มจำนวน
- ภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากสินค้าและบริการที่ใช้โดยธุรกิจที่มีหน้าที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน และบางส่วนไม่ต้องจ่าย เฉพาะส่วนภาษีซื้อเรียกเก็บจากสินค้าและบริการในส่วนที่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่จะนำมาเครดิตได้ ภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากสินทรัพย์ถาวรที่ใช้ในทั้งธุรกิจที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษี จะเครดิตได้เต็มจำนวน
ในการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ภาษีซื้อที่เครดิตได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนจะถูกสำแดงและนำมาเครดิต กรณีที่ธุรกิจค้นพบว่ามีจำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังไม่ได้นำมาหักตอนสำแดง เนื่องจากการขาดหายไปของใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จสำหรับการจ่ายภาษีซึ่งไม่ได้นำมาสำแดงเพื่อขอเครดิต จะได้รับอนุญาตให้สำแดงเพื่อเครดิตเพิ่มเติม ระยะเวลาสูงสุดที่อนุญาตให้สำแดงภาษีและขอเครดิตเพิ่มเติมคือ 6 เดือนนับแต่วันที่ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จนั้นขาดหายไป
ในการที่จะสามารถขอเครดิตภาษีซื้อได้ จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ต้องมีใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าและบริการ หรือใบเสร็จรับเงินว่ามีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในขั้นตอนการนำเข้า และ
- ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการผ่านธนาคาร ยกเว้นการซื้อสินค้าและบริการในแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่า 20 ล้านด่ง
จะต้องสำแดงภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน และจ่ายภาษีภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้รับเหมาต่างชาติ
กิจการต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในเวียดนามหรือได้รับรายได้ในเวียดนามโดยไม่ได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจตามกฎหมายในเวียดนามจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้รับเหมาต่างชาติโดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม
จำนวนภาษีขึ้นอยู่กับว่าผู้รับเหมาต่างชาตินั้นใช้ระบบบัญชีของเวียดนามหรือไม่ (Vietnamese Accounting System: VAS)
ผู้รับเหมาต่างชาติและผู้รับเหมาช่วงต่างชาติที่ใช้ระบบ VAS จะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มตามวิธีเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลตามการสำแดงยอดขายและค่าใช่จ่ายสำหรับการคำนวณรายได้ที่ต้องเสียภาษี หรือจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มตามวิธีเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราร้อยละของยอดขาย
ผู้รับเหมาต่างชาติและผู้รับเหมาช่วงต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ระบบ VAS จะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มบนพื้นฐานของมูลค่าเพิ่มโดยตรง และจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราร้อยละของยอดขาย
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องจ่าย จะคำนวณโดยนำอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นร้อยละของยอดขายที่ต้องเสียภาษี (ตามตารางข้างล่าง) คูณด้วยยอดขายที่ต้องเสียภาษี
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้รับเหมาต่างชาติคิดเป็นร้อยละของยอดขาย
กิจกรรมทางธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นร้อยละของยอดขายที่ต้องเสียภาษี การขาย: การกระจายและจัดหาสินค้า วัตถุดิบ สิ่งของ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในเวียดนาม 1% การให้บริการ: การให้เช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประกันภัย 5% การก่อสร้าง 2% กิจกรรมการผลิตหรือประกอบธุรกิจอื่นๆ และการขนส่ง (รวมถึงการขนส่งทางน้ำและทางอากาศ) 2% การให้เช่าเครื่องบิน เครื่องยนต์ของเครื่องบิน อะไหล่สำรองของเครื่องบิน และเรือเดินทะเล 2% การประกันภัยต่อ 2% การโอนหลักทรัพย์ 0.1% ดอกเบี้ยเงินกู้ 10% รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ 10% ที่มา : จดหมายเวียนที่ 134/2008/TT-BTC ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้รับเหมาต่างชาติ
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะคำนวณโดยใช้อัตราของมูลค่าเพิ่มคิดเป็นร้อยละของยอดขายที่ต้องเสียภาษี (ตามตารางข้างล่าง) คูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำมาใช้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม
อัตราภาษีเงินได้มูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมาต่างชาติคิดเป็นร้อยละของยอดขาย
สายธุรกิจ อัตราของมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละของยอดขายที่ต้องเสียภาษี การให้บริการ ธุรกิจการให้เช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ และสัญญาประกันภัย 50% การก่อสร้าง การประกอบและการติดตั้ง รวมทั้งการจัดหาวัสดุเครื่องจักรและอุปกรณ์ 30% การก่อสร้าง การประกอบและการติดตั้ง ที่ไม่รวมการจัดหาวัสดุเครื่องจักรและอุปกรณ์ 50% การขนส่ง การผลิต และการประกอบธุรกิจอื่นๆ 30% ที่มา: จดหมายเวียนที่ 134/2008/TT-BTC
3) ความตกลงภาษีซ้อน
เวียดนามได้ลงนามความตกลงภาษีซ้อนถึงเกือบ 60 ฉบับกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ภาคีที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับเอกสารเพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในความตกลง
ข้อกำหนดเรื่องสิทธิพิเศษในความตกลงจะใช้บังคับเหนือกว่ากฎระเบียบภาษีโดยทั่วไป
ประเทศที่มีความตกลงภาษีซ้อนกับเวียดนาม ได้แก่
แอลจีเรีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย บังคลาเทศ เบลารุส เบลเยียม บรูไนดารุสซาลาม บัลแกเรีย แคนาดา จีน คิวบา เช็กรีพับลิค เดนมาร์ก อียิปต์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น คูเวต ลาว ลักเซมเบิร์ก มาเลเซีย โมร็อคโค มองโกเลีย พม่า เนเธอร์แลนด์ เกาหลีเหนือ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ เกาหลีใต้ โรมาเนีย รัสเซีย ซีเชลส์ สิงคโปร์ สโลวะเกีย สเปน ศรีลังกา กาตาร์ สวีเดน สวิทเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย ยูเครน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร อุซเบกิสถาน และเวเนซุเอล่า
4) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)
กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฉบับใหม่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2009 ซึ่งนำมาใช้แทนที่กฎระเบียบว่าด้วยเรื่องภาษีรายได้เก็บจากผู้มีรายได้สูงในเวียดนาม
ผู้ที่มีถิ่นพำนักในเวียดนามจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีเป็นเงินได้ที่ได้รับจากทั่วโลก และผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักในเวียดนามจะต้องเสียภาษีจากรายได้ที่เกิดในเวียดนาม
บุคคลธรรมดาที่ถือว่ามีถิ่นพำนักในเวียดนามตามวัตถุประสงค์ในการคำนวณภาษีเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
- พำนักในเวียดนามเป็นระยะเวลา 183 วันหรือมากกว่า ภายในช่วงระยะเวลา 12 เดือนติดต่อกัน
- มีถิ่นพำนักอาศัยเป็นหลักแหล่งในเวียดนามในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
- ถูกบันทึกว่ามีถิ่นพำนักถาวรในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านชั่วคราว หรือ
- มีสัญญาเช่าที่มีระยะเวลา 90 วันขึ้นไป
บุคคลที่ไม่มีถิ่นพำนักในเวียดนามคือบุคคลที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น
สำหรับบุคคลที่พำนักในเวียดนามเป็นระยะเวลามากกว่า 90 วัน แต่น้อยกว่า 183 วันภายในปีภาษีหรือช่วงระยะเวลา 12 เดือนติดต่อกันจากวันที่เข้ามาในเวียดนาม บุคคลนั้นจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีถิ่นพำนักในเวียดนามในทางภาษี ถ้าหากบุคคลนั้นสามารถแสดงได้ว่าเป็นผู้มีถิ่นพำนักในทางภาษีของประเทศอื่น
รายได้ที่ต้องเสียภาษี ประกอบด้วยรายได้ 10 ประเภทหลักคือ รายได้จากธุรกิจ รายได้จากเงินเดือนและค่าจ้าง รายได้จากเงินลงทุน รายได้จากการโอนเงินทุน รายได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการถูกรางวัล รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ รายได้จากการขายแฟรนไชส์ รายได้จากการรับมรดก และการได้รับของขวัญ
รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีโดยปกติแล้วรวมถึง : เบี้ยเลี้ยงในการโอนย้ายภูมิภาคทำงานสำหรับชาวต่างชาติที่ย้ายเข้ามาทำงานในเวียดนาม ค่าใช้จ่ายค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับจ่ายโดยผู้จ้างสำหรับลูกจ้างต่างชาติที่ลาพักผ่อนกลับบ้านในต่างประเทศปีละหนึ่งครั้ง ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานจ่ายแก่ศูนย์ฝึกอบรม ค่าเล่าเรียนสำหรับลูกของลูกจ้างต่างชาติที่จ่ายโดยตรงต่อโรงเรียนในเวียดนาม มูลค่าส่วนต่างของที่พักอาศัยที่นายจ้างจัดหาให้ที่ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงและ15% ของรายได้เบื้องต้นของลูกจ้างที่นำมาคำนวณภาษี (ไม่รวมถึงค่าบ้านที่ต้องเสียภาษี)
นอกจากนี้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษียังรวมถึง รายได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกัน รายได้จากการโอนบ้านพักอาศัยที่เป็นบ้านเดี่ยวหรือสิทธิในการใช้ที่ดินสำหรับอยู่อาศัยในเวียดนาม การได้รับมรดกหรือของขวัญหรืออสังหาริมทรัพย์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกัน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน รายได้จากการประกันชีวิต เงินตราต่างประเทศที่ส่งมาจากชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศ เงินเดือนส่วนที่ได้รับจากการทำงานกะกลางคืนที่สูงกว่ากะกลางวันหรือเงินเดือนในชั่วโมงทำงานปกติที่กำหนดไว้ในกฎหมายแรงงาน ทุนการศึกษา เงินชดเชยจากสัญญาการประกันชีวิตและประกันอื่นๆ และเงินชดเชยจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
อัตราภาษีสำหรับผู้มีถิ่นพำนักในเวียดนาม
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้าสำหรับรายได้จากธุรกิจและเงินเดือนที่ได้รับโดยผู้มีถิ่นพำนักในเวียดนามเป็นดังนี้
ลำดับภาษี รายได้พึงประเมินต่อปี รายได้พึงประเมินต่อเดือน อัตราภาษี (ด่ง) (ด่ง) 1 ไม่เกิน 60 ล้าน ไม่เกิน 5 ล้าน 5% 2 จาก 60 ถึง 120 ล้าน จาก 5 ถึง 10 ล้าน 10% 3 จาก 120 ถึง 216 ล้าน จาก 10 ถึง 18 ล้าน 15% 4 จาก 216 ถึง 384 ล้าน จาก 18 ถึง 32 ล้าน 20% 5 จาก 384 ถึง 624 ล้าน จาก 32 ถึง 52 ล้าน 25% 6 จาก 624 ถึง 960 ล้าน จาก 52 ถึง 80 ล้าน 30% 7 มากกว่า 960 ล้าน มากกว่า 80 ล้าน 35% ที่มา: จดหมายเวียนที่ 84/2008/TT-BTC (1 USD = 20.610 VND ณ วันที่ 29 มิ.ย. 2554)รายได้นอกเหนือจากเงินเดือนและเงินได้จากธุรกิจที่ผู้มีถิ่นพำนักในเวียดนามได้รับต้องเสียภาษีอัตราคงที่ดังนี้ อัตราภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นพำนักในเวียดนามสำหรับรายได้อื่นๆ แหล่งที่มาของรายได้ อัตราภาษี รายได้จากเงินลงทุน (เช่น เงินปันผลและดอกเบี้ย) 5% รายได้จากค่าลิขสิทธ์ การขายแฟรนไชส์ 5% รายได้จากการแข่งขันและของรางวัล 10% รายได้จากการได้รับมรดกและของขวัญ 10% รายได้จากการโอนเงินทุน 20% รายได้จากการโอนหลักทรัพย์ 0.1% ของราคาโอนหรือ 20% ของกำไรจากการโอน รายได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ 2% ของราคาโอนหรือ 25% ของกำไรจากการโอน ที่มา: จดหมายเวียนที่ 84/2008/TT-BTC รายได้พึงประเมิน
รายได้พึงประเมินจากเงินเดือนและค่าจ้างเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีทั้งหมดโดยหักด้วยค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าเบี้ยประกันสำหรับประกันสังคมภาคบังคับและค่าเบี้ยประกันสุขภาพ และค่าเบี้ยประกันอื่นๆ ที่กฎหมายบังคับ
- ค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัว
- ค่าลดหย่อนสำหรับเงินบริจาคสำหรับการกุศลเพื่อมนุษยธรรม หรือ การให้ทุนการศึกษา (กองทุนการกุศล)
ค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัวประกอบด้วยสองส่วน คือ
- ค่าลดหย่อนที่ใช้กับผู้เสียภาษีทุกคนคิดเป็น 4,000,000 ด่งต่อเดือน (48,000,000 เวียดนามด่ง ต่อปี)
- ค่าลดหย่อนสำหรับแต่ละบุคคลในอุปถัมภ์คิดเป็น 1,600,000 ด่งต่อเดือน
ระดับของค่าลดหย่อนของบุคคลในอุปถัมภ์จะคำนวณโดยใช้หลักการว่าบุคคลในอุปถัมภ์แต่ละคนจะถูกนำมาใช้ประเมินในการลดหย่อนภาษีเพียงครั้งเดียวจากรายได้ที่ต้องเสียภาษีของผู้เสียภาษีหนึ่งรายในปีภาษีนั้น
บุคคลในอุปถัมถ์หมายถึงบุคคธรรมดาที่ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีมีความรับผิดชอบที่จะต้องสนับสนุนและให้การดูแล ซึ่งประกอบด้วย
- บุตร รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยยังเป็นผู้เยาว์ บุตรซึ่งเป็นผู้พิการหรือไม่สามารถทำงานได้ และบุตรซึ่งกำลังศึกษาอยู่
- บุคคลธรรมดาที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 500,000 ด่งต่อเดือน รวมถึงคู่สมรสที่ไม่สามารถทำงานได้ บิดามารดา บิดามารดาของคู่สมรส หรือมารดาบุญธรรม บิดาบุญธรรมซึ่งเกษียณแล้วหรือไม่สามารถทำงานได้ หรือบุคคลใดๆ ไร้ความสามารถ รวมถึงปู่ย่าตายาย น้อง/พี่เขย น้อง/ พี่สะใภ้ ที่ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีสนับสนุนหรือให้การดูแลโดยตรง
ค่าลดหย่อนที่ได้รับอนุญาตให้นำมาหักได้ประกอบด้วยเงินบริจาคแก่การกุศลและกองทุนเพื่อมนุษยธรรมดังนี้
- เงินบริจาคแก่สถาบันหรือหน่วยงานที่รับเลี้ยงดูหรือดูแลเด็กที่ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ผู้พิการ หรือคนชราที่ไร้ความสามารถ
- เงินบริจาคแก่องค์กรการกุศล เพื่อมนุษยธรรม และกองทุนสนับสนุนการศึกษา
อัตราภาษีที่ใช้สำหรับผู้ไม่ได้มีถิ่นพำนักในเวียดนามที่ได้รับรายได้จากการทำธุรกิจในเวียดนามเป็นดังนี้
รายได้จากธุรกิจ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล รายได้รวมจากการขายสินค้า 1% รายได้รวมจากการให้บริการ 5% รายได้รวมการผลิต การก่อสร้าง การขนส่ง และธุรกิจอื่นๆ 2% ที่มา: จดหมายเวียนที่ 84/2008/TT-BTC
เงินเดือนและค่าจ้างสำหรับงานที่ทำในเวียดนามจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ไม่ว่าสถานที่จ่ายรายได้นั้นจะเป็นที่ใดก็ตาม รายได้อื่นๆ จะมีอัตราภาษีต่างๆ กัน ดังนี้
ประเภทของรายได้ อัตราภาษี เงินลงทุน (เช่น เงินปันผลและดอกเบี้ย) 5% ค่าลิขสิทธ์ การขายแฟรนไชส์ 5% การแข่งขันและของรางวัล 10% การได้รับมรดกและของขวัญ 10% การโอนเงินทุน* .001 การโอนอสังหาริมทรัพย์* 2% * คำนวณจากราคาโอน ไม่ใช่กำไร ที่มา: จดหมายเวียนที่ 84/2008/TT-BTC รายได้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
รายได้ประเภทที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่แหล่งจ่ายรายได้ ได้แก่
- รายได้ของบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักในเวียดนาม
- รายได้จากบุคคลธรมดาผู้มีถิ่นพำนักในเวียดนามที่เป็น
- เงินเดือน
- รายได้จากเงินลงทุน
- รายได้จากการโอนเงินทุนและจากการโอนหลักทรัพย์
- รางวัลทุกประเภท
- รายได้จากค่าลิขสิทธิ์
- รายได้จากแฟรนไชส์
หน่วยงานที่เป็นผู้จ่ายรายได้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะต้องสำแดงภาษีรายเดือนภายในวันที่ 20 ของทุกๆ เดือน ถ้าหน่วยงานดังกล่าวหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต่ำกว่า 5 ล้านด่ง จะอนุญาตให้สำแดงภาษีได้เป็นรายไตรมาส ซึ่งต้องยื่นภายในวันที่ 30 ของเดือนแรกของไตรมาสถัดไป รายได้ทั้งหมดที่หักไว้จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วันหลังจากสิ้นปีปฏิทิน
บุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจซึ่งปฏิบัติตามระบบบัญชีในการจัดทำใบกำกับภาษีและเอกสาร จะต้องยื่นสำแดงภาษีรายไตรมาสภายในวันที่ 30 ของเดือนแรกของไตรมาสถัดไป และยื่นเอกสารภาษีรายปีภายในวันที่ 90 หลังจากวันสุดท้ายของปีปฏิทิน
บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินเดือนจะต้องยื่นสำแดงภาษีรายเดือนภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป ได้แก่
- บุคคลที่ได้รับรายได้ที่เป็นเงินเดือนจ่ายโดยธุรกิจที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น
- บุคคลสัญชาติเวียดนามที่มีรายได้เป็นเงินเดือนจ่ายโดยองค์การระหว่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลในเวียดนาม
- กรณีจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้นสูงกว่าจำนวนที่ได้ถูกหักไป หรือจ่ายไปแล้วในปีนั้น หรือภาระภาษีที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีที่ยังไม่ได้มีการหักหรือการจ่าย
- กรณีผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีร้องขอคืนภาษี หรือการหักกลบภาษีกับภาษีที่ต้องจ่ายในปีถัดไป
- กรณีบุคคลมีถิ่นพำนักในเวียดนามเป็นชาวต่างชาติที่อยู่ในระหว่างหมดสัญญาการทำงานในเวียดนามและกำลังจะออกนอกประเทศเวียดนาม
กำหนดชำระภาษีที่ขึ้นอยู่กับการสำแดงจะต้องชำระไม่เกินวันครบกำหนดการสำแดงยื่นภาษี
5) ภาษีอื่นๆ
5.1 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน (Registration Fees)
รายการดังต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นจากค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน : บ้านพักอาศัยและที่ดินสำหรับอยู่อาศัยของครอบครัวฐานะยากจน; บ้านพักอาศัยและที่ดินสำหรับอยู่อาศัยของคนพื้นเมืองกลุ่มน้อยในชุมชน; เขตและชุมชนในพื้นที่ที่มีสภาพกันดาร; เรือในน่านน้ำในประเทศ (รวมทั้งเรือหาปลา) ที่มีน้ำหนักเครื่องยนต์ deadweight น้อยกว่า 15 ตัน เรือที่มีกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่า 15 แรงม้า และเรือที่มีกำลังในการบรรทุกน้อยกว่า 12 คน
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจะคำนวณเป็นร้อยละของมูลค่าของสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
สินทรัพย์ อัตรา ที่ดินและบ้าน 0.50% เรือยนต์และเรือ 1% เรือหาปลาน้ำลึก 0.50% จักรยานยนต์ 1% ถึง 5% พาหนะบรรทุกผู้โดยสารมีน้อยกว่า 10 ที่นั่ง 15% พาหนะอื่นๆ (รวมถึงรถลากและพาหนะใช้ในฟาร์ม) ที่ไม่ใช่พาหนะบรรทุก 2% ผู้โดยสารที่มี 10 ที่นั่ง และไม่ใช่พาหนะที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ปืนที่ใช้ล่าสัตว์และปืนสำหรับการกีฬา 2% ที่มา: จดหมายเวียนที่ 95/2005/TT-BTC และจดหมายเวียนที่ 02/2007/TT-BTC
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสูงสุดคิดเป็น 500 ล้านด่งต่อสินทรัพย์หนึ่งรายการ ยกเว้นสำหรับพาหนะบรรทุกผู้โดยสารที่มีน้อยกว่า 10 ที่นั่ง อาคารที่ใช้สำหรับการผลิตหรือประกอบธุรกิจโดยทั่วไปจะคำนวณเป็นอาคารเดียว ภายในบริเวณที่ทำการผลิตและประกอบธุรกิจเดียวกัน
5.2 ภาษีส่งออก (Export Duties)
การส่งออกได้รับการส่งเสริม ดังนั้นสินค้าและบริการที่ส่งออกส่วนใหญ่จะได้รับการยกเว้นภาษี ภาษีส่งออกจะเก็บกับสินค้าบางประเภทเท่านั้น เช่น แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และเศษเหล็ก อัตราภาษีส่งออกของสินค้าเหล่านี้จะอยู่ระหว่าง 0% ถึง 45% อัตราภาษีจะถูกระบุในรายการอัตราภาษีส่งออก (Export Tariff List) ออกโดยกระทรวงการคลัง ทองคำที่ส่งออกจะต้องเสียภาษีส่งออกที่อัตรา 10% ตั้งแต่ปี 2011
5.3 ภาษีนำเข้า (Import Duties)
โดยทั่วไป สินค้าที่ข้ามเข้ามาในพรมแดนเวียดนามจะต้องเสียภาษีนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- สินค้าที่นำเข้าผ่านประตูพรมแดนเวียดนาม หรือพรมแดนทางถนน แม่น้ำ ท่าเรือ สนามบิน รถไฟระหว่างประเทศ การส่งไปรษณีย์ระหว่างประเทศ และสถานที่อื่นๆสำหรับการผ่านพิธีการทางศุลกากร
- สินค้าส่งจากตลาดในประเทศเข้าไปสู่พื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นภาษี หรือในทางตรงกันข้าม
- สินค้าอื่นๆ ที่มีการขายหรือแลกเปลี่ยนที่ถือเป็นการนำเข้า
สินค้าดังต่อไปนี้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
- สินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งไปยังประตูพรมแดน สินค้าผ่านพรมแดนเวียดนาม หรือพรมแดนอื่นๆ ภายใต้กฎหมายศุลกากร
- สินค้าเพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
- สินค้านำเข้าจากต่างประเทศไปสู่เขตปลอดภาษีและใช้ในเขตนั้นเท่านั้น
- สินค้านำมาจากเขตปลอดภาษีหนึ่งไปยังอีกเขตปลอดภาษีหนึ่ง
อัตราภาษีนำเข้าจะรวมถึงอัตราภาษีนำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษ อัตราภาษีนำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษเป็นการเฉพาะ และอัตราภาษีนำเข้าปกติ อัตราภาษีนำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษจะใช้กับสินค้านำเข้าที่มาจากประเทศหรือกลุ่มประเทศหรือดินแดนที่ให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) แก่เวียดนาม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องสำแดงถิ่นกำเนิดสินค้านั้นด้วยตัวเองและมีภาระรับผิดชอบต่อการสำแดงถิ่นกำเนิดสินค้านั้น อัตราภาษีขำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษเป็นการเฉพาะจะถูกประกาศเป็นรายสินค้าโดยการตัดสินใจของกระทรวงการคลัง อัตราภาษีนำเข้าปกติจะใช้กับสินค้านำเข้าจากประเทศ กลุ่มประเทศหรือดินแดนที่ไม่ได้ให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) หรือไม่ได้ให้สิทธิพิเศษในทางภาษีแก่เวียดนาม อัตราภาษีปกติจะคิดเป็น 150% ของอัตราภาษีนำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษ
นอกจากจะต้องเสียภาษีนำเข้าแล้ว ในบางสถานการณ์เวียดนามจะเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ภาษีตอบโต้การอุดหนุน และภาษีตอบโต้การเลือกปฏิบัติ หรือภาษีปกป้อง ตามกฎระเบียบที่มีอยู่
5.4 ภาษีขายพิเศษ (Special Sale tax)
สินค้าที่ต้องเสียภาษีขายพิเศษ รวมถึง บุหรี่ ซิการ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แปรรูปจากยาสูบ; เหล้าและเบียร์; พาหนะบรรทุกผู้โดยสารที่มีน้อยกว่า 24 ที่นั่ง; พาหนะมอเตอร์สองล้อที่มีความจุกระบอกสูบสูงกว่า 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร; เครื่องบินและเรือยอชต์; น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ; เครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกินกว่า 90,000 BTU และไพ่
ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีขายพิเศษรวมถึง สถานบันเทิง อาบอบนวด คาราโอเกะ; เครื่องสล็อตแมชชีน และอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน; ธุรกิจการพนัน; กอล์ฟและล็อตเตอรี่
จำนวนภาษีขายพิเศษที่ต้องจ่ายจะเท่ากับราคาที่ต้องเสียภาษีคูณด้วยอัตราภาษีขายพิเศษ ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 10% ถึง 70% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าหรือบริการ
ราคาที่นำมาคำนวณภาษีขายพิเศษจะต้องคำนวณเป็นเงินด่ง ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีที่มียอดขายอยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศจะต้องแปลงเป็นเงินด่อง โดยใช้อัตราขายเฉลี่ยของตลาดเงินตราต่างประเทศระหว่างธนาคารที่ประกาศโดยธนาคารแห่งชาติเวียดนาม ณ วันที่ยอดขายนั้นเกิดขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาที่จะนำมาคำนวณภาษี ในกรณีเป็นสินค้านำเข้า การแปลงเงินตราต่างประเทศเป็นเงินด่งเพื่อกำหนดราคาที่จะนำมาคำนวณภาษีจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่งออกและนำเข้า
5.5 ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ
หน่วยงานและบุคคลทั้งหมดที่ประกอบธุรกิจในการใช้หรือทำเหมืองขุดทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายของเวียดนามแล้วมีหน้าที่ต้องจดทะเบียน สำแดง และจ่ายค่าสัมปทาน ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ขอบเขตและการดำเนินการประเภทใด
ทรัพยากรที่ต้องถูกเก็บภาษีหมายความรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มีอยู่ในดิน เกาะ แหล่งน้ำในประเทศ อาณาเขตทางทะเล พื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะ (รวมถึงพื้นที่เดินเรือที่ใช้ทั้งเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้าน) และ ไหล่ทวีปภายใต้อธิปไตยของประเทศสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึง แร่ธาตุโลหะ แร่ธาตุที่ไม่ใช่โลหะ รวมถึงดิน หินทราย กรวด ถ่านหิน อัญมณี น้ำแร่ และน้ำร้อนธรรมชาติ น้ำมัน ก๊าซหรือก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากป่า ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทางน้ำ น้ำธรรมชาติ รวมถึงน้ำบนพื้นผิว น้ำใต้ดิน และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ภายใต้กฎหมายเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ
มูลค่าที่ต้องนำมาคำนวณภาษีของทรัพยากรคิดจากราคาขายของแต่ละรายการหรือหน่วยของทรัพยากรธรรมชาตินั้น ณ สถานที่นำขึ้นมา โดยเป็นไปตามหลักการของราคาตลาด ค่าสัมปทานอยู่ในช่วงระหว่าง 0% ถึง 40%
การยกเว้นหรือการลดค่าภาษีสัมปทาน รวมถึงการจับปลาบนชายฝั่งด้วยเรือประมงขนาดใหญ่ น้ำธรรมชาติที่ใช้สำหรับผลิตพลังงานทางน้ำที่ไม่ได้นำไปผลิตไฟฟ้าของชาติ และผลิตภัณฑ์ดินหรือดินผสมสำหรับปรับพื้นผิวหรืองานก่อสร้าง
6) ระบบการจัดการด้านภาษี
หน่วยธุรกิจที่ถูกกำหนดให้จดทะเบียนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านภาษี ได้แก่
- องค์กรธุรกิจ ครัวเรือน และบุคคล
- บุคคลที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- องค์กรและบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษีและจ่ายภาษีในนามของผู้มีหน้าที่จ่ายภษษี
- องค์กรและบุคคลที่กำหนดโดยกฎหมายภาษี
ผู้จดทะเบียนภาษีจะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนให้เสร็จสิ้นภายใน 10 วันทำการ หลังจาก
- ได้รับใบจดทะเบียนหรือจัดตั้งธุรกิจ และใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือใบอนุญาตลงทุน
- ได้เริ่มดำเนินธุรกิจแล้ว สำหรับธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนธุรกิจ หรือครัวเรือนและบุคคลที่ต้องจดทะเบียนธุรกิจแต่ยังไม่ได้รับใบทะเบียนธุรกิจ
- ความรับผิดชอบในการหักและจ่ายภาษีในนามของผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีเกิดขึ้น
- ความรับผิดชอบด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเกิดขึ้น หรือ
- มีการขอคืนภาษี
หากผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีคำนวณภาษีด้วยตนเอง กำหนดวันที่ต้องเสียภาษีคือวันสุดท้ายของกำหนดเวลาสำหรับยื่นเอกสารสำแดงภาษี อย่างไรก็ตาม หากตัวแทนกรมสรรพากรเป็นผู้คำนวณภาษีเป็นผู้คำนวณหรือประเมินภาษี กำหนดเวลาสำหรับการจ่ายภาษีจะระบุไว้ในจดหมายของกรมสรรพากร
การตวรจสอบภาษีจะสามารถทำได้เป็นประจำแต่จะไม่เกินปีละหนึ่งครั้ง ช่วงระยะเวลาของการตรวจสอบภาษีจะต้องไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่แจ้งถึงการตัดสินใจตรวจสอบภาษี อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาดังกล่าวอาจจะขยายได้อีกแต่ไม่เกิน 30 วัน
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีที่จ่ายภาษีเกินวันที่กำหนดจะต้องจ่ายภาษีเต็มจำนวณบวกค่าปรับอีก 0.05% ของจำนวนภาษีภาษีสำหรับแต่ละวันที่จ่ายภาษีช้าไป
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีที่สำแดงภาษีผิดพลาด ซึ่งทำให้ภาษีที่ต้องจ่ายน้อยกว่าความเป็นจริงหรือทำให้จำนวนภาษีที่ขอคืนสูงกว่าความเป็นจริง จะต้องจ่ายภาษีส่วนที่ขาดหรือขอคืนไปให้ครบ และจะต้องจ่ายค่าปรับอีก 10% ของส่วนที่สำแดงน้อยไปหรือขอคืนสูงเกินไป บวกกับค่าปรับที่จ่ายภาษีช้า
ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีที่หลบเลี่ยงภาษีหรือโกงภาษีจะต้องจ่ายภาษีเต็มจำนวนตามกฎระเบียบและค่าปรับที่จะถูกเก็บเป็นจำนวนระหว่าง 1-3 เท่าของจำนวนภาษีที่หลบเลี่ยง
การสำแดงภาษี/เอกสาร กำหนดเวลา เอกสารสำแดงภาษีรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป เอกสารสำแดงภาษีรายปี ภายในวันที่ 30 ของเดือนแรกของปีภาษีใหม่ เอกสารสำแดงภาษีรายไตรมาส ภายในวันที่ 30 ของไตรมาสถัดไป เอกสารคำนวณภาษีสุดท้ายรายปี ภายในวันที่ 90 ของสิ้นปีภาษี สำหรับภาษีที่สำแดงและจ่ายแต่ละครั้งที่ภาระภาษี ภายในวันที่ 10 นับจากวันที่ภาระภาษีนั้นเกิดขึ้น เกิดขึ้น การสิ้นสุด/ยกเลิกของสัญญาหรือการดำเนินการ ภายในวันที่ 45 ของวันสิ้นสุด/ยกเลิกของสัญญาหรือ การปรับองค์กร หรือการเปลี่ยนเจ้าของกิจการ การดำเนินการ การปรับองค์กร หรือการเปลี่ยน
เจ้าของกิจการ ที่มา: จดหมายเวียนที่ 60/2007/TT-BTC
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการด้านภาษีกำหนดอายุความของโทษเรื่องภาษี เป็นดังนี้
- การฝ่าฝืนกระบวนการภาษี — 2 ปีนับจากวันที่มีการกะทำผิด
- การหลบเลี่ยงหรือการโกงภาษี การจ่ายภาษีช้า การสำแดงภาษีที่ต่ำกว่าความเป็นจริง — 5 ปี นับจากวันที่มีการกระทำผิด
หากอายุความหมดแล้ว ผู้มีหน้าที่จ่ายภาษีก็ยังจะต้องมีหน้าที่จ่ายภาษีแต่ไม่ต้องรับโทษและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
สคร.นครโฮจิมินห์
ที่มา: http://www.depthai.go.th