สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีประจำเดือนมิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 28, 2011 10:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอิตาลี

Black Friday 8 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลร่วงอย่างหนักเป็น ประวัติการณ์ เนื่องจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนที่เกรงว่าอิตาลีจะล่มเป็นรายต่อไป โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีถูกเทขายอย่างหนัก โดยวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2554 ภายหลังที่มีการอนุมัติมาตรการการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี พุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเทขายหุ้นถึง 6.0% โดยค่าความต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเมื่อเทียบกับเยอรมันนีสูงขึ้นเหนือ 3.36% (336 จุด) โดยในวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา ผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังเป็นอัตราที่สูงกว่าวันศุกร์ที่ 8 ที่ผ่านมา ส่วนดัชนีหุ้นในตลาดหุ้นมิลานปรับตัวดีขึ้นที่ 3.04% (18,784.11 จุด) ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในยุโรป

ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอิตาลีรายเดือน ปี 2554

                                 ช่วงเวลา                  อัตราเปลี่ยนแปลง               อัตราเปลี่ยนแปลง

เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า(%) เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า (%)

GDP                            (ไตรมาส 1)                     +1.0                         +0.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม             (พฤษภาคม)                      +1.0                         -0.6
ผลประกอบการ                    (พฤษภาคม)                     +10.8                         -1.7
คำสั่งซื้อ                         (พฤษภาคม)                     +13.6                         +4.1
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิต            (มิถุนายน)                          -                         -0.6 จุด
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค             (มิถุนายน)                          -                         -0.7 จุด
การนำเข้า                       (พฤษภาคม)                     +18.9                         -0.3
การส่งออก                       (เมษายน)                      +19.9                         -0.1
อัตราการว่างงาน                  (พฤษภาคม)                      -0.5 จุด                      -0.1 จุด
อัตราเงินเฟ้อ                     (มิถุนายน)                       +3.0                         +0.1
อัตราการจ้างงาน                  (พฤษภาคม)                         0 จุด                      -0.1 จุด
การบริโภค                       (มีนาคม)                        -2.5                            -
ดัขนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม        (พฤษภาคม)                      +4.5                         -0.1
ดัชนีราคาผู้บริโภค                  (มิถุนายน)                       +2.7                         +0.1
หนี้สาธารณะ (%/GDP)*             (ปี 2554)                      120.3
*ตัวเลขคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ที่มา : องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, CSC, และ Istat

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

เทียบกับไตรมาส 1 ปี 53 เทียบกับไตรมาส 4 ปี 53

ไตรมาส 1 ปี 54 (%)                                           +1.0                      +0.1

ไตรมาส 1 ของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับ GDP ใน Euro Area และ Eu 27 เพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 2.5 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า

การประมาณการผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอัตราเงินเฟ้อ

เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า

                       หน่วยงาน                             GDP (%)        อัตราเงินเฟ้อ(%)
                                                        2554    2555     2554      2555
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)                            1.0     1.3        -        -
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)             1.1     1.6      2.4       1.7
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)                   1.0     1.3      2.6       1.9
Consensus Economics                                      0.9     1.1      2.6       2.0
ประมาณการเดือนกรกฎาคม 2554

การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

เทียบกับพฤษภาคม ปี 53 เทียบกับเมษายน ปี 54

พฤษภาคม ปี 54 (%)                               +1.8                    -0.6
ที่มา : Istat

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2554 เทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 1 และเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 (โดยวันทำงานในเดือนพฤษภาคม 54 มีจำนวนวันทำงาน 22 วัน โดยเดือนพฤษภาคม 53 มีจำนวนวันทำงาน 21 วัน) สำหรับช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมใน Euro Area และ Eu 27 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ 0.4 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 4.0 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า

โดยเดือนพฤษภาคม 2554 กลุ่มสินค้าเครื่องมือ และกลุ่มสินค้าขั้นกลาง มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และ 3.1 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มสินค้าพลังงาน และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภคมีอัตราลดลงร้อยละ 0.4 และ 1.5 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2554 ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+10.5%) ภาคอุตสากรรมการทำเหมืองแร่ (+7.3%) และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเกี่ยวกับโลหะ (+6.6%) สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวลดลงได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ (-6.8%)

ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม

1. ผลประกอบการ

เทียบกับพฤษภาคม ปี 53 เทียบกับเมษายน ปี 54

พฤษภาคม ปี 54 (%)                               +10.8                  -1.7

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคม 2554 ผลประกอบการของภาค อุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลง 1.7% (-2.9% จากตลาดภายในประเทศและ +0.9% จากตลาดต่างประเทศ) และเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นของเดือนพฤษภาคม 2554 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ได้แก่

1) ภาคการทำเหมืองแร่ 18.0%

2) ภาคการผลิตเคมีภัณฑ์ 38.3%

2. คำสั่งซื้อ

เทียบกับพฤษภาคม ปี 53 เทียบกับเมษายน ปี 54

พฤษภาคม ปี 54 (%)                                +13.6                      +4.1
ที่มา : Istat

เดือนพฤษภาคม 2554 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 4.1 % (-0.8% จากตลาดภายในประเทศและ +12.2% จากตลาดต่างประเทศ) ส่วนเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 13.6% โดยระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 54 คำสั่งซื้อมีอัตราเพิ่มขึ้น 6.1 % เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า

โดยภาคการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้แก่ ภาคการผลิตเคมีภัณฑ์ + 42.5% ภาคการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ +48.5%

การบริโภค
                                            เทียบกับมีนาคม ปี 53         เทียบกับมกราคม ปี 54
มีนาคม ปี 54 (%)                                    -2.5                         -
ที่มา : สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ (Confcommercio)

เดือนมีนาคม 2554 การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีอัตราลดลงร้อยละ 2.5 และไตรมาสแรก ปี 2554 มีอัตราลดลงร้อยละ 1.9 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดแรงงานที่มีความไม่แน่นอนส่งผลให้ประชาชนชะลอดูสถานการณ์

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                                     พฤษภาคม ปี 54        มิถุนายน ปี 54        เปลี่ยนแปลง
ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด)                      106.5              105.8               -0.7 จุด

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลีเดือนมิถุนายนได้ปรับตัวลดลงอีกครั้งจาก 106.5 จุด เป็น 105.8 จุด (หดตัวลดลง 0.7 จุด) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่เชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต

2. ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                                       มีนาคม ปี 54        เมษายน ปี 54        เปลี่ยนแปลง
ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด)                       103.5             103.0               -0.5 จุด
ที่มา : สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ (ISAE)

ดัชนีความเชื่อมันของบริษัทผู้ผลิตอิตาลีเดือนเมษายน มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 103.5 จุด เป็น 103.0 จุด (หดตัวลดลง 0.5 จุด) ซึ่งมีปัจจัยมาจากการรอการผลิตของบริษัทผู้ผลิตมีแนวโน้มลดลง

การค้าระหว่างประเทศ
(%)                                   เทียบกับพฤษภาคม ปี 53       เทียบกับเมษายน ปี 54
การส่งออก
พฤษภาคม ปี 54                               +19.9                     +0.1
การนำเข้า
พฤษภาคม ปี 54                               +18.9                     -0.3
ขาดดุลการค้า                               2,4 พันล้านยูโร

การส่งออกและการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และ 21.7 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปซึ่งมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

 (%)                                   เทียบกับพฤษภาคม ปี 53       เทียบกับมิถุนายน ปี 54
การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
พฤษภาคม ปี 54                                 +20.9                    -1.0
การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
พฤษภาคม ปี 54                                 +20.6                    -2.2
ขาดดุลการค้า                                 1,8 พันล้านยูโร
ที่มา : Istat

การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรประหว่างเดือนมีนาคม -พฤษภาคม 2554 พบว่า ทั้งการส่งออกและการนำเข้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 3.6 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (+43.4%) กลุ่มประเทศสมาชิก Mercosur (+39.6%) รัสเซีย (+27.3%) ตุรกี (+22.5%) และจีน (+21.4%)

แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ กลุ่มประเทศ ASEAN (+42.9%) รัสเซีย (+36.9%) อินเดีย(+35.5%) ตรุกี(+26%) และกลุ่มประเทศสมาชิก Mercosur (+26%) จีน (+43.6%)

1. การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2554 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 169,158 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 19.1

2. การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2554 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 193,924 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 24.8

3. การส่งออกมาไทย

ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2554 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 52 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 534 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.4% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักร (+22.4%) ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า (+230.0%) เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (+374.5%) เป็นต้น สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ หนังดิบและหนังฟอก (-26.4%) อลูมิเนียม (-43.9%) ยางและของทำด้วยยาง (-4.6%) เป็นต้น

4. การนำเข้าจากไทย

ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2554 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 44 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.4% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่ เครื่องจักร (+3.5%) ยาง (+66.9%) เครื่องจักรกลไฟฟ้า (+33.7%) เป็นต้น สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่ ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา (-7.7%) รองเท้า (-18.3%) และเฟอร์นิเจอร์เครื่องเตียง (-8.9%) เป็นต้น

อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

เทียบกับมิถุนายน ปี 53 เทียบกับพฤษภาคม ปี 54

มิถุนายน ปี 54 (%)                                +3.0                     +0.1
ที่มา : Eurostat

จากข้อมูลของ Eurostat พบว่าเดือนมิถุนายน 2554 อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ร้อยละ 3.0 สำหรับอัตราเงินเฟ้อใน Euro Area และ Euro 27 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 3.1 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีอัตราไม่เปลี่ยนแปลง และลดลง 0.1 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า

ตลาดแรงงาน

1. อัตราการว่างงาน

                                  พฤษภาคม ปี 54          เทียบกับพฤษภาคม ปี 53
อัตราการว่างงาน (%)                     8.1                     -0.5 จุด
ที่มา : Istat

อัตราการว่างงานเดือนพฤษภาคม 2554 มีอัตราร้อยละ 8.1 ซึ่งลดลง 0.1 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลง 0.5 จุด เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ Euro Area และ EU 27 อยู่ประมาณ 1.8 จุด และ1.2 จุด ตามลำดับ โดยอัตราการว่างงานของ Euro AreaและEU 27 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 และ 9.3 ตามลำดับ

โดยจำนวนคนว่างงานเดือนพฤษภาคมมีจำนวน 2,011 พันราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และจำนวนคนว่างงานลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

2. อัตราการจ้างงาน

                                   พฤษภาคม ปี 54         เทียบกับพฤษภาคม ปี 53
อัตราการจ้างงาน                        56.9%                       0 จุด
ที่มา : Istat

อัตราการจ้างงานเดือนพฤษภาคม 2554 มีอัตราร้อยละ 56.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าและมีอัตราไม่เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยจำนวนคนจ้างงานเดือนพฤษภาคมมีจำนวน 22,914 พันราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนเมษายน 2554 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ