สรุปสถานการณ์การค้าและประเด็นการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 29, 2011 14:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เป้าหมาย มีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade) จำนวน ๓๗,๑๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวในอัตราร้อยละ ๒๐ ในปี ๒๕๕๔ (ส่งออกสินค้า มูลค่า ๒๓,๒๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๕ และ นำเข้าสินค้า มูลค่า ๑๓,๘๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๐)

ยุทธศาสตร์

๑. เจาะตลาดการค้าและการลงทุน

๑.๑ สินค้าเป้าหมาย เน้นการใช้ innovative technologies ในการผลิตและพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า ได้แก่ สินค้าเครื่องจักรกลอิเลคโทรนิกส์ สำหรับ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมสื่อสารระบบไร้สาย อุตสาหกรรมเครื่องรับ โทรทัศน์และการสื่อสารผ่านทางระบบวิดิโอ อุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและพลังงานที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green technologies), สินค้าเครื่องจักรกล สำหรับ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และ อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นสำหรับครัวเรือน, สินค้ายางพารา สำหรับ อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมยานยนต์, สินค้าอาหาร ได้แก่ สินค้าอาหารทะเลสด สินค้าอาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าเพิ่ม อาหารเพื่อสุขภาพ เครืองปรุงรส อาหารว่างและขบเคี้ยว ทุกประเภท, สินค้าแฟชั่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องหนัง อัญมณี, สินค้าสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ เกษตร ก่อสร้าง กีฬา ฯลฯ

๑.๒ ภาคบริการเป้าหมาย ได้แก่ สินค้าบริการร้านอาหารไทย, สินค้าบริการ สปาและนวดแผนไทย, สินค้าบริการจัดสร้างโปรแกรมซอฟแวร์เพื่อความบันเทิง,สินค้าบริการการบำรุงรักษาสุขภาพและการบันเทิงผ่านทางศิลปะมวยไทย, สินค้าบริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ทั้งนี้ ลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มInstitution/Hispanic/ผู้สูงอายุ/คนพิการ/สัตว์เลี้ยง

๑.๓ ภาคการลงทุนเป้าหมาย ได้แก่

สนับสนุนการลงทุนเป้าหมายจากประเทศไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • ศูนย์กลางการกระจายสินค้านำเข้าจากประเทศไทย รวมถึง ศูนย์รับ เก็บรักษา และกระจายสินค้า และสำนักงานขายและ

ทำการตลาดสินค้า รวมถึงสำนักงานสาขา/ตัวแทนของบริษัทในประเทศไทย

  • ธุรกิจนำเข้า ค้าส่ง และค้าปลีก สินค้านำเข้าจากประเทศไทย ทั้งที่เป็นการทำธุรกิจระหว่างธุรกิจด้วยกันและการทำธุรกิจ

โดยตรงกับผู้บริโภค

  • ธุรกิจบริการที่เป็น franchise ให้บริการสินค้าอาหาร และบริการสปาและนวดแผนไทย

สนับสนุนการลงทุนเป้าหมายจากประเทศสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย

  • อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอิเลคโทรนิกส์และเครื่องจักรกล
  • อุตสาหกรรมการผลิตยานขนส่ง ทั้งที่เป็นยานยนต์และอากาศยาน
  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยี่ชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานทางเลือกอื่นที่เป็นพลังงานที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

๑.๔ เมืองเป้าหมาย ได้แก่ ลอสแอนเจลิส นิวยอร์ก ชิคาโก ไมอามี่ ฮิวส์ตัน แอตแลนต้า มินเนอาโปลิส

เมืองท่าสำคัญบนฝั่งตะวันตก คือ ลอสแอนเจลิส ลองบีช แองคอเรต ซานฟรานซิสโก ซีแอตเติล ฮอนโนลูลู ดัลลาส/ฟอร์ทเวิท ฮิวส์ตัน และ ซานดิเอโก

เมืองท่าสำคัญบนฝั่งตะวันออก คือ นิวยอร์ก บัลติมอร์ บัฟฟาโลห์ ฟิลาเดลเฟีย บอสตัน

เมืองท่าสำคัญทางตอนใต้ คือ ลาเรโด นิวออร์ลีน ดัลลาส/ฟอร์ทเวิทร์ ซาวานาห์ ชารล์ตันส์ ไมอามี่

เมืองในเขต Silicon Valley ทั้งใน Northern California และ Southern California คือ ซานฟรานซิสโก ซานโฮเช่ ซานตาคารา พาโล อัลโต้ ซันนี่เวล เออร์ไวน์

เมืองในเขต Research Triangle ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลน่า คือ เดอร์แฮม ลาเล่ห์และดัน

๒. สร้างความเข้มแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขัน

๒.๑ ความร่วมมือ: หารือร่วมกันถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าของทั้ง ๒ ประเทศ ในระดับหน่วยงานรัฐ โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าไทย เช่น สินเกษตรกรรม สินค้าประมง ไปสหรัฐฯ

๒.๒ การเจรจาการค้าเสรี FTA: รื้อฟื้นการเจรจาการค้าเสรี FTA ซึ่ง ปัจจุบัน การเจรจาการค้าเสรี FTA ระหว่างไทย-สหรัฐฯ ต้องหยุดชะงักไป เนื่องจากเกิดสูญญากาศทางการเมืองในไทยในปี ๒๕๕๒

๒.๓ การวิจัยและพัฒนา: ผลักดันให้ภาคเอกชน (สมาคมผู้ประกอบการไทย) ร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและประสิทธิภาพการผลิต และ รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ การแลกเปลี่ยนบุคคลากรในหลายๆ สาขาอาชีพ

๒.๔ การพัฒนาฐานข้อมูลการค้าให้ทันต่อสถานการณ์และทันสมัย

๒.๕ ตลาดแคริบเบียนมีความหลากหลาย เนื่องจากประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ผู้ส่งออกจะต้องมีความเข้าใจลักษณะของตลาดและพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับตลาดและกลุ่มเป้าหมาย

๓. พัฒนาด้านโลจิสติกส์การค้าระหว่างกัน

  • แสวงหาและสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นความร่วมมือสองฝ่ายกับภาคธุรกิจที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในสหรัฐฯ
  • กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุน การจัดตั้งธุรกิจบริการด้านโลจิสติก์ทั้งในประเทศไทยและในประเทศสหรัฐฯ
  • ให้การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารแก่นักธุรกิจสหรัฐฯถึงระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยและแก่นักธุรกิจไทยถึงระบบโลจิสติกส์ในประเทศสหรัฐฯ
  • การเริ่มดำเนินการ Green Logistics
  • การสร้างความร่วมมือกับผู้แทนภาคธุรกิจโลจิสติกส์สหรัฐฯ และ สถาบันการศึกษาของสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ และการฝึกอบรมและเสริมสมรรภนะบุคคลากรไทย
  • เน้นการสร้างความสัมพันธ์ทั้งกับผู้นำเข้าและผู้ขายปลีก เพื่อสร้างเครือข่ายทางการค้า และหาช่องทางกระจายสินค้าไทยไปถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น
  • จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยในเมืองไมอามีเพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าไทย ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสั่งซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการได้หลากหลายขึ้น และใช้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าในภูมิภาคแคริบเบียน ทำให้ลดเวลาในการส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น สามาถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

๔. เข้าถึงทรัพยากรและแหล่งวัตถุดิบและฐานการจ้างผลิต

  • ใช้สหรัฐฯ เป็นแหล่งวัตุดิบใหม่เพื่อนำไปใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เช่น เคมีภัณฑ์ สินแร่ เศษโลหะ เศษกระดาษ พืชและผลิตภัณฑ์ และ ไม้ซุง
  • สนับสนุนผู้ประกอบไทยไปทำธุรกิจการค้าสากลในสหรัฐฯ (Internationalization)
  • เดินทางไปยังมลรัฐต่างๆในเขตความรับผิดชอบเพื่อศึกษาและจัดทำรายงานข้อมูลทรัพยากร อุตสาหกรรม และ การบริโภคในพื้นที่/สร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายกับภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อ/แสวงหาโอกาสเข้าถึงแหล่งทรัพยากรวัตถุดิบ/แสวงหาโอกาสเสนอบริการรับจ้างผลิตในประเทศไทย
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เป็นการค้นพบทรัพยกรวัตถุดิบใหม่ๆหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้น

๕. การประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในหมู่ผู้บริโภค การดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในหมู่ผู้บริโภค โดยการจัดทำ In Store Promotion ให้ Supermarket ใหญ่ๆ หรือเป็นที่นิยมของท้องถิ่นในประเทศนั้น

๖. เป็นตัวกลางในการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยและการจับคู่ธุรกิจ

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางธุรกิจให้กับผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าในแคริบเบียน ผ่านทางเว็ปไซต์ของสคร.คือ www.thaicaribbean.com และ สคร. ลอสแอนเจลีส www.thaitradeusa.com โดยจัดพื้นที่เพื่อเป็นเวทีให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้เจรจาการค้า และผู้ประกอบการไทยได้นำเสนอสินค้าสู่ตลาด ซึ่งขณะนี้ สคร.ยังมีบทบาทเป็นเพียงตัวกลางในลักษณะ E-Marketing เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมสินค้าไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นผลทางการค้าอย่างเป็นรูปธรรม สคร. ไมอามีมีโครงการจะยกระดับเว็บไซต์ให้เป็นการค้าแบบ E-Commerce โดยจะเน้นการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ผ่านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

๑. มวลภัณฑ์ประชาชาติ (GDP) ๑๕,๐๑๘ พันล้านเหรียญฯ

๒. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๑.๙ (ไตรมาสแรก ๒๕๕๔)

          ๓. จำนวนประชากร              ๓๑๑ + ล้านคน
          ๔. รายได้ประชากร               ๓๖.๒ พันล้านเหรียญฯ (พฤษภาคม ๒๕๕๔)

๔.๑ เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี ๔๙,๗๗๗.๐๐ เหรียญฯ (๒๕๕๓)

             ๔.๒ เฉลี่ยต่อคนต่อปี          ๓๖,๑๔๔ เหรียญฯ (ไตรมาสที่สอง ๒๕๕๔)
             ๔.๓ เฉลี่ยต่อชั่วโมง           ๒๘.๒๔ เหรียญฯ (ไตรมาสที่สอง ๒๕๕๔)
          ๕. อัตราเงินเฟ้อ                ร้อยละ ๓.๖ (มิถุนายน ๒๕๕๔)

๖. อัตราว่างงานเฉลี่ยทั่วประเทศ ร้อยละ ๙.๒ (มิถุนายน ๒๕๕๔)

๗. เมืองที่เป็นเป้าหมายหลักในประเทศ

๗.๑. เมืองหลวง: วอชิงตัน ดีซี

๗.๒. เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า: ลอสแอนเจลลีส นิวยอร์ก ชิคาโก แอตแลนต้า ฟิลาเดลเฟีย ฮิวส์ตัน ดีทรอยต์

ซานฟรานซิสโก ไมอามี่

๗.๓. เมืองท่าที่สำคัญ (Sea Port) ลอสแอนเจลลีส ลองบีช นิวยอร์ก/ นิวเจอร์ซี่ ซีแอตเติ้ล/ทาโคม่า ฮิ้วส์ตันและซาวันน่า

ประเด็นการค้า

ความร่วมมือทางการค้า

๑. ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาได้เคยพยายาเจรจาการค้าเพื่อจัดทำ Free Trade Agreement ในปี ๒๕๔๗ แต่การเจรจานี้ได้หยุดชะงักไปในปี ๒๕๔๙ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการประกาศยุบสภาและการรัฐประหาร

๒. ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกายังคงมีการพูดคุยกันในความตกลงสองฝ่ายเรื่องสิทธิทางปัญญา ศุลกากร ข้อตกลงโดฮาในการประชุม องค์การค้าโลก ประเด็นหารือต่างๆที่เกี่ยวกับ APEC และ ASEAN

๓. ข้อตกลงที่เป็นกรอบการทำงานด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหรัฐฯที่กระทำในปี ๒๕๔๕

๓.๑ ตกลงที่จะสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศที่มีต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลากว่า ๑๕๐ ปี

๓.๒ ตกลงที่จะให้ความร่วมมือเพื่อการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายตามข้อตกลง ๑๙๖๖ Treaty of Amity and Economic Relations between the United States of America and the Kingdom of Thailand

๓.๓ ยึดมั่นการเป็นสมาชิกและให้การสนับสนุนองค์การค้าโลก

๓.๔ ตกลงว่าข้อตกลงที่เป็นกรอบการทำงานนี้จะตอกย้ำระบบการค้าหลายฝ่ายโดยการเน้นการทำความพยายามที่จะทำ Doha Development Agenda ให้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

๓.๕ ยึดมั่นหลักการที่ว่าการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนจะส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

๓.๖ ยอมรับว่าการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพของสิทธิทางปัญญาจะก่อให้เกิดการคิดค้นและการลงทุนในเทคโนโลยี่ใหม่ๆ

๓.๗ เห็นพ้องด้วยกับการเข้าไปมีส่วนร่วมใน Doha Declaration ที่จะขยายการค้าและการลงทุน และส่งเสริมการพัฒนาที่เลี้ยงตนเองได้และปกป้องสิ่งแวดล้อม ว่าจะสามารถและจะต้องให้การสนับสนุน

๓.๘ ยอมรับความเห็นพ้องต้องกันในมารตรฐานแรงงานหลักที่นานาชาติให้การรับรองใน Doha Declaration

๓.๕ รับรองการมีส่วนร่วมของ APEC ในการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนและความร่วมมือทางการเศรษฐกิจและเทคนิค

๓.๖ The Caribbean Community (CARICOM) หรือที่เรียกกันว่า The Caribbean Single Market and Economy (CSME) โดยมี 6 ประเทศแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนโยบาย CARICOM คือ Barbados, Belize, Guyana, Jamaica และ Trinidad and Tobago ต่อมาได้มีอีกหลายประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและอื่นๆ เป็นภาษาหลักได้เข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ Haiti, Antigua and Barbuda, Dominican, Grenada, St. Kitts and Nevis, St. Lucia and St. Vincent and the Grenadines โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม เน้นความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการกระจายผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก มีแนวทางร่วมกันในการวางแผนเพื่อพัฒนาประเทศสมาชิกที่ยังด้อยพัฒนาภายในเขตอาณา และนโยบายการรวมระบบการค้าและเศรษฐกิจของสมาชิกในภูมิภาคให้เป็นระบบตลาดเดียว (CARICOM Single Market) รวมทั้งการจัดการข้อพิพาททางการค้าในภูมิภาค

๓.๗ สหรัฐฯ มี Trade and Investment Framework (TIFA) /กลุ่ม EU (EU and the Economic Partnership Agreement - EPA) /แคนาดา (CARICOM-Canada Trade and Economic Co-operation Agreement)

การลงทุน

๑. การลงทุนจากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯ (Foreign Direct Investment: FDI) ในรูปสต๊อก คิดเป็นมูลค่า ๒๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ๒๕๕๒ (เป็นข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผย) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๘ จากปี ๒๕๕๑

๒. มีผู้ประกอบการไทยมาดำเนินธุรกิจในด้านการผลิต/การ กระจายสินค้าในสหรัฐฯ เช่น Thai Union Frozen Co, Ltd., Cement Thai, Thai Summit Auto เป็นต้น แต่ไม่เปิดเผยมูลค่าการลงทุน

๓. ภาคการลงทุนที่สหรัฐฯ สนับสนุนให้ต่างประเทศเข้าไปดำเนินการ และให้ผลประโยชน์ ได้แก่ สาขาการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน เคมีภัณฑ์ คอมพิวเตอร์และอิเลคทรอนิกส์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่ง อุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี่ ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

๔. ภาคการลงทุนที่ประเทศไทยต้องการให้นักลงทุนสหรัฐฯ ไปลงทุนได้แก่ อุตสาหกรรมส่วนประกอบและชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี่ อุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือสารสนเทศ และ อุตสาหกรรมอาหารบำบัดโรค (Medical Food)

๕. ประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้นสหรัฐฯจึงมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนของต่างชาติในระดับต่ำมาก ข้อจำกัดจะเกิดเมื่อเป็นการลงทุนในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่สหรัฐฯถือว่าจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เช่น ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจกับหน่วยงานรัฐบาล การป้องกันประเทศ การเงินการธนาคาร การคมนาคมสื่อสารที่รวมถึงการกระจายเสียงสื่อสารที่เป็นเทคโนโลยี่ระดับสูงเช่นการสื่อสารทางดาวเทียม การคมนาคมและการพาณิชย์ที่เป็นการขนส่งทางน้ำและทางอากาศ และการทำการเกษตร เป็นต้น การลงทุนเหล่านี้จะมีข้อกฎหมายและกฎระเบียบควบคุมอาจจะมาจากรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น หรือมาจากทั้งรัฐบาลทั้งสองระดับ การลงทุนเพื่อขอสิทธิการเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในประเทศสหรัฐฯที่หมายถึงว่าจะมีสิทธิขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนอเมริกัน รัฐบาลกลางสหรัฐฯมีกฎหมายกำหนดจำนวนวงเงิน สถานที่ลงทุน และการจ้างแรงงงานไว้อย่างชัดเจน

ลักษณะของการลงทุนของต่างชาติในสหรัฐฯในปี ๒๕๕๒

  • การลงทุนทางธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๖๙ พันล้านเหรียญฯลดลงจากปี ๒๕๕๑ ที่มีมูลค่า ๓๕๑ พันล้านเหรียญฯ การลงทุนในตลาดหุ้นมีมูลค่าประมาณ ๒.๓ แสนล้านเหรียญฯ
  • ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มสูงขึ้น การลงทุนในธุรกิจธนาคาร การเงิน และอสังหาริมทรัพย์ลดลง
  • ร้อยละ ๙๕ ของการลงทุนในสหรัฐฯมาจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
  • ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในสหรัฐฯสูงมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ แคนนาดา เยอรมันและฝรั่งเศส
  • ต่างชาติที่ลงทุนร่วมกับสหรัฐฯที่สำคัญที่สุดคือ เนเธอร์แลนด์ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมค้าส่ง และสหราชอาณาจักรและกลุ่มยุโรปในอุตสาหกรรมค้าปลีก

การลงทุนของต่างชาติที่ถือครองภาคอุตสาหกรรมต่างๆในสหรัฐฯ: เยอรมัน — อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสาร/ฝรั่งเศส เยอรมัน และ อังกฤษ — อุตสาหกรรมธนาคาร/ฮอลแลนด์ แคนนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส — อุตสาหรรมการเงิน/ สหราชอาณาจักร สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ญี่ปุ่น — ภาคอุตสาหกรรมการผลิต

๖. การลงทุนระหว่างประเทศไทยและสหรัฐฯในปี ๒๕๕๒

  • สหรัฐฯลงทุนในประเทศไทย (หุ้น) คิดเป็นมูลค่า ๑๐.๒ พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๗ การลงทุนของสหรัฐฯในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตและการธนาคาร
  • ประเทศไทยลงทุนในสหรัฐฯ (หุ้น) ประมาณ ๒๒๐ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๘

๗. ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนจากประเทศไทย

  • อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น ศูนย์กระจายสินค้า บริการโลจิสติกส์ ธุรกิจนำเข้า ค้าส่งและค้าปลีก
  • ธุรกิจบริการที่เป็นระบบ franchise เช่น ร้านอาหาร สปาและนวดแผนไทย ค่ายมวยที่ให้บริการการออกกำลังกาย เป็นต้น
  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น ตึกสำนักงาน อพาร์ทเมนท์ และแหล่งรวมห้องให้เช่าสำหรับประกอบธุรกิจ เป็นต้น
การท่องเที่ยว

๑. หน่วยงานบริการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสหรัฐฯคือ Office of Travel & Tourism Industries ขึ้นอยู่กับ International Trade Administration, U.s. Department of Commerce

๒. ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก และได้ดุลการค้าต่างประเทศในธุรกิจการท่องเที่ยวมาโดยตลอด (สหรัฐฯ ถือว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นการค้า “trade” ประเภทหนึ่ง)

๓. สถิติอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสหรัฐฯในปี ๒๕๕๔

รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ ๒.๘ ของเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ มูลค่าการค้า ๑.๑๑ แสนล้านเหรียญฯ มีส่วนแบ่งในตลาดการใช้จ่ายเงินเพื่อท่องเที่ยวของโลกร้อยละ ๑๑.๒ /มีส่วนแบ่งในตลาดจำนวนนักท่องเที่ยวของโลก ร้อยละ ๖.๔ เป็นอันดับที่สองรองจากฝรั่งเศส

จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปยังสหรัฐฯ ๕๙.๘ ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙ ส่วนใหญ่มาจากประเทศ (เรียงตามลำดับจำนวนนักท่องเที่ยว) คานาดา เม็กซิโก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศศ บราซิล เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอิตาลี โดยจำนวนเงินที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายภายในประเทศสหรัฐฯ ๑๓๔.๔ พันล้านเหรียญฯ การใช้จ่ายเงินส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวจากประเทศ (เรียงตามลำดับจำนวนเงินใช้จ่าย) แคนนาดา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เม็กซิโก บราซิล เยอรมัน จีน ฝรั่งเศส อินเดียและออสเตรเลีย

๔. การพยากรณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศสหรัฐฯในปี ๒๕๕๔ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗ เป็น ๖๔ ล้านคน

๕. การพยากรณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศสหรัฐฯระหว่างปี ๒๕๕๕ — ๒๕๕๙ อัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ระหว่างร้อยละ ๖ — ๘ ต่อปี พื้นที่ที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสหรัฐฯมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ อเมริกาเหนือ (ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนรวมทั้งสิ้น)

๖. ชาวสหรัฐฯ มาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวน ๖๑๑,๗๙๒ คนในปี ๒๕๕๓ ลดลงร้อยละ ๒.๕๐

๗. คนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในสหรัฐฯ เป็นจำนวน ๖๙,๒๐๔ คนในปี ๒๕๕๒ ลดลงร้อยละ ๙.๙

๘. โอกาสทางการค้าของไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสหรัฐฯ สินค้าของขวัญของชำร่วยสำหรับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในสหรัฐฯ/สินค้าที่จำเป็นสำหรับใช้ในโรงแรมและสถานที่พักต่างๆ/สินค้าอาหารสำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว/สินค้าบริการที่เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว/สินค้าและบริการในธุรกิจ สปาและนวดแผนไทย

การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา — ทั่วโลก (ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์)

๑. ในปี ๒๕๕๓ (มกราคม-ธันวาคม) การค้าระหว่างประเทศของของสหรัฐอเมริกากับทั่วโลกมูลค่า ๓,๑๙๑.๔๒ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกออกเป็นการส่งออกมูลค่า ๑,๒๗๘,๒๖๓.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๒๑.๐๔) และนำเข้า มูลค่า ๑,๙๑๓,๑๖๐.๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๒๒.๖๗ ) และขาดดุล การค้าจากทั่วโลกจำนวน ๖๓๔,๘๙๖.๘๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๒๖.๐๘)

๒. สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกสินค้า (Merchandise Exporter) อันดับที่ ๓ ของโลก และเป็นประเทศผู้นำเข้า (Merchandise Importer) อันดับที่ ๑ ของโลก

๓. สินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๔.๑๓) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๑.๘๗) ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (ร้อยละ ๗.๗๖) สินค้าเชื้อเพลิง (ร้อยละ ๖.๓๘) และ เครื่องบิน และส่วนประกอบ (ร้อยละ ๖.๒๓)

๔. ตลาดส่งออกสำคัญ ๕ อันดับแรกของสหรัฐเมริกา ได้แก่ แคนนาดา (ร้อยละ ๑๙.๔๙ เม็กซิโก (ร้อยละ ๑๒.๗๙) จีน (ร้อยละ ๗.๑๙) ญี่ปุ่น(ร้อยละ ๔.๗๒) และ อังกฤษ (ร้อยละ ๓.๗๙)

๕. สินค้านำเข้าสำคัญของประเทศสหรัฐอมริกา ได้แก่ น้ำมันดิบ (ร้อยละ ๑๘.๕๖) เครื่องใช้ไฟ้ฟ้าและอุปกรณ์ (ร้อยละ ๑๓.๕๐) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๓.๐๕) รถยนต์ อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบ (ร้อยละ ๙.๕๕) และ เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ ๓.๒๒)

๖. แหล่งนำเข้าสำคัญ ๕ อันดับแรกของสหรัฐเมริกา ได้แก่ จีน (ร้อยละ ๑๙.๐๘) แคนนาดา (ร้อยละ ๑๔.๕๑) เม็กซิโก (ร้อยละ ๑๒.๐๒) ญี่ปุ่น (ร้อยละ ๖.๓๐) และเยอรมนี (ร้อยละ ๔.๓๑)

(ข้อมูลจาก World Trade Atlas)

การค้าประเทศสหรัฐอเมริกา—ทั่วโลก

๑. ปี ๒๕๕๓ (มกราคม-ธันวาคม) การค้าระหว่างประเทศของของสหรัฐอเมริกากับทั่วโลกมูลค่า ๑,๙๑๒,๐๙๑.๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกออกเป็นการส่งออกมูลค่า ๑,๒๗๗,๕๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๒๐.๘๖) และนำเข้า มูลค่า ๑,๙๑๒,๐๙๑.๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๒๒.๗๘ ) และขาดดุล การค้าจากทั่วโลกจำนวน ๖๓๔,๕๘๗.๖๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปี ๒๕๕๔ (มกราคม-พฤษภาคม) การค้าระหว่างประเทศของของสหรัฐอเมริกากับทั่วโลกมูลค่า ๘๗๕,๒๗๐.๘๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกออกเป็นการส่งออกมูลค่า ๕๙๘,๗๔๐.๘๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๑๘.๗๒) และนำเข้า มูลค่า ๘๗๕,๒๗๐.๘๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ ๑๘.๘๓ ) และขาดดุล การค้าจากทั่วโลกจำนวน ๒๗๖,๕๒๙.๙๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

๒. สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกสินค้า (Merchandise Exporter) อันดับที่ ๓ ของโลก และเป็นประเทศผู้นำเข้า (Merchandise Importer) อันดับที่ ๑ ของโลก

๓. สินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๔) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๑) ยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (ร้อยละ ๗) สินค้าเชื้อเพลิง (ร้อยละ ๖) และ เครื่องบิน และส่วนประกอบ(ร้อยละ ๖)

๔. ตลาดส่งออกสำคัญ ๕ อันดับแรกของสหรัฐเมริกา ได้แก่ แคนาดา (ร้อยละ ๑๙) เม็กซิโก (ร้อยละ ๑๓) จีน (ร้อยละ ๖) ญี่ปุ่น (ร้อยละ ๔) และ อังกฤษ (ร้อยละ ๓)

๕. สินค้านำเข้าสำคัญของประเทศสหรัฐอมริกา ได้แก่ น้ำมันดิบ (ร้อยละ ๑๘) เครื่องใช้ไฟ้ฟ้าและอุปกรณ์ (ร้อยละ ๑๓) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ ๑๓) รถยนต์ อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบ (ร้อยละ ๙) และ เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ ๓)

๖. แหล่งนำเข้าสำคัญ ๕ อันดับแรกของสหรัฐเมริกา ได้แก่ จีน (ร้อยละ ๑๖) แคนาดา (ร้อยละ ๑๔) เม็กซิโก (ร้อยละ ๑๒) ญี่ปุ่น (ร้อยละ ๕) และเยอรมนี (ร้อยละ ๔)

การเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาของนายกรัฐมนตรีไทย/ผู้บริหารระดับสูง/ผู้ส่งออก
สคร. นิวยอร์ก

๑. พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์

๒. ธันวาคม ๒๕๕๓ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกสินค้าดอกไม้ประดิษฐ์

๓. มกราคม ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกอาหารแช่แข็งและแปรรูป

๔. มีนาคม ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนการค้าไทย และร่วมสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจไทยและโอกาศทางการค้าในตลาดสหรัฐอเมริกา

๕. พฤษภาคม ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนังที่มีความสนใจในด้านการสร้างแบรนด์

๖. มิถุนายน ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกสินค้าข้าวและสปา

๗. กรกฏาคม ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจากกรมการค้าต่างประเทศ เยี่ยมชมตลาดค้าส่งและค้าปลีกข้าวทางฝั่งตะวันออก และเยี่ยมพบผู้นำเข้า

๘. กรกฏาคม ๒๕๕๔ ให้การต้อนรับคณะผู้ส่งออกสินค้าอาหาร เช่น ข้าวและอาหารแปรรูป

สคร.ลอสแอนเจลีส

๑. วันที่ ๒๘ ต.ค. ๕๓ ถึง ๖ พ.ย.๕๓ คณะทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นการส่วนพระองค์และเป็นประธานงาน ประชาสัมพันธ์ธุรกิจภาพยนตร์ไทย ณ.เมืองซานตามอนิก้า

๒. วันที่ ๒๙ ต.ค. ๕๓ ถึง ๖ พ.ย.๕๓ คณะอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เยือน นครลอสแอนเจลิส และ ลาสเวกัส เพื่อสำรวจตลาดข้าวไทย

๓. วันที่ ๓๐ ต.ค. ๕๓ ถึง ๖ พ.ย.๕๓ คณะอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เยือน นครลอสแอนเจลิส ประชาสัมพันธ์ธุรกิจภาพยนตร์ไทย และ ลาสเวกัส เยือน World Market และ ศึกษาตลาดธุรกิจมวยไทย

๔. วันที่ ๙ ม.ค. ๕๔ ถึง ๑๘ ม.ค. ๕๔ คณะรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์) นำผู้แทนการค้าเกษตรอินทรีย์ เยือน นครลอสแอนเจลิส เพื่อเข้าร่วมงาน Natural Product Expo West 2011 และศีกษาดูงานตลาดสินค้าอินทรีย์

๕. วันที่ ๑๑ พ.ค. ๕๔ ถึง ๒๒ พ.ค. ๕๔ คณะอธิบดีกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ เข้าประชุม APEC เมือง Big Sky รัฐมอนทาน่า

๖. วันที่ ๒ มิ.ย. ๕๔ ถึง ๖ มิ.ย. ๕๔ คณะ ประธานสถาบันอัญมณี(ท่านศิริพล ยอดเมืองเจริญ ) เยือนงานแสดงสินค้า JCK ลาสเวกัส

๗. วันที่ ๑๒ มิ.ย. ๕๔ ถึง ๑๗ มิ.ย. ๕๔ คณะอธิบดี กรมทรัพย์สินทางปัญญา เยือน ลอสแอนเจลิส เมืองเฟรสโน และลาสเวกัส เรื่อง การจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Licensing Expo

๘. วันที่ ๕ ก.ค. ๕๔ ถึง ๑๑ ก.ค. ๕๔ คณะอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เยือน ลอสแอนเจลิส เมือง ดัลลาส/ฟอร์ทเวิท เมือง ฮิวส์ตัน มลรัฐ เท็กซัส เมือง ซานตาเฟ มลรัฐ นิวแม็กซิโก เพื่อขยายตลาด สถาบัน ฮิสแปนิค โอกาสในเมืองใหม่ Houston, โอกาสขยายตลาดสินค้า OTOP และ ศิลปาชีพ ในงานแสดงสินค้า Santa Fe International Folks Art, NM หารือการให้ Thai Select นวดไทยในลอสแอนเจลีส

แผนงานตลาดสหรัฐฯงบประมาณ ๒๕๕๔

สคร. นิวยอร์ก

โครงการตามแผนปีงบประมาณ ๒๕๕๔:

๑. โครงการพัฒนาข้อมูลด้านการออกแบบสินค้า เครื่องนุ่งห่มไทยสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา (US Focus Fashion Network)

๒. โครงการกิจกรรมงานแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าอาหารทะเลนานาชาติ IBSS เดือนมีนาคม

๓. โครงการกิจกรรมงานแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าแฟชั่น D&A (Spring) เดือนกันยายน

๔. โครงการกิจกรรมงานแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าแฟชั่น D&A (Fall) เดือนกุมภาพันธ์

๕. โครงการส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ เดือนกันยายน ๒๕๕๔

๖. โครงการจัดคณะผู้แทนการค้า Hispanic & Institution เยือนประเทศไทย โดยแบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ

  • ๒๙ ก.ค.-๖ สค ๒๕๕๔
  • กันยายน ๒๕๕๔

๗. โครงการจัดคณะผู้แทนการค้าสินค้าเครื่องหนังเยือนตลาดสหรัฐอเมริกา นครนิวยอร์ก

๘. โครงการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารไทยในสื่อต่างประเทศ (Top Chef)

การดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๑. พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์แบบดีไซน์ BDNY และงานโรงแรม HMIRS

๒. ธันวาคม ๒๕๕๔ ประชุมหารือกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เกี่ยวกับกฎระเบียบ แนวทางแก้ไขและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

๓. มกราคม ๒๕๕๔ เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าของขวัญและของตกแต่งบ้าน NYIGF

๔. มกราคม ๒๕๕๔ เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ Furniture Market (Las Vegas)

๕. มกราคม ๒๕๕๔ ประชุมหารือกับผู้แทนระดับสูงของ City of New York (สอบถามข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงอาหารในเขตที่พักอาศัยเป็นอาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดเป็นสปา)

๖. กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับและอัญมณี JA SHOW

๗. กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ประชุมกับ Department of Building เรื่อง Resident Zone และการ Rezoing

๘. กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ร่วมประชุมหารือกับ Mayor Bloomberg และ Trade Commissioners

๙. มีนาคม ๒๕๕๔ นำคณะผู้แทนการค้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์เยือนไทย

๑๐. มีนาคม ๒๕๕๔ ประชุมหารือกับนักกฎหมาย และหน่วยงานราชการท้องถิ่นเรื่องวิธีการป้องกันการจ้างแรงงานผิดกฎหมายในร้านอาหาร

๑๑. มีนาคม ๒๕๕๔ นำผู้ส่งออกสินค้าแฟชั่นเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเสื้อผ้า ENK

๑๒. เมษายน ๒๕๕๔ ประชุมสัมมนาร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน สำนักงานส่งเสริมการลงทุน ณ นครนิวยอร์ก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรื่องการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าและบริการไทยในบริเวณ Research Triangle มลรัฐนอร์ทแคโรไลน่า

๑๓. สิงหาคม ๒๕๕๔ นำคณะผู้แทนการค้าสินค้าแฟชั่นเยือนไทย

๑๔. พฤษภาคม ๒๕๕๔ นำคณะผู้แทนการค้าสินค้าอาหารเยือนไทย

๑๕. พฤษภาคม ๒๕๕๔ นำวิทยากรจาก Arent Fox มาบรรยายเรื่อง Food Safety ที่ประเทศไทยในงาน THAIFEX

๑๖. พฤษภาคม ๒๕๕๔ สัมมานากับ FIT เรื่องการเจาะตลาดสินค้าเครื่องหนังในสหรัฐอเมริกา

๑๗. พฤษภาคม ๒๕๕๔ นำคณะนักข่าวเดินทางเยือนไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทย เพื่อกระตุ้นยอดการบริโภคและนำเข้าในสหรัฐอเมริกา

๑๘. มิถุนายน ๒๕๕๔ หารือกับผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการเปิดธุรกิจร้านอาหาร และร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ Thai Select

๑๙. มิถุนายน ๒๕๕๔ สัมมนา The Global Trade Investment and Economic Outlook /Prospect for US and foreign company

๒๐. กรกฎาคม ๒๕๕๔ เยือนงานแสดงสินค้าอาหาร Summer Fancy Food Show เพื่อหารือกับผู้นำเข้าสินค้าอาหารรายสำคัญ

๒๑. กันยายน ๒๕๕๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในบริเวณ Research Triangle มลรัฐนอร์ทแคโรไลน่าจัด

๒๒. กันยายน ๒๕๕๔ นำคณะผู้แทนการค้า Bangkok Gems & Jewelry

๒๓. กันยายน ๒๕๕๔ จัดคณะผู้แทนการค้า Logistics เยือนไทย

๒๔. กันยายน ๒๕๕๔ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของกรมส่งเสริมการส่งออกในมุมกว้าง ผ่านสื่อบิวล์บอร์ดของท่าอากาศยานแห่งชาติจอนห์ เอฟ เคเนดี้ สหรัฐอเมริกา

๒๕. โฆษณาและประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้าแฟชั่น-BIFF/ของขวัญและของตกแต่งบ้านในประเทศ-BIG/เครื่องเย็นและอิเลคโทรนิกส์-RHVAC ผ่านสื่อที่มีประสิทธิภาพ ตลอดทั้งปี

๒๖. ให้สัมภาษณ์ Voice of America เกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการขาย/กฎระเบียบ/การเตือนภัยที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกและนำเข้ามายังสหรัฐอเมริกา เดือนละ ๓ ครั้ง เฉลี่ย ๓๖ ครั้ง

สคร.ลอสแอนเจลีส

๑. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทย ให้ข้อมูลสินค้าและบริการไทย และ กิจกรรมต่างๆของกรมฯและสคร ผ่านทาง website, Facebook, Twitter thaitradeusa.com รวมทั้งการจับคู่ธุรกิจ (กค—กย ๒๕๕๔)

๒. ดำเนินโครงการการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและสินค้าบริการไทยผ่านสื่ออิเลคโทรนิคส์และธุรกิจบันเทิง (กค—กย ๒๕๕๔ )

๓. คณะอธิบดี กรมส่งเสริมการส่งออก เยือน Fort Worth,Houston,TX, Santa Fe, NM, LA, CA ๕-๑๐ ก.ค. ๒๕๕๔ เรื่อง เจาะตลาด สถาบัน เรือนจำ ฮิสแปนิค โอกาสในเมืองใหม่ Houston, โอกาสขยายตลาดสินค้า OTOP และ ศิลปาชีพ ในงานแสดงสินค้า Santa Fe International Folks Art, NM หารือการให้ Thai Select นวดไทยในลอสแอนเจลีส

๔. ร่วมกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจมวยไทย หารือกับสมาคมมวยไทยโลกและร่วมกิจกรรมการแข่งขันมวยไทย ๑๖ กค ๒๕๕๔

๕. กรมฯมอบหมายให้ดูงานและรายงานผลโครงการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะเชิงสร้างสรรค์และเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ณ. World Market Center, Las Vegas ๑-๕ สค ๒๕๕๔

๖. ประสานการดูงานและให้ข้อมูลคณะผู้ว่าราชการจังหวัด พาณิชย์และพัฒนากรจังหวัดที่มาดูงาน World Market ๑ สค ๒๕๕๔

๗. จัดคณะผู้แทนการค้า Hispanic & Institution เยือนประเทศไทย ๑-๖ สค ๒๕๕๔ ( บรรยาย B2B Matching, เยี่ยมชมโรงงาน และ ชมงานแสดงสินค้า Organic Thailand )

๘. จัดสัมมนาโอกาสทางการค้า ระหว่าง เมือง ฮิวสตันกับประเทศไทย ๑๐-๑๒ สค ๒๕๕๔

๙. จัดสัมมนาโอกาสทางการค้า ระหว่าง เมือง ซานดิเอโกกับประเทศไทย ๑๘ สค ๒๕๕๔

๑๐. ร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่น Magic show, Las Vegas, Nevada ๒๒-๒๘ สค ๒๕๕๔

๑๑. เยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Expo Comina Latina, Western Foodservice, San Diego ๒๘-๓๐ สค ๒๕๕๔

๑๒. จัดคณะผู้แทนการค้า Hispanic & Institution เยือนประเทศไทย ๑๐-๑๖ กย ๒๕๕๔

๑๓. จัดคณะผู้แทนการค้า Bangkok Gems & Jewelry ๑๔-๑๖ กย ๒๕๕๔

๑๔. จัดคณะผู้แทนการค้า Logistics เยือนไทย ๒๒-๒๔ กย ๒๕๕๔

สคร. ชิคาโก

๑. โครงการส่งเสริมการขายข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐอเมริกา

๒. โครงการสร้างภาพลักษณ์ตรา Thailand Brand ในตลาดสหรัฐฯ

๓. โครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในสหรัฐอเมริกาผ่านช่องทางธุรกิจบริการอาหาร (Foodservice)

๔. การจัดคณะผู้ประกอบการตลาด Institution ของสหรัฐอเมริกามาเจรจาซื้อสินค้าไทย

แผนงานตลาดสหรัฐฯงบประมาณ ๒๕๕๕
สคร. นิวยอร์ก

๑. โครงการพัฒนาข้อมูลด้านการออกแบบสินค้า เครื่องนุ่งห่มไทยสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา (US Focus Fashion Network)

๒. โครงการเจาะขยายตลาดสินค้าอาหารในกลุ่มฮิสแปนิก

๓. โครงการเจาะขยายตลาดสินค้าอาหารในกลุ่มฮาลาล

๔. โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์อาหารไทยผ่านรายการ Top Chef ต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๔

๕. โครงการ Instore Promotion ประมาณเดือนกันยายน

๖. นำคณะผู้ส่งออกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารทะเลนานาชาติ IBSS๒๐๑๒

๗. นำคณะผู้ส่งออกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่น D&A

๘. ประสานงานผู้ส่งออกที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ ICFF

๙. ประสานงานผู้ส่งออกที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าของขวัญและของตกแต่งบ้าน NYIGF

๑๐. ประสานงานผู้ส่งออกที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับและอัญมณี JA Show

๑๑. จัดคณะผู้แทนการค้าจากสหรัฐเยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทยที่กรมฯจัด

๑๒. เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าและพบนักธุรกิจ เพื่อหาโอกาสและคู่ค้าใหม่ๆ

สคร. ลอสแอนเจลีส

๑. การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ AAPEX show, Las Vegas ๑-๓ พย ๒๕๕๔

๒. การจัดแสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ (Thailand Trade Exhibition)

๓. โครงการ In-store Promotion ส่งเสริมข้าวหอมมะลิไทย ร่วมกันห้าง Costco และ บริษัท Otis McAllister ในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ๔๖ สาขา ในเวลา ๑ เดือน

๔. การจัดคณะผู้บริหาระดับสูงของไทยเยือนประเทศสหรัฐ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ธุรกิจบันเทิงไทย ลอสแอนเจลีส ๓ พย ๒๕๕๔

๕. การจัดคณะผู้บริหารระดับสูงสหรัฐ เยือนประเทศไทย

๖. การขยายช่องทางตลาดและสร้างโอกาสทางการค้า

  • ตลาดสถาบัน ( Institution ) และ ตลาดฮิสแปนิค สร้างความสัมพันธ์กับผู้ซื้อในกลุ่มทั้งสองและจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจและกิจกรรมประชาสัมพันธ์
  • การใช้สื่ออิเลคโทรนิคส์ เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล จับคู่ธุรกิจ และ พัฒนาผู้ประกอบการไทยด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึก
  • สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ในการช่วยชยายตลาดให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย โดยการให้ข้อมูล สัมมนา จับคู่ธุรกิจ
  • สร้างความสัมพันธ์กับรัฐและเมืองใหม่ๆที่มีศักยภาพสูง โดยการ จัดสัมมนา เยี่ยมพบผู้บริหารภาครัฐและเอกชน
  • จัดคณะผู้แทนการค้าจากสหรัฐเยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทยที่กรมฯจัด ๘ งาน
  • เยี่ยมชมงานแสดงสินค้าและพบนักธุรกิจ ๑๒ ครั้ง เพื่อหาโอกาสและคู่ค้าใหม่ๆ
สคร. ชิคาโก

๑. โครงการสร้างภาพลักษณ์ตรา Thailand Brand ในตลาดสหรัฐอเมริกา

๒. โครงการจัด Showcase สินค้าธุรกิจบริการอาหาร (Foodservice) ในสหรัฐอเมริกา

๓. โครงการรักษาตลาดสินค้าของใช้และตกแต่งบ้านของไทยในสหรัฐอเมริกา

๔. โครงการจัด Showcase สินค้าขนมขบเคี้ยวและวัตถุดิบประกอบในสหรัฐอเมริกา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสเองเจลีส

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองไมอามี

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ