อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์ในปัจจุบันต้องอาศัยการร่วมลงทุนในต่างประเทศเป็นปัจจัย สำคัญเพื่อการผลิตสินค้าและทำให้ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์มีความอยู่รอดและขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอดีต สินค้าเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปัจจุบันสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ได้เข้ามาแทนที่ บริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์จึงต้องปรับเปลี่ยน ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียได้แก่ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม เพื่อนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก เป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นต่อไป
ตลาดส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรก
- รหัสศุลกากร 9403 (เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวายและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเชีย อินเดีย จีน ฮ่องกง สหรัฐฯ สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาเหลีใต้
- รหัสศุลกากร 9404 (เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องนอน) ได้แก่ สาธารรัฐอาหรับอิมิเรทส์ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ บรูไน มาเลเชีย พม่า ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ จีน และเวียดนาม
- รหัสศุลกากร 9403 (เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวายและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์) ได้แก่ จีน มาเลเซีย อิตาลี เยอรมนี อินโดนีเซีย สหรัฐฯ ไต้หวัน ออสเตรีย เวียดนาม และญี่ปุ่น ส่วนไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 12
- รหัสศุลกากร 9404 (เฟอร์นิเจอค์และอุปกรณ์เครื่องนอน) ได้แก่ จีน มาเลเชีย อินโดนีเซีย ไทย ญี่ปุ่น เวียดนาม ปากีสถาน สหรัฐฯ เยอรมนี และเดนมาร์ค
นอกจากสิงคโปร์จะได้รับการส่งเสริมให้ผลิตสินค้าฯเพื่อการส่งออกแล้ว สิงคโปร์ยังมีการนำเข้าและส่งออกสินค้าฯ ซึ่งจัดอยู่ภายใต้รหัสศุลกากร HS 94.03 (เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวายและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ และ HS 94.04 (เฟอร์นิเจอค์และอุปกรณ์เครื่องนอน) โดยในปี 2553 มีการนำเข้าและส่งออก ดังนี้
1. การนำเข้า
1.1 ระหัสศุลกากร HS 9403 : เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวาย และส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ นำเข้ารวมมูลค่า 717.9 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยนำเข้าอันดับ 1 จากจีน (มูลค่า 223.7 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 31.17) รองลงมาอีก 9 อันดับได้แก่ มาเลเซีย (มูลค่า 194.6 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 27.11) อิตาลี (มูลค่า 54.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.63) เยอรมนี (มูลค่า 40.5 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.65) อินโดนีเซีย (มูลค่า 39.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.55) สหรัฐฯ (มูลค่า 27.9 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.90) ไต้หวัน (มูลค่า 19.2 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.67) ออสเตรีย (มูลค่า 15.0 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.09) เวียดนาม (มูลค่า 11.5 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.60) และญี่ปุ่น (มูลค่า 10.5 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.47) ตามลำดับ
1.2 ระหัสศุลกากร HS 94.04 : เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องนอน นำเข้ารวมมูลค่า 118.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยนำเข้าอันดับ 1 จากจีน (มูลค่า 47.0 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 39.75) รองลงมาอีก 9 อันดับ ได้แก่ มาเลเซีย (มูลค่า 26.4 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.32) อินโดนีเซีย (มูลค่า 11.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.99) ไทย (มูลค่า 7.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.59) ญี่ปุ่น (มูลค่า 5.4 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.61) เวียดนาม (มูลค่า 2.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.38) ปากีสถาน (มูลค่า 2.3 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.96) สหรัฐฯ (มูลค่า 2.2 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.85) เยอรมนี (มูลค่า 2.0 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.73) และเดนมาร์ค (มูลค่า 1.9 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.64) ตามลำดับ
2. การส่งออก
2.1 ระหัสศุลกากร HS 94.03 : เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวาย และส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ ส่งออกรวมมูลค่า 221.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียเป็นอันดับ 1 มูลค่า 48.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21.78 รองลงมา 9 อันดับ ได้แก่ มาเลเซีย (มูลค่า 28.0 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.65) อินเดีย (มูลค่า 22.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.29) จีน (มูลค่า 18.3 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.26) ฮ่องกง (มูลค่า 8.7 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.94) สหรัฐฯ (มูลค่า 8.6 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.88) สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์ (มูลค่า 7.7 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.46) ออสเตรเลีย (มูลค่า 7.5 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.38) ญี่ปุ่น (มูลค่า 6.9 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.15) และเกาหลีใต้ (มูลค่า 5.7 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.56) ทั้งนี้ มีการส่งออกไปยังไทยเป็นอันดับ 11 มูลค่า 4.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.11)
2.2 ระหัสศุลกากร HS 94.04 : เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องนอน ส่งออกรวมมูลค่า 17.4 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยส่งออกไปยังสาธารณรัฐอาหรับอิมิเรทส์เป็นอันดับ 1 มูลค่า 3.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20.13 รองลงมา 9 อันดับ ได้แก่ อินโดนีเชีย (มูลค่า 2.3 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.31) สหรัฐฯ (มูลค่า 2.0 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.52) บรูไน (มูลค่า 1.9 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.84) มาเลเซีย (มูลค่า 1.8 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.34) พม่า (มูลค่า 1.1 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.15) ออสเตรเลีย (มูลค่า 0.71 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.10) ฟิลิปปินส์ (มูลค่า 0.53 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.09) จีน (มูลค่า 0.50 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.87) และเวียดนาม (มูลค่า 0.41 ล้านเหรียญฯ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.39)
- รหัสศุลกากร 9403 (เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากเหล็ก/ไม้/พลาสติก/หวายและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์) ซึ่งในปี 2553 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 มูลค่า 6.6 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 23.90 และส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.92
- รหัสศุลกากร 9404 (เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องนอน) ซึ่งนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 มูลค่า 7.8 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 48.01 ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.59
หมายเหตุ : สถิติการนำเข้าและส่งออก รหัสศุลกากร 9403 และ 9404 ตามเอกสารแนบ
1. การส่งออกและจัดส่งสินค้าตรงตามกำหนดเวลา
2. สร้างราคาที่สามารถแข่งขันได้
3. ติดตามความต้องการ/การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างสม่ำเสมอ
4. รักษาระดับคุณภาพสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าทันสมัยช่วยในการผลิต และเพิ่มมูลค่าสูงให้แก่สินค้า
5. เน้นการให้บริการอย่างดี
6. สามารถปรับการผลิตได้ตามความต้องการ ทั้งปริมาณ รูปแบบ ขนาด และสี
7. เข้าร่วมในงานแสดงสินค้าในสิงคโปร์ เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ
8. สร้างแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งอาจใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
9. ร่วมลงทุนกับบริษัทสิงคโปร์เพื่อผลักดันสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยสู่ตลาดสิงคโปร์
1. การก่อสร้างในสิงคโปร์ยังมีการดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นโรงแรม อาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย ดังนั้น ตลาดสิงคโปร์จึงมีความต้องการสินค้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ทั้งที่เป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้าง การตกแต่งภายใน และเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป ซึ่งตลาดสิงคโปร์ยังมีโอกาสอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นตลาดเล็กก็ตาม
2. นอกจากสิงคโปร์มีความต้องการวัสดุสำหรับการก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์แล้ว สิงคโปร์ยังมีความต้องการบุคลากรด้านการออกแบบ การก่อสร้าง และการตกแต่งภายอีกด้วย
3. เนื่องจากสิงคโปร์เป็นตลาดเล็ก แต่การค้าเปิดเสรีและมีศักยภาพในการส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก ดังนั้น สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทย นอกจากจะสามารถใช้สิงคโปร์เป็นพื้นฐานในการทดลองความนิยมแล้ว ยังให้สิงคโปร์เป็นประตูส่งออกต่อไปยังตลาดนานาชาติต่อไปอีกด้วย
ปัจจุบัน ความนิยมของรูปแบบในการตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในสิงคโปร์ จะเน้นความเป็นธรรมชาติ ความงามและเอกลักษณ์ของวัตถุดิบ (อิฐ หรือ ปูน) ซึ่งถือว่านอกจากให้ความเป็นเอกลักษณ์ ความสวยงามแปลกใหม่แล้ว ยังทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ไม่ต้องใช้วอลเปเปอร์หรือทาสี
เนื่องจากประชากรรุ่นใหม่ในสิงคโปร์แยกครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ที่พักอาศัยส่วนใหญ่เป็นแฟลต/คอนโดฯ ดังนั้น การตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้จึงเน้นเฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากความสวยงามในการใช้ตกแต่งแล้ว ยังต้องมีประโยชน์ มีฟังก์ชั่นการใช้งานได้อย่างเต็มที่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเครื่องประดับผนัง ต้องสามารถปรับเป็นเก้าอี้นั่งหรือที่วางของหรือชั้นเก็บของได้อีก หรือเตียงนอนที่มีช่องเก็บของเล็กๆน้อยๆหรือมีพื้นที่เปิดสำหรับเก็บของ และหรือเปลี่ยนเป็นโซฟาได้ เป็นต้น นอกจากนี้ บางกลุ่มนิยมการตกแต่งในรูปแบบที่มีความขัดแย้งกัน เช่น ความหรูหราของโคมไฟระย้ากับความเรียบง่ายของผนังปูนธรรมดา หรือ โต๊ะอาหารไม้สักกับเก้าอี้พลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้ความนิยมเฟอร์นิเจอร์ที่มีแนวอิงความเป็นธรรมชาติรักษาโลกร้อนและในขณะ เดียวกันให้แฝงความหรูหราและทันสมัยอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งประกอบคือ ความเป็นไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล
ความนิยมด้านการตกแต่ง และการออกแบบของสิงคโปร์จะเป็นไปตามทิศทางของโลก แต่สิงคโปร์ยังขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านการออกแบบและตกแต่ง ทำให้ต้องจ้างบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านนี้จากประเทศใกล้เคียงในภูมิภาค โดยเฉพาะจากไทย ทั้งที่เข้ามาเป็นวิทยากรให้ความรู้ และเป็นบุคลากรออกแบบและแนะนำในการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศต่างๆรวมทั้งไทยเพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ในสิงคโปร์
1. International Enterprise Singapore (IE Singapore) โดยเน้นการจัดนำคณะนักธุรกิจ และคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อประชาสัมพันธ์และขยายตลาดสินค้า สร้างโอกาสและประสบการณ์ ให้มีความเข้าใจตลาดต่างประเทศ เพื่อบริษัทจะได้ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการ และสร้างเครือข่ายธุรกิจด้วย ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ นิวเดลฮี มุมไบ รัสเซีย ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา
ทั้งนี้ IE Singapore ทราบดีว่า บริษัทเฟอร์นิเจอร์สิงคโปร์จะประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่ตลาดโลก ที่มีการแข่งขันสูง และมีคู่แข่งจำนวนมาก ซึ่งสินค้าเกรดสูง จะต้องแข่งขันกับผู้ผลิตของประเทศในยุโรปที่มีชื่อเสียงมานาน และสินค้าเกรดกลาง-ต่ำ ต้องแข่งขันกับตลาดใหม่ เช่น จีน และเวียดนาม ดังนั้น ผู้ผลิตสิงคโปร์จำเป็นต้องสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้สินค้ามีคุณภาพอยู่ในระดับเดียวกับ คู่แข่งขัน
2. Singapore Furniture Industries Council (SFIC) ให้การสนับสนุนโดยดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้
- ประสานงานข้อมูลเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ให้แก่บริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นสมาชิก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ กลุ่มการผลิต ค้าส่งและค้าปลีก และ Contract Work นอกจากนี้ มีกลุ่มสนับสนุนอื่นๆ อาทิ การค้นคว้าและออกแบบ การจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์/เครื่องมือ
- จัดงาน International Furniture Fair Singapore เป็นประจำทุกปี โดยมีช่วงการจัดงาน 5 วัน ประมาณมูลค่าการซื้อ-ขายประมาณปีละ 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกทั้งเป็นการสนับสนุน Singapore’s MICE (Meeting, Incentives, Conventions and Exhibitions) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ด้วย
- จัดโปรแกรมต่างๆ ภายใต้ Local Enterprise and Association Development (LEAD) Programme สำหรับสมาชิกเข้าร่วม อาทิ Designer Co-Development Programme, The Designer Entrepreneur Development Programme, Exporters Mentoring Programme
- สร้างและดำเนินการ International Furniture Centre (IFC) ที่มีมูลค่า 17 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ให้เป็นศูนย์รวมของเฟอร์นิเจอร์นานาชาติในสิงคโปร์ ณ บริเวณ Sungei Kadut Industrial Estate ซึ่งประกอบด้วยร้านค้าของผู้ส่งออก เฟอร์นิเจอร์จำนวน 28 ราย ซึ่งศูนย์ฯ ได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนธันวาคม 2550 และในอนาคตมีแผนการจะสร้างเพิ่มอีก 2 แห่ง
สิงคโปร์ใช้วิธีการขยายตลาดแบบ Regionalization ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์อยู่รอดได้และส่งผลให้สามารถนำสินค้าเกรดสูงเข้าสู่ตลาดโลก ซึ่งผู้ผลิตสิงคโปร์ได้ขยายธุรกิจไปยังตลาดนานาชาติ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และตลาดใหม่ ทั้งที่เป็นการส่งออกสินค้า การตกแต่งโครงการอสังหาริมทรัพย์ และจัดตั้งร้านค้าปลีก รวมถึงการจัดตั้งสำนักงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 16 ประเทศ อาทิ บริษัท Design Studio, Cheng Meng, Star Furniture Group, Hawaii Furnishings, Cellini, Koda, Sitra’s Furniture
หน่วยงานภาครัฐ International Enterprise Singapore (IE Singapore) ได้ร่วมมือและให้การ สนับสนุน The Singapore Furniture Industries Council ในการจัดตั้งชื่อตราสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์ “Singapore Mozaic” สำหรับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 27 ราย ที่รวมกลุ่มนำสินค้าเฟอร์นิเจอร์สู่ตลาดโลก โดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญๆของโลก เช่น Italy’s Milan Furniture Fair
ชื่อตราสินค้า “Singapore Mozaic” ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2551 โดย Mr. Lee Boon Yang, Minister for Information, Communications and the Arts เพื่อให้สมาชิกของ The Singapore Furniture Industries Council ใช้ชื่อตราสินค้านี้สำหรับการนำสินค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มให้เฟอร์นิเจอร์สิงคโปร์มีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า จากร้อยละ 0.7 มูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 มูลค่าประมาณ 11 พันเหรียญสิงคโปร์ ภายในปี 2558
ทั้งนี้ ตราสินค้า “Singapore Mozaic” แสดงถึงการประทับตรารับรองว่า สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของสิงคโปร์ มีคุณภาพดี รูปแบบทันสมัย เชื่อถือได้ และการบริการอย่างพิเศษ
(1) ส่วนใหญ่ผู้ผลิตสิงคโปร์มีโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูง ส่งผลให้สินค้าสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ
(2) ผู้ผลิตสิงคโปร์มีนโยบายการแข่งขันที่แข็งแกร่ง และพยายามผลิตสินค้าให้เป็นที่แตกต่างจากผู้ผลิตของประเทศอื่นๆ
(3) เฟอร์นิเจอร์สำหรับที่พักอาศัยในสิงคโปร์ ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็ก เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์ที่นิยมใช้ภายในประเทศจะมีฟังก์ชั่นหลายอย่าง และราคาไม่สูงมากนัก จึงทำให้ผู้ผลิตสิงคโปร์หันไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ชั้นสูงและขนาดใหญ่เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยุโรปและตะวันออก-กลางเพิ่มมากขึ้น
(4) ปัจจุบัน สิงคโปร์ยังคงมีความก้าวหน้าในด้านการก่อสร้างต่างๆ ได้แก่ โรงแรม สถานที่ราชการ อาคารพาณิชย์ และที่พักอาศัย ทั้งที่เป็นโครงการของภาครัฐและเอกชน ซึ่งคาดว่า ความต้องการเฟอร์นิเจอร์และของใช้ตกแต่งภายในจะมีอัตราสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทยที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกมายังตลาดสิงคโปร์ต่อไป
(5) ผู้ผลิตในประเทศไทยมีรูปแบบทางความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ หากสามารถ รวมกลุ่มกันและได้รับการสนับสนุนที่ดี เพื่อนำสินค้าฯสู่ตลาดนานาชาติ จะทำให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของไทยมีความก้าวหน้าและกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไป
(6) สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ถึงแม้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์สิงคโปร์จะได้รับ การสนับสนุนเป็นอย่างดีให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในตลาดต่างๆ อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเป็นฐานการผลิต
ที่มา : International Enterprise Singapore (IE Singapore),
The Singapore Furniture Industries Council and
The Straits Times
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th