เริ่มเข้าสู่ปี พ.ศ. 2553 การนำเข้าและส่งออกของจีนเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ศุลกากรแห่งประเทศจีนได้เปิดเผยข้อมูลสถิติการนำเข้าและส่งออกของจีนประจำเดือน มกราคม 2553 ว่า การนำเข้าส่งออกของจีนมีมูลค่ารวมถึง 204,782.346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 44.4 %แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 109,475.299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 21 % มูลค่าการนำเข้า 95,307.047 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 85.5 %
สินค้าที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศปริมาณมากในอันดับต้นๆได้แก่ สินค้าเทคโนโยลีชั้นสูง สินค้าอิเลคทรอนิคส์ รถยนต์และตัวถังรถยนต์ น้ำมันดิบ แร่เหล็ก เม็ดพลาสติก ทองแดง เหล็กกล้า อลูมิเนียม เศษทองแดง เครื่องจักรสำหรับแปรรูปโลหะ น้ำมันพืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงเป็นต้น สำหรับการส่งออกในเดือนแรกของปี สินค้าอิเลคทรอนิคส์ยังเป็นสินค้าหลักที่จีนส่งออกโดยมีมูลค่าถึง 6.52 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 27 % คิดเป็นสัดส่วน 57.1% ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด การส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 18.2 % เฟอร์นิเจอร์ 7.6% ของเล่น 5.9%กระเป๋าเดินทาง 4.5%รองเท้า 1.4 % แต่การส่งออกเสื้อผ้าเครื่องแต่งการลดลง 4.9%
ส่วนการค้าระหว่างประเทศไทยมีมูลค่า 3,691.744 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 89.8 % มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,290.279 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 56.5% และนำเข้าจากไทยมีมูลค่า2,401.465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 11 % ที่ผ่านมาสินค้าไทยที่จีนนำเข้าจำนวนมากคือ เครื่องอิเลคทรอนิคส์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา อาหาร สิ่งทอ และข้าว ทิศทางและสถานการณ์ของสินค้าดังกล่าวในจีนมีดังนี้คือ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหลักของเกือบทุกมณฑลในจีน โดยเฉพาะมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน แต่เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้ตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนลดลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่เท่ากับปี 2551 แม้ว่าการส่งออกจะลดลง การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีนไม่ได้ชะลอตัวลง เนื่องจากเมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ออกนโยบายกระตุ้นการซื้อขายภายในประเทศ โดยได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลให้กับโครงการ เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ และรถยนต์สู่ชนบท ให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรในชนบทซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ และตามด้วยโครงการเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า รถเก่า แลกเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่และรถใหม่ กระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศจีนได้รวบรวมสถิติการแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่ 9 เมืองสำคัญถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 พบว่าได้จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าไปแล้วทั้งสิ้น 3.6 ล้านเครื่อง รวมมูลค่า 14,090 ล้านหยวน และโครงการดังกล่าวยังจะทำต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีนยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แลกใหม่ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าระดับบนถึงสูงเช่น ทีวีจอแบน ตู้เย็น 3 ประตูและตู้เย็นประตูบานคู่ เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเป็นต้น
นโยบายรับแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าในมณฑลฝูเจี้ยน ได้ส่งผลทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า 7 ประเภทคือโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เติบโตอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือมีการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กว่า 800,000 เครื่อง รวมมูลค่ากว่า 1.67 พันล้านหยวน และในจำนวนตัวเลขดังกล่าวเป็นรถยนต์และมอเตอร์ไซค์จำนวน 1.58 แสนคัน รับแลกรถเก่าคืนได้กว่า 70,000 คัน เฉลี่ยรับแลก 600 คันต่อวัน
เดือนมกราคมที่ผ่านมาประเทศจีนมีการส่งออกสิ่งทอ (เส้นด้าย เส้นใยต่างๆ) ไปยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่า 5,581.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 18.2% แต่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและแอคเซสเซอรรี่มีมูลค่าลดลงเหลือ 9,986.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 4.9 % ผู้ที่อยู่ในวงการสิ่งทอและเสื้อผ้าของจีนคาดว่าในปี 2553 การส่งออกจะดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าจีนเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เมื่อปลายปี 2552 โดยเฉพาะตลาดอเมริกาและยุโรป และนอกจากนั้นแล้วนักธุรกิจจีนยังหันมาให้ความสำคัญต่อการทำตลาดภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเล็งเห็นกำลังการบริโภคของคนจีนในประเทศ ซึ่งดูจากตัวเลขการค้าปลีกในปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมถึง 1.13 ล้านล้านหยวน เติบโตเพิ่มขึ้น 15.8 % และในจำนวนตัวเลขดังกล่าวการซื้อขายสินค้าประเภท เสื้อผ้า หมวก รองเท้า สิ่งทอ มีมูลค่าถึง 4.76 หมื่นล้านหยวน
มณฑลฟูเจี้ยนเป็นแหล่งผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอที่สำคัญที่สุดของจีน และมีการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์จากประเทศไทย คาดว่าในปีนี้การนำเข้าสิ่งทอและเส้นใยสังเคราะห์จากไทยยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังคงทำตลาดในประเทศมากขึ้นแล้ว การส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอของมณฑลฟูเจี้ยนยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดูจากตัวเลขการส่งออกเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอรวมถึงเส้นใยมีมูลค่าถึง 960ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 10.7 % ตลาดที่สำคัญคือยุโรป อาเซี่ยน และอเมริกา แบ่งเป็นส่งออกไปตลาดยุโรป 290 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 19% ตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า และตลาดอเมริกา 800,00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 34.3% โดยการส่งออกไปยัง 3 ตลาดดังกล่าวคิดเป็น 49.9 % ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสิ่งทอทั้งหมดของจีน
ปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่ใช้ยางพารามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้ว่าระยะหลังจีนได้ส่งเสริมการเพาะปลูกยางพาราเพื่อใช้ในประเทศ แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่จำกัด จีนจึงผลิตยางพาราได้เพียงปีละ 6 แสนตัน ที่เหลือ 70 % ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ
เดือนมกราคม 2553 จีนนำเข้ายางธรรมชาติ รวมถึงน้ำยางถึง 170,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า421.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 190.3% และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 394.6% และยางสังเคราะห์ 127,129 ตัน มูลค่า299.526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้น 182.3 % และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 194.3 %
เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้เมื่อปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราเพื่อนำมาผลิตยางรถยนต์ในจีนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาประเทศจีนสามารถผลิตยางรถยนต์ได้มากถึง 654.64 ล้านเส้น คาดว่าในปี 2553 จะผลิตได้เกินกว่า 700 ล้านเส้น และเชื่อมั่นว่าภายในระยะเวลา 5 ปีอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ในจีนจะเติบโต 10-15%อย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าวันที่ 1 มกราคม 2553 จีนจะมีการปรับลดภาษีนำเข้ายางพาราลงตามข้อตงลงการค้า AFTA ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้ายางพาราลดลงแต่ผู้ประกอบธุรกิจด้านยางพารายังมีความหวังว่าจีนยกเลิกเก็บภาษีนำเข้ายางพารา ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวจีนที่มีความประสงค์ไปขยายธุรกิจยางพาราในต่างประเทศ เช่น ปัจจุบันมีโรงงานผลิตยางรถยนต์จำนวนหลายราย ที่ไปปลูกยางพาราในต่างประเทศแล้วส่งกลับมายังประเทศจีน แต่เนื่องจากการนำเข้ายางพารามาจีนยังต้องเสียภาษีนำเข้าอยู่นั้น บริษัทเหล่านี้จึงยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลจีนมากนัก
จากรายงานตัวเลขสถิติ ของศุลกากรจีน พบว่า ปี 2010 เดือนมกราคม ที่ผ่านมา จีน มีการส่งออกข้าว รวม 67,680 ตัน คิดเป็นมูลค่า 50.72 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 52.8% ในขณะเดียวกันมีการนำเข้าข้าว ธัญพืชและแป้ง รวม 270,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 97.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 146.3%
การนำเข้าข้าวของจีนมีช่องทางการนำเข้าหลายเส้นทาง ส่วนใหญ่จะนำเข้าทางเรือ และท่าเรือที่สำคัญในเขตนี้คือ ท่าเรือหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง โดยที่มณฑลเจ้อเจียง เป็นมณฑลหนึ่งที่มีการนำเข้าข้าวจากไทยซึ่งมีปริมาณการนำเข้ากว่า 2,000 ตันต่อปี การนำเข้าข้าวส่วนใหญ่ เป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 และข้าวเหนียว เป็นต้น นำเข้าโดยซัพพลายเออร์รายใหญ่มาทาง ท่าเรือหนิงโป ผ่านไปทางนครหางโจวที่ท่าเรือเป่ยหลุนเพื่อทำการตรวจสอบและกักกัน ซึ่ง CIQ จะทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้า จัดเก็บตัวอย่าง ทดสอบในห้องปฏิบัติการ และอนุมัติรายการ เพื่อออกใบรับรองการกักกันผ่านการตรวจสอบ และดำเนินการติดตามผู้รับเพื่อลงบันทึกการตรวจสอบ ก่อนที่มีการจัดเก็บนำเบิกจ่ายเพื่อจำหน่ายต่อไป
ราคาข้าวในมณฑลเจ้อเจียง ราคาข้าวผลิตในจีน ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 หยวน/กิโลกรัม ราคาขายส่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 3.4 หยวน/กิโลกรัม สำหรับเมืองเซี่ยเหมิน ราคาข้าวผลิตในจีน ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.04 หยวน/กิโลกรัม ราคาขายส่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 2.9 หยวน/กิโลกรัม ในขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทย ที่เป็นข้าวหอมมะลิไทยแท้ จะมีราคาค่อนข้างสูง ราคาขายส่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8-10 หยวนต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 12 หยวน/กิโลกรัม ข้าวผสม ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 6 -7 หยวน/กิโลกรัม
เมื่อเทียบข้าวไทยกับข้าวจีนแล้ว ข้าวไทยมีราคาค่อนข้างสูงถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลิไทยจะได้ชื่อว่า เป็นข้าวที่คนจีนนิยมบริโภค เนื่องจากข้าวไทยมีกลิ่นหอม แต่ในปัจจุบัน ข้าวไทยมีราคาสูงขึ้นและผู้บริโภค ไม่มีความมั่นใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย เพราะมีการปลอมปนข้าวในจีน หลังการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนจีน เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ข้าวในโควต้าภาษีนำเข้าลดเหลือ 0 % ไม่ได้มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมา การนำเข้าข้าวในโควต้า เก็บภาษีเพียง 1 % จึงเป็นเพียงการลดต้นทุนให้กับผู้นำเข้าเท่านั้น ในปัจจุบันรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนเรื่องการตัดต่อทางพันธุ์กรรมจึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตข้าวที่ผลิตในจีนที่พัฒนาสายพันธุ์จะเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นกระตุ้นการบริโภคข้าวหอมมะลิไทย ควรนำจุดเด่นในแง่คุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่แท้จริง มีการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลิไทยจะมีราคาค่อนข้างสูงแต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว เชื่อได้ว่าผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง จะบริโภคมากขึ้นแน่นอน
จากรายงานตัวเลขสถิติ ของศุลกากรจีน พบว่า เดือนมกราคม ที่ผ่านมา จีนมี การนำเข้าผลไม้สด แปรรูป คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 191.55 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 29.5 % ในปี 2009 เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยนมีการนำเข้าสินค้าอาหาร ประเภทผลไม้สด แปรรูป จากไทย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 3.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 190.98% และการส่งออกสินค้าอาหาร คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 20.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 473.68 % จากสถิติการส่งออก จะเห็นได้ว่า จีนมีความตื่นตัวมากในเรื่องของการส่งออก และให้ความสนใจในเรื่องของการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าในการส่งออก เนื่องมาจากที่ผ่านมา จีนในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก มักจะประสบปัญหาในเรื่องของการพบสารปนเปื้อนในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารตกค้างในเกี้ยวซ่า หรือแม้กระทั่งพบสารปนเปื้อนในนมทารก ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงประกาศใช้กฎหมาย Food Satety Law เพื่อควบคุมดูแลการออกใบอนุญาต การจดทะเบียน และการกำหนดมาตรฐานอาหารตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค
จากกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ได้มีนโยบายตรวจสอบและกักกัน เพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในการส่งออก โดยมีการก่อสร้างโซนสาธิตคุณภาพอาหารและความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างแหล่งอาหารและสินค้าเกษตร โดยเริ่มจาก ปลา, สัตว์ปีก ,ชา เป็นต้น โดยมีการก่อสร้างโซนสาธิตคุณภาพอาหารและความปลอดภัย มีโครงการริเริ่มพื้นที่ควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร 21 แห่ง ครอบคลุม 9 เมืองในมณฑลฝูเจี้ยน และมีการจัดตั้ง ที่จัดตั้งขึ้น “หน่วยงานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ “ ในรัฐบาลท้องถิ่น มีวิธีการจัดการทั้งภูมิภาคในรูปแบบเดียวกัน โดยจัดทำเป็นคู่มือใช้ในการปฎิบัติเพื่อตรวจสอบและกักกัน สินค้าอย่างเป็นระบบ พร้อมกันนั้นได้มีการนำระบบ GAP (Good Agricultural Practice) มาใช้ ปัจจุบันมีพืชจำนวน 200 พันธุ์ ที่อยู่ในระบบ GAP มี 25 บริษัทที่ได้รับใบรับรองแล้วกว่า 50 พันธุ์ และมีการสร้างระบบรักษามาตรฐานความปลอดภัย สินค้าเกษตรกรรมในเขตฉางเลอ ซานหมิง และพื้นที่โดยรอบ ได้พัฒนาระบบคุณภาพและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการส่งออก โดยใช้ระบบ GAP(Good Agricultural Pactice)+GSP (Generalised System of Preferences)+HACCP (Hazard Analysis Critical control Point)
GAP คือ ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการ และมีความปลอดภัยต่อการบริโภค
GSP คือ ระบบสิทธิพิเศษทางศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนา โดยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าในข่ายที่ได้รับสิทธิ
จากมาตรการดังกล่าว สามารถกล่าวได้ว่า จีนจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญของไทยไปยังตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทย ควรมีการตรวจสอบเพื่อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อไป
ประเทศจีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกมากกว่า 15 % ในปี 2009 จีนมีมูลค่าการบริโภคประเภทเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ สูงถึง 212.70 พันล้านหยวน มีอัตราการเติบโต 15.8 % เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นไป ทุก ๆเดือนจะมีอัตราการเติบโต 20% ขึ้นไป
จากสถิติ ปี 2009 การเติบโตของธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จะสูงขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของปีที่แล้ว จะลดลง 7 % โดยมูลค่าการขายเดือนพ.ย. ที่ผ่านมายอดขายลดลง 1% กำไรลดลง 3.4 % ตัวเลขขาดทุนอยู่ที่ 3.82 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าส่งออกของธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ที่ 77.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลงจากปีที่ผ่านมา 12.8 %
สินค้าที่เซี่ยเหมินนำเข้ามาจากเมืองไทยสิบรายการแรกปี 2009 ได้แก่ อุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ มีมูลค่าการนำเข้า 96. 85 ล้านหยวน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 23.05% และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย มูลค่านำเข้า 51.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา 213.87%
ในปี 2009 รัฐบาลได้นำมาตรการ และนโยบายในการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศ โดยนำสินค้า 3G และ TD รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยมาตรการใหม่นี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ. 2009 เป็นการนำของเก่ามาแลกของใหม่ เป็นต้น สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รัฐบาลได้ส่งเสริมโดยการออกสินค้าให้กับคนชนบท โดยให้เงินอุดหนุน 13 % ของการซื้อสินค้า และในปี 2010 จะมีการเพิ่มราคาเพดานมาตรฐานสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้สูงขึ้นรวมถึง ผลิตภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ ให้สูงถึง 5,000 หยวน ในเดือน มิ.ย. 2009 เป็นต้นมาที่มณฑลเจ้อเจียง หางโจวและเมืองต่างๆ ใน 9 มณฑล มีโครงการนำร่อง “เก่าแลกใหม่” โดยจะเป็นสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และได้รับการสนับสนุนรัฐบาลอีก 10 %
จากสถิติการส่งออกโดยรวม โทรศัพท์มือถือ Gartner มีมูลค่าสูงขึ้น 12 % ไมโครคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้น 12% SIA แผงวรจรไฟฟ้า คาดว่าจะมีการเติบโตกว่า 10% ในปี 2010 เป็นปีสำหรับธุรกิจโดยรวม 3G เป็นผู้ให้บริการหลัก ซึ่งจะลงทุนในตลาด และการได้รับการอุดหนุน โดยสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้น 100 ล้าน และคาดว่าจะมีความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.50 ล้านคน และจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยรวมของสถานการณ์ด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปในทิศทางที่ดีขึ้น
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ พลาสติกของจีนได้ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการใช้พลาสติก จึงได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการผลิต เพื่อ "มลพิษสีขาว" อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจีนได้ใช้มาตรการ "ข้อจำกัดในการผลิตและการใช้พลาสติก" มีมาตรฐานบังคับใช้แห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2008 มีการตรวจสอบถุงชอปปิ้งพลาสติกที่ไม่มีมาตรฐานจะถูกห้ามผลิต ขายและใช้ในห้างสรรพสินค้า การใช้ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร กล่องอาหารพลาสติก ถาด และ ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ จะต้องเข้าระบบดำเนินการตามระเบียบคุณภาพและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องติดเครื่องหมาย (QS) ข้อจำกัดในการผลิตและการใช้พลาสติกกับการนำระบบ QS เข้ามาใช้ในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ลดลง 80% โดย 60 %เป็นการลดลงของการใช้พลาสติกในซุปเปอร์มาเก็ต
หลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2009 กระทรวงพาณิชย์และศุลกากรจีน ได้ยกเลิกข้อจำกัดบางส่วนของการแปรรูปเพื่อการส่งออกของสินค้าพลาสติกและเม็ดพลาสติกเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้มีมาตรการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายในประเทศ และสินค้าที่นำเข้ามาประกอบในประเทศ หรือแก้ไขเพื่อการส่งออก จะมีอัตราการเก็บภาษีที่ไม่เท่ากัน โดยมีอัตราภาษีตั้งแต่ 0% ,13% และ 17% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า และอัตราการเพิ่มภาษีทางด้านการส่งออก มีนโยบายการคืนภาษี เพื่อรักษาแนวโน้มการส่งออก โดยสามารถขอคืนภาษีได้สำหรับสินค้าบางตัว ได้แก่ HS.Code3904610000(Polytetrafluoroethylene) HS.Code3904690000(Other Fluoro-polymers)ขอคืนภาษีได้ อัตรา 13% และ HS.Code3920610000-3922100000 (made of polycarbonates) HS.Code39209910 (made of potytetrafluoroethylene) ขอคืนภาษีได้อัตรา 11 % เป็นต้น
ตามสถิติของศุลกากรจีน ในเดือนธันวาคม มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 23.81 ล้านตัน เป็นมูลค่าการนำเข้า 347.95 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.2% และมีการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวน 6,558,937 ตัน เป็นมูลค่าการส่งออก 1.44 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.1%
49.611 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการนำ เข้าเพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.43% แม้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกของจีน จะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากรัฐบาลเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แต่เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคที่ยกระดับสูงขึ้นทำให้มีการคิดค้นวัตถุดิบทดแทนเม็ดพลาสติกที่ได้จากน้ำมัน เช่น ถ่านหิน แอลกอฮอล์ หรือจากธัญพืช ดังนั้น อุตสาหกรรมพลาสติกในจีนยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก
ประเภทสินค้า หน่วย ม.ค. 2553 ม.ค.2552 เติบโต % จำนวน มูลค่า จำนวน มูลค่า จำนวน มูลค่า เครื่องอิเลคทรอนิคส์ - - 43,497,730 - 26,182,268 - 66.1 สินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง - - 27,085,627 - 15,634,023 - 73.2 น้ำมันดิบ หมื่นตัน 1,711 9,405,606 1,282 3,883,902 33.4 142.2 แร่เหล็ก หมื่นตัน 4,662 4,190,734 3,261 2,635,450 43 59 เม็ดพลาสติก หมื่นตัน 208 3,421,039 131 1,587,852 58.9 115.5 รถยนต์และช่วงล่างคันรถ คัน 55,974 2,190,232 23,405 881,847 139.2 148.4 ทองแดงแปรรูปและไม่แปรรูป ตัน 292,096 2,123,076 233,132 868,576 25.3 144.4 ถั่วเหลือง หมื่นตัน 408 1,896,887 303 1,197,470 34.5 58.4 น้ำมันสำเร็จรูป หมื่นตัน 254 1,551,274 238 856,874 6.7 81 เหล็กกล้า หมื่นตัน 135 1,498,059 87 1,274,955 54.9 17.5 ยางพารา (ธรรมชาติ) หมื่นตัน 17 421,587 6 85,231 190.3 394.6 ยางสังเคราะห์ ตัน 127,129 299,526 45,028 101,722 182.3 194.3 ใยสังเคราะห์ ตัน 40,282 134,493 27,170 75,141 48.3 79 ใยสังเคราะห์ใช้ในการผลิตเสื้อผ้า หมื่นตัน 3 68,821 2 25,854 98.2 166.2 ผลไม้สด แปรรูป ตัน 233,191 191,551 184,526 147,890 26.4 29.5 แป้งและธัญพืช หมื่นตัน 27 97,838 8 39,717 234.1 146.3 หน่วย พันเหรียญสหรัฐฯ ที่มา ศุลกากรแห่งประเทศจีน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th