ระหว่างมกราคมถึงธันวาคมของปี 2553 การนำเข้าพลาสติกของจีนมีจำนวน 239,100 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็นร้อยละ 0.4 คิดเป็นมูลค่า 43,562.721 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 25.5 การส่งออกมีจำนวน 7,426,674 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 13.2 คิดเป็นมูลค่า 17,044.039 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 29.5
ปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทสำคัญในอุตสาหรรมบรรจุภัณฑ์ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในการใช้พลาสติกเพิ่มขึ้นมากกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น ฟิล์มพลาสติก ฟิล์มลามิเนต (Laminated Film) แผ่นพลาสติกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระจกเป็นส่วนประกอบยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นหลัก ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกใสที่สวยงามและมีน้ำหนักเบามีแนวโน้มเข้ามาแทนที่ ประเทศจีนมีบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกมากว่า 4,000 บริษัท ฟิล์มลามิเนตมีกำลังการผลิตต่อปีมากกว่า 1.5 ล้านตัน วัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มลามิเนตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงและสามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชน
จากข้อมูลสถิติของศุลกากรเมืองฝูโจว ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2553 ราคาผลิตภัณฑ์พลาสติกส์มีการปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการส่งออกมีจำนวน 496,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 คิดเป็นมูลค่า 1,360 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และมีราคาเฉลี่ยตันละ 2,749 เหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ส่งออกไปยังอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น การส่งออกผ่านท่าเรือฝูเจี้ยนไปยังอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ส่วนการส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1
ปัจจุบัน การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศจีนมีความกดดันสูงเนื่องจากค่าเงินหยวนแข็งตัวขึ้น สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกคาดการณ์ว่า ค่าเงินหยวนแข็งขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลกระทบให้การส่งออกของอุตสาหกรรมพลาสติกสูญเสียรายได้ประมาณ 1,200 ล้านหยวน กำไรลดลงประมาณ 300 ล้านหยวน นอกจากนี้ ราคาวัตถุดิบและแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการแข่งในตลาดต่างประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้นก็เป็นอุปสรรคและความลำบากของผู้ประกอบการผลิตพลาสติกของจีน
อุปกรณ์โทรคมนาคมอิเล็กทรอนิคและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของจีนมีความเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว เดือนพฤศจิกายนของปี 2553 การส่งออกได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ร้อยละ30.3 ร้อยละ 17.7 ร้อยละ 11.1
การส่งออกของผลิตภัณฑ์ประเภทไอทีสารสนเทศและเครื่องใช้ในบ้าน มีมูลค่า 9.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 7.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และร้อยละ 23.3 ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมร้อยละ 10.5 และร้อยละ 8.2
การส่งออกผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 19.71 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มูลค่าการส่งออก 8.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 โทรศัพท์เคลื่อนที่ มูลค่าการส่งออก 4.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29
ระหว่างมกราคมถึงพฤศจิกายน มูลค่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 จำนวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หลักมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 894.953 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 การผลิตโทรทัศน์สี 107.641 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในนั้น การผลิตโทรทัศน์ LCD 76.93 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 คลุมสัดส่วนโทรทัศน์สีร้อยละ 71.5 เทียบกับปีที่แล้ว (59.2%) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ 223.597 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 ในนั้น การผลิตโน๊ตบุ๊ค 171.18 เครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 คลุมสัดส่วนของไมโครคอมพิวเตอร์ร้อยละ 76.6 การผลิตแผงวงจรไฟฟ้า 5.937 ล้านแผ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4
คนจีนนิยมซื้อ IPAD มากขึ้น บริษัท HP และบริษัท DELL กำลังเตรียมตัวเข้าสู่วงการตลาดแท็บเล็ตพีซี ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและซัพพลายเออร์ขยายการผลิตหน้าจอสัมผัสประเภท Capacity touch screen ขนาดใหญ่ ทำให้หน้าจอสัมผัสประเภท Capacity touch screen ขนาดกลางและขนาดเล็กไม่เพียงพอความต้องการของตลาด
หนังสือพิมพ์เหอเฝยรายงานว่า มูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมืองเหอเฝยประจำปี 2553 ได้สร้างประวัติศสาตร์การเติบโตที่สูงที่สุดด้วยตัวเลขถึง 376,900 ล้านหยวน อุตสหากรรมที่โดดเด่นที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มีมูลค่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมถึง 102,000 ล้านหยวน ซึ่งเป็นภาคอุตสหกรรมแรกของเหอเฝยที่สามารถสร้างยอดการผลิตถึงหลักแสนล้านหยวน พร้อมกันนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกลางมีมูลค่าการผลิตถึง 77,000 ล้านหยวน นับเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับเมืองเหอเฝยเช่นกัน ผู้บริหารระดับสูงของเมืองเหอเฝยได้ประกาศตั้งเป้าภายในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2554-พ.ศ.2559) เมืองเหอเฝยจะส่งเสริมอุตสหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ให้มูลค่าการผลิตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 200,000 ล้านหยวน และเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของโลก
คาดการณ์กันว่าในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 12 จะเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสหกรรมเครื่อง ใช้ไฟฟ้าภายในจีน กล่าวคือฐานการผลิตจะค่อยๆ ย้ายจากฐานการผลิตเดิมคือตามเมืองทางแถบตะวันตกของจีน ที่มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ไปยังแหล่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าคือในแถบตอนกลางหรือทางตะวันตกของจีน พร้อมกันนั้นจะรับกระแสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสู่การบริโภคสินค้าที่มีระดับสูงขึ้น คาดการณ์ว่าปี พ.ศ. 2558 มูลค่าการผลิตภาคอุตสหกรรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเมืองเหอเฝยจะเกินกว่า 200,000 ล้านหยวน อัตราการ เติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ ร้อยละ 30 การผลิตตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์ รวมกันเกินกว่า 120 ล้านเครื่อง
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทางรัฐบาลเมืองเหอเฝยได้วางแผนการทำงานดังนี้คือ 1. เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเปิดตัวและพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และวิทยาการกับที่อื่น 2. จัดตั้งศูนย์และสถาบันที่เกี่ยวข้อง คือ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเครื่องใช้ไ ฟ ฟ้าภายในบ้านระดับประเทศ ศูนย์ข่าวสารและตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านระดับประเทศ ศูนย์รวบรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วระดับประเทศ ศูนย์รวมโลจิสติกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าระดับประเทศ 3. เร่งพัฒนาสินค้า 4 ประเภทหลัก ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ ภายใต้สามัญสำนึกที่คำนึงถึงการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม
หลังจากที่ราคายางดิบนำเข้าพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบให้อุตสหกรรมต่างๆ ที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบต่างบอบช้ำตามๆ กัน ในประเทศจีนเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา สำหรับปี 2554 ที่เพิ่งเริ่มต้น ผู้ที่อยู่ในวงการได้ออกมาวิเคราะห์ว่าปีนี้ราคายางพาราธรรมชาติยังคงจะเพิ่มขึ้น แต่จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากเชื่อมั่นว่าช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานจะลดลงไม่ ไม่เหมือนกับปีที่ผ่านมาที่ยางพาราธรรมชาติไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ราคายางธรรมชาติเริ่มปรับราคาสูงขึ้นเมื่อประมาณ เดือน กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา และสร้างสถิติเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในช่วงหลังทางรัฐบาลจีนจะมีนโยบายออกมาให้ความช่วยเหลือและกดดันไม่ให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ก็มีผลทำให้ราคายางปรับลดลง แต่กระนั้นไม่นานราคายางก็ปรับขึ้นสูงขึ้นอีกตามกระบวนการของตลาด และในที่สุดเมื่อเดือนมกราคม ปี 2554 ราคาก็ทำสถิติสูงสุด ทะลุตันละ 40,000 หยวน ผู้อยู่ในวงการยางพาราจีนได้วิเคราะห์ว่า ปี 2553 ที่ผ่านมา ยางธรรมชาติที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.7 ส่วนการเติบโตของตลาดรถยนต์ทั้งโลกเติบโตถึงร้อยละ 13.9 สินค้าทั้ง 2 ประภทเติบโตแตกต่างกันถึงร้อยละ 8.2 และเมื่อเร็วๆ นี้สมาคมประเทศผู้ผลิตยางได้ออกมาแถลงว่าปี 2554 จะสามารถผลิตยางได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 991.8 ตัน หรือประมาณร้อยละ 5.3 และคาดว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ช่องว่างการเติบโตของสินค้าทั้ง 2 ประภททิ้งห่างกันประมาณร้อยละ 6.7 เมื่อมองจากตัวเลขดังกล่าวพอคาดการณ์ได้ว่าราคายางพาราปี 2554 ยังคงเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา ?? อุตสาหกรรมสิ่งทอมณฑลฟูเจี้ยน เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน
โรงงานเสื้อผ้าสิ่งทอเมืองฉางเล่อ มณฑลฟูเจี้ยน เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานครั้งใหญ่ รายงานจากสำนักงานแรงงานเมืองฉางเล่อแจ้งว่า ปี 2553 อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอเมืองซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของเมืองฉางเล่อประสบความสำเร็จค่อนข้างดี ค่าจ้างปรับขึ้นเดือนละหลายร้อยหยวน แต่อย่างไรก็ตามแรงงานส่วนใหญ่ยังกลับสู่บ้านเกิดส่งผล ก่อนตรุษจีนขาดแคลนแรงงานกว่า 8,000 คน กว่าครึ่งเป็นแรงงานในโรงงานเสื้อผ้าและสิ่งทอ
สาเหตุการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากปีที่ผ่านมาอุตสหกรรมสิ่งทอฟื้นตัวจึงเริ่มมีการขยายกิจการและเพิ่มกำลังการผลิต ประจวบกับกระแสการเดินทางกลับสู่บ้านเกิดของแรงงานที่มาจากชนบทและต่างเมือง แรงงานที่ทำงานในเมืองฉางเล่อส่วนใหญ่มาจากมณฑลกุ้ยโจว หูหนาน หูเป่ยและเสฉวน ในปัจจุบันความเจริญของประเทศเริ่มกระจายสู่พื้นที่ตอนใน ความต้องการแรงงานของพื้นที่ตอนในจึงมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีแรงงานส่วนมากที่เดินทางกลับบ้านเกิดแล้วไม่กลับมาทำงานต่างเมืองอีก โดยติดสินใจเลือกที่จะทำงานที่บ้านเกิด เพราะรายได้ไม่ต่างกันมาก ขณะที่ค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพต่ำกว่า ประกอบกับแรงงานชนบทรุ่นใหม่ที่เกิดหลังปี ค.ศ..1980 และ 1990 มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงเลือกงานที่มีเงินเดือนสูงๆ ดังนั้นเพื่อมัดใจให้แรงงานเหล่านี้อยู่ทำงานต่อที่ฉางเล่อ โรงงานส่วนใหญ่ได้ปรับแรงงานขั้นต่ำขึ้น ปี 2552 ที่ผ่านมาค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละเพียง 1200 หยวนเท่านั้น ปี 2553 ที่ผ่านมาปรับขึ้นเป็น 1,600-1,800 หยวน (เวลาทำงาน 8 ชั่วโมง) สวัสดิการอาหารและที่พักเปลี่ยนเป็นจ่ายแทนเป็นเงินสด??
ในปัจจุบันผู้ประกอบการเจ้าของโรงงานในจีนตระหนักถึงปัญหาขาดแคลนแรงงานเป็นสำคัญ หลายโรงงานไม่สามารถรับออเดอร์จากประเทศได้ เพราะไม่สามารถหาแรงงานมาทำงานได้ ดังนั้นหัวใจสำคัญของการบริหารคือมัดใจแรงงานให้อยู่กับตนให้นานที่สุด มาตรการที่เห็นชัดคือการเพิ่มค่าจ้าง เพิ่มสวัสดิการต่างๆ โรงงานที่มีผลประกอบการดีถึงขึ้นต้องเช่ารถหรือซื้อตั๋วเครื่องบินไปกลับให้กับลูกจ้างในช่วงตรุษจีนอีกด้วย?
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศจีนรายงานว่า ราคาสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคโดยรวมประจำเดือนธันวาคม 2553 ค่อนข้างคงตัว อัตราการเติบโตขตัวเลข CPI เหลือร้อยละ 4.5
ปี 2553 ที่ผ่านมา เป็นปีที่สินค้าเกษตรจีนขึ้นราคาครั้งรุนแรงจนถึงขั้นที่เรียกว่าบ้าคลั่งเลยก็ได้ ไม่ว่าถั่วเขียว กระเทียม แอปเปิ้ล ข้าว น้ำตาล ฝ้าย มันฝรั่ง ยกตัวอย่างเช่นราคาน้ำตาลซึ่งเริ่มขยับราคาเมื่อเดือนกันยายน 2553 จาก ก.ก.ละ 5.2 หยวนเป็น ก.ก.6.6 หยวน ถึงแม้ว่าภาครัฐจะพยายามออกมาควบคุมราคาแต่เนื่องผลผลิตมีน้อย ราคาจึงยากที่จะควบและในที่สุดเมื่อเดือนตุลคม ราคาน้ำตาลในตลาดก็ทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 20 ปี ด้วยราคาตันละ 6,000 หยวน
ราคามันฝรั่งก็เริ่มทำท่าขยับราคาขึ้นเมื่อเดือนกันยายนเช่นเดียวกัน ราคาขายส่งที่ตลาดปักกิ่งจาก ก.ก.ละ1.2 หยวนเพิ่มเป็น 2.6 หยวน เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมาราคารับซื้อมันฝรั่งเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปราคาเฉลี่ยตันละ 500-600 หยวน พอถึงช่วงเก็บเกี่ยวของปี 2553 ราคากลับขยับสูงขึ้นถึง ตันละ 1,200 -1,300 หยวน และเกิดเหตุการณ์แย่งซื้อ และกักตุนสินค้าขึ้น มันฝรั่งนอกจากเป็นอาหารประเภทผักที่รับประทานทั่วไปในครัวเรือนแล้ว ยังเป็นเป็นวัตถุดิบสำคัญในวงการอาหารแปรรูปในจีนเพราะนิยมทำเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว รวมถึงมันฝรั่งทอด สแนคยอดฮิต ดังนั้นอุตสหกรรมเหล่านี้จึงได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง
สาเหตุที่ทำให้สินค้าเกษตรเหล่านี้ขึ้นราคาอย่างกระทันหันเนื่องจากผลผลิตลดลง อันเป็นผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การขึ้นของราคาของสินค้าไม่ได้ส่งผลดีต่อเกษตรกรอย่างที่คิด เนื่องจากต้นทุนการเพาะปลูกได้มีการขยับตัวสูงตามเป็นเงาตามตัว ปุ๋ยโปตัสเซี่ยมขึ้นราคาร้อยละ 10-20 ปุ๋ยแอมโมเนีย จากตันละ 1,600 หยวนขึ้นเป็น 1,800 หยวน ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซิลในประเทศขึ้นราคายิ่งทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มสูงตามขึ้นด้วย นอกจากนั้นแรงงานก็หายากและขึ้นราคา มีการคำนวนคร่าวๆว่าต้นทุนการขนส่งในจีนปัจจุบันสูงกว่ามาตรฐานโลกถึง 3 เท่า ว่ากันว่าราคาสินค้าเกษตรในจีนขึ้นลงมิได้อยู่ที่ตัวสินค้าเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่เป็นส่งผลต่อราคาคือค่าแรงงาน ต้นทุนการขนส่ง และกระบวนการขั้นตอนโลจิสติกส์อื่นๆ
ตามข้อมูลสถิติแห่งชาติ ปี 2553 ปริมาณการผลิตธัญพืชของประเทศจีนรวม 546.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 7 ปี ธัญพืชรวมกันแล้วมากกว่าหนึ่งล้านล้านตัน (5 แสนล้านกิโลกรัม) ชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนมีความเจริญเติบโตด้านกำลังการผลิตธัญพืชอย่างมากซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและความมั่นคงของสังคม
ในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึงนี้ คณะกรรมการการพัฒนา ปฏิรูป และกองเสบียงอาหารแห่งชาติ มีการออกประกาศว่าได้มีการแผนปฏิบัติการจัดซื้อธัญพืชและการบริหารจัดการตลาด เพื่อรักษาความมั่นคงของตลาดธัญญพืชและน้ำมัน ดังนี้
1. ต้องรายงานสถานการณ์ธัญญพืชและน้ำมันที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของราคาสินค้า
เนื่องจากนโยบายต่างๆ ที่ส่งเสริมเกษตรกรรมธัญญพืชของประเทศจีนมีการเติบโตติดต่อกันมา 7 ปี โดยเฉพาะภาคอีสานมีจำนวนการผลิตเพิ่มมากที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่จะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดปัจจุบัน และให้ความสำคัญอย่างสูงกับการรายงานสถานการณ์ธัญญพืชและน้ำมัน เพื่อรักษาความมั่นคงของตลาดและราคาสินค้า
2. ดำเนินการจัดซื้อธัญญพืชปลายปี
เนื่องจากปัจจุบันนี้เป็นช่วงเวลาการจัดซื้อธัญญพืช และการจัดซื้อธัญญพืชเป็นพื้นฐานอันสำคัญสำหรับการรักษาความมั่นคงของราคาสินค้า หน่วยงานต่างๆ ต้องเร่งปฏิบัตหน้าที่ตามนโยบาย หน่วยงานไหนที่ยังไม่มีแผนการเก็บคลังธัญญพืชต้องเร่งกำหนดแผนการ รักษาระเบียบการจัดซื้อ และความมั่นคงของราคาจัดซื้อ
3. มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดระเบียบการทำงานสำหรับธัญญพืชและน้ำมัน
การจัดระเบียบการบริหารธัญญพืชและน้ำมัน เป็นหน้าที่สำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เชื่อมโยงชีวิตประจำวันของประชาชนและความมั่นคงของเศรษฐกิจ หน่วยงานในแต่ละท้องถิ่นต้องปฏิบัตตามระเบียบการจัดเก็บและบริหารธัญพืชซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ว่าการมณฑลที่ต้องมีการปรับปรุงระเบียบการทำงานให้ครอบคลุมเพื่อรักษาความมั่นคงทางตลาดและราคาโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่กับวันตรุษจีน
4. การจัดเตรียมธัญญพืชให้เพียงพอต่อการตลาด
คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปท้องถิ่น หน่วยงานบริหารและควบคุมธัญญพืชต้องให้ความสำคัญกับการรายงานสถานการณ์ธัญญพืชและน้ำมัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจการในการบริหารตลาดว่าจะไม่มีการขาดแคลนธัญญพืชและการรักษาความมั่นคงการตลาดโดยการเร่งรัดวิสาหกิจดำเนินการแปรรูปการผลิตตามปกติและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ธัญญพืชที่เหมาะสมกับตลาดโดยให้มีความร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานการขนส่งในแต่ละท้องที่
5. ปรับปรุงโครงการการจัดจำหน่ายธัญญพืชและน้ำมันให้ทันเหตุการณ์
ปรับปรุงโครงการรายละเอียดการจัดจำหน่ายธัญญพืชและน้ำมันของแต่ละท้องถิ่นโดยดูจากสถานการณ์การตลาดและท้องถิ่น เพื่อรักษาความมั่นคงของตลาดธัญญพืชและน้ำมัน
6. เร่งรัดการดูแลควบคุมด้านตลาด
หน่วยงานธัญญพืชและราคาต้องเร่งรัดการควบคุมและวิเคราะห์ด้านตลาดธัญญพืชและน้ำมันของแต่ละท้องถิ่น ควบคุมสถาน การณ์การผลิต การแปรรูปและการจัดจำหน่ายเข้าตลาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัตหน้าที่การดูแลควบคุมด้านการตลาด เร่งรัดการดำเนินนโยบายต่างๆ หน่วยการธัญญพืชและหน่วยงานราคาต้องปรึกษาหารือร่วมมือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขยายการควบคุมตรวจสอบการบริหารในด้านแปรรูป ขายส่งและขายปลีก รักษาความมั่นคงของตลาดธัญญพืชและน้ำมัน โดยได้ประกาศเน้นหนักว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินนโยบายการรักษาความมั่นคงของตลาดต่างๆ ให้ประชาชนทั้งประเทศจีนมีเทศกาลที่เต็มไปด้วยความสุข
รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยนแถล่งข่าวในวันที่ 30 ธันวาคม เกี่ยวกับสถานการณ์การเสนอสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่กับเทศกาลวันตรุษจีนว่า ในช่วงแทศกาลปีใหม่กับเทศกาลวันตรุษจีน มณฑลฝูเจี้ยนจะปล่อยอาหารที่มีมูลค่า 43,900 ล้านหยวนเข้าตลาด เทียบกับปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อย 14.3 เพื่อรักษาความเพียงพอของตลาดในช่วงเทศกาล ได้แก่ ธัญญพืช 189,000 ตัน น้ำมันบริโภค 11,000 ตัน หมู 465,000 ตัว เนื้อและแพะ 24,000 ตัว สัตว์ปีก 16,000 ตัน ไข่สด 10,200 ตัน สัตว์ทะเล 29,000 ตัน ผัก 151,000 ตัน
ที่มา: http://www.depthai.go.th