รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า ประเทศปากีสถาน เดือนกรกฏาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 8, 2011 13:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจปากีสถาน ค่อนข้างน่าวิตก จากสถานการณ์การเมือง การก่อการร้าย รุมเร้าแม้หลังจากที่สหรัฐสังหารบินลาดินแล้วก็ตาม สถานการณ์การขาดแคลนพลังงานและไฟฟ้าเลวร้ายมากขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูร้อน อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง การโอนเงินจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้สำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ ค่าเงินรูปียังอ่อนค่าลงอีก และการลงทุนจากต่างประเทศลดลง ตามรายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนก.ค.๕๔ ของธนาคารกลางปากีสถาน ดังนี้

๑.๑ อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ๕๔ = ๑๓.๑ ลดลงจาก พ.ค.๕๔ (13.2)เล็กน้อย และสูงกว่า เม.ย. (= ๑๓.๐) แต่ยังต่ำกว่าต้นปี ๕๔(๑๓.๙) และจากช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงสุดในเดือนต.ค.-ธ.ค.53(15.5-15.7) ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย๑๒เดือน ณ มิ.ย.๕๔ เท่ากับพ.ค.เท่ากับ ๑๓.๙ ซึ่งทรงตัวระดับนี้มาตั้งแต่ธ.ค.๕๓ เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับราคาก๊าซLPGสูงขึ้นร้อยละ ๑๓.๓ เพื่อลดภาระการชดเชยราคาของรัฐบาลตามแรงกดดันจากIMF ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 4.7ของGDP ซึ่งปัจจุบันยังสูงกว่าเป้าอยู่คือร้อยละ 8

๑.๒ ปริมาณเงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศเดือนมิ.ย.๕๔ มีมูลค่า ๑,๑๐๔.๕๖ ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากพ.ค.(๑,๐๔๙.๗๙)ซึ่งใกล้เคียงกับเม.ย.และ มี.ค.๕๔ และสูงกว่ามิ.ย.ปีก่อน(๘๔๑.๔๔) ร้อยละ๓๑.๒๗ เนื่องจากใกล้เทศกาลรามาดอล และสำหรับช่วงปีงบประมาณ กค.๕๓-มิ.ย.๕๔ รวมเงินโอน ๑๑,๒๐๐.๙๗ ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน (๘,๙๐๕.๙) ร้อยละ ๒๕.๗๗

๑.๓ สำรองเงินตราต่างประเทศณ ต่างประเทศณ ๑๖ก.ค.๕๔ มีปริมาณ๑๘,๒๓๕.๓ ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก ๑๘ มิ.ย.๕๔ (๑๗,๕๒๓.๑๑ล้าน) นับว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดนับจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ต.ค.๕๑ (๖,๗๑๖ล้าน) จากการได้รับเงินกู้เพิ่มจาก ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ประกอบกับเงินโอนจากแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๒๕.๒๐ ปริมาณเงินสำรองของปากีสถานทรงตัวและดีขึ้นมาตั้งแต่มิ.ย.๕๒

๑.๔ ค่าเงินรูปีปากีสถานในเดือนก.ค.๕๔ มีค่าระหว่าง ๘๕.๘๒ - ๘๖.๕๙ รูปี/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงต่ำสุดจากมิ.ย.๕๔ อีกครั้ง ( 85.7612- 86.10) จากที่เดือนพ.ค.ที่อ่อนค่าลงถึง ๘๖.๓๗ หลังจากที่อ่อนค่าลงถึงต่ำสุดในเดือนก.ย.๕๓ (๑ USD= ๘๖.๓๒รูปี) เนื่องจากเงินช่วยเหลือจากสหรัฐลดลง และภาวะการก่อการร้ายที่ยังไม่สงบ ค่าเงินรูปีปากีสถานได้อ่อนค่าลงเป็นลำดับตั้งแต่ประสบปัญหาเศรษฐกิจในปีค.ศ. ๒๐๐๘

๑.๕ มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเดือนมิ.ย.๕๔ เท่ากับ ๑๖๐.๑ ล้านดอลลาร์ลดลงจากพ.ค.๕๔ (๒๐๕.๗ ล้าน)ร้อยละ ๒๒.๑๖ และลดลงจากเม.ย. (๑๗๗.๕ล้าน) ร้อยละ ๙.๘ ส่วนการลงทุนช่วงก.ค.๕๓-มิ.ย.๕๔ รวม ๑,๙๑๘.๐ ล้านดอลลาร์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(๒,๐๘๖.๓ล้าน) โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากจีน ฮ่องกงและตะวันออกกลาง ในกลุ่มซีเมนต์ ถ่านหิน เครื่องดื่ม

๑.๖ มูลค่าการส่งออกเดือนมิ.ย.๕๔= ๒.๖๖พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากพ.ค.๕๔( 2.26 ล้าน) และเม.ย.๕๔ (๒.๕๙ พันล้าน) ร้อยละ ๑๗.๖๙ และ๒.๗ ตามลำดับ และมูลค่าส่งออกก.ค.๕๓-มิ.ย.๕๔ รวม ๒๕.๔๖ พันล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(๑๙.๖๗ พันล้าน) ร้อยละ๒๙.๔๓ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังและเครื่องหนัง พรม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ อัญมณี เป็นต้น โดยส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จีน อาฟกานิสถาน สหราชอาณาจักร กลุ่มสหภาพยุโรป บังกลาเทศ ตุรกี ฮ่องกง เป็นต้น

สำหรับมูลค่านำเข้ามิ.ย.๕๔= ๓.๓๖พันล้านUSD ใกล้เคียงกับพ.ค.๕๔( ๓.๓๗ พันล้านUSD) แต่เพิ่มขึ้นจากเม.ย.(๒.๙๑พันล้าน) ร้อยละ๑๕.๔๖ สำหรับมูลค่านำเข้าช่วงก.ค.๕๓-มิ.ย๕๔ = ๓๕.๖๔ พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(๓๑.๒๑ พันล้าน) ร้อยละ ๑๔.๑๙ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรทอผ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ในโทรคมนาคม เช่น มือถือ รถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ฝ้ายดิบ ชา เหล็ก เม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยนำเข้าจาก สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ซาอุดิอารเบีย จีน คูเวต สิงคโปร์ มาเลเซีย ตามลำดับ

ทำให้การขาดดุลการค้าในเดือนมิ.ย.๕๔ ขาดดุล๐.๖๙ พันล้านUSD ดีขึ้นกว่าพ.ค.๕๔ซึ่งขาดดุล๑.๑๐ พันล้านUSD และดุลการชำระเงินมิ.ย.๕๔เกินดุล ๕๐๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่ พ.ค.๕๔ ขาดดุล ๕๒๗ ล้านดอลลาร์ และสำหรับช่วงปีงบประมาณก.ค.๕๓-มิ.ย.๕๔ ขาดดุลการค้า ๑๐.๑๗๔พันล้านดอลลาร์ ดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขาดดุล ๑๑.๕๔ พันล้าน และการขาดดุลชำระเงินก็ดีขึ้นเช่นกันโดยช่วงก.ค.๕๓-มิ.ย.๕๔ เกินดุลชำระเงิน ๕๔๒ ล้านดอลลาร์ จากที่ขาดดุลปีก่อน ๓,๙๔๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

๒. ภาวะการส่งออกของไทยไปปากีสถานเดือนมิ.ย.๕๔ มีมูลค่า ๘๕.๐๘ ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก พ.ค.๕๔ (๗๐.๓๓ ล้าน) และจากเม.ย.(๗๔.๐๕ ล้าน) ร้อยละ ๒๐.๙๗ และ ๑๔.๙๐ ตามลำดับ และมูลค่าช่วงม.ค.-มิ.ย.๕๔ เท่ากับ ๔๗๒.๒๒ ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(๔๔๔.๒๙ ล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๖.๒๙ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ๐.๔๑ ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออกเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ยาง เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไม้ รองเท้า และเครื่องสำอาง เพิ่มขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ