ภาวะการค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 9, 2011 13:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะการค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2554

1. ภาวะการค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 (มกราคม — มิถุนายน 2554)

1.1 มูลค่าการค้ารวม : ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) การค้ารวมของไทย-เวียดนาม มีมูลค่า 4,455.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.99 จากช่วงเดียวกันของปี 2553

1.2 การส่งออก : ไทยส่งออกไปเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีมูลค่า 3,521.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.02 (เป้าหมายปี 2554 ร้อยละ 25)

1.3 การนำเข้า : ไทยนำเข้าจากเวียดนาม มีมูลค่า 933.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.53

1.4 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า จำนวน 2,588.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.19

1.5 สัดส่วนการนำเข้า: การส่งออก เท่ากับ ร้อยละ 79: 21

1.6 โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยไปเวียดนาม ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 :

          -ร้อยละ 9.72           น้ำมันสำเร็จรูป
                                มูลค่า       342.3      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     58.72
          -ร้อยละ 6.87           เม็ดพลาสติก
                                มูลค่า       242.0      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     32.05
          -ร้อยละ 6.05           เคมีภัณฑ์
                                มูลค่า       213.0      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     83.58
          -ร้อยละ 5.68           เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
                                มูลค่า       200.0      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     23.89
          -ร้อยละ 4.29           ผลิตภัณฑ์ยาง
                                มูลค่า       150.9      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     74.67
          -ร้อยละ 4.03           รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
                                มูลค่า       142.0      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     45.67
          -ร้อยละ 3.76           เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ
                                มูลค่า       132.4      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     40.95
          -ร้อยละ 3.64           เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
                                มูลค่า       128.1      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     15.00
          -ร้อยละ 3.14           เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
                                มูลค่า       110.7      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     40.35
          -ร้อยละ 3.02           รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
                                มูลค่า       106.2      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     41.92
          -รวม 10 รายการสินค้า    มูลค่า     1,767.6      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     44.98
          -ร้อยละ 49.8           อื่นๆ
                                มูลค่า     1,754.2      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     24.53
          -รวมทั้งสิ้น              มูลค่า     3,521.8      ล้านเหรียญสหรัฐ      เพิ่มขึ้นร้อยละ     34.02

เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยไปยังเวียดนามจะพบว่า ไม่มีสินค้ารายการใดมีสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น จากสถิติการนำเข้าสินค้าไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดเวียดนามถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพรองรับทั้งสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการนำเข้าอยู่ในสัดส่วนที่ไม่ห่างกันมากนัก

1.7 โครงสร้างสินค้านำเข้า : ไทยนำเข้าสินค้าจากเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ดังนี้

          -ร้อยละ 12.27          เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
                                มูลค่า       114.5      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    62.52
          -ร้อยละ 9.62           เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
                                มูลค่า        89.8      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    14.34
          -ร้อยละ 8.46           น้ำมันดิบ
                                มูลค่า        79.0      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ   258.45
          -ร้อยละ 7.26           ด้ายและเส้นใย
                                มูลค่า        67.8      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    47.34
          -ร้อยละ 4.81           เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
                                มูลค่า        44.9      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ   161.73
          -ร้อยละ 4.45           เคมีภัณฑ์
                                มูลค่า        41.6      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    83.16
          -ร้อยละ 4.41           ถ่านหิน
                                มูลค่า        41.2      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ   295.53
          -ร้อยละ 4.00           เลนส์ แว่นตา และส่วนประกอบ
                                มูลค่า        37.4      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    40.92
          -ร้อยละ 3.38           เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์
                                มูลค่า        31.6      ล้านเหรียญสหรัฐ       ลดลงร้อยละ      1.31
          -ร้อยละ 3.27           สัตว์น้ำสด แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งแปรรูป
                                มูลค่า        30.5      ล้านเหรียญสหรัฐ       เพิ่มขึ้นร้อยละ    25.21

2. การส่งออกสินค้าจากไทยมายังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เปรียบเทียบกับประเทศต่างในภูมิภาคอาเซียน :

จากสถิติการส่งออกสินค้าของไทย จำแนกรายประเทศ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 พบว่า ไทยส่งออกมายังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีมูลค่า 3,521.81 ล้านเหรียญสหรัฐ มากเป็นอันดับที่ 9 ของการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆในโลก ซึ่งเวียดนามครองอันดับที่ 9 มาตั้งแต่ปี 2552 ปรับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 8 ในปี 2552 และกลับลงไปอยู่อันดับที่ 9 ในปี 2553

สำหรับในภูมิภาคอาเซียน ไทยส่งออกไปยังมาเลเซีย มากเป็นอันดับ 1 (มูลค่า 6,056.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.65) รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ (มูลค่า 5,492.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.47) อินโดนีเซีย (มูลค่า 5,111.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.51) อันดับ 4เวียดนาม (มูลค่า 3,521.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.02) ฟิลิปปินส์ (มูลค่า 2,209.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.92) พม่า (มูลค่า 1,350.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05) ลาว (มูลค่า 1,342.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.26) กัมพูชา (มูลค่า 1,332.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07) และ บรูไน (มูลค่า 66.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.72)

3. การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 (สถิติของเวียดนาม) :
          มูลค่าการค้ารวม                       มูลค่า        3,873.84           ล้านเหรียญสหรัฐ
          ไทยส่งออกมายังเวียดนาม                มูลค่า        3,089.32           ล้านเหรียญสหรัฐ
          ไทยนำเข้าจากเวียดนาม                 มูลค่า          784.52           ล้านเหรียญสหรัฐ
          เวียดนามขาดดุลการค้า                  มูลค่า        2,304.81           ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่

          น้ำมันและก๊าซ                         มูลค่า          298.42           ล้านเหรียญสหรัฐ
          ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์                   มูลค่า          263.72           ล้านเหรียญสหรัฐ
          เม็ดพลาสติก                          มูลค่า          231.27           ล้านเหรียญสหรัฐ
          เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                   มูลค่า          229.94           ล้านเหรียญสหรัฐ
          เครื่องจักร เครื่องมือและส่วนประกอบ       มูลค่า          222.05           ล้านเหรียญสหรัฐ
          ชิ้นส่วนรถยนต์                         มูลค่า          206.59           ล้านเหรียญสหรัฐ
          เคมีภัณฑ์                             มูลค่า          119.27           ล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นสถิติจากกรมศุลกากรเวียดนาม ซึ่งจะพบว่ามีความแตกต่างกับข้อมูลจากกรมศุลกากรไทย โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกจากไทยที่ต่างกับเกือบห้าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ และรายการสินค้าที่ไทยส่งออกมา ถึงแม้ลำดับที่ 1 จะเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเหมือนกัน แต่ รายการสินค้าลำดับต่อมามีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะในรายการของชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ข้อมูลฝ่ายไทย อยู่ในลำดับที่ 10 มูลค่า 106.2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ข้อมูลฝ่ายเวียดนามจัดอยู่ที่ลำดับ 2 มูลค่า 263.72 ล้านเหรียญสหรัฐ

4. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 :

ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2552 และการฟื้นตัวที่ค่อนข้างช้าในปี 2553 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเวียดนามที่พึ่งพาการส่งออกประสบปัญหาหลายประการ สถาบันการเงินในเวียดนามคาดการณืว่าเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2554 จะเติบโตประมาณร้อยละ 5.43 โดยภาคการเกษตร ป่าไม้และประมง จะเติบโตร้อยละ 2.05 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง จะเติบโตร้อยละ 5.47 และภาคบริการจะเติบโตมากที่สุดที่ร้อยละ 6.28

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกของเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 27.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 ทั้งนี้ ยังไม่นีบรวมรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบที่มีมูลค่าประมาณ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงขึ้นมาก ได้แก่ ยางพารา( เพิ่มขึ้นร้อยละ 81) กาแฟ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 96) และสิ่งทอ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3) ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆก็พึ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26.4 ทั้งนี้ เวียดนามยังคงขาดดุลการค้าประมาณ 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ในส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เวียดนามมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จำนวน 456 โครงการ และโครงการเดิมที่เพิ่มเงินลงทุนอีก 132 โครงการ มูลค่าการจดทะเบียบการลงทุน 7.93 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการลงทุนจากประเทศสิงคปร์มากเป็นอันดับ 1 รองลงได้แก่ จีน เกาหลี มาเลเซีย อังกฤษ ญี่ปุ่น สำหรับการลงทุนจาก ไทยอยู่ในลำดับที่ 17 มูลค่าการลงทุนประมาณ 31 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันเวียดนามยังคงเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายปัญหา อาทิเช่น ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2554 อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดย CPI ของเดือนมิถุนายน 2554 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 13 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ถ่านหิน ทองคำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลดอลล่าร์สหรัฐ ที่มีความผันผวนอย่างมากในช่วงนี้ นอกจากนี้ เวียดนามยังประสบปัญหาการขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบ การดำเนินนโยบายที่เข้มงวดทางการเงิน โดยเฉพาะในเรื่องของเงินตราต่างประเทศ ความผันผวนของตลาดทองคำ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องทบทวนนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นนโยบายที่ส่งผลให้มีการขยายตัวทางเศรษบกิจอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 6.5-7 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อต้องลดลงต่ำกว่าร้อยละ 8 ภายในปี 2555

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วยังส่งผลกระทบต่อความต้องการพลังงาน บริษัทปิโตรเลียมเวียดนามและการไฟฟ้าของเวียดนาม ได้มีการปรับลดเงินลงทุน โดยมีผลมาจากมติการประชุมของรัฐบาลข้อที่ 11 ว่าด้วยการลดเงินลงทุนเพ่าอลดอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมหภาค

สำหรับในภาคการเงิน ในช่วงต้นปี 2554 เวียดนามประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในตลาดมือพุ่งสูงขึ้นถึง 22,500 ด่ง/1 เหรียญสหรัฐ เป็นเหตุให้ธนาคารแห่งชาติปรับลดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้ความแตกต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นทางการกับอัตราที่ไม่เป็นทางการมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

การคาดการณ์การค้าระหว่างประเทศในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 : รัฐบาลเวียดนามจะยังคงกำหนดโยบาย และเข้มงวดในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับการนค้า โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น มาตรการในการกำหนดให้สินค้านำเข้า 3 รายการ ได้แก่ ไวน์ เครื่องสำอาง และโทรศัพท์มือถือ ต้องนำเข้าผ่านด่านศุลกากร ณ ท่าเรือที่กำนด 3 แห่ง เท่านั้น ได้แก่ ท่าเรือไฮฟอง ท่าเรือดานัง และท่าเรือโฮจิมินห์ และผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตน้ำเข้าพร้อมยื่นเอกสารเพื่อยืนยันการเป็นผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการของสินค้าแต่ละยี่ห้อ ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รณรงค์ให้คนเวียดนามใช้ของที่ผลิตในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดการนำเข้า ส่งเสริมการส่งออก และลดการขาดดุลการค้า/

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก เวียดนาม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ