สรุปสถานะการณ์ข้าวสหรัฐฯในปีการตลาด ๒๐๑๑/๒๐๑๒ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔
พยากรณ์ว่าการผลิตจะลดลงเหลือประมาณ ๙.๐๔ ล้านเมตริกตัน สืบเนื่องมาจากอุทกภัยในพื้นที่การผลิตภาคใต้แถบสามเหลี่ยมมิซิสซิปปี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐอาร์คันซอร์และมิสซูรี่ทำให้พื้นที่การปลูกข้าวเมล็ดยาวลดลง (ภาคใต้ของสหรัฐฯเป็นแหล่งผลิตข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นส่วนใหญ่จะผลิตในรัฐแคลิฟอร์เนีย)
ผลผลิตข้าวเมล็ดยาวประมาณการณ์ว่าจะเท่ากับ ๖.๐๗ ล้านเมตริกตัน เป็นผลผลิตที่ต่ำที่สุดนับ ตั้งแต่ปีกาตลาด ๒๐๐๐/๒๐๐๑ ผลผลิตข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นรวมกันประมาณการณ์ว่าจะเท่ากับ ๒.๙๗ เมตริกตัน เป็นผลผลิตที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ประมาณการณ์ว่าจะเท่ากับ ๑๒.๔๓ ล้านเมตริกตันต่ำกว่าในปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๘ พยากรณ์ว่าอุปทานข้าวเมล็ดยาวจะเท่ากับ ๘.๘๓ ล้านเมตริกตันต่ำกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๑๒ อุปทานข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นจะเท่ากับ ๓.๕๓ เมตริกตันสูงกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๕
สต๊อกเริ่มต้นคาดว่าจะเท่ากับ 2.56 ล้านเมตริกตันสูงกว่าปีก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ ๕๕ และ เป็นสต๊อกเริ่มต้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปีการตลาด ๑๙๘๖/๑๙๘๗
พยากรณ์ว่าข้าวเมล็ดยาวที่เหลือข้ามปีมาจะเท่ากับ ๒.๐๕ ล้านเมตริกตัน ข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นจะเท่ากับ ๐.๔๔ ล้านเมตริกตัน
สต๊อกเมื่อสิ้นปีการตลาดประมาณการณ์จะเท่ากับ ๑.๙๐ ล้านเมตริตกันลดต่ำกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๒๖ สต๊อกข้าวเมล็ดยาวจะเหลือเท่ากับ ๑.๒๖ ล้านเมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๓๙ สต๊อกข้าวเมล็ดกลางและสั้นประมาณการณ์ว่าจะเท่ากับ ๐.๕๘ ล้านเมตริกตันสูงกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๓๐
พยากรณ์การส่งออกข้าวของสหรัฐฯว่าจะเท่ากับ ๔.๘๐ ล้านเมตริกตัน ในจำนวนนี้ ๓.๐๓ ล้านเมตริกตันเป็นการส่งออกข้าวสีแล้ว(รวมข้าวแดง) ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๑๑ และ ๑.๗๖ ล้านเมตริกตันเป็นการส่งออกข้าวเปลือก
พยากรณ์การส่งออกข้าวเมล็ดยาวว่าจะเท่ากับ ๓.๒๖ ล้านเมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๖ การส่งออกข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดสั้นพยากรณ์ว่าจะเท่ากับ ๑.๕๔ ล้านเมตริกตันลดลงร้อยละ ๗
พยากรณ์ว่าจะประมาณ 0.81 ล้านเมตริกตัน เป็นปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับ ตั้งแต่ปีการตลาด ๒๐๐๗/๒๐๐๘ แต่ยังคงเป็นปริมาณนำเข้าที่ต่ำกว่าในปี ๒๐๐๗/๒๐๐๘
ประมาณการณ์การนำเข้าข้าวเมล็ดยาวว่าจะเท่ากับ ๐.๗๐ ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ ๓ ส่วนใหญ่ของการนำเข้าจะเป็นข้าวเมล็ดยาวจากประเทศไทยที่ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวหอม ที่เหลือจะเป็นข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถาน
ประมาณการณ์การนำเข้าข้าวเมล็ดกลางและสั้นจะเท่ากับ ๐.๑๑ ล้านเมตริกตัน ปริมาณการนำเข้าไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่ของการนำเข้าเป็นการนำเข้าข้าวชนิดพิเศษ Specialty rice จากประเทศไทยที่ U.S. Census Bureau จัดประเภทว่าเป็นข้าวเมล็ดกลางและสั้น ที่เหลือเป็นการนำเข้าข้าว Arborio rice จากอิตาลี
อุปทานข้าวเมล็ดยาวที่ตึงตัวส่งผลทำให้ราคาข้าวเมล็ดยาวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อุปทานจำนวน มากของข้าวเมล็ดกลางและสั้นทำให้ราคาข้าวเมล็ดกลางและสั้นลดลง
ราคาข้าวสหรัฐฯคาดว่าจะสูงกว่าราคาของประเทศคู่แข่งขันในเอเซีย ราคาเสนอขายข้าวของ สหรัฐฯเมื่อสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นดังนี้คือ
๑.ข้าวเมล็ดยาวคุณภาพสูงจากภาคใต้ (No. 2, 4-percent brokens, bagged, free alongside vessel, U.S. Gulf port) เท่ากับ ๕๐๗ เหรียญฯต่อหนึ่งเมตริกตัน สูงกว่าราคาเสนอขายเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ประมาณ ๑๑ เหรียญฯ
๒.ราคา FOB vessel price ข้าว U.S. premium สูงกว่าข้าวไทยคุณภาพในระดับเดียวกัน ประมาณ ๑๐ เหรียญฯต่อหนึ่งเมตริกตัน
๓.ข้าว California's package-quality medium-grain rice (30-kg bags, fob vessel) เท่ากับ ๘๗๕ เหรียญฯต่อหนึ่งเมตริกตัน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th