ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (กรกฎาคม 2554)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1. Real GDP: - 0.3 % ( พ.ค. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.4 % (มิ.ย. 2554) - เทียบกับ 7.4 % ในเดือนพ.ค. 2554
3. Merchandise Import: + 1.1 % (เม.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ มี.ค.2554
4. Merchandise Export: +1.2 % (เม.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ มี.ค.2554
5. Inflation Rate: 3.1 % (มิ.ย. 2554) — เทียบกับ 3.7 % ในเดือนพ.ค.2554
ปัจจัยหลักที่มีผลลบต่อเศรษฐกิจในเดือนพ.ค. 2554 (- 0.3 %):
ปัจจัยลบเป็นผลจาก: ภาคการผลิตเหมืองแร่ น้ำมันและการกลั่น, ภาคการผลิตสินค้า , การก่อสร้าง
- ภาคการผลิตเหมืองแร่ น้ำมันและการกลั่น ลดลง 5.3% โดยสาเหตุมาจากการปิดโรงกลั่นเพื่อการซ่อมบำรุงและสภาพอากาศที่ไม่เหมาะกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นับว่าเป็นปัจจัยหลักของเศรษฐกิจถดถอยในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
- ภาคการผลิตสินค้า ลดลง 0.4% โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ การผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์พลาสติกยังลดลงในเดือนที่ผ่านมา
- ภาคการก่สร้าง ลดลง 0.3% เนื่องมาจากงานทางวิศวกรรมและงานซ่อมแซมอาคารสำนักงาน และอาคารที่มิใช่สำหรับพักอาศัย
- ธุรกิจค้าส่ง เพิ่มขึ้น 1.0% โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องมือทางการเกษตร ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.2% ในร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับบ้าน อาคารและทำสวน รวมทั้งร้านค้าจำหน่ายเครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆ
- ภาคธุรกิจสาธารณะ โดยเป็นผลจากภาคการศึกษา สุขภาพ และการบริหารจัดการภาครัฐ
- ภาคธุรกิจการเงินการธนาคาร เพิ่มขึ้น 0.1%
มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) ม.ค. — มิ.ย. 53 ม.ค. — มิ.ย. 54 ม.ค. — มิ.ย. 53/54 มูลค่าการค้า 1125.74 1,449.90 28.8 ไทยส่งออก 653.6 858.46 31.34 ไทยนำเข้า 472.1 591.44 25.27 ดุลการค้า 181.46 267.02 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-มิ.ย. 54)
เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 16 รายการ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+31.06%) ยางพารา (+124.75%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+15.10%) เครื่องนุ่งห่ม (+23.55%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+36.21%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วน (+2,089.41%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+26.14%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+62.14%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์ (+15.54%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+433.10%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+29.29%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์ (+19.36%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+111.51%) เตาอบไมโครเวฟ (+32.35%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+21.51%) เครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบ (+165.44%)
ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 4 รายการ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-12.83%) ข้าว (-17.70%) เลนซ์ (-1.75%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (-4.63%)
แหล่งข้อมูล : Statistics Canada (As of July 31, 2011)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th