ปัจจุบันราคาสินค้าบริโภคอุปโภคของสหรัฐฯกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัดเจน National Inflation Association ของสหรัฐฯพยากรณ์ว่าในปี ๒๐๑๑ ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นของสหรัฐฯจะเป็นเงื่อนไขสำคัญของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและจะเข้าไปแทนที่ความตกต่ำของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯตกต่ำลงอย่างหนักในขณะนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ราคาค้าปลีกสินค้าอาหารของสหรัฐฯโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ ๓๖ ปี เมื่อเปรียบเทียบกับราคาในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๐
ประเภท/กลุ่มสินค้า อัตราเปลี่ยนแปลงร้อยละ
กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐/๒๐๑๑
ราคาสินค้าอาหารทุกชนิดของสหรัฐฯ ๒.๑ ราคาสินค้าอาหารจากตลาดเพื่อทำรับประทานเองที่บ้าน ๒.๘ ราคาสินค้าอาหารในธุรกิจบริการร้านอาหาร ๑.๖ ราคาเนื้อหมู ๘.๙ ราคาผักสด ๘.๙ ราคาสินค้าผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ -๐.๑ ราคาไข่ ๐.๑ ราคานม ๓ ราคาเนื้อวัว ๑๐.๘ ราคาเนื้อสัตว์ปีก ๒ ราคากาแฟ ๕.๒ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯประมาณการณ์อัตราส่วนร้อยละของราคาสินค้าอาหารที่จะสูงขึ้นในปี ๒๐๑๑ ไว้ดังนี้คือ ประเภท/กลุ่มสินค้า ในปี 2011 อัตราเพิ่มร้อยละ ราคาสินค้าอาหารทุกชนิดของสหรัฐฯ ระหว่างร้อยละ ๓ - ๔ ราคาสินค้าอาหารจากตลาดเพื่อทำรับประทานเองที่บ้าน ระหว่างร้อยละ ๓.๕ - ๔.๕ ราคาสินค้าอาหารในธุรกิจบริการร้านอาหาร ระหว่างร้อยละ ๓ - ๔ ราคาเนื้อหมู ระหว่างร้อยละ ๖ - ๗ ราคาผัก เพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ ๕ ราคาไข่ ร้อยละ ๔.๕ - ๕.๕ ราคานม ร้อยละ ๕ ราคาเนื้อวัว ระหว่างร้อยละ ๔.๕ - ๕.๕ ราคาเนื้อสัตว์ปีก ระหว่าง ๒.๕ - ๓.๕ ราคาปลาและอาหารทะเล ระหว่าง ๔.๕ - ๕.๕ ราคาผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ ระหว่าง ๓ - ๔ ราคาเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ระหว่างร้อยละ ๒ - ๓.๕ ราคาผลไม้สด ระหว่างร้อยละ ๓ - ๔ สินค้าอาหารอื่นๆ ระหว่างร้อยละ ๒.๕ - ๓.๕
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯระบุสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าอาหารในตลาดสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นคือ ๑.ราคาสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ๒.ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดอันเป็นผลมาจากกฎหมายสหรัฐฯที่บังคับให้น้ำมันสำหรับรถยนต์ต้องมีส่วนผสมของ ethanol ๓.ความต้องการอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ธุรกิจให้บริการอาหารหลายๆรายเริ่มคิดค้นและปรับปรุงนโยบายการซื้อวัตถุดิบสินค้อาหารเข้าร้าน เช่น
๑ Starbucks วางแผนที่กลยุทธร่วมมือกับบริษัทอื่นๆซื้อสินค้าที่จำเป็นที่ต้องใช้ เช่น นม น้ำตาล และอื่นๆ เพื่อสร้างอำนาจในการซื้อและการต่อรอง และสำหรับกาแฟซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ บริษัทฯมีนโยบายที่จะซื้อสินค้าเป็นการล่วงหน้าสองสามาเดือน
๒ บริษัท Darden Restaurant Inc. เจ้าของร้านอาหาร franchise ยี่ห้อ Red Lobster และ Olive Garden วางแผนจะใช้นโยบายซื้อเฉพาะสิ่งที่ร้านรู้แน่ชัดว่าจำเป็นต้องใช้จริงๆ
๓ บริษัท Texas Roadhouse Inc. ล็อกราคาสินค้าเนื้อวัวที่ต้องใช้ในแต่ละปี และเพิ่มรายชื่อร้านค้าที่บริษัทจะซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้นแทนที่การซื้อจากผู้ขายรายเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรอง
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th