ชื่องาน Abilities Expo ชื่อ/ที่อยู่ผู้จัดงาน Abilities Expo
2601 Ocean Park Blvd., Suite 200, Santa Monica, CA 90405
Tel: 310 450-8831, Fax: 310 450-9305
www.abilitiesexpo.com
การจัดงานครั้งแรก ปี 1970 กำหนดเวลา/สถานที่จัดงาน 1. April 15 - 17, 2011, Los Angeles, CA
2. May 20 - 22, 2011, New York Metro, NY
3. July 8 - 10, 2011, Chicago, IL
4. August 26 - 28, 2011, Houston, TX
5. November 18 - 20, 2011, San Jose, CA
6. February 17 - 19, 2012, Atlanta, GA
ประเภทของงาน งานแสดงสินค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการ และการให้ข้อมูล
ข่าวสารที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มคือคนพิการและ
คนชรา แต่จะเน้นไปที่คนพิการมากที่สุด
ผู้แสดงสินค้า ผู้ค้าปลีกสินค้าและบริการ หน่วยงานรัฐบาล องค์กรไม่หวังผลกำไร ผู้เข้าชมงาน คนพิการ (ส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่ใช้รถเข็น) คนชรา ญาติพี่น้อง
ผู้ให้บริการและ/ หรือดูแลคนพิการ คนชรา
จำนวนคูหา ประมาณ 200 คูหา คูหาที่ขายปลีกในงานโดยตรงให้แก่ผู้เข้าชมงานมี
ประมาณ 16 บริษัท ที่เหลือเป็นการแสดงสินค้าที่ผู้ซื้อจะต้องออกไป
ซื้อสินค้าของบริษัทจากผู้ขายปลีกนอกงาน
1. รถสำหรับ คนพิการทั้งที่เป็นรถนั่งส่วนบุคคล รถมินิแวน รถบ้าน รถจักรยาน รถเข็นนั่ง เป็นต้น จากบริษัทรถยนต์รายใหญ่ๆเช่น Toyota, Honda, Ford และ Chryslers เป็นต้น คูหาขายสินค้าประเภทช่วยในการเคลื่อนที่มีจำนวนมากที่สุด และเป็นคูหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้เข้าชมงาน
2. สินค้าอุปกรณ์ hardware ต่างๆสำหรับใช้ในการบำรุงรักษารถเข็นนั่งคนพิการ รถจักรยาน เช่นน๊อต ที่ไขน๊อต ไขขวง วงล้อ เหล็ก ยางสำรอง เป็นต้น
3. เครื่องสุขภัณฑ์ อ่างอาบน้ำ ของใช้ในห้องน้ำ ที่นอนและของใช้สำหรับการนอน และการรับประทานอาหาร ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับคนพิการ หรือที่เหมาะกับคนพิการ เช่น อ่างอาบน้ำแบบที่มีที่เปิดด้านข้างให้เดินหรือนั่งรถเข็นเข้าไปอาบได้ โถส้วมที่มีที่ยึดจับที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นหรือสำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก ที่นอนที่ปรับระดับสูงต่ำได้ และจาน ชาม แก้ว และถาดอาหารที่ใช้แรงแม่เหล็กยึดติดไม่ให้จาน ขาม หรือแก้วหล่นแตกได้ เป็นต้น
4. เสื้อ T-shirt ที่มี logo ที่เป็นของคนพิการ และเสื้อผ้าสำหรับคนพิการ เช่น กางเกงที่ผ่าด้านข้างโดยตลอดเพื่อให้สามารถสวมใส่ได้จากด้านข้าง เป็นต้น
5. คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับคนพิการใช้ในการสื่อสาร
6. ของใช้อื่นๆที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของคนพิการ เช่น ถุงมือสำหรับใส่เวลาเข็นล้อรถเข็นนั่ง ครีมสำหรับทากันผิวด้านหรือผิวแห้ง ยาระงับปวด หรือที่ช่วยเดินทั้งที่เป็นแบบไม้เท้าและที่เป็นที่นั่งทำด้วยผ้าหรือหนังแขวนจากเพดานหรือจากราวเหล็ก เป็นต้น 7.สถานบริการที่ให้การรักษาพยาบาลและการทำกายภาพบำบัด
8. บริการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ 9.หนังสือ ของเล่น และเครื่องดนตรีสำหรับคนพิการทุกวัย
10. อุปกรณ์กีฬาสำหรับคนพิการ ทั้งที่เป็นกีฬาในร่ม และกีฬากลางแจ้งที่รวมถึงกีฬาผาดโผนต่างๆ
11. คูหาแสดงงานฝีมือของคนพิการ
1. สถานบริการที่ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลและกายภาพบำบัด เป็นคูหาที่ได้รับความนิยมเข้าชมมากที่สุดในกลุ่มนี้ เช่น Los Angeles Intensive Pediatric Therapy, Southern California Amputee Network, Access Medical, Inc., Flexiciser International, เป็นต้น
2. คูหาของภาครัฐที่ให้บริการคนพิการหลายหน่วยงาน ให้ข้อมูลเช่นเรื่อง สิทธิของคนพิการในการจ้างงาน การหาที่อยู่อาศัย การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การได้รับสิทธิประโยขน์ต่างๆในด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา และความช่วยเหลืออื่นๆที่พึงได้จากภาครัฐ เช่น City of Los Angeles Department of Disability, County of Los Angeles Registrar Recorder/County Clerk - Community and Voter Education
3. องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้ความช่วยเหลือคนพิการ เช่น California for Disability Rights, Inc. Foundation, Communities Actively Living Independent and Free, Disability Rights Legal Center, Society for Accessible Travel & Hospitality เป็นต้น
4. สำนักงานทนายความที่เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาสิทธิของคนพิการ
มีประมาณการณ์ว่าในปี 2005 ว่าคนอเมริกันเกินกว่า 54 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 19 ของประชากร สหรัฐฯรวมทั้งสิ้นหรือทุกๆหนึ่งในห้าของคนอเมริกันเป็นคนที่มีความพิการประเภทใดประเภทหนึ่งและที่ถือว่าเป็นบุคคลพิการ "Person with Disabilities" ตามกฎหมายสหรัฐฯ หน่วยงานสำรวจประชากรสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) ประมาณการณ์ว่าประมาณ 20.3 ล้านครัวเรือนสหรัฐฯจะมีสมาชิกเป็นบุคคลพิการอยู่อย่างน้อยหนึ่งคน และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ของคนพิการสหรัฐฯจะเป็นคนสูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คนอเมริกันสูงอายุเกินกว่า 18 ล้านคน เป็นคนพิการ ในจำนวนนี้ประมาณ 13 ล้านคนเป็นคนพิการอย่างรุนแรง
ส่วนใหญ่ของความพิการของผู้บิรโภคสหรัฐฯสืบเนื่องมาจากโรคข้ออักเสบ (arthritis) และเนื่องจากลักษณะของประชากรสหรัฐฯปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นประชากรผู้สูงอายุดังนั้นโอกาสที่จำนวนประชากรสหรัฐฯที่จะกลายเป็นบุคคลพิการสืบเนื่องจากโรคข้ออักเสบจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ Arthritis Foundation ในปี 2009 มีประมาณการณ์จำนวนคนอเมริกันที่เป็นโรคไขข้อว่ามีไม่ต่ำกว่า 46 ล้านคนและภายในปี 2030 จำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 67 ล้านคนจะเป็นโรคข้ออักเสบ อย่างไรก็ดี โรคข้ออักเสบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนสูงอายุ คนอายุน้อยก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ความพิการจากโรคข้ออักเสบทำให้บุคคลนั้นๆไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระด้วยตนเองจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการเคลื่อนที่ (เดิน ลุกจากที่นอน เก้าอี้ อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร) ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน
คนพิการของสหรัฐฯได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่และเทียบเท่ากับบุคคลปกติทั่วไปภายใต้กฎหมาย Americans with Disabilities Act ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯที่บริหารงานโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และภายใต้
กฎหมายของแต่ละมลรัฐ คนพิการสหรัฐฯมีรายได้ประจำทั้งที่เป็นเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือที่เป็นเงินจากการประกอบธุรกิจ มีรายงานประมาณร้อยละ 75 ของคนพิการสหรัฐฯที่มีความพิการไม่รุนแรงมีงานประจำทำ และร้อยละ 31 ของคนพิการที่มีความพิการอย่างรุนแรงมีงานประจำทำ มีประมาณการณ์ว่าคนพิการสหรัฐฯมีรายได้รวมกันไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านเหรียญฯ
เมืองในสหรัฐฯที่มีจำนวนคนพิการอาศัยอยู่มากที่สุดเรียงตามลำดับคือ 1. Detroit, Michigan 2.Baltimore, Maryland 3.Miami, Florida 4.Newark, New Jersey 5.Buffalo, New York
ตลาดคนพิการสหรัฐฯเป็นตลาดขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ของคนพิการสหรัฐฯดำเนินชีวิตที่เป็นปกติมากที่สุดเท่าที่ระดับความพิการจะเอื้ออำนวยให้ มีการประกอบอาชีพและการบันเทิงเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ดังนั้นโอกาสทางตลาดจึงมีอยู่มากเกือบจะเท่ากับตลาดการบริโภคของคนปกติ
สินค้าสำหรับคนพิการแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ
1. สินค้าที่เป็นการใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่และการทำกายภาพบำบัด โอกาสทางตลาดของสินค้ากลุ่มนี้สำหรับผู้ประกอบการไทยค่อนข้างจะน้อย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี่การผลิตและต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ดี โอกาสของตลาดจะ อยู่ที่ชิ้นส่วนประกอบหรือ hardware ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้กับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆเหล่านี้
2. สินค้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ไม่ใช่สินค้าในข้อ 1 สินค้าเหล่านี้เช่น
2.1 ถุงมือ
2.2 เสื้อผ้า
2.3 ครีมสมุนไพรที่ช่วยกันผิวแห้ง และ ผิวด้าน
2.4 สินค้าสำหรับใช้ประจำวันอื่นๆ
สินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงมากสำหรับผู้ประกอบการไทย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ประเทศไทยผลิตออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว สินค้าบางตัวสามารถส่งเข้าสู่ตลาดคนพิการได้โดยทันที บางตัวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ปัญหาและอุปสรรคของการเข้าสู่ตลาดจะอยู่ที่การเข้าถึงตลาดการค้าขนาดใหญ่ เนื่องจากจำนวนธุรกิจที่ให้บริการเฉพาะคนพิการมีน้อย ช่องทางการจำหน่ายเพื่อการเข้าถึงธุรกิจเหล่านี้คือการขายให้แก่โรงพยาบาล
สถานบริการรักษาพยาบาล สถานให้บริการกายภาพบำบัด หรือร้านค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงจะเปิดโอกาสทางตลาดให้กว้างขึ้นอย่างมาก มีรายงานว่าหนึ่งในสิบของคนพิการจะประกอบธุรกิจและกิจกรรมส่วนบุคคลต่างๆทางระบบออนไลน์และใช้เวลาเฉลี่ยสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงอยู่บนอินเตอร์เน็ทซึ่งเป็นระยะเวลาเฉลี่ยในการอยู่บนอินเตอร์เน็ทที่นานกว่าคนปกติทั่วไป จากการสำรวจพบว่าคนพิการประมาณร้อยละ 48 มีความเห็นว่าระบบอินเตอร์เน็ทช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นอย่างมากที่สุด ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายที่จะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงได้อย่างดีที่สุดคือระบบการค้าตรงผ่านทางระบบออนไลน์
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th