แนวโน้มบริโภคอาหารทะเลของสหรัฐฯ
ความนิยมบริโภคอาหารทะเลของคนอเมริกันขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีประมาณการณ์ว่าในปี ๒๐๐๙ คนอเมริกันบริโภคอาหารทะเลรวมทั้งสิ้นประมาณ ๕ พันล้านปอนด์หรือประมาณ ๑๕.๘ ปอนด์ต่อคน การบริโภคอาหารทะเลสดและแช่เยือกแข็งรวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๑.๘ ปอนด์ต่อคนต่อปี เป็นการบริโภคอาหารประเภทปลาประมาณ ๖.๒ ปอนด์ต่อคนต่อปี และการบริโภคอาหารทะเลเปลือกแข็งประมาณ ๕.๖ ปอนด์ต่อคนต่อปี การบริโภคอาหารทะเลกระป๋องประมาณ ๓.๗ ปอนด์ต่อคนต่อปี การบริโภคอาหารทะเลที่ผ่านการเก็บรักษาแล้วประมาณ ๐.๓ ปอนด์ต่อคนต่อปี
ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯสนับสนุนให้คนอเมริกันบริโภคอาหารทะเลเพิ่มมากขึ้นผ่านทางการรณรงค์เช่น ของหน่วยงาน Food and Drug Administration ที่สนับสนุนคนอเมริกันให้บริโภคอาหารทะเลมากยิ่งขึ้นเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจ และแนวทางโภชนาการสำหรับคนอเมริกัน (Dietary Guidelines for Americans)
ล่าสุดในปี ๒๐๑๐ เสนอแนะว่าคนอเมริกันควรจะบริโภคอาหารทะเลเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อีกหนึ่งเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้นจากอัตราการบริโภค ๓ ๑/๒ ออนซ์ต่อสัปดาห์เป็น ๘ ออนซ์ต่อสัปดาห์ และหญิงมีครรภ์และที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเองควรจะรับประทานอาหารทะเลระหว่าง ๘ - ๑๒ ออนซ์ต่อสัปดาห์ การรณรงค์เหล่านี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ไปเพิ่มการสนับสนุนการขยายตัวของความต้องการสินค้าอาหารทะเลในตลาดสหรัฐฯที่กำลังดำเนินอยู่แล้วให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
อาหารทะเล ๕ ชนิดที่คนอเมริกันนิยมบริโภคมากที่สุดในปัจจุบันคือ
๑.กุ้ง ๔.๑ ปอนด์ต่อคนต่อปี
๒.ปลาทูน่ากระป๋อง
๓.ปลาแซลมอน
๔.ปลาโพล๊อก
๕.ปลาทิลาเปีย
แม้ว่าสหรัฐฯจะเป็นประเทศที่มีการบริโภคอาหารทะเลจำนวนมากติดอันดับที่สามของโลกรองจากจีนและญี่ปุ่นและความต้องการบริโภคอยู่ในระดับที่สูงกว่าจำนวนอุปทานที่ผลิตได้ในประเทศ แต่สหรัฐฯยังคงไม่ได้มีการพัฒนาการเกษตรสัตว์น้ำของตนอย่างจริงจัง อุตสาหกรรมการเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯปัจจุบันมีขนาดเล็กมาก มีมูลค่าอุตสาหกรรมประมาณ ๑ พันล้านเหรียญฯต่อปีเปรียบเทียบกับมูลค่าอุตสาหกรรมโลก ๗๐ พันล้านเหรียญฯต่อปี การเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯปัจจุบันเป็นการเกษตรสัตว์น้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ สัดส่วนของการเกษตรสัตว์น้ำเค็มเท่ากับร้อยละ ๒๐ เท่านั้น ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่หรือสองในสามของผลิตภัณฑ์จากการเกษตรสัตว์น้ำเค็มของสหรัฐฯเป็นสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง (หอยนางรม clams และ mussels) รองลงมาร้อยละ ๒๕ เป็นการเกษตรเลี้ยงปลาแซลมอนและร้อยละ ๑๐ เป็นการเลี้ยงกุ้ง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำของสหรัฐฯมีอยู่ทั้งบนแผ่นดิน ในหนองบึง และในน่านน้ำนอกชายฝั่งของมลรัฐฯต่างๆที่อยู่ติดทะเล การทำการเกษตรสัตว์น้ำในน่านน้ำนอกชายฝั่งของมลรัฐจะอยู่ภายใต้การควบคุมของแต่ละมลรัฐ และขบวนการขอและได้มาซึ่งใบอนุญาตทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำในน่านน้ำของแต่มลรัฐในสหรัฐฯเป็นเรื่องยุ่งยากและจะต้องใช้เวลาดำเนินการหลายปี
แหล่งผลิตอาหารทะเลสำคัญของสหรัฐฯคือพื้นที่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค (Pacific Coast) ในรัฐ อลาสก้า วอชิงตัน โอเรกอน และแคลิฟอร์เนีย รองลงมาคือบริเวณ New England ในรัฐเมน นิวแฮมเชียร์ แมสซาจูเซท โรดไอแลนด์ และคอนเนคติกัน และพื้นที่บริเวณอ่าว (The Gulf) ในรัฐฟลอริด้า (ฝั่งตะวันตก) อลาบาม่า มิสซิสซิปปี้ หลุยเซียน่า และเท๊กซัส
เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯและหน่วยงาน National Oceanic Atmospheric Administration (NOAA) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯ ได้ประกาศนโยบายระดับประเทศเรื่องการเกษตรสัตว์น้ำทะเลที่ยั่งยืนถาวร เป้าหมายเพื่อตอบสนอง
ความต้องการอาหารทะเลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างงานในชุมชนตามชายฝั่งทะเล และเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยา Gary Locke รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯกล่าวว่า "การสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯจะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างแรงงานในประเทศ สนับสนุนการส่งออกไปยังตลาดการค้าโลก และกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยี่ใหม่ๆที่สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้"
๑. การกระตุ้นและการสนับสนุนช่วยเหลือการเกษตรสัตว์น้ำที่ยั่งยืนและถาวร ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของการผลิตการเกษตรสัตว์น้ำภายในประเทศ และที่จะสร้างธุรกิจ แรงงาน และโอกาสทางการค้าของคนอเมริกัน
๒. ทำการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงทีในเรื่องการบริหารจัดการทั้งนี้บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นแบบวิทยาศาสตร์ที่ที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่
๓. สร้างความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรสัตว์น้ำที่เป็นแบบยั่งยืนและถาวร
๔. ทำให้แน่ใจได้ว่าการตัดสินใจใดๆด้านการเกษตรสัตว์น้ำจะเป็นการปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งและมหาสมุทรด้วยเช่นกัน
๕. พัฒนาการเกษตรสัตว์น้ำที่ทำเป็นแบบที่ยั่งยืนถาวรที่เทียบได้กับการใช้อื่นๆ
๖. ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
๗. ยกระดับสนามการแข่งขันของธุรกิจการเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯที่เข้าร่วมในการค้าระหว่างประเทศ ทำงานเพื่อเอาข้อกีดกันทางการค้าของต่างประเทศออกไปและบังคับใช้สิทธิของสหรัฐฯภายใต้ข้อตกลงทางการค้าของสหรัฐฯ
ภายใต้นโยบายใหม่ รัฐบาลกลางสหรัฐฯจะเปิดน่านน้ำของรัฐบาลกลางสหรัฐฯเพื่อใช้ทำฟาร์มเลี้ยงปลา และสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง น่านน้ำของรัฐบาลมลรัฐฯคือพื้นที่นับจากชายฝั่งทะเลออกไปสามไมล์ น่านน้ำของรัฐบาลกลางสหรัฐฯเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดของน่านน้ำมลรัฐออกไปอีก ๒๐๐ ไมล์ นโยบายใหม่นี้เป็นแค่การจัดทำกรอบการทำงานที่จะเปิดน่านน้ำรัฐบาลกลางสำหรับการเกษตรสัตว์น้ำ การดำเนินการที่เหลือเป็นหน้าที่ของ U.S. Regional Fishery Management Councils หรือสภาที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการประมงในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐฯที่มีรวมทั้งสิ้น ๘ พื้นที่ (North Pacific, Pacific, Western Pacific, New England, Mid-Atlantic, South Atlantic, Caribbean และ Gulf of Mexico) ที่จะต้องจัดทำแผนการเกษตรสัตว์น้ำในพื้นที่ของตน หลังจากนั้นรัฐบาลกลางสหรัฐฯจึงจะจัดทำกฎระเบียบที่ชัดเจนเจาะจงลงไปในเรื่องการทำฟาร์มประเภทต่างๆ
นอกจากการประกาศนโยบายใหม่ฯแล้ว กระทรวงเกษตรสหรัฐฯและ NOAA ยังได้ประกาศขั้นตอน เพิ่มเติมที่จะกระทำในอนาคตที่จะเป็นการสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหรรมการเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯผ่านทาง
๑. การพัฒนา National Shellfish Initiative ร่วมกับอุตสาหกรรมสัตว์ทะเลเปลือกแข็งเพื่อเพิ่มการผลิตเพื่อการพาณิชย์สัตว์ทะเลเปลือกแข็งที่ซึ่งอาจจะสร้างงาน สร้างอาหารที่ผลิตขึ้นได้เองในท้องถิ่น ฟื้นฟูจำนวนและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง และพัฒนาคุณภาพของน้ำ
๒. จัดทำ Gulf of Mexico Fishery Management Plan for Aquaculture ที่ซึ่งจะรวมถึงโครงสร้างด้านกฎระเบียบข้อบังคับที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการเกษตรสัตว์น้ำนอกชายฝั่งในบริเวณอ่าว (the Gulf)
การนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติได้เริ่มต้นขึ้นทันทีที่มีการประกาศนโยบายนี้ต่อสาธารณะชน กระทรวง พาณิชย์สหรัฐฯจะได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานเช่นกระทรวงเกษตร สหรัฐฯ หน่วยงานอาหารและยาของสหรัฐฯ กระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ สภาสูงสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาลระดับมลรัฐ รัฐบาลของชนเผ่าต่างๆ ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ และหน่วยงานเอกชนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังต่อไป นี้คือ
๑. รัฐบาลกลางสหรัฐฯจัดหาบริการต่างๆให้แก่อุตสาหกรรมการเกษตรสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
๒. จัดหาความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคต่างๆให้แก่รัฐบาลระดับมลรัฐและท้องถิ่นที่จะช่วยในการวางแผนและพัฒนาความจำเป็นต้องได้รับต่างๆที่เป็นเรื่องของแหล่งที่มาของสัตว์น้ำทะเลที่มีอยู่ในชุมชนชายฝั่งทะเล
๓. เร่งรัดการจัดทำวิธีการผลิตการเกษตรสัตว์น้ำที่เป็นแบบยั่งยืนถาวร โดยการพัฒนาโครงการนำร่อง การสาธิต และการถ่ายทอดเทคโนโลยี่กับอุสาหกรรมอาหารทะเลและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาค เอกชนต่างๆ รัฐบาลระดับมลรัฐและท้องถิ่น หน่วยงานรัฐบาลกลาง และพาร์ทเนอร์อื่นๆ
๔. ขยายความสามารถของห้องวิจัยทดลองของรัฐบาลกลางและการเข้าร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่ทำงานด้านการวิเคราะห์วิจัยในการจัดหาข้อมูลและการวิเคราะห์วิจัยต่างๆที่จำเป็นด้านนิเวศวิทยา เทคโนโลยี่ เศรษฐศาสตร์และสังคม เพื่อให้เกิดสมรรถนะและความยั่งยืนถาวรในการพัฒนา สนับสนุน จัดการ และการจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับการเกษตรสัตว์น้ำทั้งที่เป็นของภาครัฐและภาคเอกชน
๕. พัฒนาขบวนการออกใบอนุญาตและการจัดทำกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นขบวนการที่มีประสิทธิผล มีการร่วมมือซึ่งกันและกัน โปร่งใส ตรงตามกำหนดเวลา และที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะเป็นหลักประกันว่าสถานที่ทำการเกษตรสัตว์น้ำทะลมีการออกแบบและการเลือกสถานที่ที่เหมาะสม และมีการผสมผสานเทคโนโลยี่และการปฏิบัติต่างๆที่เหมาะสมที่จะลดผลกระทบที่เป็นไปในทางลบ
สินค้าอาหารทะเลที่มาจากอุตสาหกรรมการเกษตรสัตว์น้ำทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็มภายในประเทศสหรัฐฯคิดเป็นร้อยละ ๕ ของปริมาณการบริโภครวมทั้งสิ้นในสหรัฐฯ เฉพาะผลผลิตที่มาจากน่านน้ำนอกชายฝั่งของแต่มลรัฐที่เข้าสู่ตลาดการบริโภคของสหรัฐฯมีจำนวนต่ำกว่าร้อยละ ๒ ที่เหลือสหรัฐฯจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าอาหารทะเลนำเข้าจากต่างประเทศ มีประมาณการณ์ว่าสี่ในห้าของอาหารทะเลที่คนอเมริกันบริโภคมาจากการนำเข้า ร้อยละ ๘๔ ของสินค้าอาหารทะเลนำเข้าเป็นสินค้าเกษตรสัตว์น้ำจากต่างประเทศ ความแตกต่างของมูลค่าการค้าส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรสัตว์น้ำของสหรัฐฯเป็นสิ่งที่ทำให้สหรัฐฯเสียดุลย์การค้าต่างประเทศสินค้าอาหารทะเลในระดับที่สูงมาก กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯประมาณการณ์ว่าปัจจุบันสหรัฐฯเสียดุลย์การค้าอาหารทะเลประมาณ ๑๑ พันล้านเหรียญฯ
มูลค่านำเข้า
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๑๑.๒ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๒.๐๑
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๓.๙ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๐๗.๖๗
มูลค่าส่งออก
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๔ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๔.๑๔
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๑.๖๕ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๐๙.๓๑
แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ ๑๐ อันดับแรกเรียงตามมูลค่านำเข้าทั้งปี
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง คานาดา จีน ไทย อินโดนิเซีย เวียดนาม ชิลี
เอควาดอร์ นอร์เวย์ เม็กซิโก และอินเดีย
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ไทย จีน คานาดา อินโดนิเซีย เวียดนาม
ฟิลิปปินส์ เอควาดอร์ บราซิล ฟิจิ และ อาร์เจนติน่า
ตลาดส่งออกสำคัญ ๑๐ อันดับแรกเรียงตามมูลค่าส่งออกทั้งปี
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง คานาดา ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์
ฝรั่งเศส สเปน อ่องกง และอิตาลี
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม คานาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
จีน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน
สถิติการค้าไตรมาสแรก (มกราคม - เมษายน) ของปี ๒๐๑๑
มูลค่านำเข้า
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๓.๖๖ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๐.๕๑
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๑.๒๔ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๐๗.๓๓
มูลค่าส่งออก
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๑.๔๐ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๗.๙๒
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๕.๗๒ ร้อยล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๑.๗๑
แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญ ๑๐ อันดับแรกเรียงตามมูลค่านำเข้าในไตรมาสแรกของปี ๒๐๑๑
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง จีน คานาดา ไทย อินโดนิเซีย ชิลี เอควาดอร์ เวียดนาม
อินเดีย นอร์เวย์ และรัสเซีย
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ไทย จีน คานาดา อินโดนิเซีย เวียดนาม
ฟิลิปปินส์ เอควาดอร์ อาร์เจนติน่า โปแลนด์ และ
เม็กซิโก
ตลาดส่งออกสำคัญ ๑๐ อันดับแรกเรียงตามมูลค่าส่งออกในไตรมาสแรกของปี ๒๐๑๑
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง จีน คานาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์
ฝรั่งเศส สเปน อ่องกง และอิตาลี
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม คานาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
ฟิลิปปินส์ ออกสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และ
เวียดนาม การค้ากับประเทศไทย สถิติมูลค่านำเข้าในปี ๒๐๑๐
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๑ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๓.๔๒ ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ ๘๙.๑๒ ของมูลค่าการนำเข้าอาหารทะเลแช่
เยือกแข็งรวมทั้งสิ้นจากประเทศไทยเป็นการนำเข้ากุ้งแช่
เชือกแข็งในมูลค่านำเข้าประมาณ ๙ ร้อยล้านเหรียญฯ
ขยายตัวร้อยละ ๑๗.๗๓
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๑.๑ พันล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๓.๒๔ ในจำนวน
นี้ร้อยละ ๔๙.๑๘ เป็นการนำเข้ากุ้งมูลค่าเพิ่มในมูลค่า
ประมาณ ๖ ร้อยล้านเหรียญฯขยายตัวร้อยละ ๔.๕๗
และร้อยละ ๓๙.๖๒ เป็นการนำเข้าปลาทูน่าในมูลค่า
นำเข้าประมาณ ๕ ร้อยล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ
๓๐.๓๐
อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ๒๘๗ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๒.๐๖
ร้อยละ ๘๗.๓๕ เป็นมูลค่านำเข้ากุ้งแช่เยือกแข็งในมูลค่า
นำเข้า ๒๕๐ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒๕.๘๕
อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม ๓๙๓.๖๖ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๖.๘๐
ร้อยละ ๔๘.๗๒ เป็นการนำเข้ากุ้งมูลค่าเพิ่มในมูลค่า
นำเข้า ๑๙๒ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๒.๖๒ และ
ร้อยละ ๓๘.๕๖ เป็นการนำเข้าปลาทูน่ามูลค่าเพิ่มใน
มูลค่านำเข้า ๑๕๒ ล้านเหรียญฯ ขยายตัวร้อยละ ๔.๘๑
๑.National Oceanic and Atmospheric Administration, U.S. Department of Commerce
๒.World Trade Atlas
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th