ส่งออกเตรียมยกระดับสิ่งทอไทยเจาะเมืองปลาดิบ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 16, 2011 10:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ส่งออกเตรียมยกระดับสิ่งทอไทยเจาะเมืองปลาดิบ พร้อมเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าไทยรองรับค่าแรง 300 บาท

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300บาท นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผยว่า มีความเป็นไปได้ โดยทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือกันทำเป็นขั้นตอนและอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาครัฐต้องมีการปรับระบบการทำงานบางส่วนที่ไม่จำเป็น หรือลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยลงเพื่อลดต้นทุน และมีการออกมาตราการสนับสนุนภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่นการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเพื่อนำเข้าเครื่องจักรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ฯลฯ ซึ่งมั่นใจว่าภาคเอกชนจะเห็นด้วย และสมัครใจจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนด เพื่อให้การผลิตดีขึ้น แต่ทางภาครัฐจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเอกชนถึงผลดีระยะยาว

“อยากเห็นประเทศไทยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนมานานแล้ว และทางกรมส่งเสริมการส่งออกร่วมกับภาคเอกชนได้พยายามเตรียมรับมือกับการขึ้นค่าแรงดังกล่าว เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว โดยปรกติกรมฯได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ และการตำเนินการต่างๆเรามีการประชุมหารือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ซึ่งกรมฯมั่นใจว่าภาคเอกชนจะเห็นด้วยเพราะเป็นผลดีกับทุกภาคส่วนในระยะยาว แต่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ โดยนโยบายหลักของกรมฯจะเน้นเจาะตลาดใหม่เชิงรุกมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเอง เช่น การออกแบบสินค้าให้มีความน่าสนใจ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดสากล ซึ่งทางกรมฯ ได้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างตราสินค้า การออกแบบ และการเพิ่มมูลค่า อย่างต่อเนื่อง” นางนันทวัลย์กล่าว

โดยเมื่อช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว จัดสัมมนา “Strenght of Thai Textile Industry and Latest Information on WF with background of China + 1 Policy” เพื่อสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพสิ่งทอไทย โดยมีผู้นำเข้า ผู้ประกอบการในธุรกิจสิ่งทอ เสื้อผ้า เข้าร่วมฟังเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งงานนี้กรมฯ ได้เชิญวิทยากรทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นมาร่วมถ่ายทอประสบการณ์และสรุปข้อมูลการนำเข้าสิ่งทอของญี่ปุ่น

“หลังจากเสร็จสิ้นการสัมมนา ทางกรมฯ ได้จัดหารือระหว่างสมาพันธ์อุตหสากรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศกับผู้แทน JAIC (Japan Textile Inporters Association) เพื่อร่วมมือกันเร่งใช้ประโยชน์จากกรอบ JTEPA Textile Industrial Cooperation Working Committee โดย JAIC จะรวบรวมรลายละเอียดความต้องการของผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น เช่น ภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างผ้า ปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้ง และราคาเป้าหมาย เป็นต้น โดยจะแจ้งผ่านทางกรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการไทยทราบ” นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีคณะผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นในโครงการ JTC (Japan-Thailand Textile & Apparel Collaboration Project) ซึ่งเป็นโครงการในกรอบความร่วมมือสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้ JTEPA ได้เข้าเยี่ยมคารวะอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกในโอกาสที่คณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยตามโครงการ JTC 3 ซึ่งเป็นโครงการความช่วยเหลือของญี่ปุ่นในการพัฒนาสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ 3 หลังจากที่ได้เริ่มโครงการ JTC มาตั้งแต่ปี 2009 และมีการแสดงผลงานการพัฒนาผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่มภายใต้โครงการ JTC ในงาน BIFF & BIL ในปี 2010 และ 2011 ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานโดยเฉพาะจากญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยโครงการ JTC 3 นี้ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นจะเดินทางเข้ามาทำ workshop ให้กับผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมโครงการ 4 ครั้ง ขณะนี้มีโรงงานผู้ผลิตของไทยที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 5 ราย โดยจะมีการนำผลงานที่ได้จากที่ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเข้ามาพัฒนาผ้าผืนให้ผู้ผลิตของไทยไปจัดแสดงในงาน BIFF & BILในครั้งต่อไปคือ 22 — 26 กุมภาพันธ์ 2012

แม้ว่าการสั่งซื้อของผู้นำเข้าญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีปริมาณไม่มากเท่าสหรัฐฯ และยุโรป เนื่องจากตลาดญี่ปุ่นต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ การตัดเย็บประณีตในทุกขั้นตอน ซึ่งผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยจำเป็นต้องมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า พร้อมทั้งออกแบบให้มีความยืดหยุ่นปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่จะขยายตลาดเชิงรุกเข้าสู่ญี่ปุ่นต่อไป

ด้านนางอัมพวัน พิชาลัย อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุนได้ริเริ่มนโยบาย Cool Biz ลดโลกร้อน เพื่อกระตุนให้ข้าราชการและภาคธุรกิจถอดสูท และสวมใส?เสื้อเชิ๊ตไม่ต้องผูกเนคไทมาทำงาน เพื่อลดการใช้แอร?และประหยัดพลังงาน ชาวญี่ปุ่น จึงมีแนวโน้มแต่งกายแบบสบายๆ และค่อยๆ ลดความเป็นทางการลงเรื่อยๆ ในช่วงฤดูร้อนนี้จึงเป็นโอกาสที่ ห้างสรรพสินค้า และร้านจำหน่ายเสื้อผ้าแข่งขันกันนำเสนอแฟชั่น และจุดขายใหม?ๆ เพื่อสร้างกระแสและความต้องการซื้อ

ทั้งนี้ตลาดเสื้อผ้าในญี่ปุ่นแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราปานกลาง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและผู้ซื้อประหยัดการใช้จ่าย แต่ก็เป็นตลาดที่มีพลัง เพราะกลุ่มผู้ค้าแข่งขันกันรุนแรง ทั้งด้วยการนำเสนอสไตล?ใหม?และการแข่งขันราคา สิ่งที่ทำให?ขยายตลาดได?ในทุกยุคสมัย คือ ความรวดเร็วในการนำเสนอสไตล์ใหม?ที่สอดคลงองกับกระแสสังคม เช่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอนไดออกไซด?การประหยัดพลังงาน และการใช?วัตถุดิบที่เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช?

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ