Emerging Market (EM) นับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจในทางธุรกิจ เนื่องจากประเทศตลาดใหม่ส่วนใหญที่มีพื้นที่และปริมาณประชากรมาก จึงเท่ากับว่าด้านอุปสงค์ที่น่าสนใจ แต่สำหรับประเทศอิรักเป็นตลาดใหม่ที่มีประชากร 30 ล้านคน เป็นประเทศที่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยมีแรงส่งมาจากรายได้น้ำมันที่เป็นสินค้าหลักของประเทศ โดยเฉพาะในเขตการปกครองพิเศษ (Kurdistan Regional Government : KRG) ทางตอนเหนือของประเทศที่สถานการณ์ทั่วไปปกติ จำนวนผู้บริโภคชนชั้นกลางมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในอัตราปีละนับล้านคน จึงมีหลายประเทศจากตะวันตกและจากกลุ่มอาหรับเองเข้าไปลงทุนทำธุรกิจกันมาก ดังนั้น จึงเป็นตลาดใหม่อีกแห่งที่น่าสนสนใจสำหรับการขยายสินค้าไทย อีกทั้งการส่งออกไทยไปอิรักมีอัตราขยายตัวในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี
จากรายงานของ Dunia Frontier Consultants ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดใหม่เปิดเผยตัวเลขการลงทุนในอิรัคของครึ่งแรกปี 2554 มีมูลค่า 45.6 พันล้านเหรียญสรอ. ในขณะที่มูลค่าการลงทุนปี 2553 มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสรอ. คาดว่ามูลค่า FDI ปี 2554 จะขยายขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
สภาหอการค้าอเมริกัน (The U.S. Chamber of Commerce) ได้พยายามชักชวนบริษัทสหรัฐฯให้เข้าไปลงทุนในอิรัค โดยจัดคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯเยือนอิรัก (โดยเฉพาะด้านพลังงานไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลอิรักจัดงบประมาณมหาศาลเพื่อจัดสร้าง) สถานทูตสหรัฐฯในอิรักจัดคณะผู้แทนการค้าอาหารชาวอิรักเดินทางไปเจรจาการค้ากับบริษัทผู้ส่งออกอาหารของสหรัฐฯที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหาร Gulf Food ที่จัดขึ้นในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สภาหอการค้าสหรัฐฯได้พยายามสนับสนุนให้บริษัทสหรัฐฯเข้าไปลงทุนในอิรัก รวมทั้งได้พยายามผลักดันภาครัฐบาลนำเอกชนเข้าไปมีบทบาทในธุรกิจต่างๆในอิรักให้มากยิ่งขึ้น และจากรายงานของ หน่วยงาน Iraq’s commercial attache office ในวอชิงตันระบุว่าในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 ได้รับคำร้องขออนุญาตดำเนินธุรกิจในอิรักประมาณ 2,251 ราย เพิ่มจากจำนวน 1,369 ราย สัดส่วนการลงทุนของประเทศต่างๆในอิรักปี 2553 มีการลงทุนจากเกาหลีใต้สัดส่วนร้อยละ 24 จากฝรั่งเศสร้อยละ 9.9 ในขณะที่นักลงทุนสหรัฐฯมีสัดส่วนร้อยละ 4.7 ของ FDI ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะบริษัทสหรัฐฯเกรงความเสี่ยงมากกว่าบริษัทยุโรป
การหลั่งไหลของเงินลงทุนต่างชาตินั้นสะท้อนให้ถึงความมั่นใจในเสถียรภาพของอิรักและความเสี่ยงด้านต่างๆที่ลดน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามจำนวนนักลงทุนสหรัฐฯมีสัดส่วนน้อยกว่านักลงทุนฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่ต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการการทำสงครามโจมตีอิรัก
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ให้ข้อสังเกตว่าอิรักยังเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุน มีปัญหาการคอรัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง ความเสี่ยงกับเหตุการณ์ไม่สงบที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง
รัฐบาลอิรักดำเนินแผนการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติทำโดยการแก้ไขกฎหมายการลงทุน การค้า การลงทุนกับต่างประเทศจะมีร่วมกันทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน มีการขยายงบประมาณการลงทุนสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น ลดภาษีนำเข้าวัตุดิบเครื่องจักร ออกกฎหมายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้ราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจและตลาดอิรักที่ธุรกิจท้องถิ่นและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องปิดตัวลง เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพจากจีนที่ทะลักเข้าอิรักตั้งแต่ปี 2546
นอกจากนั้นหลังจากที่สหรัฐฯได้เข้าไปฟื้นฟูอิรัก ได้เปลี่ยนกฎหมายการนำเข้า โดยได้ปรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม 2554 รัฐบาลจากการเลือกตั้งของอิรักได้เปลี่ยนระเบียบใหม่ขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอัตราใหม่ โดยมีรายการสินค้ารวมทั้งหมด 794 ชนิด อาทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 80 บุหรี่ร้อยละ 50 ซีเมนต์ร้อยละ 15 ผักสดมีสองอัตราคือ ร้อยละ 30 (ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว) และร้อยละ 10 (นอกฤดูเก็บเกี่ยว) รถยนต์ภาษีร้อยละ 15 ดาบปลายปืนร้อยละ 25 น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำอัดลมร้อยละ 80 สำหรับสินค้าปัจจัยสี่ที่สำคัญ เช่น ข้าว น้ำตาล และยาปฏิชีวนะจะคงภาษีเท่าเดิมที่ร้อยละ 5 เป็นต้น คาดว่ารัฐฯจะสามารถทำรายได้ 855 ล้านเหรียญสรอ. จากการขึ้นภาษีอัตราใหม่นี้
รัฐบาลอิรักพยายามส่งเสริมธุรกิจในประเทศเพื่อสร้างงานและลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันที่มีสัดส่วนในเศรษฐกิจอิรักร้อยละ 70 แต่มีการจ้างงานชาวอิรักเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ภาคการเกษตรครองส่วนแบ่งในเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 3 ลดลงจากปี 2518 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 8 ซึ่งนโยบายขึ้นภาษีนี้สวนทางกับประเทศอาหรับอื่น ๆ ที่พยายามป้องกันเหตุไม่สงบซึ่งมีสาเหตุบางส่วนจากสินค้าขึ้นราคา และนักเศรษฐสาตร์อิรักให้ความเห็นว่าการขึ้นภาษีนำเข้าอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงฉับพลันในช่วงที่ภูมิภาคกำลังเกิดเหตุไม่สงบรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมีสาเหตุจากราคาสินค้าแพงและอัตราว่างงานสูง และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของอิรักจะเพิ่มจากร้อยละ 3.3 เมื่อปีก่อนเป็นร้อยละ 5.6 ในปีนี้ต่อให้ไม่ขึ้นภาษีนำเข้าก็ตาม.
เมื่อสงครามในอิรักยุติลงและยกเลิกการ sanctions ทำให้อิรักมีความต้องการสินค้าเกือบทุกชนิด รวมทั้งสินค้าปัจจัย 4 เนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศปิดตัวลง เครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับใช้พัฒนาบูรณะประเทศที่เสียหายจากสงคราม กอร์ปกับเม็ดเงินมหาศาลของอิรักที่ได้จากการขายน้ำมันที่อิรัคมีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 4 ของโลก แรงส่งจากน้ำมันที่ขึ้นราคาอย่างไม่หยุดนิ่ง ทำให้มีกระแสไหลเวียนของเงินตราต่างประเทศมากมายในอิรัก นอกจากนั้นหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิรักและการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ได้เฝ้ามองและรอให้สถานการณ์ต่างๆของอิรักได้คลี่คลายลง
รัฐบาลอิรักออกใบอนุญาตเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำมันหลายแห่ง โครงการสร้างสถานีผลิตไฟฟ้า บวกกับความต้องการซื้อหาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคโทรนิกส์ สินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชน ทำให้โอกาสการค้าการลงทุนมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น
การเพื่อพัฒนาประเทศของอิรักให้ยั่งยืนได้นั้น มีอุปสรรคจะต้องเผชิญประการแรกคือสาธารณูปโภคพื้นนฐานไม่พอเพียง ประการที่สองการขาดแคลนแรงงานฝีมือ ดังนั้นอิรักจะต้องใช้งบประมาณหลายพันล้านลงทุนสร้างเพื่อสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมัน เพื่อส่งออกนำมาซึ่งรายได้เพื่อใช้จ่าย รายได้ของอิรักร้อยละ 95 ขึ้นอยู่กับการส่งออกน้ำมัน รัฐบาลอิรักได้เซ็นสัญญาให้สัมปทานบริษัทน้ำมันต่างประเทศเพื่อขยายการผลิตน้ำมัน เซ็นมอบสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันให้บริษัทต่างชาติมากกว่า 12 บริษัท ซึ่งหากว่าการหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติมเป็นผลสำเร็จตามที่วางเป้าหมายการผลิตจะอยู่ที่ 12 ล้านบาเรบลต่อวันภายในปี 2563 จะทำรายได้มหาศาลให้อิรัก การเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืนได้นั้น มีอุปสรรคจะต้องเผชิญประการแรกคือสาธารณูปโภคพื้นนฐานไม่พอเพียง ประการที่สองการขาดแคลนแรงงานฝีมือ ดังนั้นอิรักจะต้องใช้งบประมาณหลายพันล้านลงทุนสร้างเพื่อสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมัน เพื่อส่งออกให้ยั่งยืนต่อไป
ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานสำคัญที่อิรักขาดแคลนและเป็นอุปสรรคในการพัฒนาในทุกแขนง ขณะนี้อิรักมีความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 14,000 เมกาวัตต์ แต่สามารถผลิตได้เพียง 7,000 เมกาวัตต์ นำเข้าจากอิหร่านแตุรกีอีก 1,000 เมกาวัตต์ และมีแผนจะนำเข้าจากซีเรียอีกด้วย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 บริษัท STX Heavy Industries Co. ของเกาหลีใต้กับรัฐบาลอิรักได้เซ็นสัญญามูลค่า 2.77 พันล้านเหรียญสรอ.เพื่อก่อสร้างสถานีผลิตไฟฟ้า 25 แห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้า 2,500 เมกาวัตต์ โครงการจะเสร็จสิ้นประมาณเดือนมิถุนายน 2555
ที่อยู่อาศัยจำนวนมากถูกทำลายจากสงคราม ทำให้อิรักประสบกับปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย รัฐบาลได้มอบสัญญามูลค่า 11.28 พันล้านเหรียญสรอ. ให้กับบริษัสัญชาติตุรกีในการสร้างเมือง Sadr จัดงบประมาณพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนชีอะห์ในกรุงเบกแดด สร้างบ้านพัก 75,000 แห่ง โรงเรียน สุเหร่าในเขตชุมชน ซ่อมถนนที่เป็นหลุมบ่อ และซ่อมแซมตึกที่พักอาศัยที่ทรุดโทรม ทำให้นักลงทุนต่างชาติเห็นช่องทางมากมายในการลงทุนทำธุรกิจในอิรัก
มูลค่าการส่งออกปี 2553 ประมาณ 49.1 พันล้านเหรียญสรอ. สินค้าที่ส่งออกได้แก่ น้ำมันดิบ 84% crude materials ยกเวนน้ำมัน 8% อาหารและสัตว์มีชีวิต 5% ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือสหรัฐฯ 28% อินเดีย 14% อิตาลี 10% เกาหลีใต้ 9% ไต้หวัน 6% จีน เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่นประมาณ 49%
การนำเข้ามูลค่าประมาณ 45.2 พันล้านเหรียญสรอ. สินค้าหลักที่นำเข้าได้แก่ อาหาร ยา สินค้าอุตสาหกรรม โดยมีคู่ค้าที่สำคัญคือ ตุรกี ซีเรีย สหรัฐฯ จีน จอร์แดน อิตาลี และเยอรมัน
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอิรักมีโอกาสและแนวโน้มดี การส่งออกของไทยไปอิรักเมื่อปี 2553 มูลค่า 452.3 ล้านเหรียญสรอ. อัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าร้อยละ 57.1 เป็นตลาดรองรับสินค้าไทยในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มีอัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าสูงสุด
ในช่วงครึ่งแรกปี 2554 ไทยสามารถส่งออกไปอิรักมูลค่า 422.8 ล้านเหรียญสรอ.(ขยายตัว ร้อยละ 113)
1. สินค้าหลักที่ส่งออกไปอิรักได้แก่ ข้าว น้ำตาล รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ กระดาษ ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องซัก/อบผ้า ผ้าผืนและรองเท้า ในขณะที่ไทยมีการนำเข้าน้อยมาก หรือบางปีไม่เคยนำเข้าจากอิรักแต่อย่างใด
2. สินค้าหลายชนิดของไทยเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดอิรักและได้รับความนิยม เช่น ข้าว ส่วนประกอบรถยนต์ กระดาษสำหรับใช้ในสำนักงาน เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าที่มีตรารับรับรอง Thailand Brand ได้รับการยอมรับในคุณภาพและถูกพิจารณาเลือกซื้อ
3. เพื่อให้สินค้าไทยสามารถเข้าไปมีส่วนรักษาส่วนแบ่งตลาดในอิรัก พร้อมทั้งขยายฐานการตลาดให้มากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดที่ผู้ส่งออกไทยควรพิจารณานำมาใช้ในการศึกษา และขยายตลาดมีดังนี้
3.1 สินค้าวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติก และเส้นใยประดิษฐ์ ควรรักษาส่วนแบ่งตลาดและขยายตลาด โดยติดต่อผ่านผู้แทนบริษัทอิรักในต่างประเทศ เช่น ยูเออี และจอร์แดน เป็นต้น เพราะอิรักมีการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป
3.2 ระบบการเงินการธนาคารสำหรับติดต่อการค้าใช้ธนาคารสากลในประเทศที่ 3 เช่น ในยูเออีที่บริษัทอิรักเข้าไปใช้ระบบการเงินการธนาคารทำธุรกรรม
3.3 สินค้าระดับกลางถึงระดับสูง ควรตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับสินค้าจากเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ เพราะสินค้าที่มีคุณภาพต่ำราคาถูกนำเข้าจากจีน ไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าจากจีนได้
4. ทางตอนเหนือของประเทศมีเขตการปกครองพิเศษ (Kurdistan Regional Government : KRG) เคอร์ดิสสถานของชาวเคิร์ด เมืองหลวงชื่อเออร์บิล (Erbil) สถานการณ์ทั่วไปปกติมีความปลอดภัย มีแหล่งพลังงานที่สำคัญคือน้ำมัน ประชากรมีกำลังซื้อและจำนวนผู้บริโภคชนชั้นกลางมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในอัตราปีละนับล้านคน
หลายประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจัดตั้งสถานทูตในกรุงเออร์บิล เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ตุรกี และสโลวาเกีย มีสนามบินนานาชาติและมีเที่ยวบินของสายการบินพาณิชย์ จากทั่วโลก อาทิ Austrian Airlines, Emirates Airlines, Lufthansa, Turkish Airlines, Gulf Air, Royal Jordanian, Etihad, Middle East Airlines เมืองเออร์บิลยังเป็นเมืองตากอากาศที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี จึงมีนักลงทุนจากตะวันตกและจากกลุ่มอาหรับเองจำนวนมากเข้าไปลงทุนทำธุรกิจ ทำให้ขณะนี้เออร์บิลได้รับขนานนามว่า New Dubai
5. ผู้ส่งออกไทยที่สนใจตลาดใหม่แห่งนี้ อาจหาช่องทางการเข้าตลาดและการทำตลาดโดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Exhibition Marketing) มีงานแสดงสินค้าหลายงานที่น่าสนใจ จัดขึ้นที่เออร์บิล ได้แก่
1) Erbil Building สินค้า Construction & Real Estate 2) Erbil International Fair สินค้า Home & Garden Supplies 3) Erbil Agro Food สินค้า Agriculture 4) Machinex Erbil สินค้า Industrial Supplies 5) Erbil Autoshow สินค้า Automobiles & Motorcycle 6) Project Iraq สินค้า Construction & Real Estate
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th