สรุปภาวะการค้าไทย-จีนปี 2550 (ม.ค.-ก.ย) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 1, 2007 11:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของจีน-โลก
2549 2550 ( % )
(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 1,272,720.84 1,570,914.32 23.43
การนำเข้า 581,473.15 692,519.62 19.10
การส่งออก 691,247.69 878,394.70 27.07
ดุลการค้า 109,774.55 185,875.08 69.32
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของจีน-ไทย
2549 2550 ( % )
(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 20,026.44 24,984.14 24.76
การนำเข้า 12,932.46 16,280.62 25.89
การส่งออก 7,093.97 8,703.52 22.69
ดุลการค้า -5,838.49 -7,577.11 29.78
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-กย.)
มูลค่า :ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 692,519.62 100.00 19.10
1. ญี่ปุ่น 98,007.63 14.15 16.24
2. เกาหลีใต้ 75,510.62 10.90 14.83
3. ไต้หวัน 72,485.94 10.47 13.70
4. จีน (EPZ) 61,178.80 8.83 17.93
5. สหรัฐฯ 51,370.20 7.42 15.03
10. ไทย 16,280.62 2.35 25.89
อื่น ๆ 317,685.80 45.87 23.05
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-กย)
มูลค่า :ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 692,519.62 100.00 19.10
1. แผงวงจรไฟฟ้า 93,057.01 13.44 22.63
2. เลเซอร์ 31,168.76 4.50 21.08
3. สินแร่และหินแร่เหล็ก 22,658.32 3.27 47.03
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 14,103.11 2.04 -1.67
5. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ 13,601.54 1.96 420.86
อื่น ๆ 517,930.88 74.79 3.80
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากไทยปี 2550(ม.ค.-กย.)
มูลค่า :ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 16,280.62 100.00 25.89
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3,570.21 21.93 41.98
2. แผงวงจรไฟฟ้า 1,933.66 11.88 24.96
3. ยางธรรมชาติ 992.29 6.09 19.92
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 905.47 5.56 26.25
5. กรดโพลิคาร์บอกซิลิก 859.08 5.28 35.84
อื่น ๆ 8,019.92 49.26 -18.07
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-กย.)
มูลค่า :ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 878,394.70 100.00 27.07
1. สหรัฐฯ 170,051.10 19.36 15.77
2. ฮ่องกง 132,243.85 15.06 21.57
3. ญี่ปุ่น 73,996.06 8.42 10.92
4. เกาหลีใต้ 40,336.20 4.59 26.19
5. เยอรมนี 34,459.75 3.92 18.46
21.ไทย 8,703.52 0.99 22.69
อื่น ๆ 418,604.22 47.66 39.20
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปโลกปี 2550(ม.ค.-กย.)
มูลค่า :ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 878,394.70 112.47 27.07
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 64,867.80 7.38 1.58
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 54,789.28 6.24 545.86
3. เครื่องรับโทรทัศน์ 23,639.18 2.69 178.30
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 23,631.26 2.69 0.63
5. แผงวงจรไฟฟ้า 17,515.35 1.99 13.76
อื่น ๆ 803,530.40 91.48 36.54
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-กย.)
มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกไปไทย 8,703.52 111.16 22.69
1. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 532.04 6.11 -5.92
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 485.83 5.58 161.25
3. คอมพิวเตอรและอุปกรณ์ 323.88 3.72 18.57
4. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า 295.93 3.40 -7.10
5. เทปแม่เหล็กสำหรับคอมฯ 175.46 2.02 82.22
อื่น ๆ 7,862.04 90.33 30.46
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของจีน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เลเซอร์ สินแร่และหินแร่เหล็ก
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของจีน ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
เครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่จีนนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และสหรัฐฯ ปัจจุบัน
จีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 2.35 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 21 ของจีน
สัดส่วนร้อยละ 0.99
4.4. สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดจีน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S. 8471) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 14,103.109
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.67 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 25.32 มูลค่า
3,570.214 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.98 ในขณะที่นำเข้าจากจีน (Export Processing
Zone: EPZ) อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 27.90 ลดลงร้อยละ 13.30มูลค่า 3,934.267 ส่วนคู่แข่งขัน
สำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐ
- แผงวงจรไฟฟ้า (H.S. 8542) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 93,057.014 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.08 มูลค่า 1933.655
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.96 ในขณะที่นำเข้าจากไต้หวันอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.65 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 17.51 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์
- ยางธรรมชาติ (H.S. 4001) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,307.796 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 43.00 มูลค่า 992.290 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.92 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซีย และ
อินโดนีเซีย
- ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (H.S. 8473) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 13,179.630
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.97 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.87 มูลค่า
905.466 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.25 ในขณะที่นำเข้าจากจีน (Export Processing
Zone: EPZ) อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 37.25 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.75 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ
มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
- กรดโพลิคาร์บอกซิลิกและแอนไฮไดร์ฮาไลต์ (H.S. 2917) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า
6,129.660 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.81 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 14.02
มูลค่า 859.076 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 39.77 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.55 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไต้หวัน และญี่ปุ่น
4.5 สถานการณ์การค้าผัก ผลไม้ (HS 07 และ 08) ไทยในจีนเดือนกันยายน 2550
จีนนำเข้าผักผลไม้จากไทย มูลค่า 615.887 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2550 เทียบกับ 491.409
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.28 โดยในส่วนของผักเป็นมันสำปะหลัง
มีสัดส่วนร้อยละ 99.82 มูลค่า 413.372 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ 347.915 ล้านเหรียญสหรัฐฯของปี 2549
ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.81 ในส่วนของผลไม้ ส่วนใหญ่ได้แก่ ลำใย มีสัดส่วนร้อยละ 24.48
มูลค่า 49.404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ 32.041 ล้านเหรียญสหรัฐฯของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.19
4.6 ข้อมูลเพิ่มเติม
ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่เนื้อหอมสุดๆ นักลงทุนต่างให้ความสนใจและต้องการเข้าไปลงทุน
ขยายธุรกิจ หลังจากที่รัฐบาลจีนได้เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ทำให้มี
นักลงทุนจำนวนมากที่เข้าไปลงทุนทั้งภาคการผลิต (Real Sector) และภาคตลาดทุน
โดยกลุ่มนักลงทุนดังกล่าว ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากแรงคาดการณ์ว่า "จีน" จะกลายเป็นเจ้า
เศรษฐกิจโลกในยุคต่อไป จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงมีการเติบโตต่อเนื่อง เพราะการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของ
ประชาชนจำนวนมหาศาลในประเทศ และค่าแรงที่จัดว่าอยู่ในระดับต่ำ และอีกส่วนก็เป็นนักลงทุนที่ย้ายการลงทุน
จากสหรัฐฯ หนีภาวะเศรษฐกิจซบเซา รวมทั้งความกังวลต่อการลุกลามของวิกฤตการณ์สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)
ขณะเดียวกัน จีนยังมีปัจจัยหนุนจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นตัวจุดประกาย
ทำให้เกิดสภาพคล่อง การใช้สอยและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ โดยมีนักวิชาการคาดการณ์ว่าในปี
ค.ศ.2020-2025 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
สำหรับนักลงทุนไทย "จีน" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน เห็นได้จากบริษัทต่างๆ
เริ่มมีการหันหัวเรือเข้าไปแทรกลงทุนในแดนมังกรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
(บลจ.) ที่มีการออกกองทุนต่างประเทศ (FIF) ที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีน และได้รับความนิยมจากนักลงทุน
จำนวนมากจนต้องมีการขอเพิ่มทุนจดทะเบียนของกองทุนกับทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ในภายหลัง
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส รองกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล
บลจ.ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ ที่ทำการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดีย
และจีน ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมาเป็นเวลาประมาณ 11 วันมีผลตอบแทนจากการลงทุนแล้วประมาณ 2.48%
และคาดว่าจะมีผลตอบแทน ที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะในตลาดอินเดียที่ราคาของหุ้นยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกได้
สำหรับปัจจัยหนุนการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศอินเดียและจีนก็จะอยู่ที่การบริโภค การเจริญเติบโต
ของเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยที่ผ่านมาจีดีพีของจีนเองที่เพิ่งประกาศออกมาสูงถึง 11.3% ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เชื่อว่า
ผลประกอบการและการเจริญเติบโตของบริษัทของทั้ง 2 ประเทศเองก็น่าจะมีอัตราผลกำไรสูงตามจีดีพีด้วย ส่ง
ผลให้ราคาหุ้นและผลตอบแทนที่จะได้รับสูงขึ้นตามการเติบโตดังกล่าว
ส่วนปัจจัยลบที่มีผลต่อการลงทุนทั้งในจีน และอินเดียคงจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ เนื่องจากประเทศ
ที่หยุดการพัฒนาไปแล้วกลับมาตั้งต้นใหม่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการแก้ปัญหาของทั้งจีน และอินเดียก็คงจะ
เป็นเรื่องของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้เศรษฐกิจลดความร้อนแรงลงบ้าง ซึ่งหลังจากนี้คงจะต้องจับตาดูกันต่อไป
แต่เชื่อว่าทั้งจีนและอินเดียเองยังมีปัจจัยหนุนที่เป็นผลดีต่อการลงทุนอยู่อีกมาก
"การเข้าไปลงทุนในจีนตอนนี้ยังไม่ถือว่าเป็นช่วงที่ร้อนแรงเกินไปเนื่องจากการเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจจีนยังดีอยู่ และยังมีปัจจัยหนุนทั้งจากการจัดโอลิมปิก และงานเวิลด์เอ็กซ์โป ซึ่งหากจะมีการเทกำไรขาย
หุ้นออกไปบ้างในช่วงก่อนโอลิมปิก ก็จะมีปัจจัยหนุนอื่นเข้ามาเป็นตัวช่วยผลักดันการลงทุน อีกทั้งจีน และอินเดียเป็น
ประเทศที่กำลังมีการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อรองรับเรื่องการลงทุนอยู่ คงจะช่วยการเติบโตของตลาดหุ้นมีอย่าง
ต่อเนื่องได้"
อย่างไรก็ตามหลังจากได้ฟังข้อมูลจากผู้จัดการกองทุนแล้วก็อย่าเพิ่งรับด่วนตัดสินใจแม้การลงทุนใน
ประเทศจีนจะดูเหมือนมีอนาคตไกล แต่นักลงทุนต้องไม่ลืมเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายที่ออกมาบอกว่าหลังจากที่ช่วง
ที่ผ่านมาภาวะเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างร้อนแรง ทำให้เริ่มมีความที่ช่วงที่ผ่านมาภาวะเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่าง
ร้อนแรง ทำให้เริ่มมีความวิตกว่า ภาวะเศรษฐกิจที่โตอย่างหยุดไม่อยู่จะเกิดปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูงจนยากจะ
ควบคุมและภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้ในอนาคตได้
เช่น ล่าสุดที่ วอร์เรน บัพเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลกได้กล่าวเตือนนักลงทุนจีนให้ "ระมัดระวัง"
ความเสี่ยงในการซื้อหุ้น หลังจากที่ดัชนีมาตรฐานของจีนพุ่งสูงมากกว่า 2 เท่าในปีนี้ โดยหุ้นของบริษัทจีนที่จด
ทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงเพิ่มขึ้นถึง 89% จนกระทั่งถึงปีนี้ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปีนี้
และพุ่งขึ้น 5 เท่าตั้งแต่ปีที่แล้ว
ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องระลึกไว้เสมอว่า การลงทุนมีความเสี่ยง และมีความจำเป็น
ที่มีการศึกษาข้อมูล รวมทั้งประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับก่อนการตัดสินใจลงทุน
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ