ถึงแม้ว่าอิหร่านจะมีขนาดเศรษฐกิจมหึมาและมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล แต่อิหร่านก็เป็นเสมือนแดนสนธยา ที่นักลงทุนไทยไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งน่าจะเป็นเพราะอิหร่านมีภาพลักษณ์ที่น่าสะพึงกลัว เป็นประเทศที่ถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ เป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล
แต่หากพิจารณาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของอิหร่านที่ IMF ประเมินในปี 2009 อิหร่านมีขนาดเศรษฐกิจอิหร่านใหญ่เป็นอันดับ 18 ของโลก โดย GD ในปี 2010 สูงถึง 818.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่าประเทศไทยที่มี GD ประมาณ 544.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีเดียวกัน นอกจากนี้ อิหร่านเป็นประเทศในโลกเพียงไม่กี่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อยมาก และมีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 2 ต่อปี โดยในปี 2005 และ 2009 อิหร่านมีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.6 ต่อปี
ถึงแม้ว่าอิหร่านจะเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันและแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ติดอันดับโลก แต่อิหร่านก็พยายามที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งภาคบริการภายในประเทศอีกด้วย โดยตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา อิหร่านได้ดำเนินการแปรรูปกิจการของรัฐ โดยตั้งเป้าที่จะถ่ายโอนหุ้นของรัฐร้อยละ 80 ในหน่วยงานของรัฐแก่ภาคเอกชนทุกแห่ง ยกเว้นในอุตสาหกรรมต้นน้ำในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซะรรมชาติรวมทั้งกิจการด้านความมั่นคง ในปี 2010 อิหร่านได้ประกาศแปรรูปหน่วยงานของรัฐอีกกว่า 300 แห่ง เช่นบริษัทปิโตรเลี่ยม โรงกลั่นน้ำมัน สายการบิน ธนาคาร ประกันภัย เหมือง โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานสินค้าการเกษตร เป็นต้น โดยหน่วยงาน Iran rivatization Organization มีหน้าที่รับผิดชอบในการขายหุ้นผ่านตลาดหุ้นเตหะราน
การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นหัวใจสำคัญในการปฎิรูปเศรษฐกิจ อิหร่านต้องการการลงทุนจากต่างชาติเพื่อช่วยพัฒนาระบบการเงินภายในประเทศ ถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยี และสร้างงานใหม่ๆ อิหร่านจึงได้ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการลงทุนให้เปิดกว้าง ลดขั้นตอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ เช่น ยกเว้นภาษีในการลงทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้ในปี 2008 อิหร่านมี FDI ประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อุปสรรคสำคัญในพัฒนาการลงทุนของอิหร่านคือมาตรการคว่ำบาตรจากสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดรายละเอียดมาตรการคว่ำบาตรทั้งในระดับสินค้าและบุคคล นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังใช้มาตรการทางการเงินคว่ำบาตรอิหร่านอย่างเข้มข้น ส่งผลให้ธนาคารไทยไม่รับ L/C จากธนาคารอิหร่าน ดังนั้น การชำระเงินค่าสินค้าจะใช้ T/T หรือโอนเงินจากประเทศที่สามเป็นส่วนใหญ่ รายละเอียดมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/และ http://www.treasury.gov/
สคร ณ กรุงเตหะราน
ที่มา: http://www.depthai.go.th