เดือนกรกฎาคม 2554 ไทย-อิตาลีมีมูลค่าการค้ารวม 306.14 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.19 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2553) โดยไทยขาดดุลการค้าอิตาลี 12.74 ล้านเหรียญสหรัฐ
ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2554 ไทย-อิตาลีมีมูลค่าการค้ารวม 2,400.05 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.09 เทียบกับเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2553) โดยไทยขาดดุลการค้าอิตาลี 44.23 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนกรกฎาคม 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 146.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.87 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปกติจะพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปยังอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและลดลงในช่วงพฤศจิกายนและเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมอีกครั้ง
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรกในเดือนกรกฎาคม เช่น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (สัดส่วน 9.1%) ยางพารา (สัดส่วน 9.01%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 5.97%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 5.71%) และเครื่องนุ่งห่ม (สัดส่วน 5.53%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+12,156.57%) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (+689.58%) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (+582.04%) ประทีปโคมไฟ (+234.62) และเคมีภัณฑ์ (+167.35%) เป็นต้น
ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (-70.37%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (-66.25%) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (-62.34%) ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ (-47.06%) ผ้าผืน (-45.97%) เป็นต้น
ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,177.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.65 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2553
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (สัดส่วน 10.21%) ยางพารา (สัดส่วน 9.9%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 9.31%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 6.6%) และผลิตภัณฑ์ยาง (สัดส่วน 4.46%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (+2,604.83%) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+2,219.35%) ดีบุก (+275.71%) เส้นใยประดิษฐ์ (+239.7%) และแผงวงจรไฟฟ้า (+131.9%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (-48.97%) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (-35.62%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-30.72%) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (-29.28%) และอุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-26.46%) เป็นต้น
เดือนกรกฎาคม 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 159.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ31.43 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 38.13 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับการนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมและพฤศจิกายนของทุกปี
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (สัดส่วน 23.82%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วน 10.22%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 7.39%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (สัดส่วน 6.11%) และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด (สัดส่วน 5.19%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ ขนมหวานและช็อคโกแล็ต (+1,168.61%) กาแฟ ชา และเครื่องเทศ (+417.99%) ผลิตภัณฑ์เซรามิก (+321.05%) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+263.64%) เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลม และสุรา (+201.16%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (-66.51%) ด้ายและเส้นใย (-59.87%) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (-37.43%) และกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ (-16.32%) เป็นต้น
เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,222.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.73 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปี 2553
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+22.98%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (+14.31%) เคมีภัณฑ์ (+9.07%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (+4.97%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (+4.51%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องเทศ (+1,799.75%) ขนมหวานและช็อคโกแล็ต (+413.15%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (+253.44%) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (+163.41%) ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (+125.63%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ (-46.95%) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (-28.64%) เครื่องดนตรี ของเล่น เครื่องกีฬา (-20.34%) ด้ายและเส้นใย (-19.68%) เป็นต้น
1. ปลาหมึกสด แช่แข็งแช่เย็น การส่งออกปลาหมึกสด แช่แข็ง แช่เย็นไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 โดยเดือนมิถุนายน 2554 การส่งออกมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.3 เทียบจากปีก่อนหน้า โดยครึ่งปีหลังของปี 2554 คาดว่าไทยจะสามารถขยายการส่งสินค้าตามความต้องการของตลาดอิตาลีเพิ่มมากขึ้น
2. ยางพารา ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 การส่งออกสินค้ายางพาราของไทยมีแนวโน้มดีมาตลอดโดยอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 76.6 เทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้ายางพารายังคงเป็น
3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 การส่งออกสินค้าเครื่อง ปรับอากาศและส่วนประกอบของไทย มีอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.8 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยครึ่งปีหลังนี้คาดว่าอิตาลีอาจมีการนำเข้าเครื่องปรับอากาศฯ เพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วงฤดูร้อน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th