ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (สิงหาคม 2554)
1. Real GDP: + 0.2 % ( มิ.ย. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.2 % (ก.ค. 2554) - เทียบกับ 7.4 % ในเดือนมิ.ย. 2554
3. Merchandise Import: -1.7 % (มิ.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ พ.ค. 2554
4. Merchandise Export: -0.2 % (มิ.ย. 2554) เมื่อเทียบกับ พ.ค. 2554
5. Inflation Rate: 2.7 % (ก.ค. 2554) — เทียบกับ 3.1 % ในเดือนมิ.ย. 2554
ปัจจัยหลักที่มีผลลบต่อเศรษฐกิจในเดือนมิ.ย.2554 (+0.2 %):
ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ธุรกิจค้าปลีก, ภาคการผลิตเหมืองแร่ น้ำมันและการกลั่น, การก่อสร้าง, การเงินและประกันภัย, ภาคธุรกิจสาธารณะ
- ธุรกิจค้าปลีก : เพิ่มขึ้น 1.0% โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ใหม่-เก่า
- ภาคการผลิตเหมืองแร่ น้ำมันและการกลั่น : ขยายตัว 0.7% โดยเน้นภาคการกลั่นน้ำมัน และการผลิตก๊าซธรรมชาติ
- ภาคการก่อสร้าง : เติบโต 0.6% เป็นผลมาจากความต้องการซื้อขายตลาดบ้านพักที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการซ่อมแซมที่พักอาศัยต่างๆ
- ภาคธุรกิจการเงินการธนาคาร เพิ่มขึ้น 0.5% เป็นผลจากธุรกรรมทางการเงิน เช่น การกู้สำหรับที่พักอาศัย รวมทั้งปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยลบเป็นผลจาก: ภาคบริการขนส่งและคลังเก็บสินค้า, ธุรกิจค้าส่ง, การผลิต
- ภาคบริการขนส่งและคลังเก็บสินค้า : ลดลง 1.1% เนื่องมาจากการประท้วงของพนักงานไปรษณีย์ทั่วประเทศในเดือนที่ผ่านมา
- ธุรกิจค้าส่ง: ลดลง 0.3 % โดยเป็นสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ยาสูบ รวมทั้งสินค้าใช้สอยในครัวเรือน
- ภาคการผลิตสินค้า ลดลง 0.1% โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า
ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา: ตัวเลขฝ่ายไทย
มูลค่า(ล้านเหรียญสรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%) ม.ค. — ก.ค. 53 ม.ค. — ก.ค. 54 ม.ค. — ก.ค. 53/54 มูลค่าการค้า 1,313.3 1,722.6 31.17 ไทยส่งออก 775.2 1,009.9 29.11 ไทยนำเข้า 538.1 712.7 32.45 ดุลการค้า 237.1 297.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.- ก.ค. 54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 16 รายการ ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+29.23%) ยางพารา (+105.65%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+15.98%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วน (+2,655.92%) เครื่องน่งุห่ม (+19.42%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+38.58%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+29.10%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+37.52%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(+13.42%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+24.08%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+335.43%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+24.48%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+112.15%) เตาอบไมโครเวฟ (+28.77%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+24.41%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (+78.77%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- มิ.ย. 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 4 รายการ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-18.89%) ข้าว (-11.03%) เลนซ์(-10.09%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (-3.54%)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th