ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอิตาลี
ชาวอิตาลีเริ่มทยอยกลับจากช่วงพักร้อนมาทำงานและใช้ชีวิตตามปกติในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม เศรษฐกิจอิตาลีจึงยังคงชะลอตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากความเชื่อมั่นในธุรกิจการค้าปลีกที่ยังคงตกลงเรื่อยๆ โดยลดระดับจาก 102.6 จุดในเดือนมิถุนายนมาเป็น 97.8 จุดในเดือนสิงหาคม ในขณะเดียวกันความเชื่อมั่นในธุรกิจบริการแม้มีการปรับตัวที่ดีขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้นแต่ก็มีอัตราเพิ่มขึ้นไม่มากโดยเพิ่มขึ้นจาก 94.2 จุดในเดือนมิถุนายนมาเป็น 94.3 จุดในเด อนสิงหาคมเท่านั้น ราคาสินค้ายังคงไม่เสถียรและมีแนวโน้มที่แย่ลง ระดับการค้าลดลงทั้งธุรกิจค้าส่ง ซึ่งตกลงจาก 101.5 จุดในเดือนมิถุนายน มาเป็น 93.7 จุดในเดือนสิงหาคม ธุรกิจค้าปลีกลดลงจาก 106.9 จุดในเดือนมิถุนายน มาเป็น 104.7 จุดในเดือนสิงหาคม และมีแนวโน้มว่าจะมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ในเดือนสิงหาคมอัตราเงินเฟ้ออิตาลีสูงถึง 2.8% เพิ่มขึ้นจาก 2.7% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับจากเดือนตุลาคม 2008 และมีดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความคาดหวังการสั่งซื้อและแนวโน้มการสั่งซื้อที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอิตาลีให้แย่ลงไปกว่าเดิม
1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อิตาลี ไตรมาส 2 ของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับ GDP ใน Euro Area และ Eu 27 เพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 1.7 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า
2) การผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนมิถุนายน 2554 เทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลง ร้อยละ 0.6 และเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (โดยวันทำงานในเดือนมิถุนายน 54 มีจำนวนวันทำงานเท่ากับเดือนมิถุนายน 53)
3) คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 2554 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ กับเดือนก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 4.1 % (-0.8% จากตลาดภายในประเทศ และ+12.2% จากตลาดต่างประเทศ) ส่วนเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 13.6%
4) ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี เดือนกรกฎาคม 2554 ปรับตัวลดลงอีกครั้งจาก 105.8 จุด เป็น 103.7 จุด (หดตัวลดลง 2.1จุด) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต
5) ดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนกรกฎาคม 2554 มีการปรับตัวลดลงอีกครั้งจาก 100.5 จุด เป็น 98.5 จุด (ลดลง 2จุด) ซึ่งมีสาเหตุมาจากคำสั่งซื้อและการรอการผลิตของผู้ผลิตมีแนวโน้มลดลง แต่สินค้าในสต็อกยังมีจำนวนไม่เปลี่ยนแปลง
6) การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลี เดือนมิถุนายน 2554 อิตาลีมีตัวเลขการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และนำเข้าลดลง -4.1 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ +8.1 และ +3.2 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาก่อนหน้า
7) อัตราการจ้างงาน เดือนมิถุนายน 2554 มีอัตราร้อยละ 56.9 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับ เดือนก่อนหน้า แต่มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
8) ผลประกอบการภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนพฤษภาคม 2554 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลง 1.7% (-2.9% จากตลาดภายในประเทศ และ+0.9% จากตลาดต่างประเทศ) และเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8
9) อัตราการว่างงาน เดือนมิถุนายน 2554 มีอัตราร้อยละ 8.0 ซึ่งลดลง 0.3 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลง 3.9 จุด เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ Euro Area และ EU 27 อยู่ประมาณ 1.9 จุด และ1.4 จุด ตามลำดับ โดยอัตราการว่างงานของ Euro Area และEU 27 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 และ 9.4 ตามลำดับ
10) อัตราเงินเฟ้อ เดือนกรกฎาคม 2554 อัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 1.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ร้อยละ 2.1 สำหรับอัตราเงินเฟ้อโดยประมาณใน Euro Area และ Euro 27 มีอัตราลดลงร้อยละ 1.7 และ 2.1 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีอัตราลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.9 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า
11) การบริโภค เดือนมีนาคม 2554 การบริโภคของชาวอิตาเลียนยังคงมีอัตราลดลงร้อยละ 2.5 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดแรงงานที่มีความไม่แน่นอนส่งผลให้ประชาชนชะลอดูสถานการณ์ดังกล่าว
12) ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนกรกฎาคม 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า
13) ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า
ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอิตาลีรายเดือน ปี 2554
ช่วงเวลา อัตราเปลี่ยนแปลง อัตราเปลี่ยนแปลง
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า(%) เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า (%)
GDP (ไตรมาส 2) +0.8 +0.3 การผลิตภาคอุตสาหกรรม (มิถุนายน) +1.0 -0.6 ผลประกอบการ (พฤษภาคม) +10.8 -1.7 คำสั่งซื้อ (พฤษภาคม) +13.6 +4.1 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิต (กรกฎาคม) - -2 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (กรกฎาคม) - -2.1 จุด การนำเข้า (มิถุนายน) +3.2 -4.1 การส่งออก (มิถุนายน) +8.1 -0.8 อัตราการว่างงาน (มิถุนายน) -3.9 จุด -0.3 จุด อัตราเงินเฟ้อ (กรกฎาคม) +2.1 -1.7 อัตราการจ้างงาน (มิถุนายน) 0.1 -0.1 การบริโภค (มีนาคม) -2.5 - ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม (มิถุนายน) +4.3 0.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค (กรกฎาคม) +2.7 +0.3 หนี้สาธารณะ (%/GDP)* (ปี 2554) 120.3 *ตัวเลขคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่มา : องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, CSC, และ Istat
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th