ใครว่าจีนไม่มีการสร้างแบรนด์ จีนมีการจัดอันดับแบรนด์ภายในประเทศ 20 อันดับที่มีมูลค่าสูงที่สุด นอกจากจะสร้างแบรนด์ในประเทศแล้ว จีนยังส่งแบรนด์ของตนออกไปตีตลาดต่างประเทศอีกด้วย ยกตัวอย่างแบรนด์จีนที่คุ้นหน้าคุ้นตาในไทย เช่น Lenovo, Li - Ning, เครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ Hier และ TCL
ยอดแบรนด์แดนมังกร ปี 2010 (Top 20)
RMB million
China Mobile 202,855 China Life 99,510 China Construction Bank 96,201 ICBC 77,699 Bank of China 68,416 Ping An Insurance 56,971 China Merchants Bank 23,199 Tencent 22,964 Kweichou Moutai 21,430 China Pacific Insurance 15,349 Bank of Communications 12,769 Lenovo 10,108 Wuliangye 8,807 Tsingtao Brewery 8,481 SPD Bank 8,137 Luzhou Laojiao 7,370 Baidu 6,950 CITIC Securities 5,875 Li - Ning 5,771 Dongfeng Motor 5,333
Source: Interbrand Co
SHEN WEI / CHINA DAILY
การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งจำเป็นเพราะแบรนด์จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความผูกพันเชิงอารมณ์ระหว่างผู้บริโภคและสินค้า ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต้องทำจริงจังอย่างต่อเนื่อง มีแบรนด์ไทยจำนวนหนึ่งทำสำเร็จแล้วในจีนและต่างประเทศ เช่น Redbull, โก๋แก่, นารายาและข้าวตราฉัตร เป็นต้น
สิ่งที่อยากแนะนำให้ผู้ประกอบการไทย ก็คือเรื่อง "คุณภาพ" ถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะเมื่อสามารถรักษาคุณภาพที่สม่ำเสมอได้ ความยอมรับของลูกค้าก็จะตามมา แต่คิดว่าคุณภาพอย่างเดียวยังไม่พอ ถ้าคิดจะทำให้ตรายี่ห้อเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ต้องพัฒนาการออกแบบของตัวเองและที่สำคัญคือ การเข้าใจความต้องการที่แตกต่างและรสนิยมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาของลูกค้าในแต่ละประเทศ นี่คือวิธีการสร้างตรายี่ห้อไทยสู่สากลให้ประสบความสำเร็จ
เจ้าของสินค้าไทยบางราย ยังมีความเข้าใจผิดที่ว่าหากจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยแล้ว ก็จะสามารถใช้และได้รับความคุ้มครองในทุกประเทศทั่วโลก แต่หลักการที่ถูกต้อง คือ "จดที่ประเทศไหน ก็จะได้ความคุ้มครองแค่ที่นั่น" การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ ถือเป็นการช่วยป้องกัน "ความเสี่ยง" ทางธุรกิจไว้ก่อน แบบกันไว้ดีกว่าแก้ เพราะถ้าต้องมาวิ่งแก้ปัญหาภายหลังโดยวิธีขอซื้อเครื่องหมายการค้าคืน หรือฟ้องร้องสู้คดีกันในศาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าหลายเท่า
แหล่งที่มา : China Daily ฉบับลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หน้า 15
สคร. เมืองกวางโจว
ที่มา: http://www.depthai.go.th