1. Life Style ของชาวออสเตรเลียมีรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมากนัก (Casual Style) ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม แฟชั่น หรือรูปแบบของเสื้อผ้า รวมถึงการแต่งกายในสถานที่ทำงาน (Office Dress) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างไม่เป็นทางการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของสุภาพบุรุษ มีการแต่งกายเป็น Smart Casual เช่น เสื้อโปโล กางเกง สแล็คมากขึ้น หลายบริษัทเริ่มมีวันที่ให้พนักงานแต่งกายแบบ dress-down day โดยมากเป็นวันศุกร์ ซึ่งพนักงานสามารถแต่งยีนส์มาทำงานได้
2. ชาวออสเตรเลียนิยม Life style แบบ outdoors เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะ มีทะเล และป่าเขาลำเนาไพรที่สวยงามมากมาย รวมทั้งภูมิอากาศที่เป็นแบบ ร้อนและแห้ง ส่งผลให้คนออสเตรเลียนิยมวิถีชีวิตแบบ outdoors ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ที่สำคัญคือ ทะเลและป่า ทั้งนี้ แฟชั่นเป็นรูปแบบหนึ่งของการสะท้อนวิถีชีวิตดังกล่าวของคนออสเตรเลีย โดยแสดงออกทาง สีสัน ชนิดของเนื้อผ้า และรูปแบบการตัดเย็บที่ดีไซเนอร์ชาวออสเตรเลียเลือกใช้ ทั้งนี้ ดีไซเนอร์ออสเตรเลียมีชื่อเสียงในการออกแบบ beachwear เช่น Roxy, Billabong, Rip Curl และ Seafolly ที่ได้รับความนิยมทั้งในออสเตรเลียและส่งออกไปทั่วโลก
3. ปัจจุบันผู้บริโภคออสเตรเลียให้ความใส่ใจต่อรูปลักษณ์มากขึ้น มีการใช้จ่ายด้านเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้น รวมทั้งใช้จ่ายในด้านการดูแลเสื้อผ้ามากขึ้น ทั้งซ่อม และจ้างร้านซัก โดยคนออสเตรเลียจะให้ความสำคัญกับ คุณภาพของเนื้อผ้า และการตัดเย็บโดยเลือกที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาแพงกว่าแต่คุณภาพดี มากกว่าสินค้าที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาถูก อย่างไรก็ดีด้วยความแตกต่างด้านฤดูกาล ส่งผลให้แฟชั่นต่างๆของออสเตรเลียจะตามหลังแฟชั่นยุโรปและสหรัฐฯ ดังนั้น Collection ฤดูหนาวปี 2552 จะมาเป็นที่นิยมในออสเตรเลียกลางปี 2553
4. แฟชั่นของออสเตรเลียค่อนข้างเป็นลักษณะที่เป็น Casual Approach ซึ่งต่างกับทางยุโรปที่เป็น Tailor Approach ดีไซน์เนอร์ชาวออสเตรเลียหลายรายได้รับอิทธิพลการออกแบบผ้าที่มีสีสันและลวดลายจากศิลปะพื้นเมืองของชาวอะบอริจินีส เช่น สีทราย พื้นดิน เป็นต้น ทั้งนี้เสื้อผ้าของดีไซน์เนอร์ออสเตรเลียกำลังได้รับความนิยมในตลาดโลก เช่น Wayne Cooper, Collette Dinnigan, Akira Isogawa, Lisa Ho, Martin Grant, Carla Zampatti, Easton Pearson, Michelle Jank and Nicola Finetti เป็นต้น
5. วัยรุ่นส่วนใหญ่เริ่มมีแนวโน้มเดียวกับแฟชั่นระดับโลกมากขึ้น เนื่องจากได้รับข่าวสารจาก สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร และอินเทอร์เนต เป็นต้น ทำให้ร้านค้าปลีกต้องพยายามลอกเลียนแฟชั่นจากแคทวอล์ค เพื่อวางจำหน่ายในร้านให้ได้โดยเร็ว และในราคาที่ย่อมเยา ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ผลิตของออสเตรเลีย ที่ต่างจากผู้ผลิตเอเชียซึ่งมักให้ความสนใจเฉพาะสินค้าล๊อตใหญ่ ราคาถูกสำหรับตลาด Mass Market
6. ปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมซื้อเสื้อผ้าผ่านร้านขายเสื้อผ้าที่เป็น Specialty Store เช่น Boutique Shop หรือร้านที่เป็น factory outlet มากกว่าที่จะซื้อตามห้างสรรพสินค้า ทำให้ห้างสรรพสินค้า เช่น Myer และ David Jones ต้องปรับตัวกับการแข่งขัน โดยมีการทำสัญญากับแบรนด์เสื้อผ้าให้ขายเฉพาะห้างตน หรือจ้างดีไซน์เนอร์ออกแบบเฉพาะให้ห้างของตน เป็นต้น และมีการจัดวาง Positioning ของสินค้าให้ชัดเจน โดยห้าง David Jones มีแนวโน้มที่จะจับตลาดบนที่มีรายได้สูงกว่ากลุ่มที่ซื้อตามร้าน Specialty Store ในขณะที่ห้าง Myer เลือกเจาะตลาดแนว Mass Market หรือ แฟชั่นราคาปานกลางที่มีรูปแบบทั่วไป สามารถจำหน่ายออกได้เร็ว นอกจากนั้น ห้างสรรพสินค้าพยายามเพิ่มการขาย โดยการเพิ่มจำนวนสาขาและการเพิ่มช่องทางขายผ่านอินเตอร์เนตด้วย ทั้งนี้ การแข่งขันในสาขาเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนั้น เนื่องจากแบรนด์ต่างชาติ อย่าง ZARA มีการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
7. คนออสเตรเลียเริ่มนิยมการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เนตหรือ Online shopping มากขึ้น เนื่องจากเงินเหรียญออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น และอัตราภาษี 0% สำหรับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,000 เหรียญออสเตรเลีย ซึ่งส่งผลให้ราคาของสินค้าจากต่างประเทศทางอินเตอร์เนตมีราคาถูกกว่ามากถึง 50% เมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่วางขายในร้านขายปลีกในประเทศ รวมทั้งการประกาศใช้ภาษีคาร์บอน (Carbon tax) ของรัฐบาลออสเตรเลียส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในความมั่งคงของรายรับของตน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ online shopping ได้รับความนิยมจากชาวออส-เตรเลีย
8. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2551 (Global financial crisis 2008) ส่งผลกระทบต่อทุกภาคเศรษฐกิจของออสเตรเลียรวมถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นด้วย โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence) ปรับตัวลดลง ประชาชนหันมาออมมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีก และ Boutique shop ต่างๆประสบกับปัญหาความคล่องตัว และต้องปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าของตน อย่างไรก็ดีในปี 2552 อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย (Apparel) มี มูลค่า 14.92 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปี 2552 ร้อยละ 14.9 ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมีมูลค่ารวม 12.49 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็น เครื่องแต่งกายสตรี 6.4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย เครื่องแต่งกายบุรุษ 3.5 พัน-ล้านเหรียญออสเตรเลีย เครื่องแต่งกายเด็ก 2.6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย และรองเท้า 2.37พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
จากข้อมูลสถิติปี 2553 ออสเตรเลียนำเข้าเสื้อผ้ามูลค่าทั้งสิ้น 4,550.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.75 จากปี 2552 โดยแหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญ คือ จีน ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดและมีสัดส่วนนำเข้าถึงร้อยละ 79.87 ในปี 2553 รองลงมาได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย ฮ่องกง และ อิตาลี ตามลำดับ สำหรับสินค้าจากไทยเป็นแหล่ง นำเข้าอันดับที่ 10 ในปี 2553 โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 0.82 อย่างไรก็ดี ส่วนแบ่งตลาดการนำเข้าเสื้อผ้าจากไทยของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นทุกปี
จากข้อมูลสถิติปี 2551-2553 ตามตารางด้านบน จะเห็นว่าออสเตรเลียนำเข้าสินค้าประเภท Footwear มากกว่า พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และในปี 2553 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.14 จากมูลค่าการนำเข้าในปี 2552 โดย แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าถึง 1,238.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 71.48 ของการนำเข้าจากทั่วโลกในปี 2553 รองลงมาได้แก่ อิตาลี เวียดนาม อินโดนีเซีย และบราซิล ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้า Footwear อันดับที่ 8 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.35 ในปี 2553
1) Fashion Exposed
เป็น Trade Fair ที่ใหญ่และสำคัญของออสเตรเลีย ผู้ออกงานส่วนใหญ่เป็น importer, wholesaler และ producer โดยจะจัดปีละ 2 ครั้ง คือ ซิดนีย์ และเมลเบอร์น
March (Spring/Summer)
Sydney Exhibition & Convention Centre
September (Autumn/Winter)
Melbourne Exhibition Centre
Organizer:
Australian Exhibitions & Conferences Pty Limited
Level 2, 267 Collins Street,
Melbourne, Australia.
Tel: +(1)-(613)-96547773
Fax: +(1)-(613)-96545596
2) Preview (March, September)
เป็นงานที่จัดขึ้นควบคู่ไปกับงาน Fashion Exposed แต่จะเน้นที่เป็นเสื้อผ้า Designer (Designer Clothes)
Sydney Exhibition & Convention Centre, Melbourne Exhibition & Convention Centre
Organizer:
Australian Exhibitions & Conferences Pty Limited
3) The L’Oreal fashion Festival
เป็นเทศกาลสำหรับคนรักแฟชั่น โดยมีการจัดการแสดงเดินแบบ การแนะนำ Collection ล่าสุดของดีไซเนอร์ และ งานสังสรรค์ของผู้คนในวงการแฟชั่นเป็นประจำทุกปี ในเดือนมีนาคมที่ นครเมลเบอร์นซึ่งเป็นเมืองหลวงของวงการแฟชั่นและศิลปะแขนงต่างๆของออสเตรเลีย
Organizer:
LMFF team
Level 2
175 Flinders Lane, Melbourne
Victoria, 3000 Australia
T: +61 3 9654 5599
F: +61 3 9654 9679
4) Rosemount Australia Fashion Week (April, October)
เป็นงานแสดงแฟชั่นโชว์โดยดีไซน์เนอร์ออสเตรเลียและเอเชียแปซิฟิก จัดขึ้นปีละ 2 ครั้งทุกปีในเดือนเมษายน และตุลาคมที่นครเมลเบอร์น และซิดนีย์
The Overseas Passenger Terminal (OPT), Circular Quay, Sydney
St.Kilda pier, Melbourne
Organizer:
IMG FASHION
Level 4, 263 Clarence Street
Sydney NSW 2000
Australia
T: +61 2 9285 8000
F: +61 2 9260 2333
www.euromonitor.com
www.dfat.gov.au
www.australia.gov.au
www.countryroad.com.au
www.ragtrader.com.au
www.afr.com
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
ที่มา: http://www.depthai.go.th