1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบราชิล
1.1. รัฐบาลบราซิลประกาศนโยบายปกป้องเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมภายในประเทศ
สืบเนื่องจากการแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่นเฮอัล (Real) ที่แข็งค่ามากกว่าร้อยละ 30 ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2554 ค่าเงินแข็งค่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ ที่ต้องต่อสู้กับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่ได้เปรียบในการแข่งขันเนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัว
เมื่อวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2554 ประธานาธิบดีบราซิล (President Dilma Rousseff) ประกาศนโยบายปกป้องเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การป้องกันประเทศ สิ่งทอ รองเท้า โทรคมนาคม ซอฟแวร์ และวัสดุ อุปกรณ์ไฮเทคโนโลยี่ โดยมีแนวนโยบายและมาตราการ ดังนี้
1. การลดหย่อนภาษีแก่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง เช่น สิ่งทอ รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ และซอฟแวร์ จนถึงปี 2012 พร้อมทั้ง ขยายเวลาในการจ่ายภาษีในสินค้าทุน วัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้าง รถบรรทุก ภายหลังจากการผลิตสินค้าสำเร็จรูปแล้ว 12 เดือน จากเดิมต้องชำระทันทีเมื่อมีการขายสินค้านั้นๆ
2. สนับสนุนการให้สินเชื่อโดยผ่านธนาคารของรัฐในวงเงินจัดสรร 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในด้านการวิจัย และพัฒนา การจัดหาเครื่องจักรใหม่ การส่งออกรถบรรทุก และเครื่องมือในการเกษตรจนถึงเดือนธันวาคมปี 2012
3. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้า เพื่อลดการนำเข้าสินค้าราคาถูก เช่น ของเล่น รองเท้า เครื่องอิเลคทรอนิค ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน
4. เข้มงวดในด้านพิธีศุลกากร โดยการตรวจสอบเอกสาร และปรับ สินค้าที่มีการลักลอบนำเข้า การรายงานเอกสารที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การปลอมแปลงเอกสารในการขนส่ง
5. เพิ่มความเข้มข้นในมาตราการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ ดำเนินการตอบโต้ทางการค้าอื่นๆกับสินค้าที่ผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งลดระยะเวลาในการพิจารณาใช้มาตราการ
6. การสนับสนุนและรณรงค์ให้มีการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ โดยเริ่มจากการจัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศบราซิล แม้ว่าราคาจะสูงกว่าสินค้านำเข้า ร้อยละ 25 โดยให้ความสำคัญในสินค้าในการป้องกันประเทศ สินค้าเพื่อสุขภาพ อนามัย เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
จากมาตราการและนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าของไทยมายังตลาดบราซิล เห็นได้จากที่รัฐบาลบราชิลได้มีมาตราการต่างๆ ออกมาเพื่อเป็นข้อกีดกันทางการค้า เพื่อตอบสนองต่อการร้องเรียนของผู้ประกอบการในประเทศ โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาในปี 2011 รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินการซึ่งเป็นผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในหลายกรณี เช่น ได้เพิกถอนใบอนุญาตนำเข้าสินค้าอาหารทะเล จากผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทย โดยกล่าวหาว่า ส่งสินค้าที่รัฐบาลไม่ได้อนุญาตให้นำเข้ามายังประเทศบราซิล ซึ่งทางบริษัทได้ประสานกับกรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก และสคร. เซาเปาโล ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต่อมารัฐบาลบราซิลก็ยกเลิกการการห้ามส่งออกของบริษัทดังกล่าวมายังประเทศบราซิล และในขณะนี้ รัฐบาลบราซิลได้กล่าวหาว่าประเทศไทย รวมทั้ง อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี และเวียดนาม ให้การสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าเส้นด้ายวิสโคสที่ส่งออกมายังประเทศบราซิล ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมดังกล่าวในประเทศบราซิล ซึ่งจะต้องมีการชี้แจงกันต่อไป
ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ส่งสินค้ามายังประเทศบราซิลต้องติดตามความคืบหน้าด้านข่าวสาร และมาตราการต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการนำเข้าของบราซิลอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการนำไปเป็นข้ออ้างในใช้มาตราการกีดกันทางการค้า
1.2. บริษัทผู้ประกอบรถยนต์จีนบุกตลาดบราซิล
JAC Motors เป็นบริษัทผู้ประกอบรถยนต์จีนรายที่ 2 ที่ประกาศการลงทุนมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ ในประเทศบราซิล เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ที่กำลังเติบโต ทั้งนี้ บริษัทมีแผนในการเปิดสายการผลิตในปี 2014 โดยมีกำลังการผลิตจำนวน 100,000 คันต่อปี
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 บริษัท Chery Automotive บริษัทผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่ของจีนได้ประกาศลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นการตั้งโรงงานนอกประเทศครั้งแรกของบริษัท โดยมีการลงทุนมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในการลงทุนของบริษัทนอกประเทศจีน โรงงานผลิตรถยนต์ Chery ตั้งอยู่ ณ เมือง Jacarei ประมาณ 100 กิโลเมตร จากนครเซาเปาโล บริษัทมีแผนในการเปิดสายการผลิตในปี 2013 โดยมีกำลังการผลิตจำนวน 50,000 คันต่อปี และจะขยายกำลังการผลิตเป็น 170,000 ต่อปีในอนาคต ร้อยละ 85 ของการผลิตจะจำหน่ายภายในประเทศบราซิล ซึ่งจะมีสัดส่วนร้อยละ 1 ของตลาดรถยนต์ของบราซิล และร้อยละ 15 ของการผลิตจะส่งออกไปจำหน่ายในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอเมริกาใต้
ในปี 2554 บริษัทผู้ประกอบรถยนต์จากเอเซีย Hyundai, Honda และ Nissan ได้ประกาศเพิ่มการลงทุนในประเทศบราซิล โดย Hyundai จะลงทุนเพิ่มอีก 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยายามที่จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ แซงหน้าบริษัท Ford
ปัจจุบันมีบริษัทประกอบรถยนต์ชั้นนำของโลก ตั้งโรงงานผลิตในประเทศบราซิล ได้แก่
- ประเทศสหรัฐอเมริกา GM, Ford - ประเทศญี่ปุ่น Honda, Mitsubishi, Nissan, Toyota - ประเทศเกาหลี Hyundai - ประเทศเยอรมันนี Mercedes Benz, Volkswagen - ประเทศฝรั่งเศส Peugeout, Citroen, Renault - ประเทศอิตาลี Fiat
ในปี 2553 บราซิลผลิตรถยนต์ได้จำนวน 3.64 ล้านคัน ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งรายใหม่ และรายเก่า จะลงทุนขยายการผลิตเพื่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มขึ้น 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2560 โดยจะมีผลิตรถยนต์จำนวน 6.2 ล้านคัน ในปี 2568 ส่งผลให้ประเทศบราซิลเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของโลกแซงหน้าประเทศญี่ปุ่น โดยต่อจากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทยนั้น ประเทศบราซิล เป็นตลาดส่งออกสินค้าส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถยนต์ ที่สำคัญอันดับที่ 5 ของไทย รองจากประเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอาฟริกาใต้ โดยในปี 2553 มีการส่งออกมายังประเทศบราซิลมูลค่า 198.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.80 และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 145.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.11 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าตลาดอุตสาหกรรมรถยนต์ของบราซิลจะเติบโตขึ้นอีกมาก จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ในการขยายการส่งออกมายังตลาดนี้ โดยเฉพาะสิ้นค้าชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทย จะต้องมีการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศบราซิล จะมีรุ่นที่แตกต่างจากที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทย พร้อมทั้ง ต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน เพื่อต่อสู้กับประเทศคู่แข่งต่อไป
1.3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิล
1. การปฎิรูปภาคการผลิต (Deindustrialisation)
บราชิลแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น น้ำมัน เหล็ก แหล่งน้ำ เป็นต้น แต่จากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเฮฮัล ซึ่งเป็นเงินสกุลท้องถิ่นที่ปัจจุบันมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1.55 เฮฮัลต่อ 1 USD ส่งผลต่อความสามารถในการแข็งขันระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมของบราชิลลดน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดโลก ซึ่งรัฐบาลต้องมีการสนับสนุนการปฎิรูปโครงสร้างทางอุตสาหกรรมโดยด่วนหากหวังที่จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปได้โดยยั่งยืน ภาคการผลิตของบราชิลมีปัญหาหลายด้านๆ เช่น ปัญหาเรื่องระบบการทำงานที่ล่าช้าไม่ทันสมัย ค่าแรงขั้นต่ำที่สูงกว่าคู่แข่ง ระบบภาษีที่ซับซ้อนยากแก่การบริหารจัดการด้านต้นทุน และสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลที่ไม่ดีพอ ทำให้รัฐบาลต้องเร่งกำจัดข้อด้อยต่างๆนี้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว มิเช่นนั้น บราชิลิอาจประสบปัญหาทางเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหากพิจารณาตามโครงการสร้างของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของบราชิล (GDP) รายได้จากการส่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10-20 ของ GDP เท่านั้น ทำให้ยังเชื่อว่าแม้รัฐบาลจะตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมอาจเป็นไปโดยช้า เนื่องจากรัฐบาลจะทุ่มงบประมาณไปในโครงการประชานิยมต่างๆมากกว่าการที่จะปฎิรูปอุตสาหกรรมของตนอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งความรุนแรงของปัญหาต้องขึ้นอยู่กับการแข็งค่าเงินของเงินเฮฮัลว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงไรต่อไป
2. ปัญหาด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน
บราชิลเคยประสบปัญหาการขนส่งผลผลิตเพื่อการส่งออกล่าช้า ดังที่เคยเกิดกรณีการขนส่งน้ำตาลที่ล่าช้ามากในปี 2010 คือใช้เวลา 2-3 เดือนในการขนส่งสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ ดังที่เกิดขึ้นที่ท่าเรือซานโต้ส ท่าเรือหลักที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของบราชิล แสดงให้เห็นถึงความต้องการการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น ความกังวลว่าโครงสร้างพื้นฐานเดิมจะรองรับความต้องการในช่วงฟุตบอลโลกหรือกีฬาโอลิมปิก ได้หรือไม่ รัฐบาลพยายามให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนแทนรัฐบาลมากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนระยะเวลาในการดำเนินการและงบประมาณรัฐบาลที่จำกัด เพื่อให้มีการพัฒนาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น การปรับปรุงรางรถไฟและขยายเส้นทางระหว่างนครเซาเปาโลและริ โอเดอ จาเนโร หรือ การปรับปรุงท่าเรือซานโต้ส ซาอูเป้ และแปเซมเพื่อรองรับการค้าที่เพิ่มมากขึ้นในรัฐเซาเปาโลและริโอเอดจาเนโร
3. การเพิ่มบทบาทของภากชนในการพัฒนาภาคธุรกิจ
การขาดแหล่งเงินทุนของภาคเอกชนที่เงินกูจากภาครัฐผ่านธนาคาร BNDES) ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐนั้น มีสัดส่วนเงินกู้ของรัฐบาลถึงร้อยละ 30 ของเงินกู้ทั้งหมดของรัฐบาล การใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงใน ปัจุบันอยู่ที่ 12.00% เป็นการเพิ่มภาระทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ ทำให้ภาคเอกชนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมีต้นทุนการบริหารทางการเงินค่อนข้างสูง นอกจากนั้น หากเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในเงินกู้ดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงจะทำให้บราชิลประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นตามไปด้วย
รัฐบาลจึงควรดำเนินมาตราการอื่นที่ไม่ใช่การใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อ ดังเช่นปัจจุบันเช่น จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก้ภาคเอกชนมากขึ้น เป็นต้น
1.4. การขยายตัวด้านการลงทุนจากต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์บราชิลชะลอตัวลงถึงร้อยละ 70
ตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของบราชิลหรือ BOVESPA มีการลดลงถึงร้อยละ 70 จากปีที่แล้ว สืบเนื่องจากกฎระเบียบที่เข้มจาการควบคุมเงินไหลเข้าออก ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมจากเดิม 0.25 เป็น 3.25 % และการแข็งค่าเงินของค่าเงินเฮฮัล ทำให้เงินตอบแทนการลงทุนลดลง การที่ตลาดหลักทรัพย์ลดลงดังกล่าวทำให้บริษัทจดทะเบียนประสบปัญหาการบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่มีรายได้จากมูลค่าน้อยลงไปกว่าที่ประมาณการไว้มาก บางบริษัทต้องขอกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่สูงในสัดส่วนที่มากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้การลงทุนปรับปรุงการผลิตหรือขยายธุรกิจต่างๆต้องชะลอตัวลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี บราชิลจะยังคงมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ อาจไม่ส่งผลในทางลบมากนัก เนื่องจากระดับการบริโภคยังอยู่ในอัตราที่สู่งต่อไปอย่างน้อย 3-4 ปี
1.5. ค่าโกดังเช่าโกดังสินค้าในเซาเปาโลสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ค่าโกดังสินค้า (Warehouse) ในรัฐเซาเปาโลมีการขยายตัวสูงขึ้นเป็น 23.50 เฮฮัลหรือประมาณ 15.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตารางเมตรสูงเป็นลำดับที่ 4 ของโลกรองจากโตเกียว ซูริด และฮ่องกง โดยมีสาเหตุหลักจากความไม่พร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งสินค้าที่ยังไม่ดี สินค้าหลายๆอย่างต้องการพื้นที่ในการเก็บเพื่อรอการขนส่งต่อไปที่ท่าเรือหรือส่งขึ้นรถบรรทุกไปรัฐอื่นๆ และความต้องการที่สูงมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิลในปี 2553 ที่ผ่านมาที่ขยายตัวถึง 7.5 %
1.6. รัฐบาลตั้งเป้าเกินดุลงบประมาณมากขึ้นในปี 2554
นาย Guido Montega รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า เขามีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดทำงบประมาณแบบเกินดุลในปี 2554 ได้มากขึ้นเป็น 91 พันล้านเฮฮัลจากเดิมที่คาดไว้ที่ 81 พันล้านเฮฮัล โดยมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงที่จากสภาวะเศษฐกิจของโลกที่ยังไม่แสดงการฟื้นตัวที่ชัดเจนเนื่องจากปัญหาของสหรัฐอเมริกาและปัญหาหนี้ของยุโรปทำให้เขามีความคิดว่าบราชิลควรมีงบประมาณในการสำรองเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดตามมาในอนาคตให้มากขึ้น
ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าบราชิลจะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่ดูเหมือนว่าจะลดความร้อนแรงลงไปมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เห็นได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 12.25 เป็น 12.00 %ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการเงินแห่งชาติ (SELIC) ครั้งที่ผ่านมาในเดือนสิงหาคม
2. สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล
สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล
1) มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าระหว่างประเทศของบราชิลระหว่างปี 2004-2011
ปี ค.ศ. มูลค่าการค้า (พันล้าน US$) ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า 2004 96.7 62.8 33.9 2005 118.5 73.6 44.9 2006 137.8 91.4 46.4 2007 160.6 120.6 40 2008 197.9 173.0 24.9 2009 153.0 127.6 25.4 2010 201.9 181.6 20.3 2011* 226.0* 200.0* 26.0* * เป็นการคาดการณ์ที่เศรษฐกิจบราชิลมี GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2011 ที่มา ธนาคารกลางบราซิล, สถาบันสถิติแห่งชาติบราซิล กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก
ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก (ส่วนแบ่งตลาด%)
จีน (15.25%) สหรัฐฯ (9.56%) อาร์เจนติน่า (9.17%) เนเธอร์แลนด์ (5.07%) เยอรมนี (4.03%) ไทย (อันดับที่ 33, 0.70%)
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรก
แร่และเชื้อเพลิง เมล็ดพืชและถั่ว เนื้อสัตว์ (ไก่สดแช่แข็ง และเนื้อสดแช่แข็ง) และยานยนต์
แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก
สหรัฐฯ (14.89%) จีน (14.09%) อาร์เจนติน่า (7.94%) เยอรมนี (6.91%) เกาหลีใต้ (4.64%) ไทย (อันดับที่ 22, 1.01%)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก
แร่และเชื้อเพลิง เครื่องยนต์และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ (ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ)
มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าฯ ของบราชิล ระหว่าง ปี 2010-2011 (รายเดือน)
เดือน มูลค่าการค้า (พันล้าน US$) ปี 2010 มูลค่าการค้า (พันล้าน US$) ปี 2011 ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า ม.ค. 11.3 11.5 -0.2 15.2 14.8 0.4 ก.พ. 12.2 11.8 0.4 16.7 15.5 1.2 มี.ค. 15.7 15.1 0.6 19.4 17.7 1.7 เม.ย. 15.2 13.9 1.3 20.0 18.3 1.7 พ.ค. 17.7 14.2 3.5 23.2 20.2 3.2 มิ.ย. 17.1 14.8 2.3 23.7 18.5 5.2 ก.ค. 17.7 16.3 1.4 ส.ค. 19.2 16.8 2.4 ก.ย. 18.8 17.7 1.5 ต.ค. 18.3 16.5 1.8 พ.ย. 17.7 17.3 0.3 ธ.ค. 20.9 15.5 5.3 รวม 201.9 181.6 20.3 *226.0 *200 *26.0 ข้อมูลจาก World Trade Atlas (เดือนมิถุนายน 2554), *การคาดการณ์ของรัฐบาลบราชิล
โดยบราซิลได้คาดการณ์ว่าในปี 2554 จะสามารถส่งออกเป็นมูลค่ารวม 226,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 12% จากปี 2553 ส่วนการนำเข้าปี 2554 คาดการณ์จะมีการนำเข้าประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัวถึง 10-11 % อันเป็นผลมาจากจากการที่มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกับการส่งออก ตลอดจนปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เริ่มจะสูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ (ปี 2553 คาดการณ์ 4.8% ตัวเลขจริง 5.8-6.4 %) และอัตราเงินเฮฮัลที่แข็งค่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึง 17-20 %(รัฐบาลต้องการ 1.70 เฮฮัลต่อ 1 USD ปัจจุบันอยู่ที่ 1.64-1.66 เฮฮัลต่อ 1 USD) ทำให้การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รัฐบาลจึงพยายามควบคุมโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่สูงอยู่แล้วคือ 11.25 เป็น 11.75 ในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลจากการที่การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดนั้น ทำให้บราชิลได้ดุลการค้าลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2554 รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ว่าบราชิลจะได้ดุลการค้าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ที่บราชิลได้ดุลการค้าเพียง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามที่กำลังเป็นอุปสรรคของทั้งการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิลดังกล่าว น่าจะส่งผลให้บราชิลพยายามลดการนำเข้าด้วยการออกมาตราการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ การเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าให้ยุ่งยากขึ้น การเข้มงวดในการเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 54 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ขึ้นภาษีนำเข้า 3 รายการได้แก่ ถุงมือยางที่มิได้ใช้ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ประเภทที่ใชในการผลิตพลาสติก และเครื่องพิมพ์หรือแม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมวัสดุยาง
2.2. การค้าระหว่างบราชิลกับประเทศไทย
สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราชิล (ข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์ : ระบบ Menucom)
2.2.1. สถิติการส่งออกสินค้าจากไทยไปบราชิล ปี 2554 (ก.ค. 54)
สคร. คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยมายังบราชิลในปี 2554 จะมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์วางเป้าหมายไว้ โดยมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของของบราชิลในปี 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.2 ทำให้มีอุปสงค์ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก โดยร้อยละ 80 ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายัง บราชิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบกึงสำเร็จรูปและส่วนประกอบเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไปยังประเทศในแถบลาตินอเมริกา อเมริกาและยุโรป นอกจากนั้น บราชิลยังเตรียมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012 และฟุตบอลโลกในปี 2014 ทำให้ สคร. มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของบราชิลจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า แม้อาจมีปัจจัยลบอื่นๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การตัดรายจ่ายด้านงบประมาณของรัฐบาล การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น
2.2.2. สถิติการนำเข้าสินค้าจากจากบราชิลมาไทย ปี 2554 (ก.ค. 54)
3.1. เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ
3.2. การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)
แผนภาพแสดงการจำแนกกลุ่มผู้บริโภคแบ่งตามรายได้ออกเป็น4 กลุ่ม A, B, C, D
Class A, B หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือมากกว่า 5,400 เฮฮัล
Class C หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 3 — 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 1,620-5,400 เฮฮัล
Class D หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 1 — 3 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือ 540-1,620 เฮฮัล
สคร. ณ นครเซาเปาโล
ที่มา: http://www.depthai.go.th