นิติกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ สปป.ลาว ฉบับปี 2554 (กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 15, 2011 15:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สภาแห่งชาติ

เลขที่ 02/ สพช.

กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

ภาคที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป

มาตรา 1 จุดประสงค์

กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กำหนดหลักการ ระเบียบการ และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริม การคุ้มครองการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อทำให้การลงทุนมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ได้รับการปกป้องด้านต่างๆ จากรัฐ รับประกันสิทธิ์และผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ของรัฐ ของประชาชน เร่งใส่เพิ่มทวีคุณประโยชน์และบทบาทการลงทุนต่อเศรษฐกิจสังคมของชาติให้เติบโต ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ประกอบส่วนอันสำคัญเข้าในการปกปักษ์รักษาและพัฒนาประเทศ ชาติให้เข้มแข็ง

มาตรา 2 การส่งเสริมการลงทุน

การส่งเสริมการลงทุน เป็นการวางนโยบาย การสร้างสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขในด้านต่างๆ แก่การลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ สปป.ลาว ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 3 การอธิบายคำศัพท์

คำศัพท์ต่างๆ ที่นำใช้ในกฎหมายฉบับนี้ มีความ หมาย ดังนี้

1. การลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเอาทุนที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน เพื่อดำเนินธุรกิจอยู่ สปป.ลาว

2. ผู้ลงทุน หมายถึง บุคคล หรือนิติบุคคลภายใน และต่างประเทศ ที่ได้ลงทุนดำเนินธุรกิจอยู่ สปป.ลาว

3. ผู้ลงทุนภายใน หมายถึง พลเมืองลาว คนต่างด้าว คนไม่มีสัญชาติ และนิติบุคคลของกลุ่มคนดังกล่าว ที่ดำรงชีวิต และดำเนินธุรกิจอยู่ สปป.ลาว

4. ผู้ลงทุนต่างประเทศ หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลของต่างประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจอยู่ สปป.ลาว

5. ทุนที่มีตัวตน หมายถึง เงินตรา สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์

6. ทุนที่ไม่มีตัวตน หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญา รายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิทธิเช่า สิทธิทางด้านการค้า มูลค่าการสัมปทานและอื่นๆ

7. การสัมปทาน หมายถึง การที่รัฐอนุญาตให้นิติบุคคล นำใช้สิทธิในกรรมสิทธิ์ต่างๆ ที่เป็นของรัฐตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยมีสัญญาอย่างถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย เพื่อพัฒนาและดำเนินธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

8. สัญญาสัมปทาน หมายถึง สัญญาที่องค์การจัดตั้งของรัฐ หรือวิสาหกิจของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเซ็นกับนิติบุคคลเกี่ยวกับการสัมปทาน

9. พาหนะรับใช้การผลิตโดยตรง หมายถึง จักรกล รถบรรทุกหนัก และอื่นๆ ที่นำใช้โดยตรงเข้าในการดำเนินกิจการลงทุนตามการกำหนดของรัฐบาล

10. การลงทุนทางตรง หมายถึง การที่ผู้ลงทุน หรือกลุ่มผู้ลงทุน นำเอาทุนไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้ตนเองเป็นเจ้าของวิสาหกิจ และคุ้มครองบริหาร หรือขยายวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

11. การลงทุนทางอ้อม หมายถึง การที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้น บริษัท ซื้อหุ้นจากตลาดหุ้น รวมทั้งการลงทุนในกองทุนค้ำประกันการเงิน พันธะบัตร และเอกสารมีค่าอื่น โดยผู้ลงทุนไม่มีส่วนร่วมโดยตรง ในการบริหารจัดการวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

12. เอกสารมีค่า หมายถึง เอกสารที่สามารถประเมินมูลค่าเป็นเงิน ซึ่งสามารถซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน หรือค้ำประกันได้ เช่น โฉนดที่ดิน ใบหุ้น พันธบัตร

13. เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดเพื่อพัฒนาให้เป็นตัวเมืองใหม่ที่ทันสมัยอย่างรอบด้าน เป็นสถานที่ดึงดูดการลงทุนภายในและต่างประเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งพันเฮกตาร์ขึ้นไป มีนโยบายส่งเสริมพิเศษ และมีระบบเศรษฐกิจ-การเงิน เป็นเจ้าตนเองเป็นหน่วยบริหารเล็ก-สังคมกว้าง มีระบบรับประกัน ความสงบปลอดภัย และปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

14. เขตเศรษฐกิจเฉพาะ หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตการผลิตเพื่อส่งออกเขตตัวเมืองท่องเที่ยว เขตการค้าปลอดภาษี เขตพัฒนาเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร เขตเศรษฐกิจชายแดนและอื่นๆ

15. เขตอุตสาหกรรม หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสนองการบริการให้อุตสาหกรรมปรุงแต่ง เพื่อสร้างให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เพื่อรองรับการลงทุนเนื้อที่อาจจะไม่กว้างเท่ากับเขตเศรษฐกิจพิเศษ

16. เขตการผลิตเพื่อส่งออก หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตการลงทุนด้านการผลิต การปรุงแต่งสินค้าและการบริการเพื่อส่งออก

17. เขตตัวเมืองท่องเที่ยว หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตการลงทุนด้านการท่องเที่ยว โดยเชื่อมโยงกับการปกป้องรักษา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความอาจสามารถของท้องถิ่นและของชาติ เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว และเปลี่ยนให้กลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ทันสมัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป

18. เขตการค้าปลอดภาษี หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตการลงทุนด้านการค้าการแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างภายในประเทศกับต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายยกเว้นภาษีอยู่ในเขตดังกล่าว

19. เขตพัฒนาเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดให้มีการลงทุนเข้าใส่การศึกษาค้นคว้า พัฒนา และนำใช้เทคโนโลยีระดับสูง เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี สนองและบริการด้านข้อมูลข่าวสารแบบครบวงจรให้แก่สังคมด้วยความสะดวกและรวดเร็ว

20. เขตเศรษฐกิจชายแดน หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนด เพื่อส่งเสริมให้มีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าอยู่ตามด่านชายแดน

21. เขตจัดสรรตัวเมือง หมายถึง เขตที่รัฐบาลกำหนดเพื่ออนุญาตให้มีการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างให้เป็นเขตที่พักอาศัยของนักลงทุนต่างประเทศ หรือพลเมืองทั่วไป

22. ตัวเมืองใหม่ หมายถึง เขตที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นตัวเมืองทันสมัย มีพื้นฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งวัฒนธรรม - สังคมที่ศรีวิไลและยุติธรรม เสริมสร้างอริยะธรรมและวัฒนธรรมของชาติ โดยติดพันกับรองรอยประวัติศาสตร์ของเขตที่ตั้งตัวเมืองดังกล่าว

มาตรา 4 นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

รัฐส่งเสริมการลงทุนของทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการวางนโยบาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม เงื่อนไขอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น การกำหนดทิศทาง การสนองข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น การให้นโยบายด้านภาษี - อากร ด้านแรงงาน การให้สิทธินำใช้ที่ดิน การบริการการลงทุนประตูเดียว รวมทั้ง การรับรู้ การรับประกัน การปกป้องกรรมสิทธิ์ สิทธิ ผลประโยชน์ และด้านอื่นที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ลงทุน จากรัฐ

รัฐส่งเสริมให้ลงทุนเข้าในทุกแขนงการ กิจการและทุกเขตแคว้นในทั่วประเทศ เว้นเสียแต่เขตและกิจการที่แตะต้องถึงความมั่นคงและความสงบของชาติ มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและระยะยาวต่อสุขภาพ ของประชาชนและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

มาตรา 5 หลักการเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

การส่งเสริมการลงทุน ต้องปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้

1. สอดคล้องกับแนวทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม แผนพัฒนาแขนงการ เขตแคว้น และการขยายเศรษฐกิจ - สังคมในแต่ละระยะ ยกระดับชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย

2. สมทบแน่นกับการเพิ่มทวีการคุ้มครองของรัฐอย่างรวมศูนย์เป็นเอกภาพในทั่วประเทศ

3. รับประกันให้การลงทุนได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว โปร่งใส ยุติธรรม และเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย ด้วยการบริการการลงทุนประตูเดียว

4. วางนโยบายส่งเสริมด้านต่างๆ ที่สามารถดึงดูด และแก่งแย่งการลงทุน

5. รับรู้ รับรอง การปกป้องกรรมสิทธิ์ สิทธิผลประโยชน์ และด้านอื่นที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ลงทุน จากรัฐ

6. รับประกันการปกป้องรักษาและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ความสงบ และความปลอดภัยของสังคม และเขตการลงทุน

มาตรา 6 ขอบเขตการนำใช้กฎหมาย

กฎหมายฉบับนี้ นำใช้สำหรับ บุคคล หรือนิติบุคคล ที่พัวพันกับการลงทุนทุกประเภท เพื่อดำเนินการผลิตธุรกิจ เร่งใส่สร้างมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นธุรกิจครอบครัวและผู้ค้าขายรายย่อย

มาตรา 7 การร่วมมือสากล

รัฐส่งเสริมการพัวพันร่วมมือกับต่างประเทศภูมิภาค และสากล เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน ด้วยการแลกเปลี่ยนบทเรียน ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและประสบการณ์ในการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน การตลาด การค้า แหล่งทุน การเชื่อมโยงเข้ากับภูมิภาคและสากล

ภาคที่ 2 รูปแบบการการลงทุน

มาตรา 8 รูปแบบการลงทุน

ผู้ลงทุน สามารถลงทุนทางตรง หรือทางอ้อมด้วยรูปการ ดังนี้

1. การลงทุนฝ่ายเดียวของผู้ลงทุนภายใน หรือต่างประเทศ

2. การลงทุนแบบหุ้นส่วน ระหว่าง ผู้ลงทุนภายใน กับ ต่างประเทศ

3. การลงทุนธุรกิจร่วมตามสัญญา

มาตรา 9 การลงทุนฝ่ายเดียวของผู้ลงทุนภายใน หรือต่างประเทศ

การลงทุนฝ่ายเดียวของผู้ลงทุนภายใน หรือต่างประเทศ เป็นการลงทุนของผู้ลงทุนภายใน หรือต่างประเทศฝ่ายเดียว ซึ่งอาจจะมีผู้ลงทุนผู้เดียว หรือหลายคนในกิจการ หรือโครงการใดโครงการหนึ่งอยู่ สปป.ลาว

มาตรา 10 การลงทุนแบบหุ้นส่วน ระหว่าง ผู้ลงทุนภายใน กับต่างประเทศ

การลงทุนแบบหุ้นส่วน ระหว่าง ผู้ลงทุนภายใน กับ ต่างประเทศ เป็นการลงทุนร่วมระหว่าง ผู้ลงทุนภายใน กับ ต่างประเทศ ซึ่งดำเนินธุรกิจ มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และสร้างเป็นนิติบุคคลใหม่ขึ้นภายใต้กฎหมายของ สปป.ลาว

การจัดตั้ง การเคลื่อนไหว การบริหารคุ้มครอง สิทธิ และพันธะของผู้ลงทุนแบบหุ้นส่วนได้กำหนดไว้ในสัญญาร่วมทุน และกฎระเบียบของนิติบุคคลใหม่ดังกล่าว

สำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ ที่ลงทุนในรูปการดังกล่าว ต้องประกอบทุนอย่างน้อยไม่ให้น้อยกว่าร้อยละสิบ (10 %) ของทุนทั้งหมด

มาตรา 11 การลงทุนธุรกิจร่วมตามสัญญา

การลงทุนธุรกิจร่วมตามสัญญา เป็นการลงทุนร่วม ระหว่าง นิติบุคคลภายใน สปป.ลาว กับ นิติบุคคลต่าง ประเทศ ที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่ได้สร้างตั้งเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือสาขาขึ้นอยู่ สปป.ลาว นิติบุคคลภายในดังกล่าวต้องแจ้งให้แขนงการอุตสาหกรรมและการค้า แขนงการแผนการและการลงทุน เพื่อคุ้มครองตามระเบียบการ

สัญญาของการลงทุนธุรกิจร่วมตามสัญญา ต้องนำไปรับรองความถูกต้องจากองค์การทะเบียนศาล

มาตรา 12 การกำหนดทุนจดทะเบียน

ทุนจดทะเบียนของบรรดากิจการสัมปทาน ต้องไม่ให้น้อยกว่า ร้อยละสามสิบ (30 %) ของทุนทั้งหมด สำหรับกิจการทั่วไป ให้ปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยวิสาหกิจ

ทุนจดทะเบียน ต้องแสดงออกเป็นทรัพย์สิน และในตลอดระยะการดำเนินธุรกิจ นั้น มูลค่าทรัพย์สิน ต้องไม่ให้น้อยกว่าทุนจดทะเบียน

ภาคที่ 3 กิจการการลงทุน

หมวดที่ 1 ประเภทกิจการการลงทุน

มาตรา 13 ประเภทกิจการการลงทุน

ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในกิจการ ดังนี้

  • กิจการทั่วไป
  • กิจการสัมปทาน
  • กิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
มาตรา 14 กิจการทั่วไป

กิจการทั่วไป เป็นกิจการลงทุนในแขนงการธุรกิจทั่วไป รวมทั้งกิจการที่อยู่ในบัญชีประเภทธุรกิจควบคุม (Negative List) และกิจการเหล่านั้นไม่ใช่กิจการสัมปทาน

มาตรา 15 กิจการสัมปทาน

กิจการสัมปทาน เป็นกิจการลงทุนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐให้นำใช้สิทธิในกรรมสิทธิ์ และสิทธิอื่นของรัฐตามระเบียบการ เพื่อพัฒนาและดำเนินธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เป็นต้น สิทธิสัมปทานที่ดิน แร่ธาตุ พลังงานไฟฟ้า สายการบิน โทรคมนาคม ประกันภัย สถาบันการเงินบัญชีกิจการสัมปทาน รัฐบาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 16 กิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

กิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นกิจการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างพื้นฐานโครงสร้างให้ครบชุด และพัฒนาให้เป็นตัวเมืองใหม่

กิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นกิจการลงทุนในเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อสร้างพื้นฐานโครงสร้าง และพัฒนาให้เป็นเขตต่างๆ ตามเงื่อนไขตัวจริงและระเบียบกฎหมาย เป็นต้น เขตอุตสาหกรรม เขตการผลิตเพื่อส่งออก เขตตัวเมืองท่องเที่ยวและอื่นๆ

การจัดตั้งและการเคลื่อนไหวของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้กำหนดไว้ในระเบียบการต่างหาก

หมวดที่ 2 การลงทุนในกิจการทั่วไป

มาตรา 17 การเสนอลงทุน

ผู้ลงทุนที่มีจุดประสงค์ลงทุนในกิจการทั่วไป ต้องยื่นคำร้องเสนอผ่านการบริการการลงทุนประตูเดียวของแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อขึ้นทะเบียนวิสาหกิจตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจผู้ลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในกิจการทั่วไป ต้องมีทุนทั้งหมดไม่ให้น้อยกว่าหนึ่งพันล้านกีบ

มาตรา 18 การพิจารณา

ขั้นตอนและกำหนดเวลา ในการพิจารณาการขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ เกี่ยวกับการลงทุนในกิจการทั่วไปที่ไม่ใช่ประเภทธุรกิจควบคุม ให้ออกใบทะเบียนวิสาหกิจอย่างช้า ไม่ให้เกินสิบวันราชการ นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขึ้นทะเบียนวิสาหกิจเป็นต้นไป ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ

สำหรับการเสนอขยายกิจการของผู้ลงทุน ที่มีวิสาหกิจแล้ว นั้น การประกอบเอกสาร ให้ประกอบแต่สิ่งที่จำเป็น ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบการเฉพาะ และการพิจารณาก็ให้รวดเร็วกว่าการลงทุนใหม่

มาตรา 19 ใบทะเบียนวิสาหกิจ

ใบทะเบียนวิสาหกิจ เป็นเอกสารรับรองการขึ้นทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ใบทะเบียนวิสาหกิจ รวมเอาการอนุญาตลงทุน นโยบายส่งเสริม ทะเบียนอากร และการอนุญาตดำเนินกิจการของแขนงการที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับใบทะเบียนวิสาหกิจแล้ว ผู้ลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจได้เลย

มาตรา 20 อายุการลงทุน

การลงทุนในกิจการทั่วไป ไม่จำกัดอายุการลงทุน เว้นเสียแต่กิจการลงทุนที่ได้กำหนดอายุการลงทุนไว้ในระเบียบกฎหมายเฉพาะของแขนงการที่เกี่ยวข้อง

หมวดที่ 3 การลงทุนในกิจการสัมปทาน

มาตรา 21 การเสนอลงทุน

ผู้ลงทุนที่มีจุดประสงค์ลงทุนในกิจการสัมปทาน ต้องยื่นคำร้องเสนอผ่านการบริการการลงทุนประตูเดียวของแขนงการแผนการและการลงทุน เพื่อค้นคว้าแล้วนำเสนอรัฐบาลหรือองค์การปกครองขั้นแขวง พิจารณา

มาตรา 22 การคัดเลือกเอาผู้ลงทุน

ผู้เสนอลงทุนในกิจการสัมปทาน ต้องได้ผ่านการคัดเลือกตามแต่ละกรณีด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้น การเปรียบ เทียบ การประมูล หรือการประเมินผล โดยแขนงการแผนการและการลงทุน บนพื้นฐานการประสานสมทบกับแขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องตามระเบียบกฎหมาย ในการคัดเลือกเอาผู้ลงทุน นั้น ต้องรับประกันความโปร่งใส การเปิดเผย และสามารถตรวจสอบได้วิธีการคัดเลือกเอาผู้ลงทุนในกิจการสัมปทาน ได้กำหนดไว้ในระเบียบการเฉพาะ

มาตรา 23 การพิจารณาการลงทุนในกิจการสัมปทาน

แขนงการแผนการและการลงทุน พิจารณาการลงทุนในกิจการสัมปทานตามขั้นตอน ดังนี้

  • ค้นคว้า และตกลงทางด้านหลักการเกี่ยวกับการลงทุน โดยรับประกันผลประโยชน์ของรัฐ ผู้ลงทุนและประชาชน ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์นำใช้ที่ดินคืนให้รัฐ นั้น องค์การคุ้มครองที่ดิน ที่เกี่ยวข้องต้องคิดไล่ค่าทดแทนให้ผู้ลงทุน หรือประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการโอนดังกล่าวตามราคาท้องตลาด
  • แนะนำให้ผู้ลงทุนจัดเตรียมเอกสารตามแบบพิมพ์ที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น บทวิพากษ์เศรษฐกิจ-เทคนิค บทประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เอกสารบัญชีพาหนะ อุปกรณ์และวัตถุดิบรับใช้การผลิตโดยตรงที่จะเสนอขอยกเว้นภาษี - อากรการนำเข้า เพื่อเป็นพื้นฐาน ให้แก่การค้นคว้าพิจารณาอนุมัติ
  • แขนงการแผนการและการลงทุน และแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นเจ้าการในการเจรจาและการร่างสัญญาเบื้องต้น
  • นำเอาผลของการเจรจาของโครงการดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมที่ห้องการบริหารการลงทุนประตูเดียว เป็นผู้จัดขึ้น
  • นำเสนอต่อรัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง เพื่อ พิจารณาตกลง พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ลงทุนวางเงินค้ำประกันโครงการตามระเบียบการ โดยให้เป็นไปตามแต่ละประเภท และขนาดของการลงทุน เงินค้ำประกัน ดังกล่าว ต้องฝากไว้ในบัญชีคลังเงินแห่งชาติ หรือจะถูกส่งคืนในเวลาที่โครงการได้เริ่มต้นดำเนินในระยะที่หนึ่ง

เมื่อได้รับการตกลงแล้ว แขนงการแผนการและการลงทุน ออกใบทะเบียนสัมปทานให้แก่ผู้ลงทุน ตามระเบียบการ

มาตรา 24 การออกใบทะเบียนสัมปทาน

กระทรวงแผนการและการลงทุน เป็นผู้ออกใบทะเบียนสัมปทานในขอบเขตความรับผิดชอบของตนเอง ภายหลังที่ได้รับการตกลงเห็นดีขององค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 25 ใบทะเบียนสัมปทาน

ใบทะเบียนสัมปทาน เป็นเอกสารรับรองการได้รับ สิทธิสัมปทานของผู้ลงทุนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ใบทะเบียนสัมปทาน รวมเอาทะเบียนวิสาหกิจ การอนุญาตลงทุน นโยบายส่งเสริมทะเบียนอากร และการอนุญาตดำเนินกิจการของแขนงการที่เกี่ยวข้อง

เมื่อได้รับใบทะเบียนสัมปทานแล้ว ผู้ลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจได้เลย และผู้ลงทุนต้องเคลื่อนไหวกิจการของตนเอง ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน ถ้าผู้ลงทุนหากไม่ดำเนินกิจการในกำหนดเวลาดังกล่าว แขนงการแผนการและการลงทุน จะมีการแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากนั้นภายในกำหนดเวลา หกสิบวัน ถ้าผู้ลงทุนหากยังไม่เริ่มดำเนินกิจการนั้น กิจการดังกล่าว จะถูกถอนใบทะเบียนสัมปทาน พร้อมทั้งริบเงินค้ำประกันเป็นของรัฐ

มาตรา 26 การสร้างสัญญาสัมปทาน

สัญญาสัมปทานสร้างขึ้นบนพื้นฐานความสมัครใจ และเห็นดีเห็นพร้อม ระหว่างผู้ลงทุน กับ รัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง สัญญาสัมปทาน ต้องกำหนดเป้าหมาย มูลค่า กำหนดเวลา เงื่อนไข สิทธิ และพันธะของคู่สัญญา สัญญาเกี่ยวกับการลงทุน โดยเฉพาะ การโอนสิทธิสัมปทาน และการโอนหุ้น ต้องนำไปรับรองความถูกต้องจากองค์การทะเบียนศาล

มาตรา 27 การดัดแก้เนื้อหาของสัญญาสัมปทาน

เนื้อหาของสัญญาสัมปทาน อาจถูกพิจารณา ดัดแก้ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมบนพื้นฐานการตกลงเห็นดีของคู่สัญญา ถ้าว่าการคัดแก้ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมนั้นหากไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญให้แขนงการแผนการและการลงทุนสมทบกับแขนงการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแก้ไขตามการเสนอของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและรายงานให้รัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง ที่เกี่ยวข้องทราบ

การคัดแก้ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมสัญญาสัมปทาน ด้วยการโอนสิทธิและการโอนหุ้น ต้องเสียอากร ตามกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากร

มาตรา 28 อายุการลงทุนในกิจการสัมปทาน

อายุการลงทุนในกิจการสัมปทาน อิงตามประเภท ขนาด มูลค่าการลงทุน เงื่อนไขของกิจการสัมปทานตามระเบียบกฎหมายของแขนงการที่เกี่ยวข้อง แต่สูงสุดไม่ให้เกินเก้าสิบเก้าปี และสามารถต่อได้ตามการตกลงของรัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ปฏิบัติโครงการที่นำเอาผลประโยชน์สูงสุดให้ แก่ประเทศชาติ ได้ปฏิบัติสัญญาอย่างมีประสิทธิผล และมีผลงานในการประกอบส่วนพัฒนาท้องถิ่น

หมวดที่ 4 การลงทุนในโครงการ หรือกิจการในบัญชีเรียกการลงทุน

มาตรา 29 โครงการ หรือกิจการในบัญชีเรียกการลงทุน

โครงการ หรือกิจการในบัญชีเรียกการลงทุน เป็นกิจการทั่วไป และกิจการสัมปทานที่บรรดาแขนงการและท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการค้นคว้าและสร้างขึ้นบนพื้นฐานโครงการ หรือกิจการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจแห่งชาติ และมีศักยภาพทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง ได้รับรองเอาแล้ว แต่มีความจำเป็นต้องหาทุนเพื่อนำมาพัฒนากิจการดังกล่าว

มาตรา 30 เนื้อหาหลักของโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน

เนื้อหาหลักของโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน ประกอบด้วย:

  • แผนแม่บทในการพัฒนา
  • บทวิพากษ์เศรษฐกิจ — เทคนิค
  • บทประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เงื่อนไขของการลงทุน
  • แหล่งทุนที่ต้องการ
มาตรา 31 การพิจารณาโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน

แขนงการต่างๆ เป็นเจ้าการในการสร้างโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนตามยุทธศาสตร์ และแผนการของตนเอง หลังจากนั้นแล้วก็ส่งให้แขนงแผนการและการลงทุน เพื่อค้นคว้า รวบรวมแล้วนำเสนอรัฐบาล หรือองค์การปกครองแขวง นคร พิจารณารับรอง ภายหลังรัฐบาล หรือองค์การปกครองแขวง นคร ได้รับรองเอาบรรดาโครงการหรือกิจการนั้นแล้ว ก็ส่งให้แขนงการ ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและห้องการบริการการลงทุนประตูเดียวของแขนงการแผนการและการลงทุน และแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า รวมทั้งบรรดาสถานทูต กงสุล และผู้ต่างหน้าทางด้านการค้า เพื่อเป็นข้อมูล เร่งใส่เรียกการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ

สำหรับกิจการสัมปทานในบัญชีเรียกการลงทุนนั้นการพิจารณาอนุมัติอย่างช้าไม่ให้เกินสี่สิบห้าวันราชการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำเสนอเป็นต้นไป

มาตรา 32 การอนุมัติการลงทุนในโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน

การอนุมัติการลงทุนในโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนให้แขนงการอุตสาหกรรมและการค้า หรือแขนงการแผนการและการลงทุน เป็นผู้อนุมัติโดยตรง ภายหลังที่ได้ค้นคว้าเงื่อนไขและความสามารถของผู้ลงทุนตามระเบียบการ

หมวดที่ 5 การลงทุนในกิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 33 เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเขตพัฒนาเป็นตัวเมืองใหม่ที่ได้รับนโยบายส่งเสริมพิเศษ และคุ้มครองด้วยระเบียบกฎหมายของรัฐและระเบียบการเฉพาะของเขตที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ของรัฐและสังคมวิสาหกิจที่ดำเนินการเคลื่อนไหวในเขตดังกล่าว จะได้รับนโยบายพิเศษ และคุ้มครองด้วยกฎหมาย และระ เบียบการเฉพาะอย่างสอดคล้องกับกฎหมายของ สปป.ลาว

รัฐบาลเป็นผู้วางแผนสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ อนุมัติให้ผู้ลงทุนภายในและต่างประเทศลงทุนเข้าในการพัฒนาพื้นฐานโครงสร้างสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจด้านแขนงการอุตสาหกรรม การค้าและการบริการ วัฒนธรรม — สังคม

เขตเศรษฐกิจพิเศษ อาจจะประกอบด้วยหลายเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นต้น เขตอุตสาหกรรม เขตการผลิตเพื่อส่งออก เขตตัวเมืองท่องเที่ยว เขตการค้าปลอดภาษี เขตพัฒนาเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร เขตเศรษฐกิจชายแดน เขตจัดสรรตัวเมืองและอื่นๆ

โครงประกอบการจัดตั้ง การเคลื่อนไหว และการคุ้มครองแต่ละเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้กำหนดไว้ในระเบียบการต่างหาก

มาตรา 34 หลักการการสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องสร้างตั้งตามหลักการหลัก ดังนี้

1. กำหนดแจ้งวัตถุประสงค์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. กำหนดแจ้งผลประโยชน์ของรัฐ ผู้พัฒนาและประชาชน

3. เป็นเขตที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. กำหนดเนื้อที่และเขตแดนอย่างชัดเจน

5. มีนโยบายส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจเป็นเฉพาะของแต่ละเขต

6. มีระบบการบริหารด้านเศรษฐกิจ เขตที่เป็นเอกราชตามแต่ละเขต

7. อยู่ใต้การคุ้มครองของรัฐบาล หรือองค์การปกครองขั้นแขวง ตามการตกลงของรัฐบาล

8. ให้คณะบริหารเขต มีสิทธิให้ผู้อื่นเช่าที่ดินและกำหนดค่าเช่าด้วยตนเอง โดยไม่เกินกำหนดเวลาของการสัมปทาน

9. ให้คณะบริหารเขต สามารถดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะภายในเขตของตนเอง

10. ให้คณะบริหารเขต สามารถดึงดูด และอนุมัติการลงทุนของบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ทั้งภายในและต่างประเทศภายในขอบเขตของตนเอง

11. รับประกันความมั่นคง ความสงบ ความปลอดภัย และการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมภายในเขต

มาตรา 35 ขั้นตอนการสร้างตั้ง

รัฐบาลเป็นผู้ตกลงเกี่ยวกับการสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะใดเฉพาะหนึ่ง ตามการเสนอของกระทรวงแผนการและการลงทุน บนพื้นฐานการค้นคว้าประสานสมทบกับแขนงการอื่นและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของ รัฐบาล ท้องถิ่น และความอาจสามารถในด้านต่างๆ ของเขตนั้น

ผู้ที่มีจุดประสงค์สร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำร้องต่อแขนงการแผนการและการลงทุน เพื่อค้นคว้าและนำเสนอรัฐบาลพิจารณา

การพิจารณาการลงทุนสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติคล้ายคือกันกับการพิจารณาการลงทุนในกิจการสัมปทาน นอกจากนั้นยังต้องแต่งตั้งคณะรับผิดชอบสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะสำหรับการเคลื่อนไหว การคุ้มครองและนโยบายส่งเสริมแต่ละเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะนั้น รัฐบาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 36 คณะรับผิดชอบสร้างตั้ง

คณะรับผิดชอบสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลตามการเสนอของแขนงการแผนการและการลงทุน โดยประสานสมทบกับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

คณะรับผิดชอบสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะประกอบด้วยผู้พัฒนา บรรดาผู้ต่างหน้าจากแขนงการ องค์การปกครองท้องถิ่น และแนวลาวสร้างชาติ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะตั้งอยู่

คณะรับผิดชอบสร้างตั้งดังกล่าว แต่งตั้งหน่วยงานช่วยงานของตน เพื่อเป็นผู้ประจำการทำงานร่วมกับผู้พัฒ นา เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 37 สิทธิและหน้าที่ของคณะรับผิดชอบสร้างตั้ง

คณะรับผิดชอบสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

  • ค้นคว้า เสนอปัญหา และพัวพันกับภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • ดำเนินการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้สำเร็จตามจุดประสงค์ ระดับคาดหมาย และกำหนดเวลา
  • แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พัวพันกับการสร้างตั้งเขต เป็นต้น เกี่ยวกับผู้พัฒนาและผลประโยชน์ของประชาชน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยมีการประสานสมทบกับองค์การปกครองท้องถิ่นและแขนงการที่เกี่ยวข้อง คณะรับผิดชอบสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จะสิ้นสุดลงภายหลังที่รัฐบาล ออกดำรัสว่าด้วยการเคลื่อนไหวและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นั้น
มาตรา 38 เนื้อหาของดำรัส

เนื้อหาหลักของดำรัสว่าด้วยการเคลื่อนไหวและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ประกอบด้วย

  • คณะบริหารเขต
  • การเคลื่อนไหวของเขต
  • หลักการคุ้มครองภายในเขต
  • การคุ้มครองมหาภาคของเขต
  • หลักการในการวางนโยบายส่งเสริม
  • การแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่าง รัฐกับผู้พัฒนา
มาตรา 39 การกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ค้นคว้ากำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน และนโยบายด้านเศรษฐกิจอื่นภายในเขตของตนเองตามขอบเขตที่รัฐบาลกำหนดออกในดำรัสว่าด้วยการจัดตั้ง การเคลื่อนไหว และการคุ้มครองของแต่ละเขต

มาตร 40 หลักการเคลื่อนไหวของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เคลื่อนไหวตามหลักการ ดังนี้

1. เป็นเอกราชทางด้านบริหารเศรษฐกิจ

2. อยู่ภายใต้การคุ้มครองด้านมหาภาคของรัฐบาล หรือองค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้มอบหมายให้

มาตรา 41 การพัฒนา

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เร่งใส่การก่อสร้างพื้นฐานโครงสร้างอย่างครบชุด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแก่การดึงดุดการลงทุน โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ละเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่รัฐอนุมัติ

มาตรา 42 อายุการลงทุนในกิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

อายุการลงทุนในกิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามแต่ละประเภท ขนาด เงื่อนไขแต่ละเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ซึ่งสูงสุดไม่เกินเก้าสิบเก้าปี และสามารถต่อได้แล้วแต่ละกรณีตามการตกลงของรัฐบาล เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ปฏิบัติโครงการที่นำเอาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ประเทศชาติ ได้ปฏิบัติสัญญาอย่างมีประสิทธิผล และ มีผลงานในการประกอบส่วนพัฒนาท้องถิ่น

มาตรา 43 การเสนอลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะของผู้ลงทุนอื่น

นอกจากผู้พัฒนาแล้ว ผู้ลงทุนอื่นที่มีจุดประสงค์ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นั้น ต้องเสนอผ่านการบริการการลงทุนประตูเดียวของคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาตามระเบียบการ

การลงทุนของผู้ลงทุนอื่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ไม่จำกัดอายุการลงทุน เว้นเสียแต่กิจการลงทุนที่ได้กำหนดอายุการลงทุนไว้ในระเบียบกฎหมายของแขนงการที่เกี่ยวข้อง

หมวดที่ 6 การบริการการลงทุนประตูเดียว

มาตรา 44 การบริการการลงทุนประตูเดียว

การบริการการลงทุนประตูเดียว เป็นการบริการที่เอื้ออำนวยความสะดวกรอบด้านให้แก่ผู้ลงทุนด้วยการให้ บริการข้อมูลข่าวสาร การพิจารณาการลงทุน การออกใบทะเบียนวิสาหกิจ หรือใบทะเบียนสัมปทาน และการออกใบแจ้งการต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุน

ห้องการบริการการลงทุนประตูเดียวถูกสร้างตั้งขึ้นอยู่

  • แขนงการแผนการและการลงทุน สำหรับการลงทุนในกิจการสัมปทานและกิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า สำหรับการลงทุนในกิจการทั่วไป

เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สำหรับการลงทุนเข้าในเขตดังกล่าว การจัดตั้งและการเคลื่อนไหวของห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว ได้กำหนดไว้ในระเบียบการ

มาตรา 45 หลักการการบริการการลงทุนประตูเดียว

หลักการการบริการการลงทุนประตูเดียว มีดังนี้

1. ผู้ลงทุนเสนอลงทุนอยู่สถานที่ใด ได้รับคำตอบอยู่สถานที่นั้น การให้คำตอบแก่ผู้ลงทุน ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาที่ได้ระบุไว้ในระเบียบการที่ประกาศแจ้ง อยู่ห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว

2. การเสนอลงทุน สามารถดำเนินด้วยผู้ลงทุนเอง หรือผ่านตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3. การบริการต้องรับประกันการสนองข้อมูลข่าวสาร และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุน

4. ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ ต้องประกาศอย่างเปิดเผย และติดอยู่สถานที่บริการการลงทุนประตูเดียว

5. การบริการ ต้องเป็นไปตามระเบียบการ มีแบบแผนวิธีทำงานที่กระทัดรัด รวดเร็ว สร้างสรรค์ โปร่งใส เปิดเผย และสามารถตรวดสอบได้

6. การตกลงปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุน ต้องผ่านการประชุมของห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว

มาตรา 46 กลไกการจัดตั้งปฏิบัติการบริการการลงทุนประตูเดียว

ห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว ต้องจัดการประชุมประจำสัปดาห์ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาผู้ต่างหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งจากแขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นคว้าปัญหาต่างๆ กี่ยวกับการลงทุน โดยส่งเอกสารก่อนล่วงหน้าให้บรรดาผู้ต่างหน้าดังกล่าว เพื่อให้หน่วยเหนือของตนเองมีคำเห็นก่อนมาเข้าร่วมการประชุม

แขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งผู้ประสาน งานด้านการลงทุน ซึ่งมีหน้าที่ประสานสมทบกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการลงทุน เป็นต้น การส่งข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับแขนงการและท้องถิ่นของตนเองให้ห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว เพื่อสนองข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ลงทุน

หมวดที่ 7 ห้องการผู้ต่างหน้าและสาขา

มาตรา 47 ห้องการผู้ต่างหน้า

นิติบุคคลต่างประเทศที่มีจุดประสงค์สร้างตั้งห้องการผู้ต่างหน้าอยู่ สปป.ลาว ต้องเสนอผ่านการบริการการลงทุนประตูเดียวของกระทรวงแผนการและการลงทุน เพื่อพิจารณาและออกใบทะเบียนสร้างตั้งห้องการผู้ต่างหน้า นั้น ภายในกำหนดเวลา ห้าวัน นับแต่วันได้รับคำเสนอของผู้ลงทุนเป็นต้นไป

ใบทะเบียนดังกล่าว รับรู้สิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย ของห้องการผู้ต่างหน้า ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวตามภาระบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเอง เป็นต้น การรวบรวมข้อมูลทางด้านการลงทุนให้แก่บริษัทแม่เพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่การพิจารณาการลงทุนอยู่ สปป.ลาว แต่หากไม่มีสิทธิเคลื่อนไหวธุรกิจ

มาตรา 48 สาขาของนิติบุคคล

นิติบุคคลต่างประเทศ ที่มีจุดประสงค์สร้างตั้งสาขาของตนเองอยู่ สปป.ลาว ต้องเสนอผ่านการบริการการลงทุนประตูเดียวของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อพิจารณาและออกใบทะเบียนสร้างตั้งสาขาภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำเสนอเป็นต้นไป

ใบทะเบียนดังกล่าว รับรู้สิทธ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของสาขา ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวดำเนินธุรกิจได้ตามการมอบหมายของบริษัทแม่

นิติบุคคลภายในที่มีจุดประสงค์สร้างตั้งสาขาของตนเองในกิจการทั่วไป และกิจการสัมปทานอยู่ภายใน ประเทศ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ

ภาคที่ 4 การส่งเสริมและปกป้องการลงทุน

หมวดที่ 1 การส่งเสริมการลงทุนด้านภาษี - อากร

มาตรา 49 แขนงการที่ได้รับการส่งเสริม

แขนงการที่ได้รับการส่งเสริม มี กสิกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม และการบริการ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้กำหนดบัญชีละเอียดของบรรดากิจการในแขนงการดังกล่าว เป็นสามระดับ โดยอ้างถึงกิจการบุริมสิทธิ์(ระดับสำคัญ)ของรัฐบาล กิจการที่เกี่ยวโยงกับการแก้ไขความทุกข์จนยกระ ดับชีวิตการเป็นอยู่ของประชาชน การสร้างพื้นฐานโครง สร้าง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างงานทำและอื่นๆ

การส่งเสริม แบ่งออกเป็นสามระดับ ดังนี้

  • ระดับ 1: เป็นบรรดากิจการที่ได้รับการส่งเสริมสูง
  • ระดับ 2: เป็นบรรดากิจการที่ได้รับการส่งเสริมปานกลาง
  • ระดับ 3: เป็นบรรดากิจการที่ได้รับการส่งเสริมต่ำ
มาตรา 50 เขตส่งเสริมการลงทุน

เขตส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดขึ้น โดยเป็นไปตามสภาพพื้นฐานโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม และภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามเขต ดังนี้

เขต 1: เขตที่มีพื้นฐานโครงสร้างเศรษฐกิจ - สังคม ที่ยังไม่อำนวยความสะดวกแก่การลงทุน และภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขตภูดอย ห่างไกลธุรกันดาร เขตดังกล่าวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุด

เขต 2: เขตที่มีพื้นฐานโครงสร้างเศรษฐกิจ - สังคม ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนได้ส่วนใดส่วนหนึ่ง และภูมิประเทศไม่ธุระกันดารเท่ากับเขต 1 เขตดัง กล่าว จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนระดับกลาง

เขต 3: เขตที่มีพื้นฐานโครงสร้างเศรษฐกิจ - สังคม ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนได้ดี เขตดังกล่าว จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนในระดับต่ำบัญชีแต่ละเขตส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดไว้ในระเบียบการเฉพาะ

มาตรา 51 นโยบายด้านอากรกำไร

นโยบายด้านอากรกำไรปฏิบัติ ดังนี้:

1. เขต 1

  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 1 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 10 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 2 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 6 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 3 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 4 ปี

2. เขต 2

  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 1 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 6 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 2 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 4 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 3 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 2 ปี

3. เขต 3

  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 1 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 4 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 2 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 2 ปี
  • กิจการของแขนงการที่ได้รับการส่งเสริม ระดับ 1 จะได้รับการยกเว้นอากรกำไร 1 ปี

ระยะการยกเว้นอากรกำไร ให้นับตั้งแต่วันที่ได้ดำเนินธุรกิจเป็นต้นไป สำหรับกิจการผลิตสินค้าใหม่ กิจการค้นคว้า และสร้างเทคโนโลยีใหม่ นั้น การยกเว้นอากรกำไร ให้นับตั้งแต่วันที่มีกำไรเป็นต้นไป หลังจากสิ้นสุดระยะยกเว้นอากรกำไรดังที่กล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว กิจการดังกล่าวต้องได้เสียพันธะอากรกำไรตามกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากร กิจการสัมปทานในการขุดค้นบ่อแร่ พลังงานไฟฟ้า และกิจการปลูกไม้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 52 นโยบายด้านภาษี อากรอื่น

ผู้ลงทุน นอกจากได้รับนโยบายด้านอากรกำไรแล้ว ยังจะได้รับนโยบายด้านภาษี อากรอื่น ดังนี้

1. ได้รับการยกเว้นอากรกำไรในปีการบัญชีปีถัดไปสำหรับ การนำเอาเงินกำไรสุทธิที่ได้รับจากการดำเนิน ธุรกิจของตนเองไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ

2. ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ อุปกรณ์ และพาหนะรับใช้การผลิตโดยตรง สำหรับการยกเว้นอากรนำเข้าสิ่งดังกล่าวที่มีลักษณะส่งเสริม นั้น ให้ปฏิบัติตามระเบียบการเฉพาะ

3. ได้รับการยกเว้นภาษีขาออก สำหรับผลิตภัณฑ์ทั่วไปเพื่อส่งออก ส่วนการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรธรรมชาติ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4. ผู้ลงทุน สามารถยกเงินขาดทุนประจำปีไปหักออกในปีถัดไป หากมีการขาดทุนประจำ ปีซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วยสาอากรได้ตรวจตรารับรองแล้ว ภายในกำหนดเวลาสามปี เมื่อหมดกำหนดแล้ว เงินขาดทุนที่ยังเหลือจะไม่อนุญาตให้หักออกจากกำไรต่อไปอีก สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามดำรัสว่าด้วยการสร้างตั้งและการเคลื่อนไหวของแต่ละเขต

มาตรา 53 นโยบายการเข้าถึงแหล่งทุน

ผู้ลงทุนภายในและต่างประเทศ สามารถเข้าถึงแหล่งทุนด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคารธุรกิจและสถาบันการเงินอื่นอยู่ สปป.ลาว และต่างประเทศตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 54 นโยบายส่งเสริมเฉพาะ

นโยบายส่งเสริมเฉพาะ มีดังนี้

1. การลงทุนสร้างโรงพยาบาล โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนสามัญศึกษา โรงเรียนวิชาชีพ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศูนย์ค้นคว้า-วิจัย บางกิจการสาธารณะประโยชน์ และสาธารณูประโภค จะได้รับนโยบายยกเว้นการเก็บค่าเช่าหรือสัมปทานที่ดินของรัฐ ดังนี้

  • เขต 1: ได้รับการยกเว้นค่าเช่า หรือสัมปทาน 15 ปี
  • เขต 2: ได้รับการยกเว้นค่าเช่า หรือสัมปทาน 10 ปี
  • เขต 3: ได้รับการยกเว้นค่าเช่า หรือสัมปทาน 3 ปี

2. การลงทุนสร้างโรงพยาบาล โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนสามัญศึกษา โรงเรียนวิชาชีพ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศูนย์ค้นคว้า-วิจัย และกิจการสาธารณูประโภคต่างๆ จะได้รับนโยบายยกเว้นอากรกำไรเพิ่ม 5 ปี จากการส่งเสริมที่ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 51 ของกฎหมายฉบับนี้

มาตรา 55 การจัดตั้งปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายด้านภาษีและอากร

การจัดตั้งปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายด้านภาษีและอากร มี ดังนี้

1. แขนงการการเงิน เป็นผู้จัดตั้งปฏิบัติ การให้นโยบายส่งเสริมด้านภาษี - อากร ตามที่ได้กำหนดไว้ในใบทะเบียนวิสาหกิจ หรือใบทะเบียนสัมปทาน

2. สำหรับการยกเว้นภาษีนำเข้า วัตถุดิบ อุปกรณ์ และพาหนะรับใช้การผลิตโดยตรง ให้แขนงการการเงิน จัดตั้งปฏิบัติตัวจริง โดยสอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้

หมวดที่ 2 การส่งเสริมการลงทุนด้วยนโยบายด้านอื่นๆ

มาตรา 56 การส่งเสริมการลงทุนด้วยนโยบายด้านอื่นๆ

การส่งเสริมการลงทุนด้วยนโยบายด้านอื่นๆ มี ดังนี้

  • การส่งเสริมด้านข้อมูลข่าวสาร
  • การส่งเสริมด้วยสิทธิ์นำใช้ที่ดิน
มาตรา 57 การส่งเสริมด้านข้อมูลข่าวสาร

เพื่อรับประกันให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนอย่างครบถ้วน เอกภาพ รวดเร็ว ทันการณ์ และสามารถตัดสินใจลงทุนได้ นั้น ต้องสร้างศูนย์ข้อมูลข่าวสารการลงทุนอยู่ในห้องการบริการการลงทุนประตูเดียวที่เกี่ยวข้องศูนย์ข้อมูลข่าวสารการลงทุน เป็นผู้เก็บกำและรวบรวมบรรดาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน เพื่อสร้างเครือข่าย สนองและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น การโฆษณาผ่านระบบเว็บไซต์ หนังสือคู่มือ วารสาร แผ่นพับโฆษณา และอื่นๆ เกี่ยวกับการลงทุน ให้ผู้ที่มีความสนใจ สถาน ทูต กงสุลลาว หรือห้องการผู้ต่างหน้าด้านการค้าลาวประจำอยู่ต่างประเทศ เพื่อสนองให้ผู้ที่ต้องการมาลงทุน

มาตรา 58 การส่งเสริมด้วยสิทธ์นำใช้ที่ดิน

ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มาลงทุนในโครงการที่มีทุนจดทะเบียนแต่ ห้าแสนดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป มีสิทธิ์ซื้อสิทธิ์นำใช้ที่ดินจากรัฐที่ได้มีการกำหนดจัดสรรตามกำหนดเวลาของการลงทุน เพื่อปลูกสร้างสิ่งต่างๆ เป็นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ดำเนินธุรกิจ ด้วยการตกลงขององค์การปกครองท้องถิ่น ตามระเบียบการรัฐบาล เป็นผู้กำหนดระเบียบการ กลไกการแบ่งขั้นคุ้มครอง เกี่ยวกับการส่งเสริมด้วยสิทธิ์นำใช้ที่ดินของผู้ลงทุนต่างประเทศ

มาตรา 59 การเปิดกว้างนโยบายส่งเสริม

นอกจากนโยบายส่งเสริมที่ได้กำหนดไว้ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ของภาคที่ 4 แล้ว ถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีนโยบายส่งเสริมอีกต่อบางแขนงการ เขตลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง นั้น รัฐบาลมีสิทธินำเสนอต่อการประชุมสภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติ ในเวลาที่สภาแห่งชาติไม่เปิดการประชุม เพื่อพิจารณาและตกลง

หมวดที่ 3 การปกป้องการลงทุน

มาตรา 60 การปกป้องการลงทุน

ผู้ลงทุน ล้วนแต่ได้รับสิทธิ์เสมอภาพในการลงทุน ได้รับการปกป้องสิทธิ์และผลประโยชน์ของตนเอง ภายใต้ระเบียบกฎหมายของ สปป.ลาว และสนธิสัญญาสากลที่ สปป.ลาว เป็นภาคี

มาตรา 61 รูปการปกป้องการลงทุน

รัฐรับรู้ และปกป้องการลงทุนของผู้ลงทุนอย่างเต็มส่วน โดยไม่เก็บเกณฑ์ ยึดและโอนมาเป็นของรัฐด้วยวิธีการทางด้านบริหาร ในกรณีที่รัฐบาล มีความจำเป็นนำใช้ เพื่อสาธารณะประโยชน์ ผู้ลงทุนจะได้รับค่าทดแทนคืนตามมูลค่าตัวจริง ตามราคาตลาด ในเวลามอบโอน และด้วยวิธีการชำระที่ตกลงกัน

มาตรา 62 การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

รัฐรับรู้ และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ลง ทุนที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาของ สปป.ลาว หรือสนธิสัญญาสากลที่ สปป.ลาว เป็นภาคี

ภาคที่ 5 สิทธิและพันธะของผู้ลงทุน

มาตรา 63 สิทธิของผู้ลงทุน

ผู้ลงทุน มีสิทธิหลักๆ ดังนี้

1. สิทธิเป็นเจ้าในการลงทุน

2. สิทธิในการคุ้มครอง - บริหารกิจการการลงทุนของตน

3. สิทธิในการว่าจ้างแรงงาน

4. สิทธิในการอยู่อาศัยสำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ

5. สิทธิของผู้ลงทุนต่างประเทศ ในการส่งทุน ทรัพย์สินและรายรับออกไปต่างประเทศ

มาตรา 64 สิทธิเป็นเจ้าในการลงทุน

สิทธิเป็นเจ้าในการลงทุน มี ดังนี้

1. ลงทุนในทุกแขนงการและทุกเขตลงทุนที่ไม่หวงห้ามตามกฎหมายของ สปป.ลาว

2. ลงทุนตามประเภท รูปการ และรูปแบบวิสาหกิจตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

3. ขอสัมปทานโครงการจากรัฐบาล หรือองค์การปกครองท้องถิ่นตามแต่ละกรณี เพื่อ พัฒนาโครงการใดโครง การหนึ่ง

4. ขอสัมปทานสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะจากรัฐบาล

5. ขอสร้างตั้งห้องการผู้ต่างหน้า หรือสาขาของตนเองอยู่ สปป.ลาว

6. ขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ หรือกิจการลงทุน ในกรณีที่การดำเนินธุรกิจของตนหากไม่มีประสิทธิผล เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย หรือระเบียบกฎหมายของรัฐ

7. เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ต่อทรัพย์สินของตน

8. ได้รับการปกป้องด้านต่างๆ จากรัฐ สิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมที่ได้มาจากการลงทุนของตน

9. ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐในด้านต่างๆ ในการลงทุนของตน

10. ได้รับผลประโยชน์จากการเช่า หรือการสัมปทาน เช่น สิทธิใช้ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนำบุคคลอื่น หรือสถาบันการเงิน หรือให้ร่วมทุน ให้เช่า ซื้อขายสิทธิใช้ที่ดินให้สืบทอดสัญญาเช่าที่ดินตามอายุของสัญญา และอื่นๆ ตามกฎหมาย

11. สำหรับผู้เช่า หรือสัมปทานที่ดิน มีสิทธิใช้ที่ดินตามอายุเช่า หรือสัมปทาน เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตึก อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว เป็นต้น มีสิทธิ์โอนให้คนภายใน หรือต่างประเทศได้

12. เปิดบัญชีเป็นเงินกีบ หรือเงินตราต่างประเทศอยู่ธนาคารที่ตั้งอยู่ สปป.ลาว

13. ร้องทุกข์ต่อองค์การที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เห็นว่าตนเองถูกสูญเสียประโยชน์ในการลงทุน

14. ได้รับสิทธิ์และผลประโยชน์อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 65 สิทธิในการคุ้มครอง - บริหารกิจการการลงทุนของตน

สิทธิ์ในการคุ้มครอง - บริหารกิจการการลงทุนของตน มีดังนี้

1. วางแผนการในการลงทุนของตน

2. จัดหาและนำใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ พาหนะ กลจักร และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าในการลงทุนของตน

3. เข้าถึงตลาดภายใน และต่างประเทศ

4. คุ้มครองแรงงานให้มีความปลอดภัย และมีความสะดวกในการเคลื่อนไหวธุรกิจของตน

5. ดำเนินการประชุม เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลงทุนของตน

6. มอบ - โอน ถอนทุน หรือเพิ่มทุนของวิสาหกิจ และมอบหมายให้ผู้ลงทุนอื่นดำเนินธุรกิจแทนเป็นการชั่วคราว

7. เสนอต่อองค์การที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการยุติ ยุบเลิกหรือหันวิสาหกิจของตนไปสู่รูปแบบวิสาหกิจอื่น

8. ปฏิบัติสิทธิอื่น ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 66 สิทธิในการว่าจ้างแรงงาน

สิทธิในการว่าจ้างแรงงาน มี ดังนี้

1. เซ็นสัญญาว่าจ้างแรงงานกับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ามาทำงานในวิสาหกิจของตน ในกรณีกิจการลงทุน หากมีความจำเป็นนำเข้าแรงงานด้านร่างกาย และมันสมองเกินอัตราที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแรงงาน ผู้ลงทุนมีสิทธินำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสม

2. สับเปลี่ยน จัดวางแรงงานเข้าในตำแหน่งงานต่างๆ ตามความเรียกร้องต้องการของวิสาหกิจตน

3. ปฏิบัตินโยบาย หรือมาตรการต่อแรงงานอย่างเสมอภาค

4. ปฏิบัติสิทธิอื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแรงงานและระเบียบกฎหมายอื่น

มาตรา 67 สิทธิในการอยู่อาศัยสำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ

ผู้ลงทุนต่างประเทศ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว มีสิทธิอาศัยอยู่ดินแดน สปป.ลาว ตามระยะเวลาของการลงทุน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ มีสิทธิอาศัยอยู่ดินแดนของ สปป.ลาว ตามสัญญาว่าจ้างแรงงาน

ผู้ลงทุนต่างประเทศ พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ได้รับความสะดวกในการเข้า - ออก สปป.ลาว รวมทั้งการขอวีซ่าเข้า - ออกหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งไม่ให้เกินห้าปี

มาตรา 68 สิทธิของผู้ลงทุนต่างประเทศในการส่งทุน ทรัพย์สินและรายรับออกไปต่างประเทศ

ผู้ลงทุนต่างประเทศ มีสิทธิส่งทุน ทรัพย์สินและรายรับของตน เป็นต้น กำไรจากการลงทุน เงิน และทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว หรือของวิสาหกิจ ออกไปต่างประเทศ โดยผ่านธนาคารที่ตั้งอยู่ สปป. ลาว ภายหลังที่ได้ปฏิบัติพันธะด้านภาษี - อากร และค่าธรรม เนียมให้รัฐอย่างครบถ้วนตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมายของ สปป.ลาว

มาตรา 69 พันธะของผู้ลงทุน

ผู้ลงทุนมีพันธะหลัก ดังนี้

1. ถือบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีของลาว ในกรณีที่จำเป็น ก็สามารถนำใช้ระบบบัญชีอื่นที่สากลรับรู้ แต่ต้องได้รับการเห็นชอบจากแขนงการเงินของ สปป.ลาว

2. เสียภาษี อากร ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอย่างครบถ้วน และตามเวลา

3. ปฏิบัติระบอบประกันภัย และประกันสังคมต่อแรงงานในวิสาหกิจของตนตามระเบียบกฎหมาย ส่งเสริมการนำใช้แรงงานลาว เอาใจใส่ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ยกระดับวิชาเฉพาะด้าน และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่แรงงานลาว

4. อำนวยความสะดวกให้แก่การจัดตั้ง และการเคลื่อนไหวขององค์การจัดตั้งมหาชนในวิสาหกิจของตน โดยเฉพาะองค์การจัดตั้งสหภาพแรงงาน

5. ประสานงานกับองค์การปกครองท้องถิ่นในการเคลื่อนไหวงานธุรกิจ ทดแทนค่าเสียหายที่ธุรกิจของตนได้ก่อขึ้น ประกอบส่วนแก้ไขความทุกข์ยากของประชาชน และพัฒนาท้องถิ่นในเขตโครงการของตน

6. ปฏิบัติพันธะอื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 70 พันธะในการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม

ผู้ลงทุนมีพันธะในการปกปักษ์รักษา พัฒนาสิ่งแวดล้อม รับประกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจมีผลกระทบอย่างหลวงหลายต่อสาธารณชน ความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม หรือสุขภาพของแรงงาน ในกรณีที่เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ลงทุนมีพันธะปฏิบัติมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ไขสภาพดังกล่าวอย่างทันเวลาตามระเบียบกฎหมาย

ภาคที่ 6 ข้อห้าม

มาตรา 71 ข้อห้ามทั่วไป

ห้ามบุคคลและการจัดตั้ง มีการกระทำ ดังนี้

1. อนุมัติ ดำเนินธุรกิจที่หวงห้าม หรือไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย

2. ขัดขวางการส่งเสริมการลงทุนอยู่ สปป.ลาว ในทุกรูปการ

3. มีการกระทำอื่นที่เป็นข้อห้าม ซึ่งได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 72 ข้อห้ามสำหรับพนักงาน

ห้ามพนักงานมีการกระทำ ดังนี้

1. ฉวยใช้อำนาจ หน้าที่ ตำแหน่ง เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว

2. รับสินบนจากผู้ลงทุน หรือผู้ที่หวังผลประโยชน์จากการลงทุน

3. เปิดเผยเอกสารลับของชาติ ของราชการ และของผู้ลงทุน

4. การถ่วงเวลาในการพิจารณาเอกสารต่างๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือยึดยื้อเอกสารดังกล่าวของผู้ลงทุน

5. มีการกระทำอื่นที่เป็นข้อห้าม ซึ่งได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 73 ข้อห้ามสำหรับผู้ลงทุน

ห้ามผู้ลงทุนมีการกระทำ ดังนี้

1. ให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่และพนักงานรับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง

2. หลีกเลี่ยงการปฏิบัติพันธะ ชุกเชื่องรายรับ ผลกำไร รวมทั้งตัวเลขการเสียภาษี - อากร

3. ใส่ร้ายป้ายสี หรือโฆษณาทับถมการจัดตั้งและพนักงานของรัฐ

4. มีการกระทำอื่นที่เป็นข้อห้าม ซึ่งได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

ภาคที่ 7 การยุติชั่วคราว เปลี่ยนแปลง ยกเลิก และสิ้นสุดการลงทุน

มาตรา 74 การยุติการลงทุนชั่วคราว

การลงทุนจะถูกยุติชั่วคราวโดยองค์การที่ออกใบทะเบียน

  • ตามการเสนอของผู้ลงทุน ในกรณีที่ประสบปัญหาด้านธุรกิจ
  • ตามการเสนอของแขนงการที่เกี่ยวข้อง หรือตามคำเห็นขององค์การที่ออกใบทะเบียนในกรณีที่ธุรกิจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ - สังคม หรือดำเนินธุรกิจไม่สอดคล้องกับระเบียบกฎหมาย

การยุติการลงทุนชั่วคราว ต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอน เพื่อเสาะหาวิธีแก้ไข หรือปรับปรุงให้คืนสู่สภาพปกติ ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้ กิจการนั้นก็จะถูกยุบเลิกตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ

มาตรา 75 การเปลี่ยนแปลงการลงทุน

การลงทุน จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้ต่างหน้าทางด้านกฎหมาย ทุนจดทะเบียน ตามการเสนอของผู้ลงทุน โดยองค์การที่ออกใบทะเบียนนั้นเป็นผู้พิจารณา

มาตรา 76 การยกเลิกการลงทุน

การลงทุน จะถูกยกเลิกโดยองค์การที่ออกใบทะเบียน

  • ตามการเสนอของคู่สัญญา
  • ตามการเสนอของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีที่มีการละเมิดข้อผูกพันของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา หรือระเบียบกฎหมาย
  • เมื่อมีการถอนใบทะเบียนวิสาหกิจ หรือใบทะเบียนสัมปทาน

ขั้นตอนการพิจารณาการยกเลิกการลงทุน มีดังนี้:

1. องค์การที่ออกใบทะเบียน จะเป็นผู้ออกหนังสือแจ้งเตือนผู้ลงทุนในกรณีที่เห็นว่ามีการดำเนินธุรกิจขัดกับสัญญาสัมปทาน ระบบกฎหมาย มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แก้ไขและปรับปรุงภายในกำหนดเวลา เก้าสิบวัน นับแต่วันออกหนังสือแจ้งเป็นต้นไป พร้อมทั้งทำบทบันทึกกับผู้ลงทุน

2. ถ้าหากผู้ลงทุนไม่ได้แก้ไขและปรับปรุงภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว องค์การที่ออกใบทะเบียนก็จะออกหนังสือแจ้งเตือนเป็นครั้งที่สอง เพื่อให้ผู้ลงทุนต้องแก้ไขและปรับปรุงภายในกำหนดเวลา หกสิบวัน

3. หลังจากนั้น ถ้าหากผู้ลงทุน ยังไม่ปฏิบัติภายในกำหนดเวลาดังกล่าว องค์การที่ออกใบทะเบียน จึงออกหนังสือแจ้งการยกเลิกการดำเนินกิจการของผุ้ลงทุน และแจ้งให้สื่อมวลชนเพื่อออกข่าว พร้อมทั้งนำใช้มาตรการที่จำเป็นต่อผู้ลงทุนตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 77 การสิ้นสุดการลงทุน

การลงทุน จะสิ้นสุดลงในกรณี ดังนี้

1. หมดอายุการลงทุน ตามที่ได้กำหนดไว้ในใบทะเบียนสัมปทานหรือโครงการลงทุนได้ปฏิบัติสำเร็จแล้ว

2. มีการถอน หรือยกเลิกใบทะเบียนสัมปทาน หรือใบทะเบียนวิสาหกิจ

3. มีการควบเข้ากัน หรือยกตัวออกจากกันของกิจการลงทุน เพื่อสร้างเป็นนิติบุคคลอื่น

4. ยุบเลิก ตามการเสนอของผู้ลงทุน หรือคู่สัญญา โดยมีการรับรองของแขนงการที่เกี่ยวข้อง

5. ยกเลิกตามการตัดสินของศาล หรือล้มละลาย

ภาคที่ 8 การแก้ไขข้อขัดแย้ง

มาตรา 78 รูปการแก้ไขข้อขัดแย้ง

การแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการลงทุน ดำเนินด้วยรูปการ ดังนี้

1. การแก้ไขด้วยการประนีประนอมกัน

2. การแก้ไขทางด้านบริหาร

3. การแก้ไขโดยคณะกรรมการแก้ไขข้อขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ

4. การฟ้องร้อง

มาตรา 79 การแก้ไขด้วยการประนีประนอมกัน

ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถตกลงกัน หรือไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ คู่กรณีก็มีสิทธิร้องขอให้แขนงการแผนการและการลงทุน หรือแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า หรือแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขทางด้านบริหารตามภาระบทบาทของตน

มาตรา 80 การแก้ไขทางด้านบริหาร

ในกรณีเกิดข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถตกลงกันได้ หรือไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ คู่กรณีก็มีสิทธิร้องขอให้แขนงการแผนการและการลงทุน หรือแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า หรือแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขทางด้านบริหารตามภารบทบาทของตน

มาตรา 81 การแก้ไขโดยคณะกรรมการแก้ไขข้อขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ

เมื่อคู่กรณี ไม่สามารถประนีประนอมกัน หรือไม่สามารถแก้ไขทางด้านบริหารได้แล้ว ก็มีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการแก้ไขข้อขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ พิจารณาแก้ไขตามระเบียบกฎหมาย บนพื้นฐานการตกลงเห็นชอบร่วมกัน

มาตรา 82 การฟ้องร้อง

เมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากเห็นว่าตนเองยังไม่ได้รับความยุติธรรมในการแก้ไขข้อขัดแย้งจากองค์การที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับความเสียหายเนื่องจากการลงทุนในกิจการใดกิจการหนึ่งแล้วก็มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลประชาชน เพื่อทำการพิจารณาตัดสินตามระเบียบกฎหมาย

สำหรับข้อขัดแย้งของการลงทุนที่ได้มีสัญญากับรัฐ ให้ปฏิบัติตามวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ได้กำหนดไวในสัญญา

ภาคที่ 9 การคุ้มครองและตรวจตรา

หมวดที่ 1 การคุ้มครอง

มาตรา 83 หลักการของการแบ่งขั้นคุ้มครอง

การคุ้มครองการลงทุน ให้ปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้

  • แบ่งความรับผิดชอบให้ท้องถิ่นมากขึ้น เพิ่มความรับผิดชอบให้ส่วนกลางในการคุ้มครองมหาภาค ผลักดันติดตาม และตรวจตราการจัดตั้งปฏิบัติของท้องถิ่น
  • องค์การใด ขั้นใด เป็นผู้ออกใบทะเบียน องค์การนั้น ขั้นนั้น เป็นผู้คุ้มครอง ติดตาม ตรวจตรา ประเมินผลเกี่ยวกับ การลงทุน โดยประสานสมทบกับแขนงการอื่น และองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วรายงานให้หน่วยเหนือของตนอย่างเป็นปกติ
  • การลงทุนในแขนงการใด แขนงการนั้นเป็นเจ้าการคุ้มครองทางด้านวิชาการ โดยประสานสมทบกับแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องตามระเบียบกฎหมาย
มาตรา 84 การแบ่งขั้นคุ้มครองการลงทุน ระหว่างท้องถิ่น และส่วนกลาง

ท้องถิ่นเป็นผู้ออกใบทะเบียน และคุ้มครองการลงทุนเป็นหลัก สำหรับส่วนกลาง ออกใบทะเบียน และคุ้มครองบรรดากิจการที่มีลักษณะยุทธศาสตร์ เป็นต้น กิจการที่พัวพันถึงหลายแขนงการหรือหลายท้องถิ่น กิจการที่นำใช้เทคโนโลยีสูง สถาบันการเงิน การประกันภัย โทรคมนาคม การบิน สิทธิของรัฐ พลังงาน แร่ธาตุ น้ำมันดิบ ก๊าซ และอื่นๆ ตามการกำหนดของรัฐบาล โดยมีการสมทบ ระหว่าง องค์การที่ออกใบทะเบียน กับ แขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องและองค์การปกครองท้องถิ่น

องค์การปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่เข้าร่วมตามภาระ บทบาทของตนในการคุ้มครองกิจการลงทุนที่ศูนย์กลางออกใบทะเบียน ซึ่งตั้งอยู่ท้องถิ่นของตน

การแบ่งขั้นคุ้มครองที่ได้กำหนดไว้เฉพาะในกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว

หมวดที่ 2 องค์การคุ้มครอง

มาตรา 85 องค์การคุ้มครองการลงทุน

รัฐบาล เป็นผู้คุ้มครองอย่างรวมศูนย์ และเป็นเอกภาพในขอบเขตทั่วประเทศ โดยมอบให้แขนงการแผนการและการลงทุน และแขนงการอุตสาหกรรมและการค้า เป็นเจ้าการคุ้มครอง โดยประสานสมทบกับแขนงการอื่นและองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องตามภาระบทบาทของตน

องค์การคุ้มครองการลงทุน ประกอบด้วย

1. แขนงการแผนการและการลงทุน

2. แขนงการอุตสาหกรรมและการค้า

3. เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 86 สิทธิและหน้าที่ของกระทรวงแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้า

ในการคุ้มครองการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้า มีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้

1. ค้นคว้า สร้างแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน และรวบรวมโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน เพื่อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา

2. โฆษณา เผยแพร่ แผนยุทธศาสตร์ นโยบาย ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน และสนองข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุน

3. แนะนำ ติดตาม และประสานสมทบกับแขนงการอื่น และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

4. ผลักดัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรดาโครงการ กิจการลงทุนในขอบเขตทั่วประเทศ

5. สร้างเงื่อนไขและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการบริการการลงทุนประตูเดียว

6. ค้นคว้า พิจารณา ออก ยุติชั่วคราว ถอนยกเลิกใบทะเบียน หรือสัญญาตามภาระบทบาทของตนด้วยการเห็นชอบของรัฐบาล

7. ก่อสร้าง บำรุง ยกระดับพนักงานเกี่ยวกับงานการลงทุน

8. พัวพัน และร่วมมือกับต่างประเทศ เกี่ยวกับงานการลงทุน

9. สรุป และรายงานเกี่ยวกับงานการลงทุนต่อรัฐบาลอย่างเป็นปกติ

10. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 87 สิทธิและหน้าที่ของแผนกแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้าแขวง นคร

ในการคุ้มครองการลงทุน แผนกแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้าแขวง นคร มีสิทธิ และหน้าที่ ดังนี้

1. ผันขยาย จัดตั้งปฏิบัติแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน และสร้างโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนในท้องถิ่นของตน

2. โฆษณา เผยแพร่นโยบาย ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน สนองข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนตามความรับผิดชอบของตน

3. แนะนำ ติดตาม และประสานสมทบกับแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในท้องถิ่นของตนในการจัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

4. ค้นคว้าพิจารณา ออก ยุติชั่วคราว ถอน ยกเลิกใบทะเบียน หรือสัญญาตามภาระบทบาทของตนด้วยการเห็นชอบขององค์การปกครองท้องถิ่น

5. จัดตั้งปฏิบัติการบริการการลงทุนประตูเดียวตามขอบเขตความรับผิดชอบของตน

6. พัวพันและร่วมมือกับต่างประเทศ เกี่ยวกับงานการลงทุนตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

7. สรุปและรายงานเกี่ยวกับงานการลงทุนต่อหน่วยเหนืออย่างเป็นปกติ

8. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 88 สิทธิและหน้าที่ของห้องการแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้าเมือง เทศบาล

ในการคุ้มครองการลงทุน ห้องการแผนการและการลงทุน และอุตสาหกรรมและการค้าเมือง เทศบาล มีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้

1. จัดตั้งปฏิบัติแผนการ แผนงาน โครงการ ระเบียบกฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนและโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนในท้องถิ่นของตน

2. เผยแพร่นโยบาย ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนสนองข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุน และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนตามความรับผิดชอบของตน

3. ประสานสมทบกับแขนงการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในเมืองเทศบาลของตนในการจัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

4. จัดตั้งปฏิบัติการบริการการลงทุนประตูเดียวตามขอบเขตความรับผิดชอบของตน

5. สร้างโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนตามความรับผิดชอบของตนแล้วเสนอหน่วยเหนือที่เกี่ยวข้อง ข้องพิจารณา

6. เก็บกำข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งกิจการการลงทุนต่างๆ อยู่ในท้องถิ่นของตน

7. ผลักดัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการลงทุนในขอบเขตความรับผิดชอบของตน

8. สรุปและรายงานเกี่ยวกับงานการลงทุนต่อหน่วยเหนืออย่างเป็นปกติ

9. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 89 คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ในการคุ้มครองการลงทุน คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นองค์การคุ้ม ครองการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะของตนสร้างตั้งห้องการบริหารการลงทุนประตูเดียว เพื่อดึงดูด และส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศเข้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะของตน

ระเบียบการคุ้มครองการลงทุนของคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะได้กำหนดไว้ต่าง หาก

มาตรา 90 สิทธิและหน้าที่ของคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ในการคุ้มครองการลงทุน คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

1. ค้นคว้า วางนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตของตน

2. ค้นคว้าและสร้างโครงการ หรือกิจการเรียกการลงทุนเพื่อมาลงทุนในเขตของตน

3. ปฏิบัตินโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดผู้ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศมาลงทุนในเขตของตน

4. สร้างเงื่อนไขอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนในการดำเนินธุรกิจอยู่เขตของตน

5. ดำเนินการเก็บภาษี-อากร ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าเช่าและอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา และระเบียบการภายในเขต

6. คุ้มครองและนำใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับสัญญา และระเบียบกฎหมาย

7. พัวพัน ประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อบริหารเขตของตนให้มีประสิทธิผล และถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย

8. จัดวางระบบการปกปักษ์รักษาสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นฐานโครงสร้าง รับประกันความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมภายในเขต

9. สรุปและรายงานงานการลงทุนในเขตของตนต่อหน่วย เหนืออย่างเป็นปกติ

10. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 91 สิทธิและหน้าที่ของแขนงการและภาคส่วนอื่น

แขนงการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิและหน้าที่คุ้มครองส่งเสริมการลงทุนตามภาระบทบาทของตน

องค์การปกครองท้องถิ่น มีความรับผิดชอบในการคุ้มครอง ติดตามการลงทุนในกิจการต่างๆ รับประกันสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนลาวบรรดาเผ่า ของรัฐ ของผู้ลงทุน อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้แก่การลงทุน รวมทั้งรับประกันความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตท้องถิ่นของตนและรายงาน การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการลงทุนให้หน่วยเหนือ

หมวดที่ 3 การตรวจตรา

มาตรา 92 องค์การตรวจตราการลงทุน

องค์การตรวจตราการลงทุน เป็นองค์การเดียวกันกับองค์การคุ้มครองการลงทุนตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 85 ของกฎหมายฉบับนี้

มาตรา 93 เนื้อหาการตรวจตรา

ทุกการเคลื่อนไหวของบรรดากิจการการลงทุน ล้วนแต่ได้รับการคุ้มครอง ติดตาม และตรวจตราจากแขนงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีเนื้อหาหลัก ดังนี้

1. ตรวจตราการปฏิบัติสัญญาการลงทุน

2. ตรวจตราการปฏิบัติขั้นตอนของการลงทุนตามที่ได้กำหนดไว้ในบทวิพากษ์เศรษฐกิจ - เทคนิค

3. ตรวจตราการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมตามการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทรัพย์สินของประชาชนของรัฐ และผู้ลงทุน

4. ตรวจตราการปฏิบัติระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5. ตรวจตราการปฏิบัติมาตรการความปลอดภัยของแรงงาน

องค์การตรวจตราการลงทุน มีสิทธิเสนอมาตรการแก้ไขต่อองค์การที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาในกรณีที่พบเห็นการละเมิดระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน

มาตรา 94 ประเภทการตรวจตรา

การตรวจตรา มีสองประเภท ดังนี้

1. การตรวจตราภายใน ซึ่งเป็นองค์การคุ้มครอง และตรวจตราการลงทุนที่ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 85 และมาตรา 92 ของกำหมายฉบับนี้

2. การตรวจตราภายนอก ซึ่งเป็นสภาแห่งชาติ องค์การตรวจตรารัฐ องค์การตรวจสอบแห่งรัฐ ในการตรวจตราการจัดตั้งปฏิบัติงานส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนตามสิทธิ หน้าที่ และภาระบทบาทของตนตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

มาตรา 95 รูปการการตรวจตรา

การตรวจตรา มีสามรูปการ ดังนี้

1. การตรวจตราตามระบบปกติ

2. การตรวจตราโดยมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

3. การตรวจตราแบบกะทันหัน

การตรวจตราตามปกติ เป็นการตรวจตราที่มีลักษณะเป็นประจำ และมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างน้อยสองครั้งต่อปี

การตรวจตราโดยมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เป็นการตรวจตรานอกแผนการ เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็น ซึ่งต้องแจ้งให้ผู้ถูกตรวจตราทราบก่อนล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง

การตรวจตราแบบกะทันหัน เป็นการตรวจตราในเวลาที่เห็นว่ามีความจำเป็นและเร่งด่วนโดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ถูกตรวจตราทราบล่วงหน้า

การตรวจตรา สามารถดำเนินการตรวจตราด้านเอกสาร และการปฏิบัติจริงอยู่สถานที่ปฏิบัติงาน

ภาคที่ 10 นโยบายต่อผู้มีผลงาน และมาตรการต่อผู้ละเมิด

มาตรา 96 นโยบายต่อผู้มีผลงาน

บุคคลและนิติบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นในการปฏิบัติกฎหมายฉบับนี้ เป็นต้นการลงทุนที่มีประสิทธิผล มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม การดึงดูดและการผลักดันการลงทุน จะได้รับการยกย่องและนโยบายอื่นตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 97 มาตรการต่อผู้ละเมิด

บุคคลและนิติบุคคลที่ได้ละเมิดระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนจะถูกปฏิบัติ มาตรการศึกษาอบรม ปฏิบัติวินัย ปรับไหม ใช้แทนทางแพ่ง หรือดำเนินคดีแล้วแต่กรณีเบาหรือหนักตามระเบียบกฎหมาย

ภาคที่ 11 บทบัญญัติสุดท้าย

มาตรา 98 การจัดตั้งปฏิบัติ

รัฐบาล แห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้จัดตั้งปฏิบัติกฎหมายฉบับนี้

มาตรา 99 ผลศักดิ์สิทธิ์

กฎหมายฉบับนี้มีผลศักดิ์สิทธิ์ภายหลัง หกสิบวัน นับแต่วันที่ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ออกรัฐดำรัสประกาศใช้ เป็นต้นไป

กฎหมายฉบับนี้ เปลี่ยนแทนกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนภายใน ฉบับเลขที่ 10/ สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547 และกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนของต่างประเทศ ฉบับเลขที่ 11/สพช. ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547

ผลประโยชน์ที่บรรดาวิสาหกิจ ได้รับภายใต้กฎหมายฉบับก่อน หรือสัญญาที่ได้เซ็นต์กับรัฐก่อนหน้านี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่บรรดาวิสาหกิจดังกล่าว หากมีจุดประสงค์ต้องการรับนโยบายส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายฉบับนี้ ก็มีสิทธิเสนอต่อแขนงการที่เกี่ยวข้องแล้วแขนงการดังกล่าวก็แจ้งให้ผู้ลงทุนปฏิบัติได้ทันที

หมายเหตุ: - แปลจากต้นฉบับภาษาลาว
  • เป็นการแปลเบื้องต้น ไม่ได้เป็นหลักฐานการแปลที่สมบูรณ์และเป็นทางการ

สภาแห่งชาติ

เลขที่ 47/คปจ

คณะประจำ

มติตกลงของคณะประจำสภาแห่งชาติ

เกี่ยวกับการรับรองดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ

และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อยู่ สปป ลาว

  • อ้างถึงรัฐธรรมนูญแห่ง สปป. ลาว มาตรา 56 ที่กำหนดให้คณะประจำสภาแห่งชาติ เป็นองค์กรประจำการของสภาแห่งชาติ ในช่วงที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดการประชุม
  • อ้างถึงหนังสือเสนอของท่านรองนายกรัฐมนตรี ผู้ประจำการรัฐบาล แห่ง สปป. ลาว ฉบับเลขที่ 151/นย. ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2553 เกี่ยวกับการเสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณารับรองเอาเนื้อหาของดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • อ้างถึงความตกลงของการประชุมคณะประจำสภาแห่งชาติ ครั้งวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ที่ได้ตกลงรับรองเอาเนื้อหาของดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อยู่สปป. ลาว

ดำรัสว่าด้วยเขตเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะฉบับนี้ เป็นการขยายเนื้อหากฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ภาคที่ 3 หมวดที่ 5 ให้ปรากฎผลเป็นจริง และกลายเป็นอันละเอียด

อ้างถึงมาตรา 59 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนที่ได้กำหนดไว้ว่า นอกจากนโยบายส่งเสริมที่ได้กำหนดไว้ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ของภาคที่ 4 แล้ว ถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีนโยบายส่งเสริมแต่งเติมบางแขนงการ เขตการลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น รัฐบาลมีสิทธินำเสนอต่อการประชุมสภาแห่งชาติ หรือคณะประจำสภาแห่งชาติในเวลาที่สภาแห่งชาตมิได้เปิดการประชุมเพื่อพิจารณาและตกลง

ผ่านการค้นคว้า ประกอบความเห็นของการประชุมคณะประจำสภาแห่งชาติเกี่ยวกับเนื้อหาของดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามการเสนอของรัฐบาล

คณะประจำสภาแห่งชาติ ตกลง:

มาตรา 1 ให้เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเป็นหน่วยงานงบประมาณการเงินที่เป็นเอกราช

มอบให้รัฐบาลพิจารณาตกลงด้านงบประมาณ เพื่อรับใช้ให้แก่การเคลื่อนไหวงานของคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามความเหมาะสม เพื่อให้งานดังกล่าวได้รับการจัดตั้งปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด

มาตรา 2 ห้คณะกรรมการแห่งชาติลาว

เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเป็นผู้พิจารณาให้นโยบายยกเว้นภาษี-อากร การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะการก่อ สร้างให้แก่ผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่ตั้งอยู่เขตห่างไกล และมีภูมิสัณฐานที่ทุรกันดาร

มาตรา 3 ห้คณะบริหาร หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจของเขต

เศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้กำหนดนโยบายอัตราภาษี - อากร รวมทั้งเก็บภาษี - อากรในเขตของตน แต่อัตราสูงสุดต้องไม่ให้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยภาษี และกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากรให้คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้กำหนดนโย บายค่าเช่า หรือสัมปทาน รวมทั้งการเก็บค่าเช่า และค่าสัมปทานที่ดิน แต่สูงสุดไม่ให้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในรัฐบัญญัติของประธานประเทศ เลขที่ 02/ปปท. ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ว่าด้วยอัตราค่าเช่าและค่าสัมปทานที่ดินของรัฐ

มาตรา 4 ให้คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโควตายาน พาหนะทุกชนิดให้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และให้คณะบริหารหรือสภาบริหารเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้คุ้มครองและขึ้นทะเบียนยานพาหนะที่อยู่ภายในเขตของตน

มาตรา 5 ให้คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจของเขต

เศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ปกปักษ์รักษาป่าสงวนตามสัญญาที่รัฐบาลมอบให้ (ถ้ามี) อนุรักษ์เป็นเขต พื้นที่สีเขียว ปกปักษ์รักษา ปลูกป่า ฟื้นฟูป่าสงวน เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งสัมพันธ์กับการปกปักรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และชีวนานาพันธุ์

มาตรา 6 ให้คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เป็นผู้ค้นคว้า พิจารณา การเสนอสร้างตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ

มาตรา 7 มอบให้รัฐบาล เป็นผู้จัดตั้งปฏิบัติมติข้อตกลงฉบับนี้ มติข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้นับแต่วันลงลายมือชื่อเป็นต้นไป

สำนักงานนายกรัฐมนตรี

เลขที่ 443/นย.

ดำรัส

ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ เขตเศรษฐกิจเฉพาะ

อยู่ สปป. ลาว

  • อ้างถึงกฎหมายว่าด้วยรัฐบาล ฉบับเลขที่ 02/สพช. ลงวันที่ 6 พฤษภา 2546
  • อ้างถึงกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ฉบับเลขที่ 02/สพช. ลงวันที่ 8 กรกฏาคม 2552
  • อ้างถึงมติตกลงของคณะประจำสภาแห่งชาติ เกี่ยวกับการรับรองดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ สปป. ลาว ฉบับเลขที่ 47/คปจ ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553
  • อ้างถึงการตกลง และ การชี้นำของการประชุมสมัยสามัญของรัฐบาล ประจำเดือนกันยายน ในวันที่ 29-30 กันยายน 2553 เลขที่ 2898/คลบ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2553.

นายกรัฐมนตรี ออกดำรัส:

หมวดที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป

มาตรา 1 จุดประสงค์

ดำรัสฉบับนี้กำหนด หลักการ ระเบียบการ การก่อตั้ง การเคลื่อนไหว บรรดานโยบายอื่นๆ เกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (ขพส) ซึ่งเป็นการขยายการจัดตั้งปฏิบัติกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ภาคที่ 3 หมวดที่ 5 มาตรา 59 เร่งใส่ดึงดูด และส่งเสริมการลงทุนเข้าสู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะด้วยนโยบาย และรูปแบบพิเศษและเฉพาะ สร้างให้ได้การคุ้มครอง บริการ “หน่วยงานบริหารเล็ก -สังคมกว้าง” บนพื้นฐานการปกปักษ์รักษาวัฒนธรรมอันดีงาม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมจุดแข็งของท้องถิ่นและของชาติ รับประกันความสงบ และความปลอดภัยประกอบเข้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติให้มั่งมี แข้มแข็ง ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนบรรดาเผ่าให้นับวันดีขึ้น

มาตรา 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตที่มีที่ตั้ง มีสภาพแวดล้อมทาง ด้านเศรษฐกิจที่สามารถอำนวยความสะดวกและเป็นเอกราชในการดำเนินธุรกิจมากกว่าเขตอื่นในขอบเขตทั่วประเทศ โดยสร้างให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ - สังคม สถาบัน และอื่นๆ ทีครบถ้วน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน การดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้แก่การลงทุนของทุกภาคส่วนเข้าใส่การพัฒนาเศรษฐกิจในเขตดังกล่าวเร็วกว่าเขตอื่น เขตเศรษฐกิจพิเศษได้รับนโยบายส่งเสริมพิเศษ มีระบบเศรษฐกิจ — การเงินเป็นของตนเอง เป็นระบบการคุ้มครองการบริหารตามกลไกหน่วยงานบริหารเล็ก - สังคมกว้าง มีคณะบริหาร และสภาบริหารเศรษฐกิจเป็นผู้คุ้มครอง มีระบบรับประกันความสงบ ความปลอดภัย และปกปักษ์รักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันเฮกตาร์ขึ้นไป อาจจะประกอบด้วยหลายเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และถ้ามีประชาชนดำรงชีวิตอยู่ในเขต ไม่จำเป็นต้องขนย้ายออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในทางกลับกัน จะมีการจัดสรร และแบ่งงานให้มีส่วนร่วมกับเขตพร้อมกันพัฒนา และมีรายได้ที่มั่นคง

เขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นเขตที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตที่มีที่ตั้ง มีสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจอันสามารถอำนวยความสะดวกและเป็นเอกราชในการดำเนินธุรกิจมากกว่าเขตอื่นในขอบเขตทั่วประเทศ โดยสร้างให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ - สังคม สถาบันและอื่นๆ ที่ครบถ้วน เพื่อยก ระดับความสามารถในการแข่งขันการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดูดจิตใจให้แก่การลงทุนของทุกภาคส่วนเข้าสู่การพัฒนาเขตดังกล่าวเพื่อให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วกว่าเขตอื่น การตั้งชื่อของเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อ้างอิงจากคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละเขตใดเขตหนึ่งที่เหมาะสมตามคุณ ลักษณะของโครงสร้างพื้นฐาน และสถาบันที่เอื้ออำนวยในการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการที่มีความแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทที่ต้องการพัฒนา เขตเศรษฐกิจเฉพาะได้รับนโยบายส่งเสริมเฉพาะ มีระบบเศรษฐกิจ - การเงิน เป็นของตนเอง มีสภาบริหารเศรษฐกิจเป็นผู้บริหาร และคุ้มครองตามกลไกตราประทับเดียว และมีหน่วยงานการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีการกำหนดเขตแดนอย่างชัดเจน และไม่มีประชาชนดำเนินชีวิตอยู่ในเขตดังกล่าว

เขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก่อตั้งตามสัญญาระหว่างผู้ลงทุน กับคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก่อตั้งตามขั้นตอนพิจารณาตามดำรัสฉบับนี้ และตามสัญญาระหว่างรัฐบาล และผู้พัฒนา

เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เรียกย่อว่า “ขพส” เขียนเป็นภาษาอังกฤษ : Special Economic Zone and Specific Economic Zone “SEZ”

มาตรา 3 การอธิบายคำศัพท์

คำศัพท์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในดำรัสฉบับนี้ มีความ หมาย ดังนี้

1. ผู้พัฒนา หมายถึง บุคคล นิติบุคคล หรือ องค์การจัดตั้งของรัฐที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล แห่ง สปป. ลาว ให้ลงทุนพัฒนาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ เขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นต้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ สิ่งสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการ

2. ผู้ลงทุน หมายถึง บุคคล นิติบุคคล หรือ องค์การจัดตั้งของรัฐที่จดทะเบียบดำเนินธุรกิจ อยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

3. หน่วยธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการในเขตเศรษฐกิจเฉพาะ หมายถึง ผู้ลงทุนที่ได้จดทะเบียนกับสภาบริหารเศรษฐกิจอย่างถูกต้องตามระเบียบการของเขต

4. กิจการการผลิต หมายถึง การผลิต การปรุงแต่ง การประกอบ การแปรรูป การเปลี่ยนแปลงสภาพวัตถุดิบ หรือ วัตถุสิ่งของออกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานประกอบยานพาหนะ โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ และการผลิตอื่นๆ

5. กิจการการค้า หมายถึง การใช้วัตถุ สินค้า และ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ นำออกขายตามสภาพเดิม โดยมิได้ทำการปรุงแต่ง หรืออาจจะมีเพียงการห่อหุ้ม ดัดแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น กิจการการค้า ขาออก - ขาเข้า การค้าผ่านแดน ร้านค้าปลอดภาษี การขายส่งและอื่นๆ

6. กิจการการค้าบริการ หมายถึง การสนองแรงงาน หรือสนองการบริการให้ผู้อื่นด้วยแรงงาน สติปัญญา อุปกรณ์เครื่องจักร พาหนะและทรัพย์สินต่างๆ โดยได้รับค่าบริการเป็นสิ่งตอบแทน เช่น กิจการขนส่ง กิจการระบบโกดัง การก่อสร้างโรงแรม การท่องเที่ยว ธนาคาร มหาวิทยาลัย กิจการสาธารณะต่างๆ เช่น สวนสนุก บริการสถานที่ท่องเที่ยว และการบริการอื่นๆ

7. หน่วยบริหารเล็ก - สังคมกว้าง หมายถึง การคุ้มครองการบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ด้วยกลไกความรับผิดชอบเพื่อให้มีประสิทธิผลรอบด้านตามขอบเขต สิทธิ และหน้าที่ของแต่ละเขต ซึ่งมีตราประทับเป็นของตนเอง มีสิทธิในการนำใช้เข้าในการพัวพัน ประสานงาน ตกลงกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

8. การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่รักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยา และชีววิทยา ซึ่งผู้พัฒนา ผู้ลงทุน ต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ต้องมีแผนการฟื้นฟู ปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี ทั้งรับประกันไม่ให้มีผลกระทบในระยะยาว การกำจัดสิ่งเศษเหลือ ขยะ สารพิษ เคมีตกค้างต่างๆ การปนเปื้อนของอากาศ เสียงที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคน และสัตว์

9. การเปลี่ยนที่ดินเป็นทุนของแขนงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ หมายถึง การพัฒนาที่ดินอย่างมีจุดเป้าหมาย และให้ที่ดินดังกล่าวสามารถกลายเป็นทุน (การถือหุ้น การเก็บค่าเช่า หรือ สัมปทาน และการเอาไปเป็นหลักค้ำประกัน) เพื่อพัฒนาอย่างมีประสิทธิผล

10. การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้มีประสิทธิภาพทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึง การหนุนใช้จุดแข็งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติรอบด้าน และบรรดานโยบายส่งเสริมที่รัฐบาลมอบให้ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เข้าในการวางแผนนโยบาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจสูงสุด

11. การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้เกิดประสิทธิภาพด้านสังคม หมายถึง การผันเปลี่ยนรูปแบบวิธีการดำรงชีวิตของพลเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามมาตรฐานบรรลุเป้าหมายสหัสวรรษเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน

12. พลเมือง หมายถึง คนที่ถือสัญชาติลาว พลเมืองกิตติมศักดิ์ คนต่างด้าว คนไม่มีสัญชาติ แรงงาน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศที่ดำรงชีวิต ดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

13. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับภูมิภาคและสากล หมายถึง การเชื่อมต่อทางด้านเศรษฐกิจอย่างรอบด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเข้าในเขตเศรษฐกิจอาเซียน ภูมิภาค และสากล

14. เขตที่มีความสามารถแข่งขันสูง หมายถึง เขตที่มีการพัฒนาบรรดากลไกการคุ้มครองการบริหาร และคุ้ม ครองวิสาหกิจตามกลไกตลาดอย่างจริงจัง

มาตรา 4 นโยบายของรัฐเกี่ยวกับ ขพส.

รัฐมีนโยบายส่งเสริมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศลงทุนเข้าในการพัฒนา ขพส. ด้วยการใช้นโยบายพิเศษและเฉพาะแก่ ขพส. ในการพิจารณาตกลงเกี่ยวกับการลงทุน การดำเนินธุรกิจ การผลิต การบริการ รายรับ - รายจ่าย การคุ้มครองบริหารด้วยกลไกหน่วยงานบริหารเล็ก - สังคมกว้าง สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ กลไกตราประทับเดียวสำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

รับประกันความสงบ-ปลอดภัย ปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และนโยบายพิเศษอื่นๆ ตามดำรัสฉบับนี้ และสัญญาระหว่างรัฐบาล กับ ผู้พัฒนา

มาตรา 5 หลักการก่อตั้งและการเคลื่อนไหวของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

หลักการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ปฏิบัติตามเนื้อหาในมาตรา 34 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งสริมการลงทุน

หลักการเคลื่อนไหวเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นอกจากหลักการการเคลื่อนไหวดัง

กฎหมายว่าด้วยการส่งสริมการลงทุนได้กำหนดไว้ในมาตรา 40 แล้ว ขพส. ยังเคลื่อนไหวตามหลักการ ดังนี้:

1. เคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ดำรัสฉบับบนี้ และสัญญาสัมปทาน

2. เป็นเจ้าตนเองและเป็นเอกราชในการคุ้มครองบริหารทางด้านเศรษฐกิจ

3. รับประกันความเสมอภาคระหว่างการลงทุนภายในกับต่าง ประเทศภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. รับประกันความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปรองดอง และการเสริมสร้างวัฒนธรรมอันดีงามของชาติลาว

5. รับประกันการพัฒาแบบยั่งยืน และปกปักษ์รักษาสิ่งแวด ล้อม

6. รับประกันการคุ้มครองบริหาร “หน่วยงานบริการเล็ก -สังคมกว้าง”

7. อยู่ภายใต้การคุ้มครองมหาภาคของรัฐบาล ก็คือเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ หรือองค์การปกครองท้องถิ่นที่รัฐบาลมอบให้

มาตรา 6 ยุทธศาสตร์และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

รัฐบาลกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะบนพื้นฐานแผนพัฒนาเศรษฐกิจ - สังคมแห่งชาติในแต่ละระยะเพื่อประกอบส่วนบูรณะนโยบายเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นทุน เป็นต้น นโยบายเปลี่ยนที่ดินเป็นทุน นอกนั้น ก็ประกอบส่วนบูรณะนโยบายเปิดประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาคและสากล (เป็นตลาดเดียวที่อิงพื้นฐานการผลิตเป็นหลัก เป็นเขตที่มีความสามารถแข่งขันสูง เป็นเขตที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สมส่วนเท่าเทียมกัน และเป็นเขตที่มีระดับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มส่วน) ประกอบส่วนบูรณะนโยบายพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมและความทันสมัย การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะด้วยรูปแบบการพัฒนาตามกลไกการใช้ที่ดินอย่างมีเป้าหมาย การรักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเข้าในการพัฒนาพื้นฐานโครงสร้าง ระบบนิติกรรม และระบบสถาบันที่จำเป็น และเอื้ออำนวยให้แก่การดำเนินธุรกิจ เพื่อสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการนำใช้ผลประโยชน์และเข้าร่วมห่วงโซ่การสนองและห่วงโซ่มูลค่าของสากล

มาตรา 7 การปกป้องการลงทุนของผู้พัฒนาและผู้ลงทุน

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้รับการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนจากรัฐตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 60, 61 และมาตรา 62 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

มาตรา 8 สิทธิและพันธะของพลเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

พลเมืองที่ดำรงชีวิตอยูในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะได้รับการปกป้องสิทธิและผลประ โยชน์อันชอบธรรมของตนตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของ สปป. ลาว และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ การคุ้มครองของคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีพันธะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่างๆ และให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนภาย

ในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ปฏิบัติตามดำรัสฉบับนี้และระเบียบการที่เกี่ยวข้องของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ พลเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้รับนโยบายส่งเสริมต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 9 การร่วมมือสากล

รัฐส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเขตของตนตามกฎหมายว่าด้วยการส่ง เสริมการลงทุน ทั้งยังเปิดกว้างทางการตลาด แลกเปลี่ยนแรงงาน วัตถุดิบ เทคโนโลยี การเงิน การค้า การส่งออก -นำเข้า การขนส่ง การเข้า - ออกเมือง พัวพันกับบริษัทต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเข้าในภูมิภาคและสากลบนพื้นฐานระเบียบกฎหมายของ สปป. ลาว

หมวดที่ 3 ขั้นตอนการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 10 เอกสารก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้ที่มีจุดประสงค์ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำร้องต่อ คขพส. โดยผ่าน กคขพส ซึ่งประกอบด้วย เอกสารดังนี้:

1. บทวิพากษ์เศรษฐกิจ - เทคนิค

2. แผนแม่บทการพัฒนา

3. บทประเมินผลกระทบต่อวัฒนธรรม - สังคม และสิ่งแวดล้อม

4. ร่างสัญญาพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

5. เอกสารยืนยันฐานะทางการเงิน

6. เอกสารยืนยันฐานะบุคคลหรือนิติบุคคล

7. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 11 เงื่อนไขผู้ได้รับอนุญาตให้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้ได้รับอนุญาติให้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องมีเงื่อนไขดังนี้

  • มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  • มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  • มีฐานะทางการเงินดี โดยได้รับการตรวจตราและรับประ กันจากสถาบันการเงินภายใน หรือต่างประเทศที่เชื่อถือได้
มาตรา 12 ขั้นตอนการพิจารณาก่อตั้ง

การพิจารณาก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้ที่มีจุดประสงค์พัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องยื่นเอกส่ารขอต่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยผ่าน กคขพส ตามแบบฟอร์มเอกการที่กำหนดออก

2. ภายหลังที่ได้รับร้องขอก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แล้ว กคขพส จะประสานสมทบกับหน่วยงานและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ค้นคว้านำเสนอต่อประธาน คขพส แต่งตั้งคณะรับผิดชอบก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเบื้องต้นของการก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. หลังจากได้รับการแต่งตั้งคณะรับผิดชอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว คณะรับผิดชอบดังกล่าวจะเปิดประชุมครั้งปฐมฤกษ์เพื่อปรึกษาแบ่งงานและวางแผนงานอย่างระเอียดหัวหน้าคณะดังกล่าวมีสิทธิแต่งตั้งกองเลขาของตนขึ้น เพื่อช่วยจัดตั้งปฏิบัติให้งานสัมฤทธิ์ผล

4. กคขพส. รวบรวมผลการศึกษา ผลของการเจรจา สัญญาสัมปทานและการค้นคว้าของคณะรับผิดชอบก่อตั้ง เพื่อเสนอต่อการประชุมกองเลขาผู้ประจำการ และไม่ประจำการ หลังจากนั้นจึงนำเสนอ คขพส. พิจารณาบนพื้นฐานการรับรอง เห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรของคณะรับผิดชอบก่อตั้ง

5. คขพส. พิจารณาตกลง หรือปฏิเสธการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กรณีตกลงอนุมัติก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ประธาน คขพส. ออกข้อตกลงเพื่อประกาศการก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และ กคขพส. ออกใบทะเบียนสัมปทานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กรณีที่เกินขอบเขตสิทธิ และภาระบทบาทของตน คขพส. เสนอรัฐบาลพิจารณา

6. กรณี คขพส. ปฏิเสธการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กคขพส. แจ้งตอบปฏิเสธให้ผู้เสนอพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะทราบ พร้อมด้วยเหตุผลที่เหมาะสม

7. ถ้าเป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่รัฐบาลรับรอง แล้วนั้น ขั้นตอนการพิจารณาให้เลือกเฟ้นเอาผู้พัฒนาตามแต่ละกรณีด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การเปรียบเทียบ การประมูล หรือการประเมินผลโดย กคขพส. บนพื้นฐานการสมทบกับแขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 13 องค์ประกอบและอายุของคณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตขพส.

องค์ประกอบของคณะรับผิดชอบก่อตั้ง ขพส. มีดังนี้

1. เจ้าแขวง หรือรองเจ้าแขวง ณ ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะตั้งอยู่ หรือบุคคลอื่นที่เห็นว่าเหมาะ สมเป็นหัวหน้าคณะ

2. หัวหน้า หรือรองหัวหน้า กคขพส. และ/หรือแขนงการอื่นที่เหมาะสมเป็นรองหัวหน้าคณะ และกรรมการจำนวนหนึ่ง ซึ่งมาจากแขนงการต่างๆ ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและผู้พัฒนา คณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีอายุการดำเนินงานสูงสุดหกเดือน ถ้ากรณีมีความจำเป็นที่มีเหตุผลเพียงพอ ก็สามารถต่ออายุได้อีกไม่เกินหกเดือน บนพื้นฐานการเสนอของ กคขพส.

มาตรา 14 สิทธิ์และหน้าที่ของคณะรับผิดชอบก่อตั้ง

นอกจากสิทธิ์และหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 37 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนแล้ว คณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ยังมีสิทธิ์และหน้าที่ ดังนี้

1. ค้นคว้า สร้างแผนแม่บทการพัฒนารอบด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยประสาน สมทบกับบรรดาแขนงงาน และองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

2. แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาทิ ปัญหาที่ดิน และผลประโยชน์ของประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. ปฏิบัติการชดเชยผลประโยชน์ของประชาชนตามระเบียบการ และจัดสรรประชาชนที่ถูกผลกระทบจากโครงการ

4. ค้นคว้านโยบายส่งเสริม และเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กำหนด ไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐบาลและผู้พัฒนา

5. ประสานสมทบกับ กคขพส. เพื่อเจรจาสัญญากับผู้พัฒนา และร่างสัญญาเบื้องต้น เพื่อเสนอ คขพส. พิจารณา

6. กรณีมีความจำเป็นก็สามารถว่าจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยว ชาญภายในและต่างประเทศ เพื่อช่วยค้นคว้าการก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้สำเร็จ สำหรับค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างดังกล่าว ทางบริษัทผู้ พัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบ

7. คณะรับผิดชอบก่อตั้งและผู้พัฒนานำเสนอผลของการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาต่อการประชุม กองเลขาผู้ประจำการและไม่ประจำการ เพื่อสรุปผลของการศึกษาความเป็นไปได้ และให้ความเห็นชี้แนะด้านมหาภาคต่อโครงการ เพื่อรับประกันการพัฒนาอย่างมีประสิทธิผล และสอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ — สังคมแห่งชาติ

8. คณะรับผิดชอบก่อตั้ง และผู้พัฒนาปรึกษาหารือ และปรับปรุงคืนใหม่เกี่ยวกับปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนตามการชี้แนะของการประชุมที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 7 ข้างบนเพื่อรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรให้ กคขพส. เพื่อรายงานต่อ คขพส.

9. ค้นคว้า และนำเสนอบุคลากรที่จะประกอบเข้าในคณะบริหาร และ/หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อนำเสนอขอการแต่งตั้งจากประธาน คขพส.

10. นำเสนอต่อการประชุม คขพส. เพื่อพิจารณาตกลง

มาตรา 15 การสิ้นสุดของคณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

คณะรับผิดชอบก่อตั้ง ขพส. จะสิ้นสุดลงในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

1. รัฐบาล หรือ คขพส. ได้ตกลงก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แต่งตั้งคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อย่างเป็นทางการแล้ว

2. ในกรณีรัฐบาลหรือ คขพส ไม่อนุมัติให้ก่อตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. กำหนดเวลาการเคลื่อนไหวของคณะได้สิ้นสุดลงตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อตกลงแต่งตั้ง แต่ไม่ได้กำหนดเวลาหรือถูกแต่งตั้งคืนใหม่

หมวดที่ 3 การพัฒนา การลงทุน และการเคลื่อนไหวภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 16 การพัฒนา

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะประกอบด้วย

1. การสร้างแผนปฏิบัติงาน

2. การพัฒนาพื้นฐานโครงสร้าง

3. รูปการพัฒนา

4. การจัดตั้งปฏิบัติงานการพัฒนา

มาตรา 17 การสร้างแผนปฏิบัติงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขต เศรษฐกิจเฉพาะ

คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ค้นคว้าและสร้างแผนปฏิบัติงาน โดยอ้างถึงแผนแม่บทการพัฒนารอบด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นแต่ละระยะ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อาทิ แผน พัฒนาและนำใช้ที่ดิน แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวเมือง การสร้างเขตชุมชนใหม่ เขตท่องเที่ยว เขตวัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข กสิกรรม อุตสาหกรรม แผนผลิตสินค้าส่งออกและอื่นๆ

มาตรา 18 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. ผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องดำเนินการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การผลักดันการลงทุนจากภายในและต่างประเทศ เข้าในเขต เขตเชื่อมต่อ ระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และท้องถิ่น เขตป่าสงวนแห่งชาติตามแผนแม่บทการพัฒนา เขตกันชน เขตอนุลักษณ์ และเขตอื่นๆ ตามที่รัฐบาลได้รับรองเอา

2. โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ประกอบด้วย ทางหลวง ทางซอย ทางเชื่อมต่อของเขต ระบบไฟฟ้า น้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะ เขื่อนป้องกันตลิ่ง ท่าเรือ ด่านเข้า - ออกเมือง ตาข่ายภายในเขต โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม — สังคม โทรคมนาคม และอื่นๆ ซึ่งมีมาตรฐานระดับสูง (ยกเว้นการก่อสร้างลดมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด)

3. แหล่งทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นความรับผิดชอบของผู้พัฒนา ซึ่งอาจได้มาจากทุนของผู้พัฒนา งบประ มาณของรัฐ ทุนกู้ยืม ทุนจากผู้พัฒนาร่วมกับรัฐ หรือ รายรับที่เกิดขึ้นในการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามอัตราส่วนการแบ่งผลที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน

มาตรา 19 รูปแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะใน สปป. ลาว สามารถดำเนินการด้วยรูปแบบ ดังนี้

1. รัฐลงทุนพัฒนาร้อยละร้อย (100%) หมายถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่รัฐเป็นผู้ลง ทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งหมดของเขต โดยใช้งบประมาณของรัฐ

2. รัฐลงทุนร่วมกับเอกชนพัฒนา หมายถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่รัฐลงทุนร่วมกับเอกชน ภายในหรือต่างประเทศพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งหมดของเขต ซึ่งรัฐอาจประกอบทุนด้วยสิทธิ์ใช้ที่ดิน โดยรัฐถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละสามสิบ (30%) หรือการประกอบทุนด้วยรูปการอื่นตามตกลงเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย ส่วนผู้พัฒนาเอกชนประกอบทุนเข้าร่วมหุ้นด้วยเงินสด และทรัพย์สิน

3. เอกชนลงทุนพัฒนาร้อยละร้อย (100%) หมายถึง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่เอกชนภายในหรือต่างประเทศเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งหมดของเขต โดยใช้งบประมาณของผู้พัฒนาเอง

มาตรา 20 การจัดตั้งปฏิบัติงานการพัฒนา

การจัดตั้งปฏิบัติงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องเกี่ยวพันธ์กับหน้างานที่สำคัญ ดังนี้

  • การค้นคว้าและวางแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นแต่ละระยะ (ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว) พร้อมกันกับการประเมินและการวิจัยผลได้รับ
  • การค้นคว้าและกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ รวมทั้งกลไกการประสานงานกับแขนงการต่างๆ
  • การค้นคว้าเทคนิควิชาการ และมาตรการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม
  • การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ด้วยระเบียบกฎหมาย และแผนการจัดสรรเขตพื้นที่
  • การค้นคว้า เพื่อสร้างกลไกในการคุ้มครอง — บริหาร และการเงินของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
  • การพัวพันร่วมมือด้านเทคนิควิชาการ และการแลกเปลี่ยนบทเรียนกับสากล
มาตรา 21 การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ประกอบด้วย

1. การลงทุนทั่วไป

2. การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม

มาตรา 22 การลงทุนทั่วไป

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนสามารถลงทุนในทุกแขนงการภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ยกเว้น กิจการที่รัฐบาลหวงห้าม อาทิ การซื้อขาย การผลิตอาวุธสงคราม สิ่งเสพติด สารเคมีที่เป็นพิษ กิจการที่ทำให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน การบริการที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย ทำลายความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย วัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และของท้องถิ่น การลงทุนทั่วไปจะไม่ได้รับนโยบายส่งเสริมใดๆจากเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 23 การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม

การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมตามการกำหนดของคณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การค้นคว้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่เข้าในการผลิต การผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างทันสมัย โครงสร้างแหล่งท่องเที่ยว การผลิต — ปรุงแต่งกสิกรรมสะอาด ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ การผลิตเพื่อส่งออก การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ และกิจการลงทุนอื่นๆ ตามที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เห็นว่าเหมาะสมและมีจุดแข็ง

มาตรา 24 สิทธิ์และพันธะของผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้พัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิและพันธะหลัก ดังนี้

1. เป็นเจ้าการในการลงทุนพัฒนา การคุ้มครอง — บริหารกิจการการลงทุนของตน การว่าจ้างแรงงาน การอยู่อาศัย การส่งทุน ทรัพย์สินและรายรับออกไปต่างประเทศตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 64, 65, 66, 67 และ 68 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

2. ปฏิบัติพันธะหลัก รวมทั้งพันธะในการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 69 และ 70 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

3. ปฏิบัติพันธะในการประกอบส่วนเข้าในกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา

4. ปฏิบัติ และเก็บกู้ทุนคืนตามสัญญาระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา

5. ปฏิบัติสิทธิ์ และพันธะอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ดำรัสฉบับนี้ และนิติกรรมเฉพาะของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 25 สิทธิ์และพันธะของผู้ลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะปฏิบัติสิทธิและพันธะที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 63 64, 65, 66, 68, 69 และ 70 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และปฏิบัติสิทธิ์และพันธะที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา

มาตรา 26 การเคลื่อนไหวภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การเคลื่อนไหวภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีดังนี้

  • การเสนอการลงทุน
  • การบริการการลงทุนประตูเดียว
  • การนำเข้า — ส่งออก
  • การเข้า — ออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • การปกป้องรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • การพัวพันกับภายนอก
มาตรา 27 การเสนอการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

บุคคล นิติบุคคลทั้งภายในและต่างประเทศ ที่มีจุดประสงค์ลงทุนอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ยื่นคำร้องการลงทุนต่อคณะบริหารหรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณีตามแบบพิมพ์ที่กำหนดออก

ผู้ลงทุนสามารถยื่นคำร้องการลงทุนโดยผ่านโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือยื่นโดยตรงต่อห้องการบริการการลงทุนประตูเดียวของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี

มาตรา 28 การบริการการลงทุนประตูเดียว

การบริการการลงทุนประตูเดียว ปฏิบัติตามหลัก การและกลไกการจัดตั้งปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 45 และ 46 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ก่อตั้งห้องการบริการการลงทุนประตูเดียว แล้วแต่กรณี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิเช่น การออกใบทะเบียนวิสาหกิจ การสนองข้อมูลข่าวสาร การบริการการลงทุน และบริการด้านอื่นๆ

มาตรา 29 การนำเข้า — ส่งออก

การนำเข้าสินค้า อุปกรณ์ พาหนะ เครื่องจักร วัตถุดิบ วัตถุกึ่งสำเร็จรูป (ยกเว้นน้ำมันเชื้อเพลิง) เพื่อรับใช้ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้ปฏิบัติ ตามระเบียบการเฉพาะของเขต

การส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังภายในประเทศและนอกประเทศ ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายของ สปป. ลาวสัญญาและสนธิสัญญาสากลที่ สปป. ลาว เป็นภาคี

คณะบริหารหรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้กำหนดหลัการและรายงานการนำเข้า — ส่งออก แล้วแต่กรณีต่อ คขพส. อย่างเป็นปกติ

มาตรา 30 การเข้า — ออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การเข้า — ออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องได้ผ่านการตรวจตราของด่านตามจุดที่ได้กำหนดไว้

มาตรา 31 การปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม

คณะบริหารหรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้กำหนดหลักการ ระเบียบการเกี่ยวกับการคุ้มครอง ปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยสอดคล้องกับกฎหมายของ สปป ลาว และรับประกันการพัฒนาแบบยั่งยืน

มาตรา 32 การพัวพันภายนอก

เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิเคลื่อนไหวพัวพันธ์กับบริษัทอื่น องค์การจัดตั้งทั้งภายในและต่างประเทศตามกฎหมายของ สปป. ลาว

องค์การจัดตั้ง แขนงการต่างๆ ที่อยู่ภายนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีหน้าที่อำนวยความสะดวก ให้ความร่วมมือ ความช่วยเหลือ และแนะนำเพื่อให้เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะสามารถเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิผลสูง ตามสิทธิและหน้าที่ของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

หมวดที่ 4 การเปลี่ยนเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นนคร

มาตรา 33 เงื่อนไขการเปลี่ยนเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเป็นนคร

การเปลี่ยน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเป็นนคร มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 12 หมวดที่ 2 ของกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น รายละเอียดมีดังนี้

1. เป็นตัวเมืองใหญ่ เป็นใจกลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม — สังคม

2. เป็นศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการและการท่องเที่ยว

3. มีบทบาทผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีการขยายตัวทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง สนามบินสากล ท่าเรือ โทรคมนาคม ไปรษณีย์ ขนส่ง กิจการสาธารณะ อาทิเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบครบถ้วน พร้อมทั้งระบบการคุ้มครองบริหารที่เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมและทันสมัย และมีการพัวพันธ์ร่วมมือกับภายนอกและสากล สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะใดที่ไม่มีเงื่อนไขในการสร้างท่าเรือ หรือ สนามบินสากล ไม่ถือเป็นข้อจำกัดในการเปลี่ยนเป็นนคร

4. มีพลเมืองตั้งแต่แปดหมื่นคนขึ้นไป

มาตรา 34 ขั้นตอนการพิจารณา

คณะบริหาร หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เสนอต่อ กคขพส. เพื่อประสานสมทบกับแขนงการและองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งการสำรวจ และตรวจสอบระบบการคุ้ม ครองบริหาร เพื่อประเมินราคา ประเมินผล ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดในมาตรา 33 ของดำรัสฉบับนี้ ผ่านการประเมินผล หากเห็นว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ดังกล่าวมีครบตามเงื่อนไข และรับประ กันการพัฒนาอย่างมั่นคง คณะบริหาร หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจ เสนอต่อ คขพส. โดยผ่าน กคขพส. เพื่อพิจารณา คขพส. พิจารณาแล้ว รายงานต่อรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลเสนอต่อสภาแห่งชาติ เพื่อพิจารณารับรอง

มาตรา 35 การประกาศเป็นนคร

คขพส. สมทบกับคณะรัฐบาลและคณะประจำสภาแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งพิธีประกาศและมอบมติตกลงว่าด้วยการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นนครอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของ สปป. ลาว

หมวดที่ 5 นโยบายส่งเสริม

มาตรา 36 นโยบายส่งเสริม

อ้างถึงบทบัญญัติในมาตรา 59 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน นอกจากนโยบายส่งเสริมที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้รับนโยบายส่งเสริมเพิ่ม เติม ดังนี้

  • เป็นหน่วยบริหารเล็ก — สังคมกว้าง (สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ) หรือ ระบบตราประทับเดียว (สำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะ) ตามนโยบายกลไกการคุ้มครองบริหารแบบใหม่ที่เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมและทันสมัย
  • ได้รับสิทธิ์รอบด้านในการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • บริหารเศรษฐกิจ การเงิน ด้วยตนเองอย่างเป็นเอกราช
  • ปฏิบัตินโยบายการบริการการลงทุนประตูเดียว
  • กำหนดค่าเช่าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ในเขตของตน
  • ได้รับการปฏิบัตินโยบายอื่นตามระเบียบกฎหมาย
มาตรา 37 นโยบายต่อผู้พัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จะได้รับนโยบาย ดังนี้

1. นโยบายพิเศษด้านภาษี และส่วยสาอากร คณะบริหารหรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้พิจารณาการยกเว้น หรือลดหย่อนอัตราภาษี

— ส่วยสาอากรประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้ลงทุนโดยอ้างตามแขนงการกิจการ ขนาดของการลงทุน แต่สูงสุดมิให้เกินอัตราที่กฎหมายว่าด้วยภาษีและกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากรกำหนดไว้

2. ได้รับการยกเว้นภาษี—อากรนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะ การก่อสร้างให้ผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่ตั้งอยู่ถิ่นทุรกันดาร (มิใช่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ทั่วไป) และให้สร้างแผนนำเข้าประจำปีโดย คขพส. จะเป็นผู้พิจารณา

3. การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ลงทุน และผู้ประกอบ การอื่นภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้เสียภาษี — อากร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยภาษี และกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากร

4. การนำเข้าวัตถุดิบอยู่ภายใน สปป. ลาว เพื่อนำใช้เข้าในกิจการต่างๆ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ถือว่าเป็นการส่งออกสินค้า และจะได้รับนโยบาย ด้านภาษี — อากร ตามกฎหมาย

5. ได้รับนโยบายส่งเสริมด้วยสิทธิ์ใช้ที่ดิน และกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 58 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

6. ได้รับสิทธิในการอยู่อาศัยในดินแดน สปป.ลาว พร้อมทั้งครอบครัว ตามระยะเวลาของสัญญาการลงทุนพัฒนา

7. ได้รับสิทธิในการว่าจ้างแรงงานตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 66 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

8. ได้รับการอำนวยความสะดวกในการสนองข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนและอื่นๆ

9. ได้รับการยกย่องสรรเสริญด้วยรูปการต่างๆ อย่างเหมาะสมกับผลงานของผู้พัฒนาและผู้ลงทุน

10. ได้รับเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ตามระเบียบการ

มาตรา 38 การปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์ของผู้พัฒนา และผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

รัฐบาลรับรู้ ปกป้องสิทธิ์และผลประโยชน์ รวมทั้งทรัพย์สินของผู้พัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามเนื้อความในมาตรา 60, 61 และ 62 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลรับรู้ ปกป้องสิทธิ์ และผลประโยชน์ของผู้พัฒนาตามสัญญาสัมปทานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และตามมาตรา 37 ของดำรัสฉบับนี้

มาตรา 39 การเช่าที่ดิน

ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่เช่าที่ดินในระยะยาว จะได้รับนโยบายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินตามวิธีการและอัตราค่าเช่าที่คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้กำหนด

มาตรา 40 การเข้าถึงแหล่งทุน

ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารธุรกิจและสถาบันการเงินอื่นๆ ใน สปป. ลาว และในต่างประเทศ

มาตรา 41 การหักค่าใช้จ่าย

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สามารถหักค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรออกจากกำไรที่ถูกเสียอากรประจำปี

หมวดที่ 6

ที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 42 การกำหนดเขตที่ดิน

รัฐจัดสรรที่ดินเฉพาะหน้าดิน (ไม่รวมเอาทรัพย์สมบัติ และทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่พื้นดินและน่านฟ้า ) เพื่อสร้างเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยอ้างตามจุดพิเศษ ขนาด และเงื่อนไขของที่ดิน อาทิ ที่ที่ไม่มีชุมชนหนาแน่น มีที่ตั้งภูมิสัณฐานที่เหมาะสม ไม่รวมเอาโครงการพัฒนาต่างๆ ที่รัฐบาลได้อนุมัติแล้ว

มาตรา 43 การทดแทนค่าเสียหาย

รัฐและผู้พัฒนา ต้องได้ทดแทนค่าสิทธินำใช้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และวัตถุสิ่งของอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายจากการจัดสรร เพื่อสร้างและพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 44 ที่ดินสงวน และที่ดินกันชน

บุคคลหรือนิติบุคคล ไม่มีสิทธินำใช้ หรือปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ในที่ดินสงวนและที่ดินกันชน ในกรณีที่มีการละเมิด ผู้เกี่ยวข้องจะไม่ได้รับการทดแทนค่าเสียหายคืนแต่อย่างใด

ที่ดินสงวนและที่ดินกันชน นั้น มอบให้คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ปกปักษ์รักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูบูรณะ และนำใช้เพื่อรับประกันการพัฒนาแบบยั่งยืน และปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ที่ดินสงวนและที่ดินกันชน ที่มอบให้เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเป็นผู้ปกปักษ์รักษาสิ่งแวด ล้อมและปลูกไม่ให้เป็นป่าเพื่อปกคลุมพื้นที่สีเขียว และสนองออกซิเจน (O2) แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นั้น ให้ยกเว้นค่าเช่าและค่าสัมปทาน ตลอดระยะการสัมปทาน แต่ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องคุ้มครองโดยมิให้มีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างเด็ดขาด

มาตรา 45 การปักหลักหมายเขตแดน

ภายหลังที่ได้รับการตกลงเห็นชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแล้ว ก่อนจะเซ็นสัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอย่างเป็นทางการนั้น คณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สมทบกับองค์การคุ้มครองที่ดินแห่งชาติ คณะกรรมการคุ้มครองชายแดนแห่งชาติ (กระทรวงการต่างประเทศ) แขนงการ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อปักหลักหมายเขตแดนตามการอนุมัติของรัฐบาล พร้อมทั้งเขียนแผนที่เขต เพื่อแนบกับสัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 46 การก่อตั้งด่าน

คณะรับผิดชอบก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะสมทบกับแขนงการป้องกันชาติ — ป้องกันความสงบ คณะกรรมการคุ้มครองชายแดนแห่งชาติ (กระทรวงการต่างประเทศ) เจ้าหน้าที่ภาษี แขนงการท้อง ถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อตั้งด่านสากลและด่านท้องถิ่นของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 47 การขยายพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้พัฒนาที่มี่จุดประสงค์จะขยายพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำร้องต่อ กคขพส. เพื่อเสนอต่อ คขพส. หรือรัฐบาลพิจารณา

มาตรา 48 การพัวพันธ์กับองค์การปกครองท้องถิ่น

องค์การปกครองท้องถิ่นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตั้งอยู่ ต้องให้การช่วยเหลือ และร่วมมือกับคณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี อาทิ การสำรวจ การจัดสรรที่ดิน การทดแทนสิ่งปลูกสร้าง และอื่นๆ

มาตรา 49 อายุการพัฒนา ขพส.

ผู้พัฒนาสามารถพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะสูงสุดไม่เกิน 99 ปี และสามารถต่อได้แล้วแต่กรณี ตามการตกลงของรัฐบาล อาทิ ในกรณีที่ผู้พัฒนาได้ปฏิบัติโครงการที่นำเอาผลประโยชน์สูงสุดให้ แก่ประเทศชาติ ได้ปฏิบัติสัญญาอย่างมีประสิทธิผล และมีผลงานในการประกอบส่วนพัฒนาท้องถิ่น

เมื่ออายุการลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้สิ้นสุดลงแล้ว รัฐเป็นผู้รับผิดชอบคุ้มครองบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาทิ เช่น เก็บภาษี อากร ค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ

มาตรา 50 การออกใบรับรองสิทธินำใช้ที่ดิน

องค์การคุ้มครองที่ดินแห่งชาติ ออกใบรับรองสิทธิ์นำใช้ที่ดินให้แก่คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เนื้อหาสำคัญของใบรับรองสิทธิ์นำใช้ที่ดินประกอบด้วย: ที่ตั้ง เนื้อที่ แผนที่ดิน กำหนดเวลา และเงื่อนไขการนำใช้ที่ดินตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐ กิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ออกใบรับรองสิทธินำใช้ที่ดินภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ของตน

มาตรา 51 การคุ้มครองและนำใช้ที่ดิน

ด้านเทคนิควิชาการการคุ้มครองและนำใช้ที่ดินภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยที่ดิน สำหรับนโยบายเกี่ยวกับที่ดิน การเก็บรายได้ต่างๆ เกี่ยวกับที่ดิน ให้ปฏิบัติตามการกำหนดของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

หมวดที่ 7

การเงิน การบัญชี และงบประมาณของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 52 การเงินของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การเงินของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้ปฏิบัติดังนี้

1. เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นหน่วยแผนการ และการเงินพิเศษ พึ่งตนเองและคุ้มครองตนเอง ปฏิบัติพันธะต่อรัฐบาลตามสัญญาสัมปทาน และดำรัสฉบับนี้

2. การชำระภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ใช้สกุลเงินกีบ การชำระกับต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามสัญญา โดยให้ประเมินมูลค่าเป็นเงินกีบ

3. ธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นผู้คุ้มครอง และตรวจตราการจราจรเงินตราในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะตามระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการธนาคาร

มาตรา 53 การนำใช้ระบอบบัญชี

ระบอบบัญชีของผู้พัฒนาและผู้ลงทุนภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบัญชีของ สปป. ลาว และสามารถนำใช้ระบอบบัญชีสากลอื่น แต่ต้องได้ รับการมนุมัติจาก กคขพส. และต้องให้องค์การตรวจสอบแห่งรัฐสามารถตรวจสอบได้

มาตรา 54 การจราจร และการใช้เงินตราต่างประเทศ

รายรับจากการขายสินค้า การบริการ และรายได้อื่นๆ ของผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้โอนเข้าบัญชีที่เปิดไว้ในธนาคารอยู่ สปป. ลาว

การนำเงินตราต่างประเทศเข้า หรือออกเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามตามระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการจราจรเงินตราต่างประเทศของ สปป.ลาว

มาตรา 55 งบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นหน่วยงบประมาณการเงินที่เป็นเอกราช โดยการประชุมคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้ตกลง

รายรับ — รายจ่ายงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีดังนี้

1. รายรับหลักของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้มาจากการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการ ดังนี้

  • การให้เช่าที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่ได้พัฒนาแล้ว
  • การขาย หรือการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
  • ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และแสตมป์อากรประเภทต่างๆ ตามระเบียบการ
  • รายรับภาษี — อากร ที่เกิดขึ้นใน เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (ยกเว้นภาษีอากรนำเข้าสปป. ลาว)
  • เงินปรับไหมจากการละเมิดสัญญาการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • รายรับจากการดำเนินธุรกิจ การบริการ โรงแรม ห้าง สรรพสินค้า และกิจการอื่นๆ
  • การซื้อขายหุ้นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งภายในและต่างประเทศ รายรับอื่นๆ

2. รายจ่ายหลักของ ขพส มีดังนี้

  • รายจ่ายในการลงทุนพัฒนาพื้นฐานโครงร่าง
  • รายจ่ายในการคุ้มครองบริหารของ ขพส
  • เงินเดือน, บำเหน็จ, บำนาญ, (พนักงานรัฐ และพนักงานของ ขพส)
  • สวัสดิการสังคม (พนักงานรัฐ, พนักงานของ ขพส และพนักงานตามสัญญา)
  • รายจ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ที่จำเป็นภายใน ขพส. อาทิ ไฟฟ้า น้ำประปา สถานีรถประจำทาง การทำความสะอาดตัวเมือง สวนสาธารณะ การปลูกต้นไม้ ริมทาง และอื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายในกรณีเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
  • คลังสะสมของ ขพส.

แต่ละรายจ่าย การประชุมคณะบริหาร และ/หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจ ขพส. เป็นผู้ตกลง

สำหรับเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ ของพนักงานรัฐที่ประจำอยู่ ขพส. นั้น ไม่ให้น้อยกว่าอัตราเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญของพนักงานสังกัดรัฐ และขึ้นกับระดับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของ ขพส.

3. การปันผล และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ รายรับ — รายจ่าย (งบประมาณ) ระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา ให้ ปฏิบัติตามระเบียบการถือหุ้น ในแต่ละ 5 ปี 10 ปี 20 ปี 50 ปี... ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน

กรณีผู้พัฒนาเป็นรัฐหรือเอกชนลงทุนร้อยละร้อย ก็ให้ปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. งบประมาณใช้จ่ายในการคุ้มครองบริหารในระยะต้นของคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ได้มาจากผู้พัฒนา ซึ่งได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน ระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา

มาตรา 56 การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา

การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนามีดังนี้

1. ผลประโยชน์ของรัฐบาล

  • เงินปันผล ตามการประกอบหุ้น ในแต่ละระยะ (ทางตรง) หรือทางอ้อม ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน
  • การแบ่งปันงบประมาณตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 3 มาตรา 55 ข้างต้นนี้
  • ค่าทรัพยากรธรรมชาติ ลิขสิทธิ์ของรัฐบาลที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะนำใช้
  • ผลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เขตเชื่อมต่อ ยอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (GDP) ของท้องถิ่น (ทางอ้อม)
  • การสนองงานทำให้แก่ประชาชน

2. ผลประโยชน์ขององค์การปกครองแขวง นคร

  • ค่าใช้จ่ายทรัพยากรธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (ไม่ให้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติ) อย่างน้อยร้อยละ 30 ของรายรับทั้งหมดที่รัฐบาลได้มาจากเงินปันผล และเงินจัดสรรงบประมาณ ขพส.

3. ผลประโยชน์ขององค์การปกครองเมือง, เทศบาล

  • อย่างน้อยร้อยละ 30 ของค่านำใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่องค์การปกครองแขวง นคร ได้รับ
  • อย่างน้อยร้อยละ 30 ของรายรับทั้งหมดที่รัฐบาลได้มาจากเงินปันผล และเงินจัดสรรงบประมาณ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่องค์การปกครองแขวง นคร ได้รับ

4. ผลประโยชน์ของผู้พัฒนา

  • รายรับจากการปันผลของการประกอบหุ้นในแต่ละระยะตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา
  • รายรับจากการถือหุ้นในกิจการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • รายรับในการดำเนินธุรกิจ การบริการ การลงทุน และรายรับอื่นๆ ตามการตกลงของรัฐบาล

สำหรับสิทธิผลประโยชน์ และปัญหาอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กำหนด หรือกำหนดไม่ชัดเจนนั้น ให้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐบาลกับผู้พัฒนา

หมวดที่ 8 การแก้ไขข้อขัดแย้ง

มาตรา 57 การแก้ไขข้อขัดแย้ง

การแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ดำเนินด้วยการแก้ไขภายใน หรือการแก้ไขภายนอก

มาตรา 58 การแก้ไขภายใน

การแก้ไขภายในดำเนินผ่านการประนีประนอม ระหว่างคู่กรณีด้วยกัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ให้คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะทำการไกล่เกลี่ย ถ้ายังไม่สำเร็จ จึงดำเนินการแก้ไขภายนอก

มาตรา 59 การแก้ไขภายนอก

การแก้ไขภายนอก ดำเนินโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาและแก้ไขข้อขัดแย้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขได้ คู่กรณีมีสิทธิเสนอต่อสำนักงานแก้ไขข้อขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ หรือศาลประชาชน เพื่อให้ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรม

หมวดที่ 9 การคุ้มครอง บริหารภายใน และการตรวจตราของ ขพส.

มาตรา 60 การรักษาความสงบใน ขพส.

การรักษาความสงบใน ขพส. ให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีกองบัญชาการ ปกส. แล้วแต่กรณี ซึ่งรับผิดชอบรักษาความสงบภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. สิทธิและหน้าที่ของกองบัญชาการ ปกส. ของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มอบให้ประ ธานคณะกรรมการ ปกช — ปกส ขั้นแขวงเป็นผู้ตกลง

3. พลเมือง นักลงทุนภายในและต่างประเทศที่เคลื่อนไหวและดำรงชีวิตในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีพันธะรักษาความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และปฏิบัติระเบียบกฎหมายของ สปป. ลาว

หัวหน้ากองบัญชาการ ปกส. ถูกแต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการ ปกช — ปกส ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ประธาน ปกส. ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ถูกแต่งตั้งโดยประธาน ปกช — ปกส แขวง นคร และอยู่ภายใต้การชี้นำโดยตรงของคณะ กรรมการ ปกช — ปกส แขวง นคร ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตั้งอยู่

4. ในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาจมีระบบการป้องกันความสงบ โดยก่อตั้งเป็นวิสาหกิจบริการความปลอดภัย หรือใช้กำลังที่สังกัดในวิสาหกิจบริการความปลอดภัยอยู่ สปป. ลาว

สำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะนั้น การรักษาความสงบของเขตขึ้นอยู่กับแขวง นคร และเมืองที่เขตตั้งอยู่ และสามารถใช้กำลังที่สังกัดในวิสาหกิจบริการความปลอดภัยอยู่ สปป. ลาว แต่ไม่สามารถจัดตั้งกองกำลังรักษาความสงบเป็นของตนเองได้

มาตรา 61 ภาษาที่ใช้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

บุคคลหรือนิติบุคคลที่กำลังใช้ชีวิต หรือดำเนินธุรกิจอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ถือเอาภาษาลาวเป็นภาษาทางราชการ สำหรับภาษา ต่างประเทศนั้น ให้ถือเอาภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นตามการตกลงของรัฐบาล

ในการเขียนป้ายโฆษณา ป้ายชื่อบริษัท ป้ายอื่นๆ ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้เขียนภาษาลาวไว้ข้างบน และภาษาต่างประเทศไว้ข้างล่าง

มาตรา 62 การคุ้มครองยานพาหนะ

คขพส. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโควตายานพาหนะทุกชนิด ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศ

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนที่ใช้ยานพาหนะ เครื่องจักรกลเข้าในการดำเนินธุรกิจ การผลิต การบริการ ตามนโยบายส่งเสริมของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นั้น ต้องขึ้นทะเบียนต่อคณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ถ้ามีการมอบโอน หรือขายยานพาหนะ เครื่องจักรกลให้แก่ผู้ลงทุนอื่นภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องขอการรับรอง จากคณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ผู้ที่ออกทะเบียน พาหนะ เครื่องจักกลนั้น แล้วแต่ละกรณี

สำหรับการมอบโอน หรือขายยานพาหนะ เครื่อง จักรกลออกนอกเขต ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายของ สปป. ลาว บนพื้นฐานการได้รับอนุญาตจากคณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ผู้ที่ออกทะเบียนพาหนะ เครื่องจักรกลนั้น

ยานพาหนะที่ขึ้นทะเบียนอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ติดเครื่องหมาย (Sticker) และสมุดติดตามเฉพาะ เพื่อสะดวกในการคุ้มครองของเจ้า หน้าที่ในเวลาที่ใช้พาหนะดังกล่าวออกเคลื่อนไหวนอก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ระเบียบการคุ้มครองละเอียดให้เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กำหนดเฉพาะต่างหาก โดยผ่านการรับรองจากกองเลขาคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 63 การคุ้มครองพลเมือง

คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องประสานสมทบซึ่งกันและกันในการคุ้มครองพลเมืองภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อออกบัตรต่างๆ ให้คนที่มีสัญชาติลาว ผู้พัฒนา ผู้ลงทุน คนต่างด้าว คนไม่มีสัญชาติ นักท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญภายในและต่างประเทศ กรรมกร พนักงานของรัฐและเอกชน ทั้งภายใน และต่างประเทศตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว

มาตรา 64 การคุ้มครองบุคลากรและแรงงาน

การคุ้มครองบุคลากรของคณะบริหาร และ/หรือ สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้อ้างถึงนิติกรรมที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีพันธะในการคุ้มครอง ปกป้อง และส่งเสริมผู้ออกแรงงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว อาทิ เช่น สวัสดิการ การประกันภัยแรงงาน การป้องกันอุบัติเหตุแรงงาน การสร้าง และพัฒนาฝีมือแรงงาน

มาตรา 65 การปกปักษ์รักษาวัฒนธรรมของชาติ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องวางแผนการ จัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนในการคุ้มครอง ปกปักษ์รักษาวัฒนธรรมของชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุน ต้องจัดตั้งปฏิบัติกิจการของตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล กฎหมาย และระเบียบการเกี่ยวกับการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมชาติ เพื่อ :

1. กำจัดสิ่งปนเปื้อน หลีกเลี่ยงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว

2. ป้องกันสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

3. ปกป้องมลพิษและการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม

4. รักษาสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงาน กรรมกร และชุมชนท้องถิ่นใกล้เคียง

ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนต้องดำเนินกิจการอย่างสมเหตุ สมผล และมิกระทำการใดๆ ที่อาจเป็นการสกัดกั้น หรือจำกัดการเจริญเติบโตของทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต โดยสอดคล้องกับระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

มาตรา 66 การคุ้มครองป่าไม้ใน ขพส.

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องใส่ใจในการปกปักษ์รักษา คุ้มครอง และอนุรักษ์ป่าไม้ธรรมชาติ และปลูกไม้ให้เป็นป่า เพื่อสร้างเป็นพื้นที่สีเขียว ในกรณีที่รัฐบาลได้มอบหมายเขตป่าสงวนและป่าปกป้อง ที่อยู่ในเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องออกระเบียบการคุ้มครองและจัดสรรงบประมาณเพื่อปกปักษ์รักษาเขตป่าดังกล่าว ให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมาย

มาตรา 67 การคุ้มครองการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการ

การคุ้มครองการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการบริการใน ขพส. คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครอง โดยให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 68 การคุ้มครองวัฒนธรรม — สังคม

การคุ้มครองวัฒนธรรม — สังคม ระบบการศึกษา และสาธารณสุขใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะออกระเบียบการคุ้มครอง พัฒนา ให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยยกระดับคุณภาพและให้ได้มาตรฐานสากล

มาตรา 69 การคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภค

การคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภคในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 70 การวางนโยบายเศรษฐกิจมหภาคใน ขพส.

การวางนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคในการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องสอด คล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ — สังคมแห่งชาติในแต่ละระยะ โดยให้เอาใจใส่ดึงดูดการลงทุนใส่แขนงการที่จะช่วยเปลี่ยนการผลิตกสิกรรมให้กลายเป็นอุตสาหกรรม และทันสมัยทีละก้าว พร้อมกันนั้น ก็ส่งเสริมแขนงการที่ประเทศมีจุดแข็ง

มาตรา 71 การคุ้มครองข้อมูลสถิติ

การคุ้มครองข้อมูลสถิติในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับสถิติเพื่อสามารถเชื่อมต่อกับ กคขพส.

มาตรา 72 การคุ้มครองการค้นคว้าวิจัย

การคุ้มครองการค้นคว้าวิจัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 73 การคุ้มครองการพัวพันธ์ร่วมมือภายในและสากล

การคุ้มครองการพัวพันธ์ร่วมมือภายในและสากลในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอด คล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 74 การคุ้มครองการผลิต

สินค้าทุกประเภทที่ผลิต ประกอบอยู่ภายใน เขตเศรษฐ กิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องได้ขึ้นทะเบียนต้นกำเนิดสินค้า (Made in Laos) จึงสามารถนำออกจำหน่ายและส่งออกได้

มาตรา 75 การคุ้มครองอาหารและยา

อาหารและยาที่ผลิต นำเข้า และจำหน่ายภายใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต้องผ่านการตรวจตราของเจ้าหน้าที่อาหารและยา ภายในเขตเศรษฐกิจ พิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและยา เพื่อรับประกันสุขภาพของผู้บริโภคตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ

มาตรา 76 การตรวจตราสินค้า

สินค้า วัสดุอุปกรณ์ และยานพาหนะ ที่นำเข้าและส่งออก ต้องได้รับการตรวจตราและรับรองจากหน่วย งานบริการการลงทุนประตูเดียวของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยให้แต่ละด่านอำนวยความสะดวกในการบริการ

มาตรา 77 การคุ้มครองสถาบันการเงิน

การคุ้มครองสถาบันการเงิน คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบัตรสินเชื่อจากต่างประเทศที่ใช้ชำระอยู่ สปป. ลาว ต้องปฏิบัติ โดยผ่านศูนย์บริการการชำระใน สปป. ลาว เท่านั้น ถ้าหากสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ไม่สามารถตั้งศูนย์บริการการชำระได้นั้น ให้นำใช้ร่วมกับเครือข่ายของศูนย์บริการการชำระของธนาคารธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ สปป. ลาว

มาตรา 78 การคุ้มครองการขนส่งสินค้าผ่านแดน และสินค้าส่งออก

บุคคล และนิติบุคคลที่ขนส่งสินค้าผ่านแดน และส่งสินค้าออก สปป. ลาว ต้องนำใช้การบริการด้านระบบฉางและส่งออกตามด่านสากลของ สปป. ลาว รายละเอียดสำหรับการจัดตั้งปฏิบัติให้คณะบริหาร หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตาม แต่ละกรณีกำหนดระเบียบการเฉพาะโดยผ่านการรับรองจากกองเลขา คขพส.

มาตรา 79 การพัฒนา

การพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ ขพส. ออกระเบียบการคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้บรรลุเป้าหมายสหัสวรรษของสังคม รับประกันสิ่งแวดล้อม ความสงบปลอดภัย และการพัฒนาแบบยั่งยืน

มาตรา 80 การบริหารภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การบริหารภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ผู้บริหารต้องดำเนินตามหลักการเริ่มต้น ดังนี้

1. นิติกรรมเฉพาะของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. สัญญาสัมปทานระหว่างรัฐบาลและผู้พัฒนา

3. โปร่งใส

4. สามารถตรวจสอบได้

5. ประสิทธิผล

6. ปลอดสารเคมี

7. รักษาสิ่งแวดล้อม

8. พัฒนาแบบยั่งยืน

มาตรา 81 การตรวจตรา ขพส.

การตรวจตราเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามภาคที่ 9 หมวดที่ 3 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และสามารถใช้วิธีการตรวจ สอบอื่นที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน

หมวดที่ 10 องค์การคุ้มครอง ขพส.

มาตรา 82 องค์การคุ้มครอง ขพส.

องค์การคุ้มครอง ขพส. อยู่ สปป. ลาว ประกอบด้วย

1. รัฐบาล คณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เขียนย่อเป็นภาษาลาว คขพส เขียนเป็นภาษาอังกฤษ National Committee for Special Economic Zone และเขียนย่อเป็นภาษาอังกฤษ NCSEZ

2. กองเลขาคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เขียนย่อเป็นภาษาลาว กคขพส เขียนเป็นภาษาอังกฤษ Secretariat to National Committee for special Economic Zone และเขียนย่อเป็นภาษาอังกฤษ S-NCSEZ เป็นสำนักงาน คขพส.

3. บรรดากระทรวงและองค์การที่เกี่ยวข้อง

4. องค์การปกครองท้องถิ่น

5. คณะบริหารและสภาเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ของแต่ละเขต

6. คณะกรรมการที่ปรึกษา

มาตรา 83 สิทธิ และหน้าที่ของรัฐบาล

งานการคุ้มครอง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ รัฐบาล มีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

1. วางนโยบาย และออกนิติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. อำนวยควบคุมความมั่นคง ความปลอดภัย และขึ้นโดยตรงต่อการดำเนินงาน ป้องกันชาติ — ป้องกันความสงบ

3. พิจารณาอนุมัติด้านงบประมาณ ให้แก่การเคลื่อนไหวการทำงานของ คขพส. รวมทั้งการทำงานการพัฒนาและคุ้มครอง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วทั้งประเทศ

4. แนะนำและขวนขวายนักพัฒนา และนักลงทุนรายใหญ่ เพื่อพัฒนาและลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 84 คขพส.

คขพส. ประกอบด้วย:

1. รองนายกรัฐมนตรี ผู้ประจำการรัฐบาล เป็นประธาน

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุน เป็นรองประธาน ทั้งเป็นผู้ประจำการ

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เป็นรองประธาน

4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เป็นรองประธาน

5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน เป็นกรรมการ

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ

7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เป็นกรรมการ

8. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ เป็นกรรมการ

9. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ เป็นกรรมการ

10. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการ

11. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรม และป่าไม้ เป็นกรรมการ

12. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นกรรมการ

13. รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นกรรมการ

14. รองหัวหน้าองค์การคุ้มครองที่ดินแห่งชาติ เป็น กรรมการ

15. รองประธานองค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นกรรมการ

16. รองหัวหน้าทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร เป็นกรรมการ

17. รองหัวหน้าองค์การทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการ

18. กรรมการคณะเลขาธิการรัฐบาลเป็นกรรมการ

19. หัวหน้ากองเลขา คขพส. เป็นกรรมการ

สำหรับการจัดตั้งและการเคลื่อนไหวของ คขพส. และ กคขพส. เป็นองค์การประจำการของ คขพส. ซึ่งมีงบประมาณขั้นสองนั้น ได้กำหนดไว้ในระเบียบการต่างหาก

มาตรา 85 สิทธิและหน้าที่ของกระทรวง และองค์การที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับการดำเนินงาน ขพส. กระทรวง และองค์การที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิ์และหน้าที่หลัก ดังนี้

1. สนองนโยบายส่งเสริม อำนวยความสะดวก และคุ้มครองการดำเนินกิจการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่ติดพันกับแขนงการตน

2. แนะนำ ติดตามการจัดตั้งปฏิบัติระเบียบกฎหมายใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่แขนงการของตนได้กำหนดออก

3. ฝึกอบรม ยกระดับด้านวิชาเฉพาะให้พนักงาน เขตเศรษฐ กิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อบรรลุมาตรฐานตำแหน่งงานของตน ตามการเสนอของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 86 สิทธิและหน้าที่ขององค์การปกครองท้องถิ่น

องค์การปกครองท้องถิ่น มีสิทธิ์และหน้าที่หลักดังนี้

1. แนะนำงาน ปกส. ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ รวมทั้งรับประกันความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่ท้องถิ่นของตน

2. รับผิดชอบในการคุ้มครองติดตามการเคลื่อนไหวของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. ติดตามการปฏิบัติสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชน ของรัฐ ของผู้พัฒนา และผู้ลงทุน

4. อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้แก่การพัฒนาและการลงทุน

มาตรา 87 สิทธิ และหน้าที่ของบรรดาเมืองที่ ขพส. ตั้งอยู่

บรรดาเมืองที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตั้งอยู่ มีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

1. ประสานสมทบกับคณะบริหารและสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในการสร้างแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และเขตรอบข้าง

2. อำนวยความสะดวกในการจัดสรรที่ดิน การโยกย้าย และการดำรงชีวิตของประชาชนอยู่บริเวณรอบข้าง ขพส. ตามแผนที่ที่ได้รับรองเอา

3. จัดสรรและฝึกอบรมวิชาชีพ ประกอบงานทำให้ประชาชนตามความต้องการภายใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ องค์การปกครองเมือง คณะบริหาร และสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เคารพนับถือซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันรับผิดชอบผลได้ผลเสียต่อองค์การปกครองแขวง นคร และรัฐบาล ในการจัดตั้งปฏิบัติสัญญาสัมปทานและดำรัสฉบับนี้

มาตรา 88 สิทธิและหน้าที่ของหมู่บ้านรอบข้าง ขพส.

หมู่บ้านรอบข้างเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะมีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

1. ป้องกันความสงบ ความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน

2. สนับสนุนการพัฒนา การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามระเบียบกฎหมาย

3. นำใช้ และปกปักษ์รักษาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามระเบียบการของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. ศึกษาอบรมการจัดตั้งและประชาชนในความรับผิดชอบของตน เพื่อประกอบอาชีพ ขยายธุรกิจ ขนาดย่อมและขนาดกลางหมุนรอบกิจกรรมต่างๆ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

มาตรา 89 คณะบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของแต่ละเขต

คณะบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ของแต่ละเขตประกอบด้วย

1. หัวหน้าคณะบริหารเขต

2. รองหัวหน้าคณะบริหารเขตหนึ่งถึงสามท่าน

3. กรรมการจำนวนหนึ่ง ตามความเหมาะสม

มาตรา 90 การแต่งตั้งคณะบริหาร ขพส.

หัวหน้า รองหัวหน้าและกรรมการของคณะบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ถูกแต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งโดยประธาน คขพส. ตามการเสนอของกองเลขา คขพส. บนพื้นฐานการประสานสมทบกับแขนงการ และองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 91 สิทธิและหน้าที่ของคณะบริหาร ขพส.

คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

1. ค้นคว้ายุทธศาสตร์การบริหาร การป้องกันความสงบภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ โดยสอดคล้องกับนโยบายป้องกันชาติ — ป้องกันความสงบ และระเบียบกฎหมาย

2. ค้นคว้า ออกระเบียบการเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเมือง การเข้า — ออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. ค้นคว้าและวางนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การส่งเสริมการศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม และการแก้ไขปัญหาสังคมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. รับประกันความสามัคคี ความสงบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความยุติธรรมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของ สปป. ลาว

5. ดำเนินการบริการ กิจการเคลื่อนไหวใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ทำให้เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รอบด้าน ถูกตามทิศทางที่วางไว้

6. ร่วมกับสภาบริหารเศรษฐกิจ และคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

7. ร่วมกับสภาบริหารเศรษฐกิจวางมาตรฐานการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม รับประกันการพัฒนาแบบยั่งยืน

8. ให้คำแนะนำสภาบริหารเศรษฐกิจ ในการปฏิบัติสิทธิและหน้าที่ของตน

9. ประสานสมทบกับองค์การปกครองขั้นเมือง ขอความเห็นชี้นำจากองค์การปกครองขั้นแขวง และแขนงการสายตั้งของส่วนกลางอย่างเป็นปกติ เพื่อรับประกันการเคลื่อนไหวมีความสะดวกคล่องตัว

10. พัวพันธ์และร่วมมือสากลตามสิทธิและหน้าที่ของตน

11. สรุปรายงานผลการเคลื่อนไหวให้ คขพส. องค์การปกครองขั้นแขวง และแขนงการสายตั้งของส่วนกลางอย่างเป็นปกติ

12. ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นตามระเบียบกฎหมายกำหนด

มาตรา 92 สภาบริหารเศรษฐกิจ ขพส. ของแต่ละเขต

สภาบริหารเศรษฐกิจ ขพส. ของแต่ละเขต ประกอบด้วย

1. ประธานสภาบริหารเศรษฐกิจ

2. รองประธานสภาบริหารเศรษฐกิจหนึ่งถึงสามท่าน

3. กรรมการจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม

มาตรา 93 การแต่งตั้งสภาบริหารเศรษฐกิจ

ประธาน รองประธาน กรรมการของสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ถูกแต่งตั้งหรือปลดตำแหน่ง โดยประธาน คขพส. ตามการเสนอของกองเลขา คขพส. บนพื้นฐานการประสานสมทบ กับแขนงการและองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการแต่งตั้ง หรือปลดตำแหน่งรองประธาน สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่เป็นคนต่างประเทศ ต้องมีการตรวจสอบชีวประวัติ โดยการเห็นชอบและเสนอจากประธานสภาบริหารเศรษฐกิจ

มาตรา 94 สิทธิและหน้าที่ของสภาบริหารเศรษฐกิจ

สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีสิทธิและหน้าที่หลัก ดังนี้

1. ค้นคว้า และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ แผนงาน และโครงการการลงทุนในแต่ละระยะ 6 เดือน 1 ปี, 5 ปี, 20 ปี และระยะอื่น จนสำเร็จอายุของโครงการ

2. ค้นคว้าระเบียบการในการคุ้มครอง และบริหารเศรษฐกิจ

3. ค้นคว้าและจัดตั้งปฏิบัตินโยบายส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อาทิ เช่น อนุมัติการนำเข้าและส่งออกอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะทั้งหมด

4. ขุดค้นรายรับ สร้างและปฏิบัติงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

5. จัดตั้งการเก็บรายรับต่างๆ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

6. สนองข้อมูลข่าวสาร พิจารณาการลงทุน และประเมินผลการลงทุน

7. ผลักดัน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยธุรกิจภายในเขตของตน

8. แก้ไขข้อขัดแย้ง ร่วมกับคณะบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และคณะกรรมการที่ปรึกษา และแก้ไขข้อขัดแย้ง

9. มอบพันธะให้รัฐ ตามสัญญาสัมปทานและดำรัสฉบับนี้

10. สร้าง นำใช้ และคุ้มครองพนักงาน กรรมกร ภายใต้ความรับผิดชอบของตน

11. พัฒนาวัฒนธรรม — สังคม การศึกษา และสาธารณสุข

12. ปกปักษ์รักษาความสามัคคีภายในและภายนอก รับประกันความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

13. ปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรับประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืน

14. คุ้มครองจัดสรร และนำใช้ที่ดิน การปลูกสร้างประเภทต่างๆ ตามระเบียบการ

15. พัวพันธ์กับบริษัท หน่วยธุรกิจภายใน และต่างประเทศตามระเบียบกฎหมาย

16. สรุป รายงานผลของการเคลื่อนไหวประจำไตรมาส 6 เดือน และประจำปีให้รัฐบาล

มาตรา 95 การคุ้มครองบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ

การคุ้มครองบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีลักษณะ ดังนี้

1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคด้วยการลงทุนของรัฐ ร้อยละร้อย (100%) การคุ้มครองเขตดังกล่าว มีแต่คณะบริหารเท่านั้น ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 91 และมาตรา 94 ของดำรัสฉบับนี้

2. รัฐร่วมกับเอกชนลงทุนพัฒนา การคุ้มครองบริหารประกอบ ด้วย 2 คณะ คือ คณะบริหารและสภาบริหารเศรษฐกิจ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 91 และมาตรา 94 ของดำรัสฉบับนี้

3. เอกชนลงทุนพัฒนา ร้อยละร้อย (100%) การคุ้มครองบริหารประกอบด้วย 2 คณะ คือ คณะบริหารและสภาบริหารเศรษฐกิจ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 91 และมาตรา 94 ของดำรัสฉบับนี้

มาตรา 96 การคุ้มครองบริหารเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

การคุ้มครองบริหารเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้อ้างถึงสัญญาระหว่างรัฐบาลและผู้พัฒนา ซึ่งมีสภาบริหารเศรษฐกิจที่ประกอบด้วย บุคลากรจากรัฐบาล และผู้พัฒนา โดยผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานสภาบริหารเศรษฐกิจ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 91 (ยกเว้นข้อ 1) และมาตรา 94 ของดำรัสฉบับนี้

มาตรา 97 คณะกรรมการที่ปรึกษา

คณะกรรมการที่ปรึกษาประกอบด้วยผู้มีประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย การปกครอง งานป้องกันชาติ - ป้องกันความสงบ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม — สังคม การก่อสร้าง สิ่งแวดล้อม ที่ดิน และด้านอื่นๆ ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธาน คขพส. ตามการเสนอของกองเลขา คขพส.

คณะกรรมการที่ปรึกษา อาจจะมาจากภายใน และต่างประเทศ ซึ่งมีผู้ประจำการและไม่ประจำการ

มาตรา 98 สิทธิ์และหน้าที่ของคณะกรรมการที่ปรึกษา

คณะกรรมการที่ปรึกษามิสิทธิ์และหน้าที่เริ่มต้น ดังนี้

1. ประสานสมทบกับ กคขพส เพื่อปรึกษาหารือ ถอดถอนบทเรียนจากภายในและต่างประเทศ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อขัดแย้ง และปัญหาต่างๆของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. ประสานสมทบกับ กคขพส เพื่อโฆษณาดึงดูดการลงทุนเข้าในการพัฒนา และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

3. ประสานสมทบกับ กคขพส ในการค้นหาแหล่งทุน ช่วยเหลือปล่าว (ODA) และการลงทุนโดยตรงของต่างประ เทศ (FDI) เข้าในการพัฒนาและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. ประสานสมทบกับ กคขพส ทางด้านเทคนิควิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาและการลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาทิ การฝึกอบรมบุคคลากรทั้งภายในและต่างประเทศ การสร้างหนังสือคู่มือและเวบไซต์ อุปกรณ์รับใช้เข้าในการคุ้มครองบริหาร

หมวดที่ 11 นโยบายต่อผู้มีผลงานและมาตรการต่อผู้ละเมิด

มาตรา 99 นโยบายต่อผู้มีผลงาน

บุคคลและนิติบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นในการปฏิบัติดำรัสฉบับนี้ อาทิ การชังจูงการลงทุน การผลักดัน การให้คำปรึก ษา การประกอบส่วนอย่างตั้งใจเข้าในการเคลื่อนไหวการดำ เนินการพัฒนา และการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้มีการขยายตัว จะได้รับการยกย่อง และได้รับนโยบายอื่นตามระเบียบกฎหมาย

มาตรา 100 มาตรการต่อผู้ละเมิด

นอกจากมาตรการที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 97 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนแล้ว บุคคลหรือนิติบุคคลที่ละเมิดดำรัสฉบับนี้ ยังจะถูกปฏิบัติมาตรการต่างๆแล้วแต่กรณีเบาหรือหนัก

การละเมิดเกี่ยวกับการไม่เสียพันธะด้านภาษี — อากร การละเมิดสัญญาสัมปทาน การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการละเมิดอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หมวดที่ 12 บทบัญญัติสุดท้าย

มาตรา 101 ตราประทับ

คณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ มีตราประทับด้วยรูปแบบเฉพาะของตน เพื่อนำใช้เข้าในการเคลื่อนไหวการดำเนินงานตามภาระบทบาทของตน

มาตรา 102 การจัดตั้งปฏิบัติ

สำนักงานนายกรัฐมนตรี คขพส. กองเลขา คขพส. กระทรวง องค์การเทียบเท่า องค์การปกครองท้องถิ่น คณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คณะกรรมการที่ปรึกษา องค์การปกครองท้องถิ่น เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ผู้พัฒนา ผู้ลงทุน และประชาชนในเขตรอบข้างเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เป็นผู้จัดตั้งปฏิบัติดำรัสฉบับนี้อย่างเข้มงวด

มาตรา 103 ผลศักดิ์สิทธิ์

ดำรัสฉบับนี้มีผลศักดิ์สิทธิ์นับแต่วันลงลายเซ็นเป็นต้นไป ผู้พัฒนาและผู้ลงทุนที่ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้ดำรัสว่าด้วยการก่อตั้ง การเคลื่อนไหว และการคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลได้รับรองไปแล้วนั้น ก็มีสิทธินำใช้ดำรัสฉบับนี้ เพื่อเป็นที่อิงในการจัดตั้งปฏิบัติ โดยเสนออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกองเลขา คขพส. ภายในกำหนดเวลาหกเดือน นับแต่วันดำรัสฉบับนี้มีผลศักดิ์สิทธิ์เป็นต้นไป

สำนักนายกรัฐมนตรี

เลขที่ 517/นย

นครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 9 ธันวาคม 2553

ดำรัส

ว่าด้วยการจัดตั้ง และ การดำเนินงานของคณะกรรมการแห่งชาติ

เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

  • อ้างถึงกฎหมายว่าด้วยรัฐบาล ฉบับเลขที่ 02/สพช ลงวันที่ 6 พฤษภา 2543
  • อ้างถึงกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ฉบับเลขที่ 02/สพช ลงวันที่ 8 กรกฏาคม 2552
  • อ้างถึงดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ณ สปป. ลาว ฉบับเลขที่ 443/นย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553
  • อ้างถึงหนังสือเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฉบับเลขที่ 342/กย ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2553
  • อ้างถึงหนังสือเสนอของรัฐมนตรีมติประจำสำนักนายกรัฐ มนตรี หัวหน้าทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร ฉบับเลขที่ 150/ทปค ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

หมวดที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป

มาตรา 1 จุดประสงค์

ดำรัสฉบับนี้กำหนดภาระบทบาท หน้าที่ สิทธิ โครงสร้างการจัดตั้งของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ต่อไปนี้เรียกย่อว่า “คขพส” เร่งใส่ผลักดัน ส่งเสริม และคุ้มครองการลงทุน เข้าใส่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ เพื่อประกอบส่วนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติให้มั่งมี-แข้มแข็ง และสามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาค และสากลเป็นอย่างดี

มาตรา 2 ที่ตั้ง และภาระบทบาท

คขพส. เป็นการจัดตั้งเฉพาะกิจหนึ่งของรัฐบาล มีภาระบทบาทเป็นเสนาธิการและช่วยงานให้แก่รัฐบาลในการชี้นำและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อจัดตั้งปฎิบัตินโยบายของรัฐเกี่ยวกับการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

หมวดที่ 2 หน้าที่ และขอบเขตสิทธิ

มาตรา 3 หน้าที่

คขพส. มีหน้าที่หลัก ดังนี้ :

1. ชี้นำ และคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (เขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ตัวเมืองท่องเที่ยว เขตการค้าปลอดภาษี เขตการค้าชายแดน เขตตัวเมืองใหม่ และเขตอื่นๆ) ในขอบเขตทั่วประเทศ

2. พิจารณา อนุมัตินโยบาย และนิติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและคุ้มครองการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศ

3. สร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ

4. โฆษณา เผยแพร่ และดึงดูดการลงทุนเข้าในการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

5. ค้นคว้า เชาะหาแหล่งทุน และคุ้มครองแหล่งทุน จากทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

6. ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ผลักดัน ติดตาม ตรวจตรา อำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความยุติธรรม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสงบ ปลอดภัย ความมั่นคง รักษาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแบบยั่งยืน และอื่นๆ

มาตรา 4 ขอบเขตสิทธิ

คขพส. มีสิทธิ ดังนี้ :

1. ชี้นำและคุ้มครองการจัดตั้งปฏิบัติแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียบกฎหมาย และการพัวพันธ์กับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินงาน เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. พิจารณา อนุมัติการก่อตั้ง หรือยกเลิก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศในกรณีจำเป็น คขพส. รายงานขอความเห็นจากรัฐบาลก่อนพิจารณาอนุมัติ

3. ลงนามในสัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามวิธีทางมหภาคในการลงลึกชี้นำของตน หรือตามการตกลงของประธาน คขพส.

4. พิจารณาแต่งตั้งคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

5. พิจารณา อนุมัติ หรือเข้าร่วมการเซ็นสัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

6. เคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินการคุ้มครอง และพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะทั้งภายใน และต่างประเทศ

7. เรียนเชิญภาคส่วนต่างๆ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยว กับการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

8. คุ้มครองกองทุน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และที่ปรึกษา(มอบให้ประธาน คขพส. เป็นผู้กำหนดระเบียบการคุ้มครองกองทุนดังกล่าวต่างหาก) โครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า และคุ้มครองรายรับ-รายจ่ายตามสัญญาสัมปทานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

9. ค้นคว้า สร้าง และนำเสนอการพิจารณาอนุมัติ แผนงาน แผนบุคลากร และงบประมาณของรัฐบาลเมื่อมีความจำเป็นสำหรับการเคลื่อนไหวปฏิบัติงานของ คขพส.

10. ชี้นำ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จัดตั้งระบบคุ้มครองบริหารให้เหมาะสมอย่างเป็นระบบ เช่น การบริหารสั่งการ ระบบฐานข้อมูล การเก็บสถิติ และ อื่นๆ ให้รวดเร็ว การเคลื่อนไหวคล่องตัว เปิดเผย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ (ระบบออนไลน์กับ คขพส.)

หมวดที่ 3 โครงประกอบการจัดตั้ง

มาตรา 5 โครงประกอบบุคลากร

โครงประกอบบุคลากรของ คขพส. ประกอบมี

1. รองนายกรัฐมนตรี ผู้ประจำการรัฐบาล เป็นประธาน

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุน เป็นรองประธานผู้ประจำการ

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เป็นรองประธาน

4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เป็นรองประธาน

5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน เป็นกรรมการ

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ

7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เป็นกรรมการ

8. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ เป็นกรรมการ

9. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ เป็น กรรมการ

10. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการ

11. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ เป็นกรรมการ

12. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นกรรมการ

13. รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นกรรมการ

14. รองหัวหน้าองค์การคุ้มครองที่ดินแห่งชาติ เป็นกรรมการ

15. รองประธานองค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นกรรมการ

16. รองหัวหน้าทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร เป็นกรรมการ

17. รองหัวหน้าองค์การทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ

18. กรรมการคณะเลขาธิการรัฐบาล เป็นกรรมการ

19. หัวหน้ากองเลขา คขพส. (หัวหน้าองค์การประจำการ คขพส.) เป็นกรรมการ

มอบให้ประธาน คขพส. เป็นผู้แบ่งความรับผิด ชอบของบรรดารองประธาน คณะกรรมการ คขพส. ในการพัฒนา และคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ

มาตรา 6 กลไกในการดำเนินงาน

คขพส. เป็นองค์การจัดตั้งไม่ประจำการ แต่มีกองเลขาเป็นองค์การประจำการของ คขพส. กคขพส. สังกัดในโครงสร้างกลไกของสำนักนายกรัฐมนตรีด้านงบประมาณ สำหรับงาน พรรค - พนักงานให้ขึ้นโดยตรงกับทบวงการปกครอง และคุ้มครองรัฐกร มีภาระบทบาทเป็นเสนาธิการให้แก่ คขพส. ในการจัดตั้งปฏิบัติงาน การพัฒนา และคุ้มครอง เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วทั้งประเทศ

กคขพส. มีหัวหน้าหนึ่งท่าน และรองหัวหน้าจำนวนหนึ่ง มีหัวหน้า รองหัวหน้าแผนก และพนักงานวิชาการตามความเหมาะสมของการทำงานมอบให้ประธาน คขพส. เป็นผู้กำหนดอย่างละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งและการเคลื่อนไหวของ กคขพส.

มาตรา 7 การแบ่งขั้นการคุ้มครองระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น

การแบ่งขั้นคุ้มครองงานเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น ปฏิบัติตามที่กำหนดในมาตรา 85 ถึง มาตรา 88 ของดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ฉบับเลขที่ 443/นย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553

หมวดที่ 4 แบบแผนวิธีการทำงาน

มาตรา 8 แบบแผนวิธีการทำงานของ คขพส.

คขพส. เคลื่อนไหวงานตามแบบแผนวิธีการทำงาน ดังต่อ ไปนี้

  • ทุกการดำเนินงานของ คขพส. ยึดมั่นในแนวทางนโยบาย ของพรรค ระเบียบกฎหมายของรัฐ และนิติกรรมเฉพาะของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  • ปฏิบัติหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย นำพาเป็นหมู่คณะบุคคลรับผิดชอบสมทบกับการปฏิบัติระบอบหัวหน้าเดียว ตามระบบแบ่งขั้นคุ้มครองบนพื้นฐานมีการแบ่งงานกันอย่างละเอียดชัดเจนตามแขนงการของคณะ พร้อมทั้งมอบสิทธิความรับผิดชอบ และสิทธิในการตัดสินปัญหา ภายในขอบเขตของตน
  • การทำงานมีแผนการ แผนงาน และโครงการละเอียด แก้ไขงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย และมีเป้าหมายในแต่ละระยะ ประ สานสมทบอย่างรัดกุมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • การทำงานมีการตรวจตรา ติดตาม ผลักดัน สรุป ถอดถอนบทเรียน ประเมินผลได้ผลเสีย พร้อมทั้งปฏิบัติระบอบรายงานตำนิติชมอย่างเข้มงวด
  • ปฏิบัติระบอบประชุมประจำเดือน, 3 เดือน, 6 เดือน หรือ ประจำปี และรายงานรัฐบาลเป็นปกติ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน ก็สามารถเปิดการประชุมวิสามัญได้

หมวดที่ 5 บทบัญญัติสุดท้าย

มาตรา 9 งบประมาณและตราประทับ

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การจัดตั้งปฏิบัติงานการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ คขพส. เป็นหน่วย งานงบประมาณการเงินลำดับสองที่ขึ้นกับสำนักงานนายกรัฐมนตรี โดยมอบให้ กคขพส. เป็นผู้บริหาร และคุ้มครอง คขพส. มีตราประทับเป็นของตนเอง เพื่อรับใช้ให้แก่การดำเนินงานตามระเบียบการ

มาตรา 10 การจัดตั้งปฏิบัติ

สำนักงานนายกรัฐมนตรี คขพส. กคขพส. บรรดาแขนงการรอบข้างส่วนกลาง องค์การปกครองท้องถิ่นขั้นต่างๆ ขพส. ในขอบเขตทั่วประเทศ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องรับรู้ ให้ความสะดวก ประสานสมทบ และพร้อมกับจัดตั้งปฏิบัติดำรัสฉบับนี้ให้มีประสิทธิผล

มาตรา 11 ผลบังคับใช้

ดำรัสฉบับนี้มีผลบังคับใช้นับแต่วันลงลายเซ็นเป็นต้นไป และเปลี่ยนแทนข้อตกลงของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแต่งตั้งคณะชี้นำระดับชาติ เพื่อชี้นำโครงการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ สปป ลาว ฉบับเลขที่ 165/นย. ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2552

สำนักนายกรัฐมนตรีคณะกรรมการแห่งชาติ

เลขที่ 01/คขพส.

เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ

และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นครหลวงเวียงจันทน์วันที่ 13 ธันวาคม 53

ข้อตกลง

ว่าด้วยการจัดตั้ง และการดำเนินงานของกองเลขา

คณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

  • อ้างถึงดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ สปป. ลาว ฉบับเลขที่ 443/นย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553
  • อ้างถึงดำรัสว่าด้วยการจัดตั้งและการเคลื่อนไหวของคณะ กรรมการแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ฉบับเลขที่ 571/นย ลงวันที่ 9 ธันวาคม2553
  • อ้างถึงหนังสือเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฉบับเลขที่ 342/กย ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2553
  • อ้างถึงหนังสือเสนอของรัฐมนตรีประจำ สำนักงานนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทบวงการปกครอง และคุ้มครองรัฐกร ฉบับเลขที่ 151/ทปค ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

หมวดที่ 1 ที่ตั้ง และ ภาระบทบาท

มาตรา 1 ที่ตั้ง และ ภาระบทบาท

กองเลขาคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ซึ่งเขียนเป็นตัวอักษรย่อว่า “กคขพส” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า Secretariat to National Committee for Special Economic Zone และ เขียนย่อว่า “SNCSEZ”

กคขพส. เป็นองค์การประจำการของ คขพส. สังกัดในโครงประกอบการจัดตั้งของสำนักงานนายกรัฐมนตรีด้านงบประมาณ สำหรับงานพรรค-พนักงาน โดยขึ้นตรงกับทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร มีภาระบทบาทเป็นเสนาธิการให้แก่ คขพส. พัวพันธ์กับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และคุ้มครองบริหารงานประจำวันของ คขพส.

มาตราที่ 2 หน้าที่

กคขพส. มีหน้าที่เป็นเสนาธิการให้แก่ คขพส. เพื่อจัดตั้งปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ขพส. ดังนี้

1. เป็นเสนาธิการให้แก่ คขพส. ในการพัฒนา และคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ

2. ค้นคว้า สร้างแผนยุทธศาสตร์ และกำหนดขอบเขตที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในแต่ละระยะ ร่างนโยบายส่งเสริมการลงทุนเข้าในการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ สปป. ลาว เพื่อเสนอ คสพส. หรือรัฐบาลพิจารณา

3. ผลักดัน แนะนำ และติดตามการจัดตั้งปฏิบัติการบริการประตูเดียวอยู่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศ

4. ค้นคว้าร่างกฎหมาย ดำรัส ข้อตกลง คำสั่ง คำแนะนำ แจ้งการ ระเบียบการ ร่างสัญญาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สัญญา และอื่นๆ เกี่ยว กับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อนำเสนอ คขพส. และรัฐบาลพิจารณา

5. โฆษณา เผยแพร่ ปลุกระดมขวนขวาย และ แนะนำ การปฏิบัตินโยบาย กฎหมาย ระเบียบการต่างๆ ที่พัวพันธ์กับถึงงานการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะอยู่ สปป. ลาว

6. รวบรวมและวิจัยข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการจัดตั้ง พัฒนา และคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐ กิจเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับ แขนงการและท้องถิ่นตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมที่รัฐบาลกำหนดออกในแต่ละระยะ

7. ค้นคว้า และพิจารณาคำร้องขอพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ของทุกภาคส่วน เป็นศูนย์กลางในการประสานสมทบระหว่างผู้เสนอพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กับบรรดาแขนงการที่เกี่ยวข้อง

8. ตระเตรียม ค้นคว้า เจรจา สร้างข้อตกลง บทบันทึกช่วยจำ สัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และเอกสารทางด้านนิติกรรมต่างๆ โดยประสานสมทบกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ประสานงานกับประธาน บรรดารองประธาน กรรม การ คขพส. และบรรดาแขนงการส่วนกลาง และท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งปฏิบัติการทำงานพัฒนา และคุ้ม ครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในขอบเขตทั่วประเทศ

10. นำเสนอผลของการค้นคว้า-วิจัยโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะต่อการประชุม คขพส. เพื่อขออนุมัติคำร้องขอลงทุนพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

11. ค้นคว้า การเสนอขอนโยบายส่งเสริมพิเศษของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และคุ้มครอง ติดตาม ตรวจตราการจัดตั้งปฏิบัตินโยบายดังกล่าว

12. นำพาแนวคิด รวบรวมความสามัคคี ก่อสร้าง บำรุง ยกระดับด้านวิชาการให้พนักงาน รัฐกรที่ขึ้นกับความรับผิดชอบของตนให้มีความหนักแน่นทางด้านการเมืองแนวคิด เข้มแข็งทางด้านการจัดตั้ง ชำนาญการด้านวิชาเฉพาะ และประสบการณ์จริง

13. ติดตาม เก็บรายรับตามสัญญาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อเข้างบประมาณ และกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และที่ปรึกษา

14. ออกแจ้งการแนะนำ อธิบาย เผยแพร่เนื้อหาสัญญา หรือ เอกสารนิติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ให้แก่แขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

15. ประสานสมทบกับแขนงการ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการติดตาม ตรวจตรา ผลักดัน และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อหน่วยเหนือ เกี่ยวกับการพัฒนา และคุ้มครอง ขพส. ที่ได้รับอนุญาติ

16. คุ้มครอง นำใช้พนักงาน งบประมาณ กองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และที่ปรึกษา พาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ ที่รัฐ องค์การจัดตั้งสากล และเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ประกอบให้ตามระเบียบการ

17. วางแผนการทำงาน จัดเรียงสิทธิหน้าที่เข้าวาระการประชุมสามัญ วิสามัญ ของ คขพส. เพื่อปรึกษาหารือ และตกลง

18. ปรึกษาหารืองานสำคัญและเร่งด่วนร่วมกับคณะที่ปรึก ษาทั้งภายในและต่างประเทศ

19. กำหนดแผนบุคลากร แผนงาน โครงการ กิจกรรม และ แผนงบประมาณเพื่อใช้ในการทำงานตามสิทธิ และหน้าที่ของตน

20. พัวพันธ์ ประสานงาน ผลักดัน และแนะนำคณะบริหาร และ/หรือสภาบริหารเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะให้จัดตั้งปฏิบัติ ภาระ บทบาท และหน้าที่ขอบเขตสิทธิของตนที่ได้กำหนดไว้ในดำรัสว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และสัญญาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

21. ร่วมกับทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร ค้นคว้าบุคลากรที่จำเป็นเข้าในโครงสร้างการจัดตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ แต่ละเขต เพื่อเสนอ คขพส. พิจารณา

22. ปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆ ในการแสวงหาแหล่งทุนร่วมมือกับต่างประเทศ และคุ้มครองโครงการ เพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

23. บันทึก และแจ้งการประชุม คขพส. ในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการจัดตั้งปฏิบัติงานตามการตกลงของกองประชุม คขพส.

24. ขนขวาย โฆษณา เผยแพร่นโยบาย กฏหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ดำรัส ระเบียบการ แผนแม่บทของ เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในขอบเขตทั่วประเทศ

25. ผลักดัน แนะนำ ติดตาม และตรวจตรา การจัดระบบข้อมูลรอบด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขต เศรษฐกิจเฉพาะให้สามารถเชื่อมโยงกับ กคขพส.

26. สรุปสภาพการจัดตั้งปฏิบัติการดำเนินงานวิชาเฉพาะของตน และหน้าที่การดำเนินงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะประจำเดือน 3, 6 เดือน, เดือน 9 เดือน และ ประจำปี เพื่อรายงาน คขพส. และรัฐบาล

27. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามการมอบหมายของ คขพส.

มาตรา 3 ขอบเขตสิทธิ

กคขพส. มีสิทธิ ดังนี้

1. ผลักดัน แนะนำ คุ้มครอง ติดตาม และตรวจตรา การเคลื่อนไหวการทำงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

2. เจรจาบทบันทึกความเข้าใจ ร่างระบุสัญญา สัญญาสัมปทานพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และเอกสารนิติกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ออกคำแนะนำ หรือแจ้งการต่างๆ ที่พัวพันธ์ถึงการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

4. เสนอแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ยุติ หรือลบล้างเอกสารทางด้านนิติกรรมตามที่กำหนดในข้อที่ 2 ข้างบนนี้ ในกรณีที่เห็นว่าไม่ได้สอดคล้อง ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขของสัญญา และระเบียบกฎหมาย

5. ร่วมลงนามเป็นพยานในสัญญาสัมปทานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ และลงนามในบรรดาเอกสารทางการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ อาทิเช่น ใบทะเบียนสัมปทานเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ จดหมายเชิญ โฉนดนำส่ง จดหมายประกอบความเห็นด้านวิชาการ จดหมายตอบผู้ลงทุน รวมทั้งการรับรองต่างๆ ทางด้านนิติกรรมของผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่ได้รับอนุมัติไปแล้วและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและภาระบทบาทของตน หรือตามการมอบหมายของ คขพส.

6. ประสานสมทบกับแขนงการที่เกี่ยวข้องในการค้นคว้าหาวิธีทางแก้ไขปัญหา ข้อยุ่งยากต่างๆ ในการพัฒนาและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อรายงานขอข้อแนะนำจาก คขพส.

7. เสนอ คขพส. พิจารณาตกลงก่อตั้ง ปรับปรุง ละ ลบล้างบรรดาแผนก แขนงการ โครงการ กิจกรรม หรือคณะเฉพาะกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน โดยประสานสมทบกับทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร

8. เสนอ คขพส. พิจารณาตกลง แต่งตั้ง เลื่อนชั้น เลื่อนขั้น ยกย่องชมเชย โยกย้าย ยกเลิกตำแหน่ง ปฏิบัติวินัย และนโยบายอื่นๆ ต่อพนักงาน-รัฐกร ที่ขึ้นกับความรับผิดชอบของตน โดยประสานสมทบกับทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร

9. รับเอาพนักงานตามสัญญาเข้าทำงานตามความต้องการของงานของ กคขพส. และเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

10. จัดซื้อพาหนะ และอุปกรณ์รับใช้ห้องการตามแผนงบประมาณ

11. กำหนดแผนบุคลากร แผนงาน โครงการ กิจกรรม และแผนงบประมาณ เพื่อเสนอ คขพส. และรัฐบาลพิจารณา

12. ค้นคว้า และนำเสนอ คขพส. และรัฐบาล เพื่อพิจารณารับรอง ปรับปรุง ดัดแปลง หรือ ยกเลิกระเบียบการต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนา และคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

13. ปฏิบัติสิทธิอื่นๆ ที่นิติกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ กำหนด และการแนะนำของ คขพส.

หมวดที่ 2 โครงสร้างการจัดตั้ง

มาตรา 4 โครงประกอบกลไก

กคขพส. มีโครงประกอบกลไก ดังนี้:

1. แผนกจัดตั้ง บริหาร และ การเงิน

2. แผนกที่ดิน และสิ่งแวดล้อม

3. แผนกเทคนิค และนิติกรรม

4. แผนกพัวพันธ์ และร่วมมือสากล

5. แผนกแผนการ และประเมินผล

มาตรา 5 โครงสร้างบุคลากร

คขพส. มีหัวหน้าหนึ่งท่าน และรองหัวหน้าจำนวนหนึ่ง มีหัวหน้า รองหัวหน้าแผนก และพนักงานวิชาการ ตามความเหมาะสมของงาน

1. หัวหน้า กคขพส. ถูกแต่งตั้ง หรือออกจากตำแหน่ง โดยประธาน คขพส. ตามการเสนอของหัวหน้า กคขพส. บนพื้นฐานความเป็นเอกภาพกับคณะจัดตั้งศูนย์กลางพรรค และทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร

2. รองหัวหน้า กคขพส. จำนวนหนึ่ง ถูกแต่งตั้ง หรือออกจากตำแหน่งโดยประธาน คขพส. ตามการเสนอของหัวหน้า กคขพส. บนพื้นฐานความเป็นเอกภาพกับคณะจัดตั้งศูนย์กลางพรรค และทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร

3. หัวหน้าแผนก รองหัวหน้าแผนก และบรรดาพนักงานวิชาการ ถูกแต่งตั้งโดยรองหัวหน้าทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร กรรมการ คขพส. ตามการเสนอของหัวหน้า กคขพส.

หมวดที่ 3 หน้าที่ของแต่ละแผนก

มาตรา 6 แผนกจัดตั้ง บริหาร และการเงิน

แผนกจัดตั้ง บริหาร และการเงิน มีหน้าที่หลัก ดังนี้:

1. ขึ้นแผนงบประมาณประจำปี และคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ ของ กคขพส.

2. รับผิดชอบงานการ ขาเข้า-ขาออก สำเนาเอกสาร รวบรวม นำส่ง และติดตามบรรดาเอกสารต่างๆ

3. สร้างแผนงบประมาณเพื่อจัดการประชุมปรึกษาหารือ สัมมนา ฝึกอบรม ปาฐกถา ค่าที่ปรึกษา การยกระดับของพนักงาน การแลกเปลี่ยนบทเรียนแผนลงเคลื่อนไหวงานต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ

4. ติดตามการเก็บรายรับ ตามสัญญาสัมปทาน ขพส. และคุ้มครองกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และที่ปรึกษา

5. รวบรวมบัญชี คุ้มครอง ก่อตั้ง และงานนโยบายต่อพนักงาน-รัฐกร ที่ขึ้นกับ กคขพส. และ ขพส.

6. รับผิดชอบเอกสารขออนุมัติให้พนักงานและบุคลากรของ กคขพส. ไปเคลื่อนไหวงานอยู่ทั้งภายใน และต่างประเทศ

7. ค้นคว้าโครงประกอบการจัดตั้งบุคลากร อบรมพนัก งานของ กคขพส. และ ขพส. เพื่อนำเสนอหัวหน้า กคขพส. พิจารณา

8. สร้างแผนการ และจัดการฝึกอบรมยกระดับความรู้ด้านวิชาการและทฤษฎีให้แก่พนักงาน กคขพส, ขพส

9. รับผิดชอบ เก็บค่าธรรมเนียม และค่าบริการด้านวิชาการตามระเบียบการ

10. ค้นหาแหล่งรายรับอื่น เพื่อนำใช้เข้าในงาน ขพส.

11. จัดการประชุมภายใน เช่น การประชุมตำนิติชมประจำอาทิตย์ การประชุมรวม กคขพส. การประชุมเจรจาสัญญาสัมปทานพัฒนา ขพส. และการประชุมพบปะกับผู้พัฒนา ขพส. และผู้ลงทุนรายใหญ่ใน ขพส.

12. รับผิดชอบการดำเนินงานพิธีการของ คขพส. และ กคขพส. ตามระเบียบการ

13. ปฏิบัติหน้าที่การทำงานอื่นๆ ตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

มาตรา 7 แผนกที่ดินและสิ่งแวดล้อม

แผนกที่ดินและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดังต่อไปนี้:

1. สมทบกับแขนงการที่ดินศึกษาค้นคว้าพื้นฐานความอาจสามารถของท้องถิ่น และของชาติ เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อที่ดินพัฒนา ขพส.

2. สมทบกับแขนงการที่ดิน จัดตั้งปฏิบัติตามแผนแม่บทของการนำใช้ที่ดินเข้าในการพัฒนา ขพส. ในแต่ละระยะ

3. เข้าร่วมกับคณะรับผิดชอบก่อตั้ง ขพส. แขนงการ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการศึกษาสำรวจเบื้องต้น เพื่อจะก่อตั้ง ขพส.

4. สมทบกับแขนงการ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการลงกำหนด และปักหลักหมายเขตแดนของ ขพส. ที่ได้รับอนุมัติก่อตั้งแล้ว

5. ประสานสมทบ และผลักดันแขนงการที่ดิน เพื่อออกใบโฉนดที่ดินให้แก่ ขพส. ที่ได้รับอนุมัติก่อตั้ง

6. สมทบกับแขนงการและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการค้นคว้าและจัดตั้งปฏิบัติแผนการจัดสรร ชดเชย และโยกย้ายประชาชนที่อยู่ในเขตโครงการพัฒนา ขพส.

7. เป็นผู้นำในการประสานสมทบกับแขนงการ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินของ ขพส.

8. สมทบกับแขนงการสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการค้นคว้า และศึกษาเบื้องต้นแผนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของการพัฒนา ขพส. ตามระเบียบการ

9. เป็นผู้นำในการประสานสมทบกับแขนงการสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามการจัดตั้งปฏิบัติแผนการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ในการพัฒนาแต่ละระยะของ ขพส. อย่างเป็นประจำ

10. เป็นผู้นำในการสมทบกับแขนงการสิ่งแวดล้อม ค้นคว้าปรับปรุง ดัดแก้ กล่าวเตือน หรือ การใช้มาตรการต่อ ขพส. ในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนการด้านสิ่งแวด ล้อมและสังคมที่ถูกรับรองไปแล้ว เพื่อเสนอต่อหน่วยเหนือพิจารณา

11. เป็นผู้นำในการประสานสมทบกับแขนงการสิ่งแวด ล้อม และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของ ขพส.

12. เป็นผู้นำประสานสมทบกับแขนง และองค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้ ขพส. สร้างโครง การส่งเสริมประชาชนรอบข้างให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และมีผลประโยชน์ร่วมกับ ขพส.

13. เป็นผู้นำประสานสมทบกับ ขพส. และอค์การปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสร้างโครงการปลูกป่า ปกปักษ์รักษา หรือพัฒนาเขตที่ดินต่างๆ ตามสัญญาพัฒนา ขพส.

14. ปฏิบัติหน้าที่การงานอื่น ตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

มาตรา 8 แผนกเทคนิค และนิติกรรม

แผนกเทคนิค และนิติกรรมมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้นำในการค้นคว้า ร่าง, ปรับปรุงนิติกรรม นโยบาย และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครอง ขพส.

2. ค้นคว้าจดหมาย เจตจำนง และการเสนอขอก่อตั้ง ขพส. ตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

3. พิจารณา และวิจัยความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ เทคนิค ด้านการเงิน สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และด้านอื่นตามการเสนอขอก่อตั้ง ขพส. แล้วรวบรวมรายงานผลการค้นคว้าเพื่อขอการพิจารณาจากหน่วยเหนือ

4. จัดการประชุมวิชาการในกรณีมีความจำเป็น เพื่อค้นคว้า ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำงาน การพัฒนา และคุ้มครอง ขพส. และความเป็นเอกภาพทางด้านวิชาการ ก่อนนำเสนอต่อหน่วยเหนือพิจารณาตกลง

5. สมทบกับคณะรับผิดชอบก่อตั้ง ขพส. ในการร่างบทบันทึกความเข้าใจ สัญญาสัมปทานพัฒนา ขพส. และเป็นผู้นำจัดการประชุมเจรจาบทบันทึกความเข้าใจ สัญญาสัมปทานพัฒนา ขพส. กับผู้พัฒนาตามการตกลงของหน่วยเหนือ

6. รวบรวมและสร้างบทบันทึกการประชุมเจรจาเพื่อรายงานต่อหน่วยเหนือพิจารณา

7. ตรวจตราเนื้อหา ร่างบทบันทึกความเข้าใจ สัญญาสัมปทาน ก่อนนำเสนอหน่วยเหนือเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อรับประกันสิทธิและผลประโยชน์รอบด้านของรัฐ ผู้พัฒนา และ ประชาชน

8. ร่างใบระเบียบสัมปทาน เพื่อขออนุมัติรายเซ็น หรือ ออกจดหมายแจ้งตอบปฏิเสธผู้เสนอขอพัฒนา ขพส. ในกรณีที่การเสนอไม่ได้รับการตกลงเห็นชอบจากหน่วยเหนือ

9. สรุปบรรดางานที่จำเป็นเพื่อผ่านการประชุมประจำ เดือนของ คขพส. และเตรียมวาระการประชุม เอกสารประชุมประจำเดือนของ คขพส. และสร้างบทบันทึกการประชุม คขพส. แต่ละครั้ง

10. ค้นคว้าเพื่อเจรจาและตระเตรียมสร้างบทบันทึก ร่วมกับผู้พัฒนาสำหรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขพส. ที่ควรได้รับการทดแทนคืนต้นทุนการก่อสร้าง แล้วเสนอต่อหน่วยเหนือ เพื่อพิจารณา

11. เก็บรักษา และคุ้มครองเอกสาร บรรดาโครงการ ขพส. ที่ได้รับอนุมัติด้วยรูปการ และวิธีการที่รับประกัน เพื่อนำใช้ในระยะเวลานาน

12. ค้นคว้าคำร้องเรียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษาหารือ และติดตามการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง (ขั้นพื้นฐาน) เกี่ยวกับการพัฒนาและคุ้มครอง ขพส.

13. ปฏิบัติหน้าที่การงานอื่นๆ ตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

มาตรา 9 แผนกพัวพันธ์และร่วมมือสากล

แผนกพัวพันธ์และร่วมมือสากล มีหน้าที่หลักดังนี้

1. สร้างแผนจัดพิมพ์เอกสาร นิติกรรม และเอกสารโฆษณาเกี่ยวกับการดำเนินงาน การพัฒนา และคุ้มครอง ขพส.

2. ประสานสมทบกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ ขพส. เพื่อโฆษณา เผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นโยบายส่งเสริมการพัฒนา และคุ้มครอง ขพส. ทั้งภายในและต่างประเทศ

3. จัดตั้ง และเข้าร่วมการประชุม สัมมนา การดำเนินงานส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนา ขพส. ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาค และสากล

4. ประสานสมทบกับแขนงการเกี่ยวข้อง เพื่อค้นคว้าแก่ง แย่งเอาการสนับสนุน ช่วยเหลือ และร่วมมือจากภายในและต่างประเทศ เพื่อเสริมขยายการทำงานพัฒนา และคุ้มครอง ขพส.

5. รับผิดชอบคุ้มครองโครงการร่วมมือภายใน และต่างประเทศ

6. ค้นคว้า ถอดถอนบทเรียน เพื่อนำเสนอปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการพัฒนา และคุ้มครอง ขพส. และการลงทุนใน ขพส. ให้สามารถแข่งขันกับบรรดาประเทศในอาณาเขตและภูมิภาค

7. ค้นคว้าการพิจารณานโยบายส่งเสริมพิเศษ ตามที่กำหนดในดำรัสว่าด้วย ขพส. เพื่อเสนอระดับสูงพิจารณาและคุ้มครอง ติดตาม ตรวจตรา การจัดตั้งปฏิบัตินโยบายดังกล่าว

8. อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พัฒนา และผู้ลงทุนของ ขพส. ในการประสานกับเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานต่างๆ

9. จัดการประชุมต้อนรับผู้ลงทุน เพื่อโฆษณาและเผยแพร่นโยบายการพัฒนาและคุ้มครอง ขพส.

10. สร้างเงื่อนไขอำนวยความสะดวก เพื่อให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับงาน ขพส .ได้ดำเนินการถอดถอนบทเรียนทั้งภายในและต่างประเทศ

11. ปฏิบัติหน้าที่การงานอื่นๆ ตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

มาตรา 10 แผนกแผนการและประเมินผล

แผนกแผนการ และประเมินผล มีหน้าที่หลักดังนี้:

1. ค้นคว้า และสร้างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ขพส. ในขอบเขตทั่วประเทศในแต่ละระยะ (ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว) เพื่อนำเสนอระดับสูง พิจารณาตกลง

2. สร้างแผนการดำเนินงานของ กคขพส. ในแต่ละระยะ

3. ผลักดัน และประสานสมทบกับแขนงการที่เกี่ยวข้อง ในการคุ้มครองพลเมือง ความสงบ ปลอดภัย (รวมทั้งกิจการบันเทิงครบวงจร และคาสิโน) วัฒธนธรรม สังคม ภายใน ขพส.

4. สมทบกับแขนงการและท้องถิ่นเกี่ยวข้องในการคุ้มครอง ติดตามและผลักดันการเคลื่อนไหว และให้คำแนะนำแก่บรรดา ขพส. ให้ดำเนินตามระเบียบการที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว

5. จัดเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการก่อตั้ง การพัฒนา และการดำเนินการของบรรดา ขพส. เข้าในระบบฐานข้อมูลรวมทางระบบ IT

6. ติดตามเก็บข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลประจำวันเข้าในระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการเสนอข้อมูลที่เกี่ยวพันกับ ขพส ให้ระดับสูงและผู้สนใจลงทุนใน ขพส

7. ติดตาม สรุป ประเมินผลได้รับและประสิทธิผล โครงการลงทุน ขพส. เพื่อประเมิณผลในแต่ละระยะ และรายงานหน่วยเหนืออย่างเป็นประจำ

8. เก็บรวมสถิติ รวบรวมแนวโน้มการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของการลงทุน ขพส. ประจำเดือน และประจำปี เพื่อรายงานต่อแขนงการที่เกี่ยวข้อง

9. ประสานสมทบกับทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกร เพื่อผลักดันและติดตามการจัดตั้งปฏิบัติงานการบริหารประตูเดียวของ ขพส.

10. สรุปรายงานการดำเนินงานของ กคขพส. ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน 3, เดือน 6 เดือน และประจำปี ตามการชี้นำของหน่วยเหนือ

11. ปฏิบัติหน้าที่การงานอื่นๆ ตามการมอบหมายของหน่วยเหนือ

หมวดที่ 4 ระบอบแบบแผนวิธีการทำงาน

มาตรา 11 แบบแผนวิธีการทำงาน

กคขพส. ดำเนินการทำงานตามหลักการ ดังต่อไปนี้

1. ปฎิบัติตามหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย ทำงานเป็นหมู่คณะ แบ่งงานให้ทุกคนรับผิดชอบ และปฏิบัติระบอบหัวหน้าเดียว เสริมขยายความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานของ กคขพส.

2. ทำงานอย่างมีแผนการ แผนงาน และโครงการละเอียด แก้ไขงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย และ มีเป้าหมายในแต่ละระยะ ประสานสมทบย่างแน่นแฟ้นกับองค์การจัดตั้งของรัฐบาล

3. มีการตรวจตราการทำงาน ติดตามผลักดัน สรุป ถอดถอนบทเรียน ประเมินผลได้ผลเสีย พร้อมทั้งปฏิบัติระเบียบรายงานตำนิติชมอย่างเข้มงวด

4. ปฏิบัติระบอบดำเนินชีวิตการเมือง วิชาเฉพาะเป็นปกติ ประชุมประจำเดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และ 1 ปี และปฏิบัติระบอบรายงานให้หน่วยเหนือ และรัฐบาลเป็นปกติ

5. ปฏิบัติคำขวัญ หรือข้อแข่งขัน “รักชาติ-พัฒนา” ตามคุณลักษณะของ ขพส. ด้วยการ กล้าคิด กล้าประดิษฐ์สร้าง กล้าเปลี่ยนเป็นระเบียบกฎหมาย กล้าจัดตั้งปฏิบัติ และกล้ารับผิดชอบ

หมวดที่ 5 บทบัญญัติสุดท้าย

มาตรา 12 งบประมาณและตราประทับ

กคขพส. มีงบประมาณ และตราประทับเป็นของตนเอง เพื่อรับใช้งานทางราชการ

มาตรา 13 การจัดตั้งปฏิบัติ และผลบังคับใช้

สำนักงานนายกรัฐมนตรี คขพส. บรรดากระทรวง องค์ การเทียบเท่า ทบวง องค์การปกครองท้องถิ่น กคขพส. คณะบริหาร สภาบริหารเศรษฐกิจ ขพส. และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รับรู้และจัดตั้งปฏิบัติข้อตกลงฉบับนี้อย่างเข้มงวด

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทน์

หมายเหตุ: - แปลจากต้นฉบับภาษาลาว

  • เป็นการแปลเบื้องต้น ไม่ได้เป็นหลักฐานการแปลที่สมบูรณ์และเป็นทางการ

องค์การประจำการ คณะกรรมการแห่งชาติ

เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

(กคขพส) อยู่ สปป.ลาว

โทร/โทรสาร: +856-21-254 474

อีเมล์: ncsez@laotel.com

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก นิติกร   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ