รายงานการเข้าพบผู้นำเข้า บริษัท MONTANGERO E MONTANGERO SRL วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 26, 2011 15:05 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ข้อมูลบริษัท
๑.๑ ชื่อบริษัท MONTANGERO E MONTANGERO SRL
๑.๒ ที่อยู่ Via Tonale 22 - 20125 MILAN

โทรศัพท์ +๓๙ ๐๒ ๕๗๙๖๘๕๒๘

โทรสาร + ๓๙ ๐๒ ๕๔๑๑๖๓๔๔

อีเมลล์ marco.montangero@montangero.it

เวปไซด์ www.montangero.it www.montangero-china.it ๑.๓ ประเภทธุรกิจ

ตัวแทนด้านการตลาดและการสื่อสาร ๑.๔ ข้อมูลบริษัท

ปีที่ก่อตั้ง ๒๕๑๗

เงินทุนหมุนเวียน n/a

จำนวนพนักงาน ๑๐ คน ๑.๕ สินค้าหลัก ให้บริการด้านการตลาดและการสื่อสาร (งานวิจัย การวางกลยุทธ์ แคมเปญส่งเสริมการขาย การพัฒนาธุรกิจ) ๑.๖ ผู้ที่เข้าเยี่ยมพบ

  • Mr Enrico Montangero (President)
  • Mr Marco Montangero (Chief Executive Officer, National and International Client Director
๒. ข้อมูลที่ได้รับ

สืบเนื่องจากผลการเยือนของคณะอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาและกรมหม่อนไหมในการหารือความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการ Twinning Project ระหว่างสินค้าไทยและสินค้าอิตาลีเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกัน หลังจากรับฟังข้อมูลแล้ว บริษัทจึงได้กลับไปคิดกลยุทธ์สำหรับการดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยหารือกับคู่ค้าฝ่ายอิตาลีที่มีศักยภาพและสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ (ส่วนใหญ่เป็นอาหาร) ซึ่งบริษัทได้รับทราข้อมูลด้านการส่งออกของไทยในมุมมองของผู้นำเข้าอิตาลีเพื่อนำไปจัดทำโครงการต่อไป

บริษัทได้กำหนดเป้าหมายของโครงการดังนี้ กลุ่มเป้าหมายคือ คนหนุ่มสาว (อายุ 25-50 ปี) ที่ยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี มีการศึกษาที่ดี รายได้สูง-ปานกลาง/สูง และเป็น trend setter

บริษัทจะทำหน้าที่ในการประสานงานกับสคร.โรม/กรมส่งเสริมการส่งออก และดูแลเรื่องกิจกรรมการสื่อสารทั้งหมด

๓. ผลการหารือ

โครงการที่บริษัทนำเสนอ ๓ โครงการได้แก่

๓.๑ โครงการ Twinning Project ร่วมกับสหพันธ์ผู้ประกอบการอาหารอิตาลี (Italian Food Consorzio) บริษัทแจ้งว่า พันธมิตรในการจับคู่ระหว่างไหมไทย (และสินค้าอื่นๆ) คือ Piacenza Consortium (ตั้งอยู่ทางเหนือของอิตาลี) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๓ มีสมาชิก ๗๕ บริษัท (ผู้ผลิตและผู้ค้า) www.consorziopiacenzalimentare.com ทางสมาคมแจ้งว่าต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์ของสมาชิกไปยังประเทศไทย ได้แก่ สินค้าเกษตร ไวน์ ซาลามี ชีสและกาแฟ และในขณะเดียวกันสมาคมสามารถส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ได้แก่ ผ้าไหมและสินค้าอื่นๆ ในอิตาลีด้วยการจัดงานกิจกรรมพิเศษขึ้น ทั้งนี้ทางสมาคมมีความเห็นว่า สินค้าของสมาคมมีความหลากหลายมากแต่ผ้าไหมไทยไม่สามารถนำมาจับคู่กับสินค้าอาหารได้ง่ายนัก การจัดกิจกรรมจึงจำเป็นต้องเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ทางอ้อม (งาน การจัดแสดง และการจัดงานเลี้ยงสังสรร) และไม่ควรมีการผสมผสานระหว่างสินค้าอิตาเลี่ยนกับไทยโดยตรง ทั้งนี้เสนอให้จัดสัปดาห์สินค้าไทยในอิตาลีและสัปดาห์สินค้าอิตาเลี่ยนในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการประชาสัมพันธ์สินค้าของแต่ละฝ่ายและส่งเสริมกันและกันได้ ทั้งนี้บริษัทเห็นว่ามีโอกาสและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการในระดับปานกลาง

๓.๒ โครงการประชาสัมพันธ์สินค้า IG ผ่านการท่องเที่ยว เนื่องจากบริษัทเห็นว่า ช่องทางด้านการท่องเที่ยวของไทยเป็นช่องทางที่เปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนทั้งด้านวัฒนธรรมและการค้าระหว่างไทยและอิตาลีอยู่แล้ว ดังนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงควรทำข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวอิตาลีในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (และแหล่งผลิต) ให้แก่นักท่องเที่ยวอิตาเลี่ยน (กลุ่มเป้าหมายคือปานกลางถึงสูงและเป็นผู้ที่สนใจด้านวัฒนธรรมอย่างมาก) โดยดำเนินการผ่านการผลักดันของแพ็คเก็ตทัวร์แบบพิเศษที่มีจุดหมายปลายทางไปยังสถานที่ผลิตสินค้าดั่งเดิมของไทย (เช่น ผ้าไหม ข้าว สินค้าหัตถกรรม ฯลฯ) ซึ่งจากผลการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้คนอิตาเลี่ยนรู้จักประเทศไทยในมุมมองที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมที่รู้จักแต่ชายหาดและทะเล และจะส่งผลโดยตรงต่อนักท่องเที่ยวให้รู้จักสินค้าไทยและมรดกด้านวัฒนธรรมไทยได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมทั้งซื้อสินค้าเหล่านี้กลับมาอิตาลี และจะส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ๆ ในหมู่คนอิตาเลี่ยนอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ฝ่ายไทยควรให้การสนับสนุนในด้านโลจิสติกส์/การอำนวยความสะดวกและเงินงบประมาณในการจัดประชุมเพื่อนำเสนอโครงการให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของอิตาลีด้วย ทั้งนี้บริษัทเห็นว่ามีโอกาสและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการในระดับปานกลาง โดยบริษัทเห็นว่าเนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลักคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมทรัพย์สินทางปัญญา สคร.โรมจึงควรยกโครงการดังกล่าวหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ

๓.๓ โครงการประชาสัมพันธ์อาหารไทยผ่านการทำแคมเปญด้านการตลาดร่วมกับคู่ค้าที่สำคัญในอิตาลี ในการจัดประชาสัมพันธ์ด้วยการใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับแบรนด์ชั้นนำของอิตาลี เนื่องจาก Montengero Group มีความเชี่ยวชาญทางด้านกลุ่มสินค้าเครื่องเทศและสมุนไพร (เป็นเจ้าของแบรนด์ Cannamela - www.cannamela.it) การทำประชาสัมพันธ์สินค้าไทยภายใต้แบรนด์ดังกล่าวจะช่วยสร้างชื่อและภาพลักษณ์ของสินค้าไทยภายใต้แบรนด์ชั้นนำของอิตาลี และขณะนี้ Montenegro มีความสนใจนำสินค้าสุรายี่ห้อ Amaro Mantenegro (www.montengero.it) และบรั่นดียี่ห้อ Vecchia Romagna (www.vecchiaromagna.it) เข้าสู่ตลาดไทยด้วย

บริษัทเห็นว่าโครงการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวอาจจะใช้วิธีดำเนินการด้วยการจัดหลักสูตรสาธิตการปรุงอาหารไทย ที่ Cooks & Books Academy ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนทำอาหารเปิดใหม่ของกลุ่ม Mondadori (หนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์ของอิตาลีที่มีประธานาธิบดีเบลุสโคนี่เป็นเจ้าของ) โรงเรียนสอนทำอาหารดังกล่าวเพิ่งเปิดในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ บริเวณชั้น ๓ Piazza Duoma Milan ของร้าน Mondadori ในมิลาน ทางบริษัทเสนอให้จัดหลักสูตรการทำอาหารไทย (๒ วัน) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้เข้าเรียน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้บริโภคอิตาเลี่ยนโดยตรงและจะทำให้ประเทศไทยได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนิตยสารของ Mondadori ที่มีผู้ซื้อเป็นครอบครัวชาวอิตาเลี่ยน (ส่วนใหญ่เป็นนิตยสารรายสัปดาห์สำหรับผู้หญิง)

งบประมาณ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ยูโร (อาจหาสปอนเซอร์มาช่วยออกค่าใช้จ่ายได้บางส่วน) ทั้งนี้บริษัทเห็นว่ามีโอกาสและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการในระดับสูง

๔. สรุปผลการหารือ

เพื่อนำเสนอโครงการแก่ลูกค้าและสร้างโอกาสในการประชาสัมพันธ์สินค้าไทย Mr. Montangero แจ้งว่าขอความอนุเคราะห์สคร.โรมดังต่อไปนี้

๑. ข้อมูลระบบช่องทางการกระจายสินค้าของไทย

๒. รายละเอียดในเรื่อง FTA และความสัมพันธ์ของอาเซี่ยน

๓. จำนวนนักท่องเที่ยวอิตาเลี่ยนและชาติอื่นๆ ที่เดินทางไปไทย

๔. จำนวนร้านอาหารอิตาเลี่ยนในไทย

๔.๑ สำหรับโครงการที่ ๓.๑ เนื่องจากสมาคมฯ มีความสนใจส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยคือ ไวน์ ซาลามี และชีส ดังนั้นจึงขอความอนุเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ภาษีนำเข้าที่เกี่ยวข้อง ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการไม่อนุญาตให้นำเข้า (เช่นสินค้าที่ห้ามนำเข้า) และข้อจำกัดด้านศุลกากรต่างๆ การปกป้องด้านแบรนด์สินค้า โอกาสในการเจาะตลาดสินค้าอาหารอิตาเลี่ยนในไทย ทั้งนี้สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อื่นๆ นอกจากผ้าไหมมีอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้กับ Twining Project รวมถึงผู้รับผิดชอบโครงการคือหน่วยงานใด อย่างไรก็ดี จะมีการจัดประชุมร่วมกับสมาคมเพื่อหารือความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่อไป

๔.๒ สำหรับโครงการที่ ๓.๒ ทางบริษัทจะนำโครงการดังกล่าวไปหารือกับสมาคมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวอิตาเลี่ยนต่อไป ส่วนด้านสคร.โรม จะนำโครงการไปหารือกับสถานทูตไทยในกรุงโรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาร่วมกัน พร้อมทั้งนำเสนอโครงการดังกล่าวให้แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อกำหนดนโยบายความร่วมมือร่วมกันกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งนี้ทางบริษัทจะรอคำตอบจากสคร.โรมต่อไป

๔.๓ สำหรับโครงการที่ ๓.๓ บริษัทต้องการรับคำยืนยันในส่วนของงบประมาณ จากสคร.โรมก่อนที่จะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้บริษัทจึงจะนัดหมายกับกลุ่มบริษัท Montenegro Group เพื่อหารือในรายละเอียดของโครงการและค่าใช้จ่าย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ข้อมูล   china   2012  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ