๑. ตามรายงานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) เศรษฐกิจของอิตาลีในปี ๒๕๕๔ ยังคงชะลอตัว โดยมีปัจจัยจากภายนอกส่งผลกระทบด้วยเช่น เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ความไม่มั่นคงของตลาดหลักทรัพย์ และวิกฤตหนี้ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน และมีการคาดการณ์ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของปี ๒๕๕๕ ไว้ดังนี้
ตัวชี้วัด ๒๕๔๔ ๒๕๔๕ อัตราการว่างงาน ๘.๒% ๘.๓% GDP ๐.๗% ๐.๒% อัตราเงินเฟ้อ ๒.๗% ๒% ภาระภาษี ๔๒.๘% ๔๔.๑%
๒. สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) รายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของอิตาลีในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย ๐.๙% ต่อเดือน และ ๑๕.๕% ต่อปี ทำให้อัตราเงินเฟ้อของปี ๒๕๕๔ อยู่ที่ ๒.๖% ส่วนเมืองในอิตาลีที่มีอัตราค่าครองชีพเพิ่มสูงที่สุดคือ Aosta (+๔.๒%) และ Bari (+๓.๖%) ในขณะที่เมืองที่มีค่าครองชีพเพิ่มน้อยที่สุดคือ Ancona และ Palermo (+๒.๒%)
๓. อัตราการว่างงานของวัยรุ่นอิตาลีอยู่ที่ ๒๗.๙% สูงกว่าประเทศสมาชิกอื่นในกลุ่มองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OSCE) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๖.๗% (เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ มีจำนวนคนว่างงานในกลุ่มประเทศ OSCE ทั้งหมด ๔๔.๕ ล้านคน มากกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๓.๔ ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวอิตาลีประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐คน)
๔.รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจอิตาลีเปิดเผยว่าในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ หนี้สาธารณะของอิตาลีเพิ่มขึ้นถึง ๑,๙๑๑,๘๐๗ พันล้านยูโร มากกว่าเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ อยู่ ๑ หมื่นล้านยูโร ซึ่งนับเป็นสถิติสูงที่สุดในประวัติการณ์ ส่วนรายได้ประเทศจัดเก็บได้ตามที่คาดการณ์ไว้คือ ๒๒๑,๖๔๓ ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น ๒,๗๙๑ ล้านยูโร) ทั้งนี้เกิดจากสามารถจัดเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ๑.๗% ขณะที่รายได้นิติบุคคลจัดเก็บได้น้อยลงเนื่องจากกฎหมายสนับสนุนการจัดเก็บภาษีบางประเภทตามกฎหมายการคลังในปี ๒๕๕๑ หมดอายุลง
รัฐบาลยังสามารถจัดเก็บภาษีทางอ้อมได้เพิ่มขึ้น ๓.๘% (=๓,๖๙๐ ล้าน ยูโร) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้านำเข้าที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น และรายได้จากเกมเสี่ยงโชคต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ๑๗.๓% (๑,๑๘๒ ล้านยูโร)
๕. อิตาลีปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ๒๐% เป็น ๒๑% ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารพื้นฐานจำพวก แป้ง น้ำ และข้าว และสาธารณูปโภคเช่น แก๊ส และไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น ๐.๒๐-๐.๒๕ ยูโร ทั้งนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔
๖. สมาพันธ์เกษตรกรแห่งชาติ (COLDIRETTI) แสดงความกังวลในเรื่องการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๔ และจะทำให้ราคาสินค้าต่างๆปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีราคาสูงกว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น การบริโภคในครัวเรือนจะชะลอตัว เนื่องด้วย ๘๖% ของการขนส่งพาณิชย์อิตาลี ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ
๗. สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อิตาลี (ANFIA) เผยว่าช่วงมกราคม - สิงหาคม ๒๕๕๔ ยอดการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ลดลง -๑.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายปรับลดลงอย่างมากถึง -๑๐.๓% ซึ่งเป็นผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าในเดือนสิงหาคมยอดจำหน่ายจะสูงขึ้น +๑.๕% แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกับเมื่อปี ๒๕๓๖ ที่ -๓๗% และมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่รัฐบาลประกาศเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
๘. ตัวชี้วัดเศรษฐกิจอิตาลี ณ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔
รายการ จำนวน % เปลี่ยนแปลง % เปลี่ยนแปลง เทียบกับเดือน/ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ไตรมาสก่อน
๑. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม -๐.๔% +๐.๑% (กรกฎาคม ๒๕๕๔) ๒.คำสั่งซื้ภาคอุตสาหกรรม -๐.๒% -๑.๙% (กรกฎาคม ๒๕๕๔) ๓. การบริโภค (กรกฎาคม ๒๕๕๔) +๐.๕% +๐.๔% ๔. ภาวะเงินเฟ้อ (สิงหาคม ๒๕๕๔) +๐.๓% +๒.๘% ๕. อัตราการจ้างงาน ๕๖.๙% ๐% ๐% (กรกฎาคม ๒๕๕๔) (จำนวนคนที่ได้จ้างงาน
๒๒,๙๕๖,๐๐๐คน)
๖. อัตราการว่างงาน ๘% ๐% -๐.๓% (กรกฎาคม ๒๕๕๔) (จำนวนคนว่างงาน ๒,๐๐๙,๐๐๐
คน )
๗. การนำเข้า (มิถุนายน ๒๕๕๔) -๔.๑% +๓.๒% ๘. การส่งออก (มิถุนายน ๒๕๕๔) -๐.๘% +๘.๑% ๙. หนี้สาธารณะ (กรกฎาคม ๒๕๕๔) ๑,๙๑๒ +๐.๕% +๓.๙%
(พันล้านยูโร)
๑๐. GDP ไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๕๔ ๓๐๗,๓๙๖ +๐.๓% +๐.๘% ที่มา: Confindustria, ConFcommercio, ISTAT, Bank of Italy
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th