วงการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Major Appliance)ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ปี 2553 ที่ผ่านมาเป็นปีทองของการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากยอดจำหน่ายรวมของค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 14.5 จากปี 2553 ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดขยายตัวในปี 2553 ที่ผ่าน ส่งผลกระทบทางบวกต่ออุตสาหกรรมการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าของสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี 2554 โรงงานผลิตได้รับคำสั่งซื้อ (Factory Order) เพิ่มมากขึ้น
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขยายตัวเป็นลำดับ สมาคม Association of Home Appliance Manufacturers (AHAM) รายงาน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โรงงานผลิตส่งมอบสินค้า (Factory Shipment) ให้ลูกค้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 แต่การส่งมอบสินค้าของโรงงานให้ลูกค้ากลับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราถดถอยในปี 2554 โดย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี (มกราคม-มิถุนายน 2554) ยอดจำหน่ายขยายตัวประมาณร้อย 2-3 เนื่องจาก สินค้ารายการสำคัญ เช่น เตาหุ้งต้มอาหาร ตู้ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และ เครื่องปรับอากาศ มียอดจำหน่ายลดต่ำลงประมาณร้อยละ 17-23 เมื่อเทียบกับปี 2553
สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า Major Appliances ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 เป็นมูลค่า 4,142.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดต่ำลงไปจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 9.93
นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ความเห็นว่า ภาวะชะลอตัวของตลาด เป็นผลกระทบจาก ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำเนื่อง การจับจ่ายใช้สอยจึงเลี่ยงซื้อสินค้าราคาค่อนข้างสูง หรือ สินค้าคงทน (Durable Goods) ซึ่งได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Major Appliances) ประกอบกับตลาดที่อยู่อาศัยและการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ขยายตัว เป็นผลให้ความต้องการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคไม่เพิ่มตามไปด้วย จึงซึ่งส่งผลในด้านลบต่อตลาดการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve Bank) ปรับอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP Growth) ในปี 2555 จากที่ตั้งไว้ร้อยละ 3.5% to 4.2% ให้ลดลงเหลือร้อยละ 3.3 -3.7 ซึ่งเป็นส่งสัญญาณให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นแล้ว
อุตสหกรรมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นดัชนีสำคัญของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังไม่ฟื้นตัว จึงเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของสหรัฐฯ ในปี 2555
ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคจะระมัดระวังในการใช้จ่าย สินค้าคงทน (Durable Goods) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้ากลุ่ม Major Appliance จะได้รับผลกระทบสูง เนื่องจากความต้องการรวมลดลง อย่างไรก็ตาม นักการตลาดฯ ยังมีความเชื่อมั่นว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าสหรัฐฯ จะขยายตัวในระดับดับต่ำประมาณร้อยละ 1.5-2.5
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th